คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จังหวัด วิเชียรสรรค์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7-8/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสับเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ละเมิดอำนาจศาล แม้กระทำก่อนฟ้อง
แม้การเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาจะกระทำตั้งแต่ในชั้นสอบสวน ก่อนดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล แต่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เข้าใจดีอยู่แล้วว่า ในที่สุดก็จะต้องมีการดำเนินคดีในศาลเป็นการต่อเนื่องกันไป การเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาโดยมิชอบย่อมเป็นเหตุให้ผู้กระทำผิดที่แท้จริงไม่ต้องถูกลงโทษ ทำให้กระบวนพิจารณาในศาลไม่อาจดำเนินไปโดยเที่ยงธรรมได้ ต้องถือว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ซึ่งแม้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1จะมิใช่คู่ความ แต่การกระทำที่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) มีอยู่ด้วยกัน 2 ประการได้แก่การขัดขืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลตามมาตรา 30 อันว่าด้วยการรักษาความสงบเรียบร้อยประการหนึ่ง กับการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอีกประการหนึ่ง เฉพาะการรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาลเท่านั้นที่จะต้องเป็นคู่ความหรือบุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 ส่วนการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลนั้นหาได้มีข้อจำกัดดังที่ถูกกล่าวหาที่ 1 กล่าวอ้างแต่อย่างใดไม่ ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งลงโทษผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 ได้
การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เป็นเหตุให้ผู้กระทำผิดที่แท้จริงไม่ต้องถูกลงโทษและศาลไม่อาจพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม ทั้งเป็นการชักจูงให้เยาวชนกระทำผิดเพื่อผลประโยชน์ของผู้กล่าวหาที่ 1 เอง โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดแก่อนาคตของเยาวชน มิใช่เป็นการกระทำเพราะความโง่เขลาเบาปัญญาและถูกผู้อื่นชักจูงให้หลงเชื่อ จึงไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7-8/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาโดยมิชอบ ถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ละเมิดอำนาจศาล แม้ผู้กระทำไม่ใช่คู่ความ
แม้การเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาจะกระทำตั้งแต่ในชั้นสอบสวนก่อนดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล แต่ในที่สุดก็จะต้องมีการดำเนินคดีในศาลเป็นการต่อเนื่องกันไป การเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาโดยมิชอบดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้ผู้กระทำผิดที่แท้จริงไม่ต้องถูกลงโทษ ทำให้กระบวนพิจารณาในศาลไม่อาจดำเนินไปโดยเที่ยงธรรมได้ ต้องถือว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การกระทำที่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) มีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ ได้แก่การขัดขืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลตามมาตรา 30 อันว่าด้วยการรักษาความสงบเรียบร้อยประการหนึ่งกับการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอีกประการหนึ่ง เฉพาะการรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาลเท่านั้นที่จะต้องเป็นคู่ความหรือบุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 ส่วนการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลนั้นหาได้มีข้อจำกัดดังกล่าวไม่ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งลงโทษผู้ถูกกล่าวหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 ได้ แม้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 จะมิใช่คู่ความและมิได้อยู่ต่อหน้าศาลก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7423/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดจากพยานหลักฐานหลายส่วน ทั้งพยานบุคคล, ธนบัตร, และคำรับสารภาพ
พยานโจทก์ผู้จับกุมเบิกความสอดคล้องว่าได้ไปร่วมจับกุมจำเลยในซอยที่เกิดเหตุจริง แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบสายลับเป็นพยาน แต่ตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่อ้างส่งก็ปรากฏว่าได้มีการลงหมายเลขธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อทั้งสามฉบับไว้ตั้งแต่เวลา 14.15 นาฬิกา ซึ่งมีหมายเลขธนบัตรทั้งสามฉบับที่ตรวจค้นพบอยู่ในกระเป๋ากางเกงของจำเลย ตามสำเนาภาพถ่ายที่เจ้าพนักงานตำรวจถ่ายสำเนาหลังจากยึดได้จากจำเลยและจำเลยลงลายมือชื่อรับรองไว้ ทั้งเวลาที่เข้าจับกุมและตรวจค้น ธนบัตรที่ใช้ล่อซื้ออยู่ในกระเป๋ากางเกงของจำเลยซึ่งตามบันทึกการจับกุมว่าเป็นเวลา 15.40 นาฬิกา ห่างจากเวลาที่ลงหมายเลขธนบัตรในบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีไม่นาน และใกล้ ๆ กับจุดที่ตรวจค้นตัวจำเลยพบธนบัตรของกลางนั้นยังพบเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 6 เม็ด ซุกซ่อนอยู่ใกล้เคียงบริเวณที่จำเลยยืนมีลักษณะตรงกับเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยขายให้แก่สายลับนอกจากนี้จำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนและนำร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานสอบสวนไปชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ ซึ่งถ้าไม่เป็นความจริงก็คงจะไม่ยอมกระทำเช่นนี้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7217/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากประกันภัยรถยนต์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์เป็นสัญญาที่โจทก์ผู้รับประกันภัยตกลงใช้ค่าสินไหมทดแทน ค่ารักษาพยาบาล ในกรณีที่วินาศภัยเกิดขึ้นโดยคุ้มครองผู้โดยสารในวงเงินคุ้มครองคนละ 50,000 บาท ต่อคนต่ออุบัติเหตุหนึ่งครั้ง มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี เมื่อโจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนอันเป็นค่ารักษาพยาบาลให้แก่ บ. ผู้โดยสารในรถที่เกิดอุบัติภัยซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยไปเป็นเงิน 34,466 บาท ไปแล้ว โจทก์จึงเข้ารับช่วงสิทธิ บ. ฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7115/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกเรือยนต์ของกลาง ผู้ร้องมีสิทธิขอคืนได้หากไม่รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำผิด
ตามสำเนาทะเบียนบ้านปรากฏชื่อนาย ด. เป็นหัวหน้าครอบครัว นาง จ. เป็นภรรยา ส่วนผู้ร้องเป็นบุตรของนาย ด. กับนาง จ. สำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบหักล้างให้เห็นว่าข้อความตามที่ได้ระบุไว้นั้นไม่ถูกต้อง จึงรับฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นบุตรของนาย ด.
เมื่อนาย ด. ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของนาย ด. อันมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม จึงเป็นทายาทผู้หนึ่งที่มีสิทธิได้รับมรดกเรือยนต์ของกลาง แม้จะปรากฏว่านาย ด. มีบุตรอื่นอีกหลายคน ก็ต้องถือว่าผู้ร้องมีสิทธิรับมรดกร่วมเป็นเจ้าของเรือยนต์ของกลางด้วยผู้หนึ่ง ดังนั้น ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนเรือยนต์ของกลางได้
เมื่อจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดโดยนำเรือประมงเข้าไปจับปลาในเขตหวงห้าม แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าเรือประมงที่ใช้ในการกระทำความผิดมิได้เป็นของจำเลยทั้งสองแต่เป็นของผู้ร้องและผู้ร้องก็มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดดังกล่าว ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้คืนเรือของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอาญาหลังการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และการรอการลงโทษเนื่องจากความผิดและพยายามชดใช้หนี้
การที่จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นแต่เพียงทำให้จำเลยหมดโอกาสที่จะผ่อนชำระหนี้เพื่อบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดของจำเลยอีกต่อไปเท่านั้นการพิจารณาความผิดทางอาญาของจำเลยยังดำเนินต่อไปได้ ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เหมือนอย่างในคดีแพ่ง ดังนั้นกระบวนพิจารณาคดีอาญาที่ศาลล่างทั้งสองกระทำต่อมาภายหลังจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6506/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาบุกรุก: การเข้าไปในบ้านเพื่อพบภรรยาและบุตรหลังคลอด ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยเข้าไปบ้านของผู้เสียหายที่ 1 เพราะต้องการจะไปหา ส. ซึ่งเป็นภริยาและบุตรของจำเลยซึ่งเพิ่งคลอดจาก ส. แม้ ม. จะห้ามไม่ให้เข้าบ้านโดยอ้างว่าส. ไม่อยู่จำเลยก็ไม่ยอมฟังเพราะจำเลยไม่เชื่อว่า ส. จะไม่อยู่ในบ้านดังกล่าวการที่จำเลยเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายที่ 1 จึงมีเหตุอันสมควรเพื่อต้องการไปหาภริยาและบุตรของจำเลย จำเลยไม่มีเจตนาบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5607/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1(11) "คู่ความ" หมายความรวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความฝ่ายจำเลยมีทนายความเป็นผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและจำเลยเป็นผู้แต่งทนายความ โดยให้ทนายความมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ไปในทางจำหน่ายสิทธิของจำเลยรวมทั้งการประนีประนอมยอมความได้ด้วย การที่ทนายความได้สละข้อต่อสู้และทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำของคู่ความคือจำเลยด้วย จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลว่าทนายจำเลยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยจำเลยไม่ทราบนั้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5607/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย แม้จำเลยอ้างไม่ทราบ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11)"คู่ความ" หมายความรวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความฝ่ายจำเลยมีทนายความเป็นผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและจำเลยเป็นผู้แต่งทนายความ โดยให้ทนายความมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ไปในทางจำหน่ายสิทธิของจำเลยรวมทั้งการประนีประนอมยอมความได้ด้วย การที่ทนายความได้สละข้อต่อสู้และทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำของคู่ความคือจำเลยด้วย จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลว่าทนายจำเลยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยจำเลยไม่ทราบนั้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการ/พนักงานท้องถิ่นกระทำผิดยาเสพติด: การเพิ่มโทษสามเท่าเป็นบทกำหนดโทษ ไม่ใช่เพิ่มโทษ
ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น หมายถึงอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด บทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นบทกำหนดโทษ หาใช่เป็นบทเพิ่มโทษไม่ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนและให้เพิ่มโทษเป็นสามเท่าตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯมาตรา 10 จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
of 4