พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3033/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาอากรขาเข้าใหม่โดยศุลกากรชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาสำแดงไม่ตรงกับราคาตลาด
โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มภายหลังนำของไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า แม้โจทก์มิได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะเรียกร้องเงินอากรที่ชำระเพิ่มคืนก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดี
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 4 ฉบับ ที่พิพาทเป็นราคาที่โจทก์ซื้อและเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินราคาใหม่ได้โดยปฏิบัติตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 44/2540 ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดราคาที่ใช้ในการประเมินอากรและการตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้า แม้คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรฉบับดังกล่าวจะมิใช่กฎหมายก็ตาม แต่ก็เป็นคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งใช้เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป มิใช่เลือกปฏิบัติเฉพาะโจทก์ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าทั้ง 4 เที่ยวใหม่ จึงชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 4 ฉบับ ที่พิพาทเป็นราคาที่โจทก์ซื้อและเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินราคาใหม่ได้โดยปฏิบัติตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 44/2540 ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดราคาที่ใช้ในการประเมินอากรและการตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้า แม้คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรฉบับดังกล่าวจะมิใช่กฎหมายก็ตาม แต่ก็เป็นคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งใช้เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป มิใช่เลือกปฏิบัติเฉพาะโจทก์ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าทั้ง 4 เที่ยวใหม่ จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนอากรขาเข้าเกินและดอกเบี้ย: กรณีศุลกากรประเมินราคาผิดพลาด ผู้เสียภาษีมีสิทธิขอคืน
กรณีของโจทก์เป็นเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยไม่พอใจราคาสินค้าที่โจทก์สำแดง จึงให้โจทก์ชำระอากรตามสำแดงและให้วางเงินประกันค่าอากรอีกส่วนหนึ่ง ได้มีการส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปแล้วต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มโจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินการชำระเงินค่าอากรเพิ่มกรณีเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า การที่โจทก์ได้ชำระอากรขาเข้าให้แก่จำเลยตามที่จำเลยเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้โจทก์มิได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือสงวนสิทธิในการฟ้องร้องหรือเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืน และมิได้บอกกล่าวให้จำเลยคืนเงินตามฟ้องก่อนนั้น ก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องนั้น จำเลยก็ย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่ากับที่โจทก์ได้ชำระไปให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคท้าย คดีนี้โจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เรียกไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสียนับแต่วันที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยแต่ละครั้งจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอคืนอากรและดอกเบี้ยจากจำเลยได้
ราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้านั้น โจทก์มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารมานำสืบว่าเป็นราคาที่โจทก์ได้ตกลงซื้อขายกับบริษัทผู้จำหน่ายในต่างประเทศจริง และได้มีการชำระเงินกันโดยผ่านทางธนาคาร จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาของที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้านั้นโจทก์และบริษัทผู้จำหน่ายในต่างประเทศได้สมยอมกันกำหนดราคาให้ต่ำกว่าที่เป็นจริง อีกทั้งจำเลยก็มิได้มีพยานหลักฐานใดมาแสดงให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทเป็นราคาเท่าใด คงเพียงแต่อาศัยราคาที่จำเลยอ้างว่าโจทก์เคยนำเข้าสินค้ามาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเพียงอย่างเดียว ซึ่งราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ผู้จำหน่ายในต่างประเทศได้พิมพ์ผิดพลาดและการประเมินเพิ่มอาศัยหลักการตามที่จำเลยวางระเบียบและคำสั่งราชการให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดครั้งก่อนรายที่พิจารณาเป็นเกณฑ์ในการประเมินราคานั้นระเบียบและคำสั่งของจำเลยเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการเปรียบเทียบกับผู้นำเข้าครั้งก่อนเท่านั้นจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยังไม่ได้ อีกทั้งปรากฏว่าราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าครั้งก่อนมีการพิมพ์ผิดพลาดไม่อาจนำมาเปรียบเทียบได้ ดังนั้น ราคาของที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเพิ่มขึ้นจึงไม่อาจถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
ราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้านั้น โจทก์มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารมานำสืบว่าเป็นราคาที่โจทก์ได้ตกลงซื้อขายกับบริษัทผู้จำหน่ายในต่างประเทศจริง และได้มีการชำระเงินกันโดยผ่านทางธนาคาร จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาของที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้านั้นโจทก์และบริษัทผู้จำหน่ายในต่างประเทศได้สมยอมกันกำหนดราคาให้ต่ำกว่าที่เป็นจริง อีกทั้งจำเลยก็มิได้มีพยานหลักฐานใดมาแสดงให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทเป็นราคาเท่าใด คงเพียงแต่อาศัยราคาที่จำเลยอ้างว่าโจทก์เคยนำเข้าสินค้ามาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเพียงอย่างเดียว ซึ่งราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ผู้จำหน่ายในต่างประเทศได้พิมพ์ผิดพลาดและการประเมินเพิ่มอาศัยหลักการตามที่จำเลยวางระเบียบและคำสั่งราชการให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดครั้งก่อนรายที่พิจารณาเป็นเกณฑ์ในการประเมินราคานั้นระเบียบและคำสั่งของจำเลยเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการเปรียบเทียบกับผู้นำเข้าครั้งก่อนเท่านั้นจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยังไม่ได้ อีกทั้งปรากฏว่าราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าครั้งก่อนมีการพิมพ์ผิดพลาดไม่อาจนำมาเปรียบเทียบได้ ดังนั้น ราคาของที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเพิ่มขึ้นจึงไม่อาจถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5481/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินอากรหลังนำของออกจากอารักขา: ไม่เข้าข่าย 2 ปีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร แต่มีอายุความ 10 ปี
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า เป็นการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไปแล้วก่อนนำของออกจากอารักขาของศุลกากรตามมาตรา 40ไม่รวมถึงการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ถูกประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมภายหลังจากนำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้วตามมาตรา 112 และ 112 ทวิ เห็นได้จากมาตรา 10วรรคห้า ให้นับกำหนดเวลา 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า และมิให้รับพิจารณาการเรียกร้องขอคืนเงินอากร หลังจากที่ได้เสียอากรและของนั้น ๆ ได้ส่งมอบหรือส่งออกไปแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่ผู้นำเข้าได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องดังกล่าว ซึ่งถ้าเป็นกรณีตามมาตรา 112 และ 112 ทวิ จะไม่อาจใช้ระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้าและไม่อาจแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้อง การที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเงินอากรขาเข้าตามที่ถูกประเมินให้ชำระเพิ่มเติมมิใช่กรณีใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงก่อนนำของออกจากอารักขาของศุลกากร สิทธิของโจทก์จึงไม่สิ้นไปเมื่อครบกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า แต่เป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินและแจ้งให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากโจทก์นำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้ว ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคืนเงินอากร, ภาษี, ค่าธรรมเนียมพิเศษ และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
สิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียนั้นจะต้องฟ้องภายใน 2 ปี นับแต่วันนำของเข้าตามมาตรา10 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 แม้โจทก์จะได้ยื่นคำขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกินต่ออธิบดีกรมศุลกากรภายใน 2 ปี แต่นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันนำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงเป็นอันสิ้นไปหรือขาดอายุความ ส่วนภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล และค่าธรรมเนียมพิเศษนั้น เมื่อจำเลยให้การต่อสู้และศาลวินิจฉัยว่าสิทธิเรียกร้องคืนอากรขาเข้าขาดอายุความเพียงอย่างเดียว จำเลยจึงต้องคืนภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษให้แก่โจทก์ สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี พอถือได้ว่าโจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเป็นการเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุผิดนัดชำระหนี้เงินคืน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก ส่วนค่าธรรมเนียมพิเศษเป็นการเรียกดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดระเบียบการเรียกเก็บและวิธีการชำระค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรลงวันที่ 7 มิถุนายน 2533 โดยจำเลยต้องคืนค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนนับแต่วันที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมพิเศษจนถึงวันที่มีการอนุมัติให้จ่ายคืน คดีนี้จำเลยไม่ได้ยกอายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษขึ้นเป็นข้อต่อสู้การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่วินิจฉัยประเด็นว่าจำเลยต้องคืนเงินภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามฟ้องอีกหรือไม่เพียงใดจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา17ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และสิทธิในการเรียกร้องเงินค่าอากรที่ชำระเกิน
กรณีของโจทก์เป็นเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยไม่พอใจราคาสินค้าที่โจทก์สำแดง จึงให้โจทก์ชำระอากรตามสำแดงและให้วางเงินประกันค่าอากรอีกส่วนหนึ่ง ได้มีการส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปแล้วต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มโจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแจ้งการประเมิน การชำระค่าอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 10 วรรคห้า ดังนั้น การที่โจทก์ได้ชำระอากรขาเข้าให้แก่จำเลยตามที่จำเลยเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้โจทก์จะมิได้สงวนสิทธิในการฟ้องร้องหรือเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืน ก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องจำเลยก็ย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่ากับที่โจทก์ได้ชำระให้แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากร ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคท้ายดังนั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องขอเรียกเงินอากรขาเข้าที่ชำระไว้เดิมพร้อมดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เรียกเก็บไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสีย นับแต่วันชำระอากรขาเข้า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คดีนี้โจทก์ได้ชำระเงินอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินการชำระเงินค่าอากรเพิ่มดังกล่าวเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า เช่นกัน เพราะขณะที่โจทก์รับมอบสินค้าจากกรมศุลกากรนั้นโจทก์ยังมิได้เสียอากรตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกคืน แต่กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องโจทก์จำเลยปฏิบัติพิธีการศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 และมาตรา 112 ทวิ กล่าวคือ เป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านพิธีการศุลกากรพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยและตัวแทนของโจทก์จึงตกลงให้ชำระอากรตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 29 ฉบับ และให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ประเมินอากรเพิ่มภายหลังจากที่ได้รับมอบสินค้าแล้วประมาณ 1 เดือน ซึ่งกรณีดังกล่าวพ.ร.บ.ศุลกากรมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความตามบทบัญญัติทั่วไปมีกำหนดสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 (มาตรา 164 เดิม)
หลักเกณฑ์การประเมินตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 8/2530ข้อ 2.3 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดต่อรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน3 เดือน กับคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 47/2531 ข้อ 1.5 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 3 เดือน และตามคำสั่ง กค 0614(ก)/8024 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2532 ที่กำหนดให้สินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว ประกอบคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 8/2530 ข้อ 2.2 ที่ระบุว่าของที่ราคาเคลื่อนไหวเร็วซึ่งกองพิธีการและประเมินอากรร่วมกับกองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณากำหนดชนิดของนั้น ๆ ไว้ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน เป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรนั้น เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยนำสืบแสดงหลักฐานว่าราคาที่โจทก์สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าประเภทชนิดเดียวกันจากแหล่งประเทศกำเนิดเดียวกันโดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่โจทก์เคยนำเข้าโดยให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน หรือ 1 เดือน เป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรเมื่อโจทก์จำเลยรับกันว่าสินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีราคาเคลื่อนไหวเร็วมีการเปลี่ยนแปลงราคาเดือนละ 3 ถึง 4 ครั้ง จึงเป็นการไม่แน่นอนว่าราคาสินค้าที่เคยนำเข้าสูงสุดย้อนหลังไม่เกิน 3 เดือน หรือ 1 เดือน ที่จำเลยใช้เป็นเกณฑ์ประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 2 ส่วนโจทก์นำสืบแสดงว่าราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวขึ้นลงเร็ว ก่อนโจทก์สั่งซื้อจะต้องสอบถามราคาจากผู้ผลิตและข่าวสารทั่วโลกแหล่งข่าวสารที่โจทก์ติดตามประจำคือ ไอ.ซี.ไอ.เอส. (Indenpendent Chemical InformationService) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลของราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวทั่วโลก ราคาของก๊าซเอทธิลีนเหลวมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามสถานการณ์ของตลาดเฉลี่ยเดือนละ 3 ครั้ง ราคาที่โจทก์จัดซื้อเมื่อเทียบเคียงราคาจากข่าวสารจะใกล้เคียงระดับเดียวกัน การซื้อโจทก์ชำระราคาโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตมีใบกำกับสินค้าแสดงราคาสินค้าสัญญาซื้อขาย พร้อมทั้งใบเสร็จรับเงินของธนาคารเป็นหลักฐาน จำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งว่าพยานหลักฐานที่โจทก์สำแดงราคาสินค้าตามที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าและใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 29 ฉบับ ที่โจทก์ซื้อมาและชำระราคาไปแล้วนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ฉะนั้นราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทุกฉบับจึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องจำเลยก็ย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่ากับที่โจทก์ได้ชำระให้แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากร ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคท้ายดังนั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องขอเรียกเงินอากรขาเข้าที่ชำระไว้เดิมพร้อมดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เรียกเก็บไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสีย นับแต่วันชำระอากรขาเข้า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คดีนี้โจทก์ได้ชำระเงินอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินการชำระเงินค่าอากรเพิ่มดังกล่าวเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า เช่นกัน เพราะขณะที่โจทก์รับมอบสินค้าจากกรมศุลกากรนั้นโจทก์ยังมิได้เสียอากรตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกคืน แต่กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องโจทก์จำเลยปฏิบัติพิธีการศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 และมาตรา 112 ทวิ กล่าวคือ เป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านพิธีการศุลกากรพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยและตัวแทนของโจทก์จึงตกลงให้ชำระอากรตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 29 ฉบับ และให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ประเมินอากรเพิ่มภายหลังจากที่ได้รับมอบสินค้าแล้วประมาณ 1 เดือน ซึ่งกรณีดังกล่าวพ.ร.บ.ศุลกากรมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความตามบทบัญญัติทั่วไปมีกำหนดสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 (มาตรา 164 เดิม)
หลักเกณฑ์การประเมินตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 8/2530ข้อ 2.3 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดต่อรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน3 เดือน กับคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 47/2531 ข้อ 1.5 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 3 เดือน และตามคำสั่ง กค 0614(ก)/8024 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2532 ที่กำหนดให้สินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว ประกอบคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 8/2530 ข้อ 2.2 ที่ระบุว่าของที่ราคาเคลื่อนไหวเร็วซึ่งกองพิธีการและประเมินอากรร่วมกับกองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณากำหนดชนิดของนั้น ๆ ไว้ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน เป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรนั้น เป็นเพียงแนวทางให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยนำสืบแสดงหลักฐานว่าราคาที่โจทก์สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าประเภทชนิดเดียวกันจากแหล่งประเทศกำเนิดเดียวกันโดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่โจทก์เคยนำเข้าโดยให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน หรือ 1 เดือน เป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรเมื่อโจทก์จำเลยรับกันว่าสินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีราคาเคลื่อนไหวเร็วมีการเปลี่ยนแปลงราคาเดือนละ 3 ถึง 4 ครั้ง จึงเป็นการไม่แน่นอนว่าราคาสินค้าที่เคยนำเข้าสูงสุดย้อนหลังไม่เกิน 3 เดือน หรือ 1 เดือน ที่จำเลยใช้เป็นเกณฑ์ประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 2 ส่วนโจทก์นำสืบแสดงว่าราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวขึ้นลงเร็ว ก่อนโจทก์สั่งซื้อจะต้องสอบถามราคาจากผู้ผลิตและข่าวสารทั่วโลกแหล่งข่าวสารที่โจทก์ติดตามประจำคือ ไอ.ซี.ไอ.เอส. (Indenpendent Chemical InformationService) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลของราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวทั่วโลก ราคาของก๊าซเอทธิลีนเหลวมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามสถานการณ์ของตลาดเฉลี่ยเดือนละ 3 ครั้ง ราคาที่โจทก์จัดซื้อเมื่อเทียบเคียงราคาจากข่าวสารจะใกล้เคียงระดับเดียวกัน การซื้อโจทก์ชำระราคาโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตมีใบกำกับสินค้าแสดงราคาสินค้าสัญญาซื้อขาย พร้อมทั้งใบเสร็จรับเงินของธนาคารเป็นหลักฐาน จำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งว่าพยานหลักฐานที่โจทก์สำแดงราคาสินค้าตามที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าและใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 29 ฉบับ ที่โจทก์ซื้อมาและชำระราคาไปแล้วนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ฉะนั้นราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทุกฉบับจึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสินค้าที่สำแดงตาม CIF เชื่อถือได้หากมีหลักฐานประกอบ และการประเมินราคาต้องอ้างอิงราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
กรณีของโจทก์เป็นเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยไม่พอใจราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงจึงให้โจทก์ชำระอากรตามสำแดงและให้วางเงินประกันค่าอากรอีกส่วนหนึ่งได้มีการส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปแล้วต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มโจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มเติมตามที่ได้รับแจ้งการประเมินการชำระค่าอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับสินค้าแล้วจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าดังนั้นการที่โจทก์ได้ชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลยตามที่จำเลยเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แม้โจทก์จะมิได้สงวนสิทธิในการฟ้องร้องหรือเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องจำเลยก็ย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่ากับที่โจทก์ได้ชำระให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกร้อยละ0.625ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112จัตวาวรรคท้ายดังนั้นคดีนี้โจทก์ฟ้องขอเรียกเงินอากรขาเข้าที่ชำระไว้เดิมพร้อมดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เรียกเก็บไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสียนับแต่วันชำระอากรขาเข้าโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง คดีนี้โจทก์ได้ชำระเงินอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินการชำระเงินค่าอากรเพิ่มดังกล่าวเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้วกรณีจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าดังนั้นการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุใดที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าเช่นกันเพราะขณะที่โจทก์รับมอบสินค้าจากกรมศุลกากรนั้นโจทก์ยังมิได้เสียอากรตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนแต่กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องโจทก์จำเลยปฏิบัติพิธีการศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112และมาตรา112ทวิกล่าวคือเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านพิธีการศุลกากรพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยและตัวแทนของโจทก์จึงตกลงให้ชำระอากรตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง29ฉบับและให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ประเมินอากรเพิ่มภายหลังจากที่ได้รับมอบสินค้าแล้วประมาณ1เดือนซึ่งกรณีดังกล่าวพระราชบัญญัติศุลกากรมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะจึงต้องใช้อายุความตามบทบัญญัติทั่วไปมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30(มาตรา164เดิม) หลักเกณฑ์การประเมินตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่8/2530ข้อ2.3ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดต่อรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน3เดือนกับคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่47/2531ข้อ1.5ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน3เดือนและตามคำสั่งกค0614(ก)/8024ลงวันที่25กรกฎาคม2532ที่กำหนดให้สินค้าก๊าซเอทธีลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเร็วประกอบคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่8/2530ข้อ2.2ที่ระบุว่าของที่ราคาเคลื่อนไหวเร็วซึ่งกองพิธีการและประเมินอากรร่วมกับกองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณากำหนดชนิดของนั้นๆไว้ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาระยะเวลาไม่เกิน1เดือนเป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรนั้นเป็นเพียงแนวทางให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้นดังนั้นการที่จำเลยนำสืบแสดงหลักฐานว่าราคาที่โจทก์สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าประเภทชนิดเดียวกันจากแหล่งประเทศกำเนิดเดียวกันโดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่โจทก์เคยนำเข้าโดยให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน3เดือนหรือ1เดือนเป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรเมื่อโจทก์จำเลยรับกันว่าสินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีราคาเคลื่อนไหวเร็วมีการเปลี่ยนแปลงราคาเดือนละ3ถึง4ครั้งจึงเป็นการไม่แน่นอนว่าราคาสินค้าที่เคยนำเข้าสูงสุดย้อนหลังไม่เกิน3เดือนหรือ1เดือนที่จำเลยใช้เป็นเกณฑ์ประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา2ส่วนโจทก์นำสืบแสดงว่าราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวขึ้นลงเร็วก่อนโจทก์สั่งซื้อจะต้องสอบถามราคาจากผู้ผลิตและข่าวสารทั่วโลกแหล่งข่าวสารที่โจทก์ติดตามประจำคือไอ.ซี.ไอ.เอส.(IndenpendentChemicalInformationService)ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลของราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวทั่วโลกราคาของก๊าซเอทธิลีนเหลวมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามสถานการณ์ของตลาดเฉลี่ยเดือนละ3ครั้งราคาที่โจทก์จัดซื้อเมื่อเทียบเคียงราคาจากข่าวสารจะใกล้เคียงระดับเดียวกันการซื้อโจทก์ชำระราคาโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตมีใบกำกับสินค้าแสดงราคาสินค้าสัญญาซื้อขายพร้อมทั้งใบเสร็จรับเงินของธนาคารเป็นหลักฐานจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งว่าพยานหลักฐานที่โจทก์สำแดงราคาสินค้าตามที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าและใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง29ฉบับที่โจทก์ซื้อมาและชำระราคาไปแล้วนั้นไม่ถูกต้องอย่างไรฉะนั้นราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทุกฉบับจึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การประเมินราคาศุลกากร, อายุความค่าอากร, ราคาอันแท้จริง
หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นเอกสารราชการซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ทำขึ้น เมื่ออีกฝ่ายมิได้นำสืบว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องอย่างไร แม้ฝ่ายที่อ้างจะมิได้นำนายทะเบียนมาสืบก็รับฟังได้เมื่อผู้รับมอบอำนาจเบิกความยืนยันว่า กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อร่วมกันในหนังสือมอบอำนาจ มอบอำนาจให้ตนเป็นผู้ดำเนินคดีแทนโจทก์ โดยมีตราสำคัญของโจทก์ประทับ แม้จะไม่มีกรรมการผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจมาสืบ ก็ฟังได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องคดีแทน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ในวันนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า โจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่เจ้าพนักงานของจำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่ม โจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางเงินสดและหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นหลักประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่ม เป็นการดำเนินการเพื่อนำสินค้าออกจากอารักขาของจำเลยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 112 จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มในวันนำเข้าแล้ว ต่อเมื่อเจ้าพนักงานของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มโจทก์นำเงินไปชำระและรับหลักประกันคืน เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา112 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก่อนที่จะนำของไปจากอารักขาของศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 40 อันจะถือได้ว่าโจทก์ได้เสียอากรเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของอันจะอยู่ในบังคับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกิน ในกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่นำสินค้าเข้า ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรมาตรา 10 วรรคห้า หากแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มเกินกว่าจำนวนที่ต้องชำระ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินเงินอากรเพิ่ม เพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของ เมื่อ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
การซื้อสินค้าของโจทก์ในแต่ละเที่ยวที่นำเข้าเมื่อพิจารณาจากราคาที่ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ปรากฏว่าราคาสินค้าต่อหน่วยไม่เท่ากันในการนำเข้าแต่ละเที่ยว เจ้าพนักงานของจำเลยจึงได้ประเมินเพิ่มขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละเที่ยวเช่นเดียวกัน ราคาสินค้าทั้งที่โจทก์สำแดงและที่เจ้าพนักงานประเมินเพิ่มมิได้คงที่ มีการปรับราคาอยู่เสมอ และการประเมินของเจ้าพนักงานโดยการปรับราคาก็ไม่แน่นอนว่าจะเพิ่มหรือลดลง แม้ว่าการประเมินดังกล่าวจะอาศัยตามประกาศกรมศุลกากรและคำสั่งกรมศุลกากรซึ่งให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาไม่เกิน 3 เดือนเป็นหลักในการประเมินแต่ประกาศและคำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการเปรียบเทียบกับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้นจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยังไม่ได้ แสดงว่าการกำหนดราคาซื้อขายระหว่างโจทก์กับผู้ขายเป็นไปตามภาวะการตลาด หรือภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนั้นราคาสินค้าการซื้อขายระหว่างโจทก์กับผู้ขายจึงเป็นราคาขายส่งเงินสดซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่นำของเข้าโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคา จึงเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง
ในวันนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า โจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่เจ้าพนักงานของจำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่ม โจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางเงินสดและหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นหลักประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่ม เป็นการดำเนินการเพื่อนำสินค้าออกจากอารักขาของจำเลยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 112 จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มในวันนำเข้าแล้ว ต่อเมื่อเจ้าพนักงานของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มโจทก์นำเงินไปชำระและรับหลักประกันคืน เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา112 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก่อนที่จะนำของไปจากอารักขาของศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 40 อันจะถือได้ว่าโจทก์ได้เสียอากรเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของอันจะอยู่ในบังคับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกิน ในกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่นำสินค้าเข้า ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรมาตรา 10 วรรคห้า หากแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มเกินกว่าจำนวนที่ต้องชำระ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินเงินอากรเพิ่ม เพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของ เมื่อ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
การซื้อสินค้าของโจทก์ในแต่ละเที่ยวที่นำเข้าเมื่อพิจารณาจากราคาที่ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ปรากฏว่าราคาสินค้าต่อหน่วยไม่เท่ากันในการนำเข้าแต่ละเที่ยว เจ้าพนักงานของจำเลยจึงได้ประเมินเพิ่มขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละเที่ยวเช่นเดียวกัน ราคาสินค้าทั้งที่โจทก์สำแดงและที่เจ้าพนักงานประเมินเพิ่มมิได้คงที่ มีการปรับราคาอยู่เสมอ และการประเมินของเจ้าพนักงานโดยการปรับราคาก็ไม่แน่นอนว่าจะเพิ่มหรือลดลง แม้ว่าการประเมินดังกล่าวจะอาศัยตามประกาศกรมศุลกากรและคำสั่งกรมศุลกากรซึ่งให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาไม่เกิน 3 เดือนเป็นหลักในการประเมินแต่ประกาศและคำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยการเปรียบเทียบกับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้นจะถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยังไม่ได้ แสดงว่าการกำหนดราคาซื้อขายระหว่างโจทก์กับผู้ขายเป็นไปตามภาวะการตลาด หรือภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนั้นราคาสินค้าการซื้อขายระหว่างโจทก์กับผู้ขายจึงเป็นราคาขายส่งเงินสดซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่นำของเข้าโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคา จึงเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรขาเข้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการฟ้องขอคืนเงิน พร้อมดอกเบี้ย
พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่พอใจราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงจึงให้โจทก์ชำระอากรตามสำแดงและให้วางประกันเงินค่าอากรอีกส่วนหนึ่งได้มีการส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปแล้ว ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่ม โจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน การชำระเงินค่าอากรเพิ่มเป็นเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า แม้โจทก์มิได้สงวนสิทธิในการฟ้องร้องหรือเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนและมิได้บอกกล่าวให้จำเลยคืนเงินตามฟ้องก่อนนั้น ก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องนั้น จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่าที่โจทก์ชำระไปให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรหรือวางประกันค่าอากรครั้งสุดท้ายตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 112 จัตวา วรรคท้าย ซึ่งคดีนี้โจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานของจำเลยเรียกไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสียนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จเท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การประเมินภาษีอากรขาเข้าจะชอบหรือไม่ต้องพิจารณาว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของราคาสินค้าเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าโจทก์ได้สำแดงราคาสินค้าพิพาทเท่าที่โจทก์ซื้ออันอนุมานได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ที่จำเลยอ้างว่าต่ำกว่าราคาประเมินที่จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงประเมินภาษีอากรขาเข้าตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 47/2531 ข้อ 1.8 ที่ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 6 เดือนนั้น จำเลยไม่ได้นำสืบให้ประจักษ์ว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นจำนวนเท่าใด หลักฐานที่ว่ามีผู้นำเข้ารายอื่นในช่วง 6 เดือนดังกล่าวไม่มีในเอกสารที่ส่งจึงเป็นการไม่แน่นอนว่าจะเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกับสินค้าพิพาทหรือไม่ ยังฟังไม่ได้ว่าราคาที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด การประเมินราคาสินค้าพิพาทและประเมินภาษีอากรขาเข้าของจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอคืนภาษีอากรต้องแจ้งความประสงค์ก่อนส่งมอบของ และการประเมินราคาภาษีรวมค่าขนส่ง
ราคาของที่นำมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีอากรนั้นต้องคิดจากราคาสินค้ารวมกับค่าประกันภัยและค่าระวาง เรียกว่า ราคาซี.ไอ.เอฟ. ที่โจทก์อ้างว่าโต้แย้งเฉพาะค่าขนส่งก็ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับราคาของ เมื่อโจทก์มิได้แจ้งไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของ ว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องขอคืนอากรขาเข้ารวมถึงค่าธรรมเนียมพิเศษที่ให้นำกฎหมายว่าด้วยศุลกากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย ส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืนภาษีอากรในส่วนนี้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้า การคำนวณราคาฐานภาษี และอำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีอากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ราคาของที่จะนำมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีอากรนั้น ต้องคิดจากราคาสินค้ารวมกับค่าประกันภัยและค่าระวางหรือค่าขนส่งสินค้าซึ่งเรียกว่าราคา ซี.ไอ.เอฟ. ค่าระวางหรือค่าขนส่งสินค้าจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาของ การที่โจทก์โต้แย้งเรื่องค่าขนส่งหรือค่าระวางสินค้าถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับราคาแห่งของเมื่อโจทก์มิได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องขอคืนอากรขาเข้ารวมถึงค่าธรรมเนียมพิเศษที่ให้นำกฎหมายว่าด้วยการศุลกากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดระเบียบการเรียกเก็บและวิธีการชำระค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2533 แม้การที่เจ้าพนักงานประเมินได้มีคำสั่งประเมินภาษีอากรเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์สำแดงโดยเพิ่มค่าระวางขนส่งให้สูงขึ้นจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้วก็ตาม แต่ในกรณีเช่นนี้กฎหมายกำหนดขั้นตอนที่โจทก์จะต้องปฏิบัติก่อน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืนภาษีอากรดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้