คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ม. 25

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6513/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดี พ.ร.บ.อาหาร: ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงเท่านั้น
ความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ ก็หมายถึงอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เท่านั้น เมื่อคดีนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ความผิดข้อหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โจทก์ร่วมที่ 1 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อหานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีเครื่องหมายการค้าปลอม ความรับผิดของกรรมการบริษัท และการพิจารณาโทษ
ความผิดที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องเกี่ยวพันกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง กรุงเทพมหานคร และสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบัวทองซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยที่ 2 ถูกจับ จึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3) และวรรคสาม (ก) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120
โจทก์ร่วมที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีได้นั้นต้องถือว่าเป็นการอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ซึ่งมีโจทก์ร่วมที่ 1 และโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นผู้เสียหายเท่านั้น เพราะโจทก์ร่วมทั้งสองมิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติอาหารฯ
การที่จำเลยที่ 2 มีอาหารปลอมไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่าย โดยที่อาหารดังกล่าวนั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมอยู่ด้วยก็ด้วยเจตนาเดียวว่าประสงค์จำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารปลอม เมื่ออาหารปลอมนั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมอยู่ด้วยและกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้ จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจำหน่ายสินค้าเครื่องหมายการค้าปลอมและอาหารปลอม ความรับผิดของจำเลยร่วม
ความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 108,110และพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25,27,59 เป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องเกี่ยวพันกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง กรุงเทพมหานครและสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบัวทองซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยที่ 2 ถูกจับจึงมีอำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) และวรรคสาม(ก)โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 120
โจทก์ร่วมที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ต้องถือว่าเป็นการอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งมีโจทก์ร่วมทั้งสองเป็นผู้เสียหายเท่านั้น เพราะโจทก์ร่วมทั้งสองมิได้เป็นผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
จำเลยที่ 2 มีอาหารปลอมไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายโดยที่อาหารดังกล่าวมีเครื่องหมายการค้าปลอมอยู่ด้วยก็ด้วยเจตนาเดียวที่ประสงค์จะจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารปลอม เมื่ออาหารปลอมนั้นมีเครื่องหมายการค้าปลอมและกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้ จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายอาหารปลอมและเครื่องหมายการค้าปลอม: ศาลฎีกาแก้เป็นผิดสองกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องโดยแบ่งการกระทำที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเกี่ยวกับการผลิตอาหารปลอม และส่วนที่สองเกี่ยวกับการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าอันเป็นอาหารปลอมและที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม สำหรับส่วนแรกของฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับการปลอมสลากเครื่องหมายการค้า ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่า มีผู้อื่นปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหาย มิได้อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ และในส่วนที่เกี่ยวกับการนำเครื่องหมายการค้าปลอมไปปิดผนึกไว้ที่ขวดบรรจุสินค้าและการนำซอสหอยนางรมที่ผลิตขึ้นมาบรรจุลงในขวดที่ปิดผนึกฉลากเครื่องหมายการค้าปลอม ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นความผิดกรรมที่สองที่สามนั้น ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่า การกระทำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตอาหารปลอมของจำเลย การกระทำทั้งสองอย่างของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวกับการกระทำความผิดฐานผลิตอาหารปลอมของจำเลย สำหรับส่วนหลังของฟ้อง เนื่องจากการจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าอันเป็นอาหารปลอมและมีเครื่องหมายการค้าปลอม เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังรวมทั้งมีเจตนาที่แยกต่างหากจากการผลิตอาหารปลอม จึงเป็นการกระทำคนละกรรมต่างกันจากการผลิตอาหารปลอม ต้องลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้อีกกรรมหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2831/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงนอกเหนือคำให้การรับสารภาพ และยืนยันความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้ากับผลิตอาหารปลอมเป็นคนละกระทง
คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ก็ตาม ข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับอนุญาตให้ฎีกาได้นั้น ก็จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงจะวินิจฉัยได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันผลิตอาหารปลอมจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การรับสารภาพ จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 กระทำผิดตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง จำเลยที่ 2 และที่ 3จะโต้เถียงข้อเท็จจริงให้เป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ ที่จำเลยที่ 2และที่ 3 ฎีกาว่า อาหารที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันผลิตไม่ใช่อาหารปลอม เพราะได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นผู้ประกอบกิจการผลิตอาหารแล้ว จึงไม่มีความผิดนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากคำให้การรับสารภาพและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้ากับความผิดฐานผลิตอาหารปลอมลักษณะของการกระทำผิดแยกจากกัน เมื่อมีการปลอมเครื่องหมายการค้าและนำไปใช้ก็เป็นความผิดสำเร็จกระทงหนึ่งแล้ว เมื่อนำอาหารที่มีส่วนประกอบซึ่งไม่ใช่สูตรของอาหารที่แท้จริงมาปิดเครื่องหมายการค้าที่ทำปลอมขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคหรือประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นอาหารที่แท้จริง ก็เป็นความผิดฐานผลิตอาหารปลอมอีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นความผิดสองกระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท อาหารผิดมาตรฐานและไม่บริสุทธิ์ ศาลฎีกาแก้โทษจำเลย
ปัญหาที่ว่า การกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยที่ 2 ก็ยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ ความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารผิดมาตรฐาน อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(3),60และความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารไม่บริสุทธิ์ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(1),58 เป็นความผิดที่มีองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษแตกต่างกัน แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารผิดมาตรฐานและอาหารไม่บริสุทธิ์ในวันเดียวกัน และอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่ายก็เป็นอาหารกระป๋องซึ่งภายในบรรจุปลาเกล็ดขาวทอดกรอบอย่างเดียวกันอีกทั้งไม่ปรากฏตามคำฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองข้อหาด้วยเจตนาต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหาว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันซึ่งศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉลากอาหารไม่ถูกต้อง ศาลพิจารณาเจตนาหลอกลวงผู้บริโภค และการผลิตอาหารควบคุมเฉพาะที่ไม่ตรงตามทะเบียน
ฉลากอาหารกระป๋องที่จำเลยผลิตไม่ถูกต้องเฉพาะเลขทะเบียนซึ่งระบุที่ฉลากโดยเลขทะเบียนที่ระบุที่ฉลากอาหาร 2 รายการแรกเป็นของผู้อื่น ส่วนเลขทะเบียนที่ระบุที่ฉลากอาหาร 3 รายการหลังเป็นของจำเลย แต่เป็นเลขทะเบียนอาหารชนิดอื่นที่จำเลยได้รับอนุญาต ให้ขึ้นทะเบียนตำรับอาหารแล้ว ดังนี้จำเลยหามีเจตนาลวงผู้ซื้อ ให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพ ปริมาณ ประโยชน์ หรือลักษณะพิเศษอย่างอื่น หรือในเรื่องสถานที่และประเทศที่ผลิตไม่ เพราะไม่อาจทำให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดในเรื่องดังกล่าวได้ อาหารที่มีฉลากดังกล่าว จึงมิใช่เพื่อลวง หรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องดังกล่าวจำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(2),59 ความผิดฐานผลิตอาหารควบคุมเฉพาะโดยไม่ได้รับอนุญาตกับ ผลิตอาหารควบคุมเฉพาะไม่ตรงตามที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับอาหารไว้ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง,64 กับ มาตรา34,66 เป็นการกระทำผิดกรรมเดียว ทั้งการที่จะลงโทษตามบทมาตราดังกล่าวได้ โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องว่าเป็นอาหารควบคุมเฉพาะซึ่งต้องมีฉลากและฉลากนั้นต้องมีเลขทะเบียนตำรับอาหาร