พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิด แม้บิดาเป็นต่างด้าว และใช้สัญชาติบิดาต่างประเทศ ไม่เป็นเหตุถอนสัญชาติ
การที่ผู้ร้องแสดงตนและเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองว่าเป็นบุคคลต่างด้าว หาทำให้ผู้ร้องหมดสิทธิที่จะพิสูจน์ความจริงว่าตนมีสัญชาติไทย ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯมาตรา 57 ไม่ จึงไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวโดยที่มิได้อ้างว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยมาตัดสิทธิของผู้ร้องและยกคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติได้ ผู้ร้องเกิดในประเทศไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าว มารดาเป็นคนสัญชาติไทย ผู้ร้องได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ตาม พ.ร.บ.สัญชาติฯ มาตรา 7(3) ผู้คัดค้านมิได้นำสืบว่าบิดาผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับการผ่อนผัน ได้รับอนุญาต หรือเข้ามา ตามที่ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 บัญญัติไว้ ดังนี้ผู้ร้องจึงไม่ถูกถอนสัญชาติตามกฎหมาย การที่ผู้ร้องอยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และใช้สัญชาติจีน อันเป็นสัญชาติของบิดาตลอดมานั้น กรณีเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้สั่งถอนสัญชาติไทย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6411/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติโดยประกาศคณะปฏิวัติและการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ถูกถอนสัญชาติ
เมื่อหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินได้สำเร็จหัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมมีอำนาจออกประกาศหรือคำสั่งอันถือเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่ประชาชนได้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2515 มิใช่คำสั่งที่มีผลทำให้บุคคลต้องรับโทษทางอาญาแต่เป็นเรื่องของการให้ถอนสัญชาติไทยของบุคคลบางจำพวก แม้จะมีผลย้อนหลังกระทบถึงสิทธิของจำเลยและประชาชนก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ เมื่อจำเลยเกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อปีพ.ศ. 2489โดยมีบิดามารดาเป็นคนญวนอพยพ จำเลยจึงถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว จำเลยมิใช่บุคคลที่มีสัญชาติไทยแต่เป็นคนญวนอพยพซึ่งต้องอยู่ในเขตควบคุมจังหวัดหนองคายตามประกาศและคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จำเลยออกนอกเขตจังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด จึงเป็นการฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 368.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6411/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติโดยประกาศคณะปฏิวัติและการบังคับใช้กฎหมายต่อคนญวนอพยพ
เมื่อหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินได้สำเร็จหัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมมีอำนาจออกประกาศหรือคำสั่งอันถือเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่ประชาชนได้ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่13 ธันวาคม 2515 มิใช่คำสั่งที่มีผลทำให้บุคคลต้องรับโทษทางอาญาแต่เป็นเรื่องของการให้ถอนสัญชาติไทยของบุคคลบางจำพวก แม้จะมีผลย้อนหลังกระทบถึงสิทธิของจำเลยและประชาชน ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ เมื่อจำเลยเกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อปี พ.ศ. 2489โดยมีบิดามารดาเป็นคนญวนอพยพ จำเลยจึงถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว จำเลยมิใช่บุคคลที่มีสัญชาติไทยแต่เป็นคนญวนอพยพซึ่งต้องอยู่ในเขตควบคุมจังหวัดหนองคายตามประกาศและคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จำเลยออกนอกเขตจังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด จึงเป็นการฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6184/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาสัญชาติไทยของบุคคลที่มีมารดาเป็นคนต่างด้าวและมีประวัติการอพยพเข้าประเทศ
การที่โจทก์ทั้งสิบสามไปรายงานตัวต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพจังหวัดอุบลราชธานีว่าเป็นคนญวนอพยพตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศให้คนญวนอพยพที่มีอายุ 12 ปี ขึ้นไปมารายงานตัวต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพก็เพราะกลัวว่าจะถูกจับกุม และก่อนฟ้องคดีนี้บิดาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 และเป็นตา ของโจทก์ที่ 12 ถึงที่ 13ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดว่าโจทก์ทั้งสิบสามเป็นคนสัญชาติไทย ขอให้เพิกถอนชื่อโจทก์ทั้งสิบสามออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพ แต่ได้รับการปฏิเสธ แสดงว่าจำเลยทั้งสองยืนยันว่าโจทก์ดังกล่าวยังเป็นคนสัญชาติญวนอยู่ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นบุตรของนาง จ. โจทก์ที่ 9 ถึงที่ 11เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 ซึ่งนาง จ. และโจทก์ที่ 1 เป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8จะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด สัญชาติไทยของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8ก็ต้องถูกถอนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2515 ข้อ 1 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 จึงมิใช่ผู้ที่มีสัญชาติไทย โจทก์ที่ 12 และที่ 13 เกิดในราชอาณาจักรโดยมีโจทก์ที่ 5และที่ 6 เป็นมารดาโจทก์ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 12และที่ 13 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) ถึงแม้โจทก์ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นมารดาจะได้ถูกถอนสัญชาติไทย แต่มารดาโจทก์ก็เกิดในราชอาณาจักรมิใช่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4892/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเรื่องสัญชาติไทยของบุตรเมื่อมารดาถูกถอนสัญชาติหลังบุตรเกิด และอำนาจฟ้องคดีสัญชาติ
ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสี่มีสัญชาติไทย ถูกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสัญชาติและพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนเพิ่มชื่อโจทก์ทั้งสี่ลงในทะเบียนบ้านญวนอพยพ และปฏิเสธไม่รับคำร้องขอของโจทก์ที่ 2ที่ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ดังนี้มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย โจทก์ที่ 1 เป็นบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ในขณะที่เกิดมารดาเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 1 จึงย่อมเป็นผู้ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เกิดในราชอาณาจักรไทย ส่วนมารดาคือโจทก์ที่ 1 ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508มาตรา 7(3) เมื่อขณะที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เกิดนั้นโจทก์ที่ 1 ยังมีสัญชาติไทย มิใช่คนต่างด้าว โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงหาถูกเพิกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ ต้องพิจารณาถึงสัญชาติบิดาในขณะที่บุตรเกิด แม้บิดาถูกถอนสัญชาติในภายหลัง
การที่บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 นั้น ประการแรกจะต้องปรากฏว่าบุคคลนั้นมีบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีของโจทก์ ในขณะที่เกิดโจทก์เป็นบุตรของมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าว แต่โจทก์มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้โจทก์จึงไม่อาจถูกถอนสัญชาติไทยด้วยกรณีที่ มารดา โจทก์เป็นคนต่างด้าว ป. บิดาโจทก์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2473 ที่จังหวัดนครพนม จึงเป็นบุคคลสัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.สัญชาติที่ใช้อยู่ในขณะนั้นและโจทก์ทั้งหกเป็นบุคคลสัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2515 อันเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับดังนั้นขณะที่โจทก์ทุกคนเกิดป. บิดาโจทก์ยังมีสัญชาติไทยอยู่ แม้ต่อมา ป. บิดาโจทก์จะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ก็ไม่มีบทบัญญัติให้ถอนสัญชาติไทยของโจทก์ด้วย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่า โจทก์เป็นบุคคลต่างด้าว โจทก์จึงเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีถอนชื่อออกจากทะเบียนบ้าน และการไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ
แม้จำเลยเพิ่งมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานกิจการญวนอพยพจังหวัดอุบลราชธานี ภายหลังจากได้มีการจดแจ้งชื่อโจทก์ลงในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพแล้วก็ตาม แต่ฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีสาระสำคัญขอให้จำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานกิจการญวนอพยพจังหวัดอุบลราชธานี คนปัจจุบันถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ เพราะลงชื่อไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะมิใช่ผู้จดแจ้งชื่อโจทก์ไว้ในทะเบียน โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่เคยไปติดต่อจำเลยให้ถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนคนญวนอพยพก่อนฟ้องโดยไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การนั้น แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้ พ. คนสัญชาติไทยอยู่กินฉันสามีภรรยากับโจทก์ที่ 1คนสัญชาติญวนซึ่งเกิดในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ให้กำเนิดโจทก์ที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2510ต่อมา พ.ศ. 2512 พ. และโจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายโจทก์ที่ 2 จึงไม่ใช่บุคคลที่ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 เพราะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดา ไม่ใช่บุคคลตามข้อ 1(1)(2) และ (3) ตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสัญชาติ และการถอนชื่อออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แม้จำเลยมิได้จดแจ้งชื่อเอง
แม้จำเลยเพิ่งมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานกิจการญวณอพยพจังหวัด อุบลราชธานี ภายหลังจากได้มีการจดแจ้งชื่อโจทก์ลงในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพแล้วก็ตาม แต่ฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีสาระสำคัญขอให้จำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานกิจการญวนอพยพจังหวัด อุบลราชธานี คนปัจจุบันถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ เพราะลงชื่อไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะมิใช่ผู้จดแจ้งชื่อโจทก์ไว้ในทะเบียน โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่เคยไปติดต่อจำเลยให้ถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนคนญวนอพยพก่อนฟ้องโดยไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การนั้น แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้ พ. คนสัญชาติไทยอยู่กินฉันสามีภรรยากับโจทก์ที่ 1คนสัญชาติญวนซึ่งเกิดในประเทศ ไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ให้กำเนิดโจทก์ที่ 2 เมื่อปีพ.ศ. 2510 ต่อมา พ.ศ. 2512 พ. และโจทก์ที่ 1 จึงได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย โจทก์ที่ 2 ไม่ใช่บุคคลที่ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1เพราะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดา ไม่ใช่บุคคลตามข้อ 1(1)(2) และ(3) ตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยและการขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลังถูกถอนสัญชาติ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักรไทยจึงมีสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) แม้โจทก์จะใช้สัญชาติของบิดาโดยขอบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ แต่โจทก์ก็ยังคงมีสัญชาติไทย เพราะยังมิได้มีการถอนสัญชาติตามมาตรา 17 วรรคท้าย ต่อมาโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2514 เมื่อโจทก์เสียสัญชาติไทยจึงต้องไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากนายทะเบียนท้องที่ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 8 จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนท้องที่จึงมีหน้าที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสัญชาติและการออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว กรณีบุคคลเกิดในไทยและถูกถอนสัญชาติ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักร ไทย จึงมีสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) แม้โจทก์จะใช้สัญชาติของบิดาโดยขอบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ แต่โจทก์ก็ยังคงมีสัญชาติไทย เพราะยังมิได้มีการถอนสัญชาติตามมาตรา 17 วรรคท้าย ต่อมาโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2514 เมื่อโจทก์เสียสัญชาติไทยจึงต้องไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากนายทะเบียนท้องที่ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 8 จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนท้องที่จึงมีหน้าที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์.