คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ม. 54

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1784/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้กู้โดยมิได้จำนองทรัพย์สินลำดับหนึ่งตาม พ.ร.บ.ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522มาตรา54(2)ห้ามมิให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์กระทำการให้กู้ยืมเงินเว้นแต่การรับจำนองทรัพย์สินลำดับหนึ่งเป็นประกันดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้จำเลยทั้งสองกู้เงินโดยมิได้มีการจดทะเบียนจำนองทรัพย์สินลำดับหนึ่งเป็นประกันจึงฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าวตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์: ผลบังคับใช้เมื่อทำนอกขอบอนุญาต แต่มีวัตถุประสงค์ในหนังสือบริคณห์สนธิ
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทำสัญญาค้ำประกันหนี้จำเลยที่ 1 ที่กู้เงินจากโจทก์ เมื่อการค้ำประกันหนี้เป็นกิจการที่จำเลยที่ 2 อาจได้รับอนุญาตให้กระทำได้ และอยู่ในขอบวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือบริคณห์สนธิที่จดทะเบียนไว้ด้วยฉะนั้น หากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมรู้ด้วยว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ก็จะถือว่า นิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการฝ่าฝืนต้องห้ามโดยกฎหมาย ไม่ได้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์: ผลบังคับใช้เมื่อไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย แต่เป็นกิจการที่อยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัท
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทำสัญญาค้ำประกันหนี้จำเลยที่ 1 ที่กู้เงินจากโจทก์ เมื่อการค้ำประกันหนี้เป็นกิจการที่จำเลยที่ 2 อาจได้รับอนุญาตให้กระทำได้ และอยู่ในขอบวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือบริคณห์สนธิที่จดทะเบียนไว้ด้วย ฉะนั้น หากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมรู้ด้วยว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ก็จะถือว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการฝ่าฝืนต้องห้ามโดยกฎหมายไม่ได้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้
(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2531)