คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต ยอดเณร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,015 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4030/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดเจ้าหน้าที่รัฐ: เริ่มนับจากวันที่หน่วยงานรัฐรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำผิด
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจและเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์อันเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ย่อมตกอยู่ในบังคับอายุความตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ฯ มาตรา 10 วรรคสอง เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงมาว่า หลังเกิดเหตุโจทก์ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงหาผู้รับผิด และคณะกรรมการดังกล่าวได้เสนอเรื่องให้ผู้ว่าการของโจทก์ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีนี้ว่าจำเลยได้นำเงินของโจทก์ไปใช้ซึ่งจะต้องรับผิดต่อโจทก์เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2542 จึงถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2542 โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 9 มีนาคม 2544 ยังไม่เกินกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4028/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากความประมาทเลินเล่อ, ความผิดตามข้อบังคับบริษัท และการละทิ้งหน้าที่
ในหนังสือเลิกจ้างได้ระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างโจทก์ว่า โจทก์ทำงานด้วยความสะเพร่าทำให้มีสิ่งปลอมปนในผลิตภัณฑ์ที่ส่งให้ลูกค้า เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ย่อมเห็นได้ว่าที่โจทก์ทำงานด้วยความสะเพร่าจนทำให้มีสิ่งปลอมปนในผลิตภัณฑ์ที่จำเลยส่งไปให้แก่ลูกค้าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (3) นั่นเอง จึงเป็นกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้คดีโดยระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างตรงตามที่จำเลยได้ให้เหตุผลในหนังสือเลิกจ้างแล้ว
เมื่อโจทก์ได้กระทำความผิดโดยทำงานด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง และจำเลยได้ลงโทษโจทก์ในความผิดนี้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยด้วยการพักงานเป็นเวลา 3.5 วัน โดยไม่จ่ายค่าจ้าง ถือได้ว่าความผิดดังกล่าวได้หมดไปด้วยการลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างแล้ว จำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมไม่อาจนำความผิดดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ได้อีก
การกระทำของโจทก์โดยการข่มขู่ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่สนใจหรือละเลยหรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งกฎข้อบังคับของจำเลย ละทิ้งหน้าที่ในการปฏิบัติงานโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา อันเป็นความผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ 3.2.4 ข้อ 3.1.9 และข้อ 3.2.14 ซึ่งตามมาตรการลงโทษสำหรับความผิดตามข้อ 3.2.4 และข้อ 3.2.14 จะต้องเป็นการกระทำผิดในครั้งที่ 3 จึงจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ส่วนความผิดตามข้อ 3.1.9 จะต้องเป็นการกระทำความผิดในครั้งที่ 2 จึงจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่ทั้งนี้จำเลยจะต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อนที่จะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยในสามกรณีดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าโจทก์กระทำความผิดในแต่ละกรณีเป็นครั้งที่ 1 จึงถือได้ว่าตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดให้การกระทำผิดของโจทก์ทั้งสามกรณีดังกล่าวเป็นความผิดในกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันที จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น เมื่อโจทก์ละทิ้งหน้าที่ในขณะปฏิบัติงาน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่การงานไปเสีย จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าสำหรับลูกจ้างที่ทำงานตามปกติ แม้มีสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา
โจทก์ประกอบกิจการขุดและดูดทรายเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จเพื่อจำหน่าย โจทก์มีหน่วยงานบ่อดูดทรายที่ ต. ปลายนา อ. ศรีประจันต์ จ. สุพรรณบุรี ดังนั้น งานขุดและดูดทรายที่บ่อทรายรวมทั้งงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการดังกล่าว จึงเป็นงานตามปกติของธุรกิจหรือการค้าของโจทก์ การที่โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ทำหน้าที่ขับรถบริการทำหน้าที่ส่งเอกสารและพัสดุประจำหน่วยงานดังกล่าว จึงต้องถือว่าเป็นการปฏิบัติงานตามปกติของธุรกิจหรือการค้าของโจทก์ด้วย แม้การจ้างงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและโจทก์ได้เลิกจ้างจำเลยที่ 1 ตามกำหนดระยะเวลานั้นก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็มิใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสามและวรรคสี่ เมื่อโจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 ซึ่งทำงานมาเป็นเวลา 1 ปี 9 เดือน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น เมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดแน่นอนซึ่งจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วและโจทก์ได้บอกเลิกจ้างจำเลยที่ 1 ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างโดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันทึกรับเงินค่าจ้างค้างชำระ ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยยังคงมี
บันทึกระหว่างโจทก์จำเลย เพียงแต่ระบุว่าจำเลยไม่ได้จ่ายเงินค่าจ้างที่จำเลยหักไว้หรือค่าจ้างค้างชำระจำนวน 126,000 บาท ให้โจทก์แล้ว และโจทก์ได้ชำระค่าซื้อรถจำนวน 27,984 บาท ให้จำเลยแล้วเท่านั้น มิได้มีข้อความกล่าวถึงการระงับข้อพิพาทในเรื่องค่าจ้างค้างชำระระหว่างโจทก์จำเลยแต่อย่างใด ทั้งไม่อาจแปลข้อความให้เป็นเช่นนั้นได้ บันทึกดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทเรื่องค่าจ้างค้างชำระ ไม่มีผลทำให้สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยในเงินค่าจ้างค้างชำระของโจทก์ระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องสถานะลูกจ้าง: ศาลไม่รับฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับข้อเรียกร้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นนายจ้างของโจทก์ จำเลยผิดสัญญาจ้างจึงฟ้องให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เป็นการฟ้องในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อจำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย ขอให้โจทก์ชำระเงินคืนและชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย โดยจำเลยปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย คำฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ใช่ฟ้องมูลหนี้มาจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน คำฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับมูลหนี้สัญญาจ้างแรงงาน ศาลไม่รับฟ้องแย้งได้
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาจ้างอันเป็นการฟ้องในมูลหนี้สัญญาจ้างแรงงาน จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย และฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระเงินคืนและชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย คำฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ใช่มูลหนี้มาจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องสถานะลูกจ้างและการฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้เดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นนายจ้างของโจทก์ จำเลยผิดสัญญาจ้าง ขอให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เป็นการฟ้องในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อจำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย ขอให้โจทก์ชำระเงินคืนและชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย คำฟ้องแย้งของจำเลยไม่ใช่ฟ้องมูลหนี้มาจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740-3790/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินชดเชยหลังเกษียณ: การระงับข้อพิพาทสัญญาประนีประนอม และฟ้องซ้ำ
ในขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ 7 ถึงที่ 20 ที่ 32 ถึงที่ 38 ที่ 48 ที่ 50 ถึงที่ 53 ฟ้องคดีเดิมและทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์รู้อยู่แล้วว่าคณะรัฐมนตรีมีมติให้มีการปรับปรุงมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างสำหรับลูกจ้างระดับผู้ปฏิบัติงานโดยให้ผู้ที่ปฏิบัติงานก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ 15 ปีขึ้นไป ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2544 เป็นต้นไป แต่โจทก์ ก็ยังสมัครใจทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน และตกลง "ไม่เรียกร้องใด ๆ อีก" จึงหมายความว่าจะไม่เรียกร้องอื่นใดอีกซึ่งรวมถึงเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 60 วัน ตามมติคณะรัฐมนตรีที่จะได้รับเพิ่มขึ้นเมื่อมีการดำเนินการตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ต่อไปจนเสร็จสิ้นแล้วด้วย อันเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทที่จะมีขึ้นในอนาคต ประกอบกับการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมเกิดขึ้นหลังจากโจทก์ออกจากงานด้วยเหตุเกษียณอายุแล้ว จึงมีอิสระแก่ตนพ้นพันธกรณีและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การสละสิทธิเรียกร้องในเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและไม่เป็นโมฆะ สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจึงมีผลใช้บังคับ ดังนั้นการเรียกร้องในเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายอีก 60 วัน จึงระงับสิ้นไป
ตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 วรรคสอง เป็นการบัญญัติถึงวิธีปฏิบัติในการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ว่าให้อยู่ภายใต้การให้ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนและกำหนดว่ามาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างนั้นใช้บังคับแก่ผู้ใด ไม่ได้บัญญัติถึงว่ามาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างจะมีผลใช้บังคับเมื่อใด ดังนั้นมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างจะมีผลใช้บังคับเมื่อใดจึงขึ้นอยู่กับประกาศของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดตามวรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาในคดีเดิมวินิจฉัยว่า จนถึงเวลาเสร็จการพิจารณาในคดีเดิมสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจยังคงอยู่ภายใต้ระเบียบมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โจทก์ (คดีเดิม) จึงมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ไม่ใช่ 240 วัน มีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาว่า โจทก์ (คดีเดิม) ยังไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินส่วนนี้ในคดีเดิม ต่อมาเมื่อประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 มีผลใช้บังคับแล้วและความในประกาศมีผลถึงโจทก์คดีเดิมด้วย โจทก์ที่ 21 ถึงที่ 30 ที่ 39 ถึงที่ 47 (ที่เคยเป็นโจทก์ใน
คดีเดิม) ซึ่งมีอำนาจฟ้องตามประกาศฉบับหลังจึงฟ้องเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3622/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม: การยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี และเหตุผลความจำเป็น
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง หากผู้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนมิได้ยื่นคำขอภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนตามปกติบุคคลนั้นย่อมเสียสิทธิ แต่เมื่อมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาดก็ต้องแปลว่า การที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธินั้นต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรเหรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอเสียทีเดียวหาได้ไม่ คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังยุติตามคำฟ้องของโจทก์ว่า สาเหตุที่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพภายใน 1 ปี นับแต่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเนื่องจากโจทก์ไม่ทราบว่าจะต้องยื่นคำขอภายในกำหนดดังกล่าว และโจทก์อ้างว่าเมื่อสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้วจำเลยก็น่าจะแจ้งให้โจทก์ทราบ ดังนี้ ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวมิใช่เหตุอันสมควรหรือความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิล่าช้าแต่อย่างใด การที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน โจทก์ย่อมเสียสิทธิดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3622/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม เกินกำหนด 1 ปี มิใช่เหตุสมควร ศาลฎีกาตัดสิน
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาด การที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้เสียสิทธินั้นต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอเสียทีเดียวหาได้ไม่
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ไม่ทราบว่าจะต้องยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างมิใช่เหตุอันสมควรหรือความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิล่าช้าอันจะถือเป็นข้อยกเว้นที่โจทก์ไม่จำต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56 ทั้งมิได้มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคมจำเลยจะต้องแจ้งถึงสิทธิและกำหนดเวลาในการขอรับประโยชน์ทดแทนต่างๆ ให้แก่ผู้ประกันตนที่มีสิทธิทราบ ฉะนั้นการที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนโจทก์ย่อมเสียสิทธิดังกล่าว
of 202