พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเสนอขายสินค้าปลอมที่มีเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนนอกราชอาณาจักร ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ยังใช้บังคับ
การที่พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้ในภายหลังประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 มีบทบัญญัติมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 108 ซึ่งกำหนดให้เฉพาะการเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเท่านั้นเป็นความผิดทางอาญาเป็นเพราะเครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนในราชอาณาจักรจะได้รับความคุ้มครองสำหรับสินค้าที่จดทะเบียนไว้ตามมาตรา 44 เฉพาะในเขตพื้นที่ภายในราชอาณาจักรเท่านั้น ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรแต่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในราชอาณาจักรไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนหรือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดสิทธิดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 46วรรคแรก เว้นแต่จะเป็นกรณีที่มีบุคคลอื่นเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 46 วรรคสอง ส่วนประมวลกฎหมายอาญามาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ซึ่งออกมาใช้บังคับก่อน พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ให้ความคุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรที่จะดำเนินคดีอาญาแก่ผู้เสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวปลอมได้ด้วย แม้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 108 มิได้คุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนนอกราชอาณาจักรไว้เช่นนั้นก็ไม่อาจถือได้ว่าบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯเมื่อพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ เป็นกฎหมายเฉพาะซึ่งใช้บังคับในภายหลังมาตรา 3 วรรคแรก ให้ยกเลิกเฉพาะพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2504 เท่านั้น มิได้ให้ยกเลิกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ด้วย ทั้งไม่อาจถือว่ามาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 ขัดหรือแย้งกับมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ บทบัญญัติมาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273 จึงมิได้ถูกยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ดังนั้นการที่จำเลยเสนอจำหน่ายสินค้ากระเป๋าที่มีเครื่องหมายการค้าซึ่งมีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักร จึงมีความผิดและต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 273
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8034/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า การใช้เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนสับสน และการเรียกค่าเสียหาย
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย 8 ปี เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างมีคำว่า "UNIOR" รวมอยู่ด้วย คำว่า "UNIOR"ตรงกับชื่อบริษัทโจทก์คำแรก โจทก์นำคำว่า "UNIOR" มาจากคำในภาษาสโลวีเนีย 2 คำ โดยคำว่า UNI มาจากคำว่า UNIVERZALNAแปลว่า จักรวาล และคำว่า OR มาจากคำว่า ORODJA แปลว่าเครื่องมือ เมื่อนำ 2 คำนี้มารวมกัน ก็จะเห็นถึงเหตุผลที่นำคำดังกล่าวมาใช้กับสินค้าเครื่องมือช่างของโจทก์ โดยได้ดัดแปลงเป็นคำใหม่ว่า"UNIOR" ให้มีลักษณะบ่งเฉพาะขึ้นมา ส่วนจำเลยอ้างว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า SUPPERUNIOR และ SUPPER-UNIOR จำเลยประดิษฐ์มาจากคำว่า SUPPER ซึ่งแปลว่า อาหารมื้อค่ำ และคำว่า JUNIORซึ่งแปลว่า ผู้อ่อนวัยกว่าหรือนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เมื่อนำคำทั้ง 2 คำมารวมกันแปลว่า อาหารมื้อค่ำของผู้อ่อนวัยกว่าหรือนักศึกษาชั้นปีที่ 3เมื่อพิจารณาประกอบกับสินค้าที่จำเลยจดทะเบียนซึ่งได้แก่ กรรไกร คีมไขควงกุญแจปากตายและกุญแจบล็อกจะเห็นว่า คำ 2 คำตามที่จำเลยอ้างถึงนั้นไม่สอดคล้องกับประเภทสินค้า ทั้งไม่มีเหตุที่จำเลยจะตัดอักษร J ออกจากคำว่า JUNIOR โจทก์นำสืบว่าโจทก์ผลิตและส่งสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว โดยจำเลยไม่ได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่น พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังได้ว่าโจทก์คิดประดิษฐ์คำว่า "UNIOR" ขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งได้ใช้มาก่อนจำเลยหลายปี จำเลยเพียงแต่เอาคำว่า SUPPERมาวางไว้หน้าคำว่า UNIOR เท่านั้น ทั้งคำว่า SUPPER ก็คล้ายกับคำว่า SUPER มาก หากผู้ซื้อสินค้าไม่ได้สังเกตอย่างดีแล้วก็อาจเข้าใจเป็นคำ SUPER ได้โดยง่าย อันจะมีความหมายว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพพิเศษของ UNIOR ทั้งยังปรากฏจากสินค้าคีมของโจทก์และของจำเลยก็มีลักษณะคล้ายกัน ด้ามคีมใช้สีเหลืองเข้มใกล้เคียงกันซองพลาสติกบรรจุสินค้าของจำเลยก็คล้ายกับของโจทก์ทั้งการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยก็นำคำว่า SUPPER กับคำว่า UNIORวางไว้คนละบรรทัด โดยคำว่า SUPPER มีขนาดเล็กกว่าคำว่า UNIORพฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยในการขอจดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่พยายามทำให้ผู้ซื้อสินค้าสับสนหลงผิด เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เมื่อโจทก์ใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย จึงมีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองของจำเลยที่ใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกันได้
การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปขอจดทะเบียนและนำไปใช้กับสินค้าของจำเลยที่เป็นสินค้าจำพวกเดียวกันซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นำออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะรับจดทะเบียนให้จำเลยก็เป็นกรณีที่เกิดจากการที่จำเลยขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริต จึงหาทำให้การกระทำของจำเลยกลับเป็นถูกต้องไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือนจากเหตุที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับสินค้าในการลวงขายว่าเป็นสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงควรได้รับค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเท่านั้น ทั้งศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งย่อมมีผลให้เป็นการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยจำเลยไม่จำเป็นต้องดำเนินการขอเพิกถอนอีกแต่อย่างใด ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นรายเดือนจนกว่าจำเลยจะดำเนินการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าแล้วเสร็จ จึงไม่ถูกต้อง
การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปขอจดทะเบียนและนำไปใช้กับสินค้าของจำเลยที่เป็นสินค้าจำพวกเดียวกันซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นำออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะรับจดทะเบียนให้จำเลยก็เป็นกรณีที่เกิดจากการที่จำเลยขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริต จึงหาทำให้การกระทำของจำเลยกลับเป็นถูกต้องไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือนจากเหตุที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับสินค้าในการลวงขายว่าเป็นสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงควรได้รับค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเท่านั้น ทั้งศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งย่อมมีผลให้เป็นการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยจำเลยไม่จำเป็นต้องดำเนินการขอเพิกถอนอีกแต่อย่างใด ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นรายเดือนจนกว่าจำเลยจะดำเนินการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าแล้วเสร็จ จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9544/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า การละเมิด และการชดใช้ค่าเสียหาย: ข้อจำกัดในการฟ้องเรียกค่าเสียหายหากไม่ได้จดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ ไม่มีรูปร่าง ทั้งไม่อาจยึดถือครอบครองได้อย่างทรัพย์สินทั่วไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สินการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า PEAK และ PEAK กับรูปประดิษฐ์คล้ายภูเขาของผู้อื่นมาใช้กับสินค้าของตนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของแม้เป็นระยะเวลานานเพียงใด ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์ได้ บทบัญญัติว่าด้วยการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หาอาจนำมาใช้บังคับแก่สิทธิในเครื่องหมายการค้าอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาได้ไม่
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโดยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยในลักษณะลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์เพียงแต่คาดคะเนว่าหากจำเลยกระทำการดังนั้น ผลเสียหายจะตกแก่โจทก์อย่างไร จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้นำสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยได้นำเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต เป็นการละเมิดต่อโจทก์ จึงเป็นพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในฟ้อง
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน คำว่า PEAK และ PEAKกับรูปประดิษฐ์คล้ายภูเขา แต่โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้เฉพาะในกรณีที่จำเลยได้นำสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์เพียงกรณีเดียวเท่านั้น
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโดยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยในลักษณะลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์เพียงแต่คาดคะเนว่าหากจำเลยกระทำการดังนั้น ผลเสียหายจะตกแก่โจทก์อย่างไร จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้นำสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยได้นำเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต เป็นการละเมิดต่อโจทก์ จึงเป็นพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในฟ้อง
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน คำว่า PEAK และ PEAKกับรูปประดิษฐ์คล้ายภูเขา แต่โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้เฉพาะในกรณีที่จำเลยได้นำสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์เพียงกรณีเดียวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าในการฟ้องเรียกค่าเสียหาย แม้ยังมิได้จดทะเบียนในไทย
จำเลยฎีกาว่าขณะฟ้องคดีโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโจทก์จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา46นั้นปัญหานี้แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยจึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ฟ้องของโจทก์และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยเมื่อจำเลยผลิตสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ออกจำหน่ายทำให้ผู้ซื้อสินค้าของจำเลยเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์อันเป็นการลวงขายดังนี้โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายได้รับความเสียหายและมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา46วรรคสอง ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยได้ผลิตและจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการลวงขายเป็นการละเมิดต่อสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายส่วนจำเลยให้การเพียงว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าตามที่นายทะเบียนอนุญาตมาใช้กับสินค้าที่จำเลยผลิตโดยสุจริตจำเลยได้ระงับการผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าพิพาทแล้วและตามฎีกาของจำเลยก็รับว่าจำเลยได้ผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่อ้างว่าผลิตเป็นตัวอย่างเท่านั้นดังนั้นข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าจำเลยได้ผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมคำขอเครื่องหมายการค้า: ไม่คืนได้แม้เพิกถอนทะเบียน
โจทก์ยื่นคำขอต่ออายุเครื่องหมายการค้าและคำขอจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงข้อความที่ได้จดทะเบียนแล้ว พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการที่นายทะเบียนไม่ต่ออายุและจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงข้อความให้ตามคำขอดังกล่าวเพราะได้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอเงินค่าธรรมเนียมที่ชำระไปคืนจากจำเลย เพราะตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6(พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ข้อ (9) และ (12) ค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นค่าธรรมเนียมในการที่ยื่นคำขอ ทั้งไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องคืนแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอเครื่องหมายการค้า ไม่ต้องคืน แม้จะถูกเพิกถอน
โจทก์ยื่นคำขอต่ออายุเครื่องหมายการค้าและคำขอจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงข้อความที่ได้จดทะเบียนแล้ว พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการที่นายทะเบียนไม่ต่ออายุและจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงข้อความให้ตามคำขอดังกล่าวเพราะได้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอเงินค่าธรรมเนียมที่ชำระไปคืนจากจำเลย เพราะตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ข้อ (9) และ (12) ค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นค่าธรรมเนียมในการที่ยื่นคำขอ ทั้งไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องคืนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมคำขอเครื่องหมายการค้า ไม่คืน แม้ไม่อนุมัติ เหตุเป็นค่าบริการยื่นคำขอ ไม่ใช่ค่าจดทะเบียน
โจทก์ยื่นคำขอต่ออายุเครื่องหมายการค้าและคำขอจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงข้อความที่ได้จดทะเบียนแล้ว พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม การที่นายทะเบียนไม่ต่ออายุและจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงข้อความให้ตามคำขอดังกล่าวเพราะได้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอเงินค่าธรรมเนียมที่ชำระไปคืนจากจำเลย เพราะตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6(พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ข้อ (9) และ (12)ค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นค่าธรรมเนียมในการที่ยื่นคำขอ ทั้งไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องคืนแก่โจทก์