คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เดิมพัน จรรยามั่น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขสัญญาเช่าด้วยพยานบุคคล: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ว่าการสืบพยานบุคคลเพื่อประกอบสัญญาเช่าไม่เป็นการแก้ไขสัญญา
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์เพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย ตามหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดิน แม้ว่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาดังกล่าว จึงต้องฟังว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาทเพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยให้การว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่า หนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินนั้นไม่สมบูรณ์ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อแรกว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าที่ดินพิพาทโจทก์หรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวนี้นอกจากศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ปรากฏในหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินแล้ว ศาลจำต้องฟังพยานบุคคลที่จำเลยนำสืบมาประกอบหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินดังกล่าวว่า โจทก์หรือจำเลยได้กระทำการใดหรือไม่กระทำการใดผิดไปจากข้อตกลงตามหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดิน อันจะถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น จำเลยผู้เช่าย่อมนำสืบข้อเท็จจริงที่ได้ปฏิบัติมาต่อกันได้ ไม่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วรับฟังพยานบุคคลว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าได้ จำเลยจึงไม่ได้กระทำผิดสัญญาเช่าที่ดินพิพาท ไม่เป็นการรับฟังพยานบุคคลซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาในคดีพยายามฆ่า: การพิสูจน์อาการทางจิตที่ส่งผลต่อความสามารถในการรับผิด
เอกสารที่จำเลยนำมาแสดงอ้างว่าตนเป็นโรคประสาทเคยไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีธัญญานั้น เป็นเพียงบัตรประจำตัวคนไข้ จำเลยมิได้นำแพทย์ผู้ตรวจรักษามายืนยันว่าตนป่วยเป็นโรคประสาทจนถึงขนาดกระทำการโดยไม่รู้สึกตัวทั้งในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยว่าพยายามฆ่า จำเลยให้การปฏิเสธซึ่งจำเลยเข้าใจคำถามและตอบคำถามได้เหมือนคนปกติส่วนที่แพทย์ผู้ตรวจรักษาบาดแผลของจำเลยระบุว่าจำเลยมีอาการเบลอ ๆ ไม่ค่อยได้สตินั้นอาจเกิดจากการที่จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนมาก่อนเกิดเหตุจนมีอาการมึนเมาก็เป็นได้ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าขณะจำเลยกระทำความผิด จำเลยมีอาการทางจิตประสาทไม่รู้สึกตัวและไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีต่อกระทง ทำให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นไปไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ลงโทษจำคุกกระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี เพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 เป็นจำคุก 15 ปี และลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 หนึ่งในสาม คงจำคุก 10 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท คดีนี้จำกัดสิทธิฎีกาทั้งในส่วนฟ้องเดิมและฟ้องแย้ง
จำเลยฎีกาว่า ค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ในกรณีที่จำเลยไม่คืนทรัพย์สินหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ในการทำอาหาร 80,000 บาท เหมาะสมหรือไม่ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนด ค่าเสียหายของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ และให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยตามฟ้องแย้ง โดยกำหนดให้โจทก์ชำระค่าเช่าที่ค้าง 138,000 บาท ค่าซ่อมแซมตึกพิพาท 200,000 บาท และค่าไฟฟ้า 7,708 บาท รวมเป็นเงิน 345,708 บาท ซึ่งเมื่อหักเงินประกัน 240,000 บาท โจทก์ต้องชำระเงินให้แก่จำเลย 105,708 บาท เมื่อจำเลยไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้ง คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว และโจทก์อุทธรณ์เพียงฝ่ายเดียวขอให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้องเดิม และขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่กำหนดให้โจทก์ชำระเงินดังกล่าวตามฟ้องแย้งของจำเลย ดังนั้น จำนวนเงินที่พิพาทกันในส่วนค่าซ่อมแซมตึกพิพาทจึงเป็นเงิน 200,000 บาท เท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย โดยไม่กำหนดค่าซ่อมแซมตึกพิพาทให้ตามฟ้องแย้ง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงให้โจทก์ชำระค่าซ่อมแซมตึกพิพาทให้จำเลย 420,000 บาท เต็มตามฟ้องแย้งอีกหาได้ไม่ ทุนทรัพย์ที่จำเลยฎีกาได้คงเป็นเงินค่าซ่อมแซม 200,000 บาท ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้เท่านั้น ที่จำเลยฎีกาอ้างว่าจำเลยเข้าซ่อมแซมตึกพิพาทเนื่องจากโจทก์ยอมให้หักเงินประกัน โจทก์ผิดสัญญาเช่า ไม่บำรุงรักษารวมทั้งซ่อมแซมเล็กน้อย โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยนั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท และประเด็นข้อเท็จจริงที่โต้แย้งเกินกว่าขอบเขตที่กฎหมายอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์และให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยตามฟ้องแย้ง เป็นค่าเช่าที่ค้าง 138,000 บาท ค่าซ่อมแซมตึกพิพาท 200,000 บาท และค่าไฟฟ้า 7,708 บาท เมื่อจำเลยไม่ได้อุทธรณ์และโจทก์อุทธรณ์เพียงฝ่ายเดียวขอให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้องเดิมและขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่กำหนดให้โจทก์ชำระเงินตามฟ้องแย้ง ดังนั้น จำนวนเงินที่พิพาทกันในส่วนค่าซ่อมแซมตึกพิพาทจึงเป็นเงิน 200,000 บาทเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย โดยไม่กำหนดค่าซ่อมแซมตึกพิพาทให้ตามฟ้องแย้ง จำเลยจะฎีกาให้โจทก์ชำระค่าซ่อมแซมตึกพิพาทให้จำเลย 420,000 บาท เต็มตามฟ้องแย้งอีกหาได้ไม่ ทุนทรัพย์ที่จำเลยฎีกาคงเป็นเงินค่าซ่อมแซม 200,000 บาท ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้เท่านั้น จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้าซ่อมแซมตึกพิพาท เนื่องจาก โจทก์ย่อมให้หักเงินประกัน 240,000 บาท โจทก์ผิดสัญญาเช่าไม่สงวนตึกพิพาทเสมอกับที่วิญญูชนจะพึงกระทำและไม่บำรุงรักษารวมทั้งซ่อมแซมเล็กน้อย ทำให้เกิดความเสียหาย โจทก์ต้องรับผิดชำระค่าซ่อมแซมตึกพิพาทให้แก่จำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความขาด เมื่อการหักเงินจากบัญชีที่ไม่ได้รับความยินยอม ไม่ถือเป็นการรับสภาพหนี้
ใบสมัครบัตรวีซ่า ซึ่งจำเลยที่ 1 ระบุในช่องการชำระเงินว่าให้โจทก์หักจากบัญชีประเภทออมทรัพย์ สาขาเขาย้อย โดยระบุหมายเลขบัญชีไว้ และจำเลยที่ 1ยังมีหนังสือแจ้งผู้จัดการโจทก์ สาขาเขาย้อย ให้หักเงินจากบัญชีออมทรัพย์ดังกล่าวในการชำระค่าสินค้าและบริการที่เกิดจากการใช้บัตรวีซ่าด้วย ทั้งตามใบแจ้งยอดบัญชีโจทก์ก็แจ้งจำเลยที่ 1 ว่าจะตัดบัญชีตามหมายเลขบัญชีที่ระบุไว้ในใบสมัคร ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิหักเงินจากบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ตามหมายเลขบัญชีดังกล่าวเท่านั้น ไม่มีสิทธิหักเงินจากบัญชีประเภทอื่น การที่โจทก์หักเงินจากบัญชีอื่นโดยที่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมจึงเป็นการไม่ชอบ ต้องถือว่าโจทก์หักเงินจากบัญชีของจำเลยที่ 1 ครั้งสุดท้ายในวันที่มีการหักเงินออกจากบัญชีดังกล่าวโดยชอบ อันจะเป็นการรับสภาพหนี้ที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) เมื่อเริ่มนับอายุความใหม่จนถึงวันฟ้อง เป็นเวลาเกินกว่า 2 ปีคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายฝากโดยสุจริตของบุคคลภายนอก และผลกระทบต่อการเพิกถอนนิติกรรมอันเป็นเจตนาลวง
ขณะที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับขายฝากที่ดินจากจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่านิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างโจทก์เจ้าของที่ดินกับจำเลยที่ 1 เป็นเจตนาลวง อีกทั้งจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากไว้ในราคาที่สูงกว่าราคาประเมินมาก ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น โจทก์ไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องการแสดงเจตนาลวงดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ เมื่อการขายฝากมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่ถอน จำเลยที่ 2 โอนให้จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ขายต่อให้จำเลยที่ 4 ดังนี้ นิติกรรมการให้และการซื้อขายก็ไม่อาจเพิกถอนได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลภายนอกผู้สุจริต-เจตนาลวง: เพิกถอนนิติกรรมขายฝากไม่ได้
ขณะที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับขายฝากที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่านิติกรรมการให้ที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจตนาลวง จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น โจทก์จึงไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องการแสดงเจตนาลวงดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากได้ เมื่อการขายฝากมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่ถอน จำเลยที่ 2 โอนให้จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ขายต่อให้จำเลยที่ 4 นิติกรรมการให้และการซื้อขายก็ไม่อาจเพิกถอนเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าของของผู้ประกอบการค้า: ผ่อนชำระเป็นงวด vs. ผ่อนทุนคืน
โจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าฟ้องเรียกค่าของคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีการส่งมอบให้แก่จำเลยแล้วตามสัญญาซื้อขายแม้โจทก์จะยินยอมให้จำเลยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ก็เป็นเพียงผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ เท่านั้น กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ซึ่งมีอายุความ2 ปี มิใช่เป็นกรณีเงินต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามมาตรา 193/33(2) ซึ่งมีอายุความ 5 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าสินค้า: ผู้ประกอบการค้า vs. ผ่อนชำระเป็นงวด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ค้างชำระตามสัญญาซื้อขาย เป็นการที่โจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย แม้โจทก์ยินยอมให้จำเลยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ก็เป็นเพียงผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ เท่านั้น กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1)ซึ่งมีอายุความ 2 ปี หาใช่เป็นกรณีเงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(2) ซึ่งมีอายุความ 5 ปีไม่ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์2544 เกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
of 12