พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5023/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตามสัญญาและการไม่ถือเป็นเบี้ยปรับ ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น
++ เรื่อง ยืม จำนอง
++ โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 209 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 209 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5023/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา: ศาลอนุญาตแม้คำสั่งไม่ชัดเจน หากส่งสำนวนไปศาลฎีกา
การที่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาเพียงว่าสำเนาให้จำเลยโดยให้ส่งไปพร้อมกับสำเนาอุทธรณ์ อนุญาตให้ปิด จำเลยจะคัดค้านประการใดให้ยื่นเข้ามาพร้อมระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจคัดค้านและสั่งในอุทธรณ์ว่า รับอุทธรณ์ของโจทก์ ให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายแก้ไม่มีผู้รับให้ปิดนั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแต่การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และได้ส่งสำนวนมาศาลฎีกาพออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4515/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายจากการฉ้อโกง และการแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง
จำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ร่วมได้เงิน 700,000 บาท ไป ศาลก็ชอบที่จะสั่งให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินจำนวนนี้คืนให้แก่โจทก์ร่วมเพราะเมื่อร่วมกันกระทำความผิดก็ต้องร่วมกันชดใช้ การสั่งเช่นนี้เป็นการสั่งโดยคำนึงถึงความผิดทางอาญาของจำเลยทั้งสองเป็นสำคัญ ศาลอุทธรณ์จะสั่งยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้โดยคำนึงถึงคดีแพ่งที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 2ระหว่างดำเนินคดีนี้ และเห็นว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้มีการยอมความกันแล้ว หากจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติ โจทก์ร่วมมีสิทธิขอให้บังคับในคดีแพ่งดังกล่าวได้ จึงไม่ถูกต้อง เพราะคดีแพ่งดังกล่าวโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 2 คนเดียว มิได้ฟ้องจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์ยกคำขอของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในการใช้เงินคืน ย่อมทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดไป และข้อเท็จจริงได้ความตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า จำเลยที่ 2 ยังไม่ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่ง ดังกล่าวและมีทรัพย์สินไม่เพียงพอแก่การบังคับคดีด้วย ย่อมไม่เป็นการยุติธรรมต่อโจทก์ร่วม ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในเงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องคืนแก่โจทก์ร่วมตามที่ทางพิจารณาได้ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4515/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันในคดีฉ้อโกงและการบังคับคดี
จำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ร่วมได้เงิน 700,000 บาทไป ศาลก็ชอบที่จะสั่งให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินจำนวนนี้คืนให้แก่โจทก์ร่วมเพราะเมื่อร่วมกันกระทำความผิดก็ต้องร่วมกันชดใช้ การสั่งเช่นนี้เป็นการสั่งโดยคำนึงถึงความผิดทางอาญาของจำเลยทั้งสองเป็นสำคัญ ศาลอุทธรณ์จะสั่งยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้โดยคำนึงถึงคดีแพ่งที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 2 ระหว่างดำเนินคดีนี้ และเห็นว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้มีการยอมความกันแล้ว หากจำเลยที่ 2ไม่ปฏิบัติ โจทก์ร่วมมีสิทธิขอให้บังคับคดีในคดีแพ่งดังกล่าวได้ จึงไม่ถูกต้อง เพราะคดีแพ่งดังกล่าวโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 2 คนเดียว มิได้ฟ้องจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์ยกคำขอของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในการใช้เงินคืน ย่อมทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดไป และข้อเท็จจริงได้ความตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า จำเลยที่ 2 ยังไม่ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งดังกล่าวและมีทรัพย์สินไม่เพียงพอแก่การบังคับคดีด้วย ย่อมไม่เป็นการยุติธรรมต่อโจทก์ร่วม ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในเงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องคืนแก่โจทก์ร่วมตามที่ทางพิจารณาได้ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4513/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: คดีคนไร้ความสามารถ - พิจารณาจากภูมิลำเนาและสถานที่เกิดเหตุวิกลจริต
ซ. ซึ่งป่วยด้วยโรคปัญญาอ่อนมาตั้งแต่กำเนิดเกิดที่กรุงเทพมหานคร มีภูมิลำเนาอยู่แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยอาการวิกลจริตและความบกพร่องทางสมองและสติปัญญาของ ซ. มีอยู่จนถึงปัจจุบันไม่สามารถจัดทำการงานของตนเองได้ เมื่อ ซ. อยู่ในประเทศไทยและมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เหตุแห่ง การวิกลจริตซึ่งเป็นมูลคดีนี้เกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับคำร้องขอให้ ซ. เป็นคนไร้ความสามารถและตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ซ. ไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4513/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลคดีเยาวชนและครอบครัวในการพิจารณาคำร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลเป็นคนไร้ความสามารถ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลคดีเยาวชนและครอบครัวกลางมีคำสั่งว่า ซ.เป็นคนไร้ความสามารถและให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ซ.เมื่อปรากฏตามคำร้องขอของผู้ร้องและคำร้องที่ขออนุญาตให้พิจารณาคดีในศาลที่มูลคดีเกิดว่า ซ.เกิดที่กรุงเทพมหานครและมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ซ.ป่วยด้วยโรคปัญญาอ่อนมาตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้เป็นบุคคลวิกลจริต อาการวิกลจริตและความบกพร่องทางสมองและสติปัญญาของ ซ.มีอยู่จนถึงปัจจุบัน ไม่สามารถจัดทำการงานของตนเองได้ ดังนี้เมื่อ ซ.อยู่ในประเทศไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครเหตุแห่งการวิกลจริตซึ่งเป็นมูลคดีนี้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง จึงชอบที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจะรับคำร้องขอไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4513/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลคดีเยาวชนและครอบครัว: การพิจารณาคดีคนไร้ความสามารถที่มีภูมิลำเนาในเขตอำนาจศาล
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลคดีเยาวชนและครอบครัวกลางมีคำสั่งว่า ช.เป็นคนไร้ความสามารถและให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ช.เมื่อปรากฏตามคำร้องขอของผู้ร้องและคำร้องที่ขออนุญาตให้พิจารณาคดีในศาลที่มูลคดีเกิดว่า ช.เกิดที่กรุงเทพมหานครและมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครช.ป่วยด้วยโรคปัญญาอ่อนมาตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้เป็นบุคคลวิกลจริต อาการวิกลจริตและความบกพร่องทางสมอง และสติปัญญาของ ช. มีอยู่จนถึงปัจจุบัน ไม่สามารถจัดทำการงานของตนเองได้ ดังนี้เมื่อ ช. อยู่ในประเทศไทยและมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครเหตุแห่งการวิกลจริต ซึ่งเป็นมูลคดีนี้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลเยาวชน และครอบครัวกลาง จึงชอบที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง จะรับคำร้องขอไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินมรดกช่วงสมรสเป็นสินสมรส แม้พินัยกรรมไม่ระบุเป็นสินส่วนตัว
การที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาโจทก์ได้รับมรดกคือที่ดินพิพาทเมื่อปี 2509 ขณะที่มีการใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม การพิจารณาว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา คือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมมาตรา 1466 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า สินสมรสได้แก่ทรัพย์สินทั้งหมดที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส นอกจากที่ระบุไว้ว่าเป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวตามมาตรา 1463หรือ 1464 เมื่อจำเลยได้รับที่ดินพิพาททางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ต่อมาจะมีการแบ่งแยกและออกโฉนดใหม่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใหม่ใช้บังคับแล้ว ก็ไม่ทำให้เปลี่ยนสินส่วนตัว โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภททรัพย์สินสมรส: พิจารณาตามกฎหมายขณะได้มา แม้มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง
การพิจารณาว่าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสามีภริยาเป็นประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา
จำเลยได้รับที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในขณะที่ใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามบรรพ 5 เดิมมาตรา 1466 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาจะได้มีการแบ่งแยกที่ดินและออกโฉนดใหม่ เมื่อป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ไม่ทำให้ที่ดินพิพาทหลังจากแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1471 (3)
จำเลยได้รับที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในขณะที่ใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามบรรพ 5 เดิมมาตรา 1466 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาจะได้มีการแบ่งแยกที่ดินและออกโฉนดใหม่ เมื่อป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ไม่ทำให้ที่ดินพิพาทหลังจากแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1471 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากพินัยกรรม: ที่ดินที่ได้มาขณะสมรสแม้ไม่มีระบุเป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรส
การพิจารณาว่าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสามีภริยาเป็นประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา จำเลยได้รับที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรหรือสินส่วนตัวเมื่อปีพ.ศ 2509 ในขณะที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามบรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาจะได้มีการแบ่งแยกที่ดินและออกโฉนดใหม่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมไม่ทำให้ที่ดินพิพาทหลังจากแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1471(3)