คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 68

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเกษียณอายุ กรณีเลิกจ้างไม่ใช่เพราะครบเกษียณอายุ
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเรื่องเงินบำเหน็จกำหนดไว้ว่า พนักงานมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเมื่อทำงานครบเกษียณอายุ โดยต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานในฐานะพนักงานเป็นเวลาอย่างน้อย15 ปี ติดต่อกัน (2) มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และ(3) ทำงานให้จำเลยด้วยความขยันหมั่นเพียรและปราศจากข้อตำหนิในประวัติการทำงาน เห็นได้ว่าตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวมีเจตนารมณ์ที่จะจ่ายเงินบำเหน็จหรือเงินค่าเกษียณอายุเมื่อพนักงานทำงานครบเกษียณอายุเท่านั้น แต่การเลิกจ้างของจำเลยตามหนังสือแจ้งการเลิกจ้าง มิใช่เป็นการให้โจทก์ออกจากงานโดยเหตุครบเกษียนอายุ แต่เป็นกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วย เหตุที่จำเลยประสบปัญหาการขาดทุนและจำเป็นต้องลดอัตรากำลังคน ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีเจตนาไม่ให้โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จหรือเงินค่าเกษียณอายุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างจากลักษณะการทำงานและการจ่ายค่าจ้างตามผลงาน เพื่อสิทธิในการรับค่าชดเชย
โจทก์เป็นช่างแต่งผมชาย ใช้สถานที่ของจำเลยเปิดบริการ ลูกค้าโดยจำเลยเป็นผู้จัดหาสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ และ ของใช้ต่าง ๆ ส่วนโจทก์มีกรรไกร ปัตตะเลี่ยน เครื่องมือใช้เช็ด หู รายได้จากการแต่งผมชายของโจทก์แบ่งกันคนละครึ่ง ระหว่างโจทก์กับจำเลย โดยจำเลยจ่ายส่วนที่จะได้แก่โจทก์ ให้โจทก์ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน ได้มีการตกลง เรื่องระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า โจทก์ต้อง ตอกบัตรลงเวลาการทำงาน หากโจทก์ไม่มาทำงานหรือมาทำงานสาย ในวันใด โจทก์จะถูกหักค่าจ้าง โจทก์ได้รับบัตรประจำตัว พนักงานจากจำเลยเพื่อแสดงว่าเป็นพนักงานและจำเลยใช้ตรวจสอบ ในการอนุมัติให้เข้าออกบริเวณสถานที่ของจำเลย โจทก์ทำงาน สัปดาห์ละ 6 วัน เห็นได้ว่าโจทก์มีเวลาทำงานปกติของ วันทำงาน จำเลยมีอำนาจสั่งการและบังคับบัญชาให้โจทก์ ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กำหนดเวลา ทำงานและตรวจสอบเวลาทำงานของโจทก์ กับมีอำนาจหักรายได้ของโจทก์ในกรณีที่โจทก์ขาดงานหรือมาทำงานสาย และเงินรายได้ จากการแต่งผมที่จ่ายให้โจทก์ก็คำนวณได้ตามผลงานที่โจทก์ ทำได้ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเช่นนี้ ถือได้ว่า โจทก์ทำงานให้แก่จำเลย เพื่อรับค่าจ้างโดยคำนวณค่าจ้าง ตามผลงานที่โจทก์ทำได้ โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามคำสั่งนายจ้าง: หน้าที่ส่งมอบงานและผลกระทบต่อการลงโทษทางวินัย
การที่โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่ธุรการประจำแผนกซ่อมและดูแลได้รับคำสั่งให้ไปช่วยงานในกองบริการชุมชน ต่อมาจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์กลับไปทำงานในแผนกเดิม แต่โจทก์ไม่กลับไปทำงานตามคำสั่งอ้างว่าต้องรอมอบหมายงานตามระเบียบของการเคหะแห่งชาติก่อน ดังนี้เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกำหนดให้มีการมอบงานแล้ว การส่งมอบงานนั้นมิใช่เป็นสิทธิของโจทก์ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องกระทำเมื่อไม่กระทำตามคำสั่งจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง จำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจลงโทษทางวินัย: การพักงานเป็นโทษที่เบากว่าการปลดออกได้ แม้ระเบียบจะไม่ได้กำหนดโทษไว้เป็นการเฉพาะ
โดยทั่วไปสิ่งใดที่กล่าวยกขึ้นเป็นตัวอย่างไว้ สิ่งนั้นย่อมเป็นสิ่งที่สามารถทำได้หรือต้องละเว้นไม่กระทำตามแต่ข้อความก่อนมีการยกตัวอย่างได้ระบุไว้ คำว่า "ตัดค่าจ้าง ถูกพักงาน ถูกภาคทัณฑ์"เป็นข้อความในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในหัวข้อระเบียบวินัยและโทษทางวินัย จึงเป็นโทษทางวินัยอย่างหนึ่ง แต่การกระทำผิดทางวินัยในความผิดประเภทต่าง ๆ ได้มีกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ดังนั้น โทษดังที่กล่าวข้างต้นซึ่งมิได้ระบุถึงในโทษที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะนี้ จำเลยจึงนำมาลงโทษได้เฉพาะเมื่อประสงค์จะลงโทษที่เบากว่าโทษที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะแล้วเท่านั้น จำเลยมาทำงานสายเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งโทษที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะคือปลดออกจากงาน การที่จำเลยลงโทษเพียงพักงานโจทก์ ซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าการปลดออกจากงานจึงชอบด้วยระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้ว และเมื่อการลงโทษพักงานชอบด้วยระเบียบ จำเลยก็มีสิทธิหักค่าจ้างโจทก์ในวันที่พักงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการตรวจรับน้ำมันที่ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของน้ำมัน
จำเลยทั้งเจ็ดได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการตรวจรับน้ำมันให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีระเบียบในการนี้ว่ากรรมการตรวจรับน้ำมันทุกคนจะต้องร่วมกันตรวจรับ โดยตรวจสอบหมายเลขทะเบียนรถยนต์บรรทุกน้ำมันว่าตรงกับที่ตรวจสอบไว้แล้วหรือไม่ ตรวจวาล์วและตราที่ปิดผนึกไว้มีรอยชำรุดหรือไม่ เปิดฝาถังน้ำมันของรถยนต์บรรทุกน้ำมันตรวจดูว่ามีน้ำมันท่วมแป้นหรือไม่ ตรวจในถังน้ำมันว่ามีน้ำปลอมปนหรือไม่ เมื่อตรวจถูกต้องแล้วให้เปิดท่อน้ำมันจากรถยนต์บรรทุกน้ำมันต่อเข้าท่อสูบน้ำมันขึ้นไปสู่ถังเก็บน้ำมันใหญ่และดำเนินการให้น้ำมันในรถยนต์บรรทุกน้ำมันถ่ายลงจากรถทั้งหมด แล้วจึงจะมีการเข็นรับน้ำมันในใบรับของและใบส่งของ ระเบียบดังกล่าวมีไว้เพื่อตรวจสอบมิให้มีการส่งน้ำมันมาไม่ครบถ้วนและป้องกันไม่ให้มีการถ่ายน้ำมันออกจากรถยนต์บรรทุกน้ำมันไม่หมดแล้วถูกเบียดบังไปจำเลยทั้งเจ็ดจึงต้องร่วมกันตรวจรับและควบคุมการทำงานทุกขั้นตอนหากแบ่งหน้าที่กันทำแล้วจะไม่สามารถควบคุมได้ การที่จำเลยทั้งเจ็ดไม่ร่วมกันตรวจสอบน้ำมันตามระเบียบของโจทก์ดังกล่าว ซึ่งเป็นผลทำให้มีการส่งน้ำมันให้โจทก์ไม่ครบถ้วน แม้จำเลยทั้งเจ็ดไม่ได้ร่วมกันทุจริต แต่ก็ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์โดยไม่ต้องนำสืบว่าการบกพร่องต่อหน้าที่ของจำเลยแต่ละคนหรือแต่ละคราวดังกล่าวนั้น เป็นเหตุให้โจทก์สูญเสียน้ำมันไปจำนวนเท่าใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแถลงข่าวใส่ร้ายผู้อื่นและความรับผิดทางวินัยของพนักงาน แม้มีฐานะสมาชิกสหภาพแรงงาน
การรวมกลุ่มกันเป็นองค์กรไม่ว่าจะมีกฎหมายรับรองหรือไม่ก็ตามการดำเนินการขององค์กรนั้นก็ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในข้อที่จะต้องไม่กระทำการให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น การที่ผู้คัดค้านแถลงข่าวกล่าวหาว่าผู้ร้องหลอกลวงประชาชนโดยมิได้เป็นความจริง ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้แถลงข่าวดังกล่าวไม่ว่าในฐานะใดก็ตามจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำอันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้อง ไม่มีบทกฎหมายใดที่ผู้คัดค้านจะยกขึ้นอ้างเพื่อยกเว้นให้พ้นผิดได้ทั้งในขณะแถลงข่าวนั้น ผู้คัดค้านยังคงมีฐานะเป็นพนักงานของผู้ร้องอยู่ ผู้คัดค้านจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องในเรื่องนี้ ฉะนั้นแม้ผู้ร้องจะแถลงข่าวในฐานะของสมาชิกกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ก็ไม่มีอำนาจกระทำได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของผู้ร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์โอนย้ายพนักงาน กปภ. และข้อยกเว้นการจ่ายค่าเช่าบ้านตามข้อบังคับ
บทบัญญัติมาตรา 52 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 ที่ว่า "ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างที่โอนไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ กปภ.ตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อนจนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้ง ให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้ มีความหมายว่าข้าราชการหรือลูกจ้างที่จะโอนไปเป็นพนักงานของจำเลย จะได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่ากับที่เคยได้รับอยู่เดิมเมื่อยังไม่ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง จากผู้ว่าการของจำเลย แต่เมื่อได้รับการบรรจุแต่งตั้งจากผู้ว่าการของจำเลยแล้วคงมีเงื่อนไขว่าจะแต่งตั้ง ให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเดิมไม่ได้ โดยไม่รวมถึงสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ด้วย เดิมโจทก์รับราชการอยู่กองประปา ชนบท กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าค่าเช่าบ้านดังกล่าวเป็นค่าจ้างจึงถือว่าเป็นเงินสวัสดิการ จัดเป็นเงินประเภท "สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ "ตาม พระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค มาตรา 52 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อโจทก์โอนมาเป็นพนักงานของจำเลยและได้รับบรรจุแต่งตั้งจากผู้ว่าการของจำเลยแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเช่าบ้านที่ได้รับอยู่เดิมจากจำเลยได้ ข้อบังคับการประปาส่วนภูมิภาคว่าด้วยการจ่ายเงินค่าเช่าบ้านของผู้ปฏิบัติงาน พ.ศ. 2523 ข้อ 5(2) กำหนดว่า "ผู้ซึ่ง กปภ.บรรจุและแต่งตั้งให้เริ่มปฏิบัติงานครั้งแรกในท้องที่ใดและยังคงปฏิบัติงานประจำในท้องที่นั้น ไม่มีสิทธิได้ รับค่าเช่าบ้าน" ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้เริ่มปฏิบัติงานครั้งแรกใน กรุงเทพมหานคร และยังคงปฏิบัติงานประจำอยู่ใน กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้าน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยซ้ำซ้อน: การพักงานโดยจ่ายค่าจ้าง ไม่ถือเป็นการลงโทษ, การเลิกจ้างจึงไม่เป็นการลงโทษซ้ำซ้อน
ตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการลงโทษทางวินัยของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกำหนดมาตรการลงโทษพนักงานที่กระทำความผิดไว้หลายประการรวมถึงการให้พักงานชั่วคราวโดยไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างนั้นก่อนที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้สั่งพักงานโจทก์เป็นเวลา7 วัน เพื่อทำการสอบสวน และจำเลยได้จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามปกติดังนี้ การพักงานกรณีดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการลงโทษในความผิดที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว และการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการลงโทษซ้ำซ้อนในความผิดเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง ค่าชดเชย กรณีฝ่าฝืนระเบียบการทำงานเล็กน้อย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหากไม่ตักเตือนเป็นหนังสือ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบการทำงานของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างโดยนำเงินค่าธรรมเนียมรถ และค่าตั๋วรถโดยสารซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์จำนวน 2,512 บาท เข้าฝากธนาคารล่าช้าไปหนึ่งวัน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำโดยส่อเจตนาทุจริตย่อมถือว่าเป็นการทำงานล่าช้า หรือผิดพลาดเล็กน้อย แม้จำเลยจะได้รับความเสียหายบ้างก็เพียงขาดผลประโยชน์จากดอกเบี้ยของธนาคารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง ดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ตักเตือนเป็นหนังสือก่อนจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: ค่าชดเชยยังต้องจ่าย แม้มีระเบียบเลิกจ้างได้ เหตุเจ็บป่วยไม่ใช่ความผิด
แม้มีระเบียบของจำเลยให้อำนาจจำเลยปลดลูกจ้างที่ลาป่วยเกินระยะเวลาที่กำหนดออกจากงานได้ก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อกำหนดให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างดังกล่าวได้เท่านั้นดังนี้การที่ พ. ลูกจ้างเจ็บป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ ก็เป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติมิใช่เกิดจากการกระทำของ พ.จึงถือไม่ได้ว่าพ. กระทำการฝ่าฝืนระเบียบคำสั่งของจำเลย แม้จำเลยเลิกจ้าง พ. โดยมีหนังสือตักเตือนก่อนแล้วก็ตาม จำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ พ. เมื่อเลิกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ให้ความหมายของ "ค่าชดเชย" ไว้ว่า เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ส่วนเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง(บำเหน็จ) ที่จำเลยจ่ายให้แก่ พ. ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนั้นมีหลักเกณฑ์การคิดคำนวณตามที่ระบุในระเบียบ กำหนดให้สิทธิเฉพาะลูกจ้างที่มีเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี และมิได้ออกจากงานเพราะกระทำผิดหรือเหตุอื่น ๆ ที่ระบุในระเบียบดังนี้การจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง จึงมีหลักเกณฑ์การคิดคำนวณแตกต่างจากค่าชดเชยและถือไม่ได้ว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชย
of 2