พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,565 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5147/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรอการลงโทษและการบำบัดยาเสพติด
ศาลจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยโดยให้ไปรับการบำบัดรักษาการติดยาเสพติดให้โทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56(4) ได้ ก็ต่อเมื่อศาลรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ซึ่งเป็นดุลพินิจในการลงโทษของศาล ถือเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5028/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ใช่ค่าจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยตามมาตรา 9
ภาษีเงินได้ที่บริษัทจำเลยนำส่งกรมสรรพากรและเงินประกันสังคมที่นำส่งสำนักงานประกันสังคม จำเลยออกให้ลูกจ้างทุกคนรวมทั้งโจทก์ ซึ่งเงินสองจำนวนดังกล่าวโจทก์ในฐานะผู้มีเงินได้และลูกจ้างผู้ประกันตนมีหน้าที่ต้องชำระโดยจำเลยจะหักจำนวนเงินดังกล่าวไว้จากค่าจ้างและนำส่งหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง แต่เมื่อจำเลยมิได้หักเงินดังกล่าวจากค่าจ้างของโจทก์แต่ออกเงินนั้นแทนโจทก์ ภาษีเงินได้และเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่จำเลยออกให้จึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายแทนโจทก์ มิได้จ่ายให้แก่โจทก์จึงเป็นเงินประเภทอื่น มิใช่เงินที่จำเลยและโจทก์ตกลงจ่ายกันเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างในกรณีเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 และเป็นเงินที่จ่ายให้สำหรับระยะเวลาที่จะมีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างโดยลูกจ้างมิได้ทำงานให้แก่นายจ้าง ดังนั้น สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงมิใช่ค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 และมิใช่ค่าจ้างตามมาตรา 9 วรรคหนึ่งด้วย
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างในกรณีเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 และเป็นเงินที่จ่ายให้สำหรับระยะเวลาที่จะมีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างโดยลูกจ้างมิได้ทำงานให้แก่นายจ้าง ดังนั้น สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงมิใช่ค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 และมิใช่ค่าจ้างตามมาตรา 9 วรรคหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4856/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้จากการค้ายาเสพติดเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด แม้ผู้ต้องหาจะมีอาชีพอื่น
ผู้คัดค้านเป็นผู้ค้ายาเสพติดซึ่งได้ดำเนินการมาหลายครั้งแล้ว จำนวนยาเสพติดที่ถูกดำเนินคดีและศาลพิพากษาลงโทษมีจำนวนมาก คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ถึง30,653 กรัม แสดงว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ค้ารายใหญ่ จำนวนเงินในบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านทั้งสองบัญชีที่มีการนำเงินเข้าฝากครั้งละตั้งแต่ 1,000,000 บาท ขึ้นไป โดยเงินดังกล่าวโอนมาจากจังหวัดซึ่งเป็นแหล่งที่ผู้คัดค้านส่งเฮโรอีนไปจำหน่ายการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านหลายรายการก็กระทำในช่วงเวลาใกล้เคียงกับการขนเฮโรอีน ดังนี้ เงินที่โอนเข้าบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านจึงมีข้อเท็จจริงเชื่อมโยงแสดงให้เห็นว่าเป็นเงินที่ได้รับมาเนื่องจากกระทำความผิดเกี่ยวกับการจำหน่ายเฮโรอีนต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 29 วรรคสอง จึงเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4851/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองหลังล้มละลาย: นิติกรรมเป็นโมฆะ เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้โดยตรง
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 24 และ 25 การที่บุคคลล้มละลายจำนองที่ดินของตนแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของผู้อื่นภายหลังที่ศาลได้พิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อันมีผลผูกพันในที่ดินที่จะต้องถูกบังคับคดีในที่สุดหากไม่ชำระหนี้ และฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะไม่ได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ นิติกรรมจำนองจึงตกเป็นโมฆะ มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย แม้หากการกระทำของลูกหนี้จะเป็นการละเมิดต่อโจทก์และมีหนี้ที่จะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่หนี้ดังกล่าวก็เกิดขึ้นภายหลังที่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โจทก์ไม่มีอาจนำมาขอยื่นรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 27,91 และ 94 โจทก์ชอบที่จะฟ้องลูกหนี้เป็นจำเลยโดยตรง โจทก์จะฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นจำเลยแทนลูกหนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่งจากความผิดอาญา: ศาลต้องพิจารณาความผิดอาญาก่อน
การกระทำอันก่อให้เกิดหนี้ตามคำฟ้องเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ซึ่งมีอายุความ 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95(1) เมื่อการกระทำตามที่โจทก์ฟ้องไม่มีผู้ใดฟ้องทางอาญา สิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นย่อมระงับไปตามกำหนดเวลาดังที่กฎหมายอาญาบัญญัติไว้ในเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคหนึ่ง หากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดอาญา อายุความก็ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยศาลแรงงานกลางต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดอาญาหรือไม่จากพยานหลักฐานของโจทก์จำเลย แต่คดีนี้ยังไม่มีการสืบพยานหลักฐานของคู่ความ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยให้เหตุผลว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเพราะนำคดีมาฟ้องเมื่อเกิน 10 ปีแล้ว จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4792/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ เริ่มนับจากวันที่ประสบอุบัติเหตุ ไม่ใช่วันที่แพทย์ประเมิน
ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ โจทก์ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพในเรื่องเงินทดแทนการขาดรายได้นั้นเป็นไปตามมาตรา 71ส่วนกรณีใดจะเป็นกรณีทุพพลภาพนั้นเป็นไปตามมาตรา 5
โจทก์สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานตลอดมาตั้งแต่วันที่ประสบอุบัติเหตุ เมื่อแพทย์ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายโจทก์เช่นนั้น โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 71 และประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ในกรณีทุพพลภาพฯ ตั้งแต่วันที่โจทก์ประสบอุบัติเหตุถูกรถยนต์เฉี่ยวชนแล้ว มิใช่ตั้งแต่วันที่แพทย์ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายโจทก์
แนวปฏิบัติที่ผู้อำนวยการกองประสานการแพทย์และฟื้นฟูสมรถภาพออกไว้สำหรับกรณีผู้ประกันตนได้รับการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรงว่า การวินิจฉัยผู้ประกันตนที่บาดเจ็บควรเป็นผู้ที่ได้รับการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี จึงจะพิจารณาว่าทุพพลภาพหรือไม่นั้น เป็นเพียงการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้การวินิจฉัยกรณีทุพพลภาพเนื่องจากบาดเจ็บของสมองได้ถูกต้องตามประกาศสำนักงานประกันสังคมเท่านั้น มิใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดวันเริ่มต้นแห่งสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพแต่ประการใด เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพตั้งแต่วันที่โจทก์ประสบอุบัติเหตุ การคำนวณเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีของโจทก์จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 57 วรรคหนึ่ง มิใช่คำนวณจากค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบตามมาตรา 57 วรรคสอง
โจทก์สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานตลอดมาตั้งแต่วันที่ประสบอุบัติเหตุ เมื่อแพทย์ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายโจทก์เช่นนั้น โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 71 และประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ในกรณีทุพพลภาพฯ ตั้งแต่วันที่โจทก์ประสบอุบัติเหตุถูกรถยนต์เฉี่ยวชนแล้ว มิใช่ตั้งแต่วันที่แพทย์ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายโจทก์
แนวปฏิบัติที่ผู้อำนวยการกองประสานการแพทย์และฟื้นฟูสมรถภาพออกไว้สำหรับกรณีผู้ประกันตนได้รับการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรงว่า การวินิจฉัยผู้ประกันตนที่บาดเจ็บควรเป็นผู้ที่ได้รับการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี จึงจะพิจารณาว่าทุพพลภาพหรือไม่นั้น เป็นเพียงการกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้การวินิจฉัยกรณีทุพพลภาพเนื่องจากบาดเจ็บของสมองได้ถูกต้องตามประกาศสำนักงานประกันสังคมเท่านั้น มิใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดวันเริ่มต้นแห่งสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพแต่ประการใด เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพตั้งแต่วันที่โจทก์ประสบอุบัติเหตุ การคำนวณเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีของโจทก์จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 57 วรรคหนึ่ง มิใช่คำนวณจากค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบตามมาตรา 57 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนาย – กระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลต้องดำเนินกระบวนการใหม่
จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000บาท ถึง 100,000 บาท แต่ปรากฏว่าในการพิจารณาคดี ก่อนถามคำให้การจำเลยศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิของจำเลยในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบและทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 5 จะมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาให้ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนที่จะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5ให้คู่ความฟังก็ตาม ก็ไม่อาจแก้ไขกระบวนพิจารณาที่เสียไปแล้วตั้งแต่ต้นให้กลับมาเป็นชอบด้วยกฎหมายได้ ศาลฎีกาเห็นจำเป็นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: กรณีลูกจ้างถูกกล่าวหาทุจริต แต่ศาลพิพากษาว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่เข้าข่ายทุจริต
โจทก์ได้รับมอบหมายให้เปลี่ยนอะไหล่คอนโซลหน้าปัทม์รถยนต์ที่ลูกค้าซื้อจากบริษัทจำเลยที่ 2 โจทก์จึงเบิกอะไหล่คอนโซลหน้าปัทม์ทั้งชุดซึ่งมีกล่องเก๊ะรวมอยู่ด้วยโจทก์ถอดคอนโซลหน้าปัทม์ที่ชำรุดออกจากรถยนต์ลูกค้าแล้วใส่คอนโซลหน้าปัทม์อันใหม่แทน แต่ไม่ได้เปลี่ยนกล่องเก๊ะอันใหม่ให้ โดยไม่ได้แจ้งให้หัวหน้างานทราบกล่องเก๊ะอันใหม่ที่เบิกมาแล้วไม่ได้ใช้ โจทก์มิได้นำไปคืนศูนย์อะไหล่เพราะเป็นเวลาเลิกงานประกอบกับโจทก์หลงลืมด้วย พฤติการณ์ของโจทก์จึงเป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง แม้จะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างแต่ก็เป็นกรณีที่ไม่ร้ายแรงทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำการใดหรือมีพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นเจตนาที่จะเอากล่องเก๊ะไปเป็นของตน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างหรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายเมื่อจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 และมาตรา 67
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งจำหน่ายฟ้องแย้ง แม้จำหน่ายคดีเดิม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ให้อำนาจจำเลยที่จะฟ้องโจทก์มาในคำให้การได้หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม และอำนาจในการฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวนำมาใช้ในคดีแรงงานด้วยโดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 เมื่อปรากฏว่าจำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การและศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยแล้ว โจทก์ย่อมตกเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง คดีตามฟ้องแย้งจึงมีคู่ความครบถ้วนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์คงมีผลทำให้ไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้ฟ้องแย้งของจำเลยตกไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุม: จำเป็นต้องระบุรายละเอียดการยักยอกในคำฟ้องเพื่อให้จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ลูกจ้างโจทก์ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย 202,314 บาท และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ยอมรับผิดทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยที่ 1 โดยตกลงผ่อนชำระเป็นรายเดือนแต่เมื่อถึงกำหนดชำระเงิน จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย จะเห็นได้ว่า คำฟ้องโจทก์มุ่งเน้นเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้อันมีมูลฐานมาจากการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์เป็นข้อสำคัญซึ่งโจทก์ต้องบรรยายฟ้องให้แจ้งชัดว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าโจทก์ไปเมื่อใด เงินที่ยักยอกเป็นจำนวนเท่าใด สินค้าที่ยักยอกเป็นสินค้าประเภทใด จำนวนเท่าใดและราคาเท่าใด หรือมิฉะนั้นโจทก์จะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเงินหรือรายการสินค้าที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกไปแนบมาท้ายฟ้องด้วย และแม้โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาก็ตาม แต่หนี้ตามสัญญาก็มีมูลฐานมาจากการที่โจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 2 ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้ถึงการมีอยู่ จำนวน และความสมบูรณ์แห่งหนี้ดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์มิได้กล่าวแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหากับข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม