พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,015 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3417/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการรับสภาพหนี้ค้ำประกัน แม้สัญญาไม่สมบูรณ์แต่จำเลยรับสภาพแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันการทำงาน หากจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ยอมรับผิดร่วมกัน จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 มิได้ยกเรื่องอำนาจศาลขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์แสดงว่าคู่ความยอมรับอำนาจศาลแล้ว ปัญหาดังกล่าวจึงมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
จำเลยที่ 3 และที่ 5 แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าไม่ประสงค์จะต่อสู้คดี แต่ไม่มีเงินพอชำระหนี้แก่โจทก์ ขอเลื่อนคดีไปสักนัดหนึ่งก่อน โดยมิได้ปฏิเสธว่ามิใช่ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ถือได้ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 รับว่าเป็นผู้ค้ำประกันแล้วโดยที่โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงสัญญาค้ำประกันอีก ฉะนั้น แม้สัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ. 6 และ จ. 8 จะมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 118 ก็ฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์จริง
จำเลยที่ 3 และที่ 5 แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าไม่ประสงค์จะต่อสู้คดี แต่ไม่มีเงินพอชำระหนี้แก่โจทก์ ขอเลื่อนคดีไปสักนัดหนึ่งก่อน โดยมิได้ปฏิเสธว่ามิใช่ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ถือได้ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 รับว่าเป็นผู้ค้ำประกันแล้วโดยที่โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงสัญญาค้ำประกันอีก ฉะนั้น แม้สัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ. 6 และ จ. 8 จะมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 118 ก็ฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3402/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผู้ถือหุ้นขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย ย่อมตกเป็นโมฆะ และไม่มีผลผูกพันในการขอรับชำระหนี้
ผู้บริหารแผนใช้อำนาจไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญาที่มีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/41 ทวิ วรรคหนึ่ง เมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางอ้างว่าได้รับความเสียหายโดยการกระทำของผู้บริหารแผนเพื่อให้ศาลได้มีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องพอถือได้ว่าเป็นคำร้องคัดค้านการกระทำของผู้บริหารแผนตามมาตรา 90/41 ทวิ วรรคสอง ถือว่ากรณีมีข้อโต้เถียงเป็นคดี และเมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าว ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันคดีถึงที่สุดตามมาตรา 90/26 วรรคสอง
ผู้ร้องสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทลูกหนี้ โดยผู้ร้องเข้าไปซื้อหุ้นและเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท สถานะดังกล่าวมีผลเสมือนหนึ่งว่าผู้ร้องมีส่วนในการเป็นเจ้าของลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้น ประโยชน์ที่ผู้ร้องจะได้รับจากเงินที่ลงทุนซื้อหุ้นไปอย่างไรย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1200 มาตรา 1201 และมาตรา 1269 กล่าวคือ ผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนก็แต่เฉพาะเงินปันผลและจะได้รับชำระคืนเงินค่าหุ้นเมื่อมีการเลิกบริษัทและชำระบัญชีและมีการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของบริษัทครบถ้วนแล้ว การที่ผู้ร้องได้ร่วมลงทุนในบริษัทลูกหนี้โดยเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวโดยมีสัญญาผู้ถือหุ้น (shareholders agreement) ระหว่าง ผู้ร้อง ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และลูกหนี้ ซึ่งกำหนดในสัญญาให้ผู้ถือหุ้นกับบริษัทลูกหนี้จะต้องดำเนินการให้กรรมการของบริษัทลูกหนี้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 ของหุ้นในบริษัทในการออกหุ้นแต่ละครั้งและจะไม่ออกหุ้นใหม่ให้แก่บุคคลใดๆ ซึ่งจะมีผลทำให้กรรมการถือหุ้นคิดเป็นร้อยละต่ำกว่าร้อยละที่ระบุไว้ข้างต้นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ถือหุ้นและผู้ร้อง และกำหนดให้บริษัทลูกหนี้และผู้ถือหุ้นจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้อง สำหรับต้นทุน ค่าใช้จ่าย ค่าสูญเสียและค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ร้องอันเกี่ยวเนื่องกับการที่บริษัทและผู้ถือหุ้นไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันที่กำหนดในสัญญาผู้ถือหุ้นได้ ข้อสัญญาดังกล่าวในส่วนลูกหนี้กับผู้ร้องจึงขัดต่อบทบัญญัติของ ป.พ.พ. ในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบของบริษัท รูปแบบผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทอันเป็นกฎหมายที่กำหนดแบบแผนที่สังคมจะต้องปฏิบัติร่วมกัน มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก ทั้งเป็นการวางรูปแบบองค์กรทางธุรกิจเพื่อให้สาธารณชนยึดถือและปฏิบัติ ถือว่าเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาผู้ถือหุ้น (shareholders agreement) เฉพาะส่วนที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้ถือหุ้น และความรับผิดอันเกิดจากการผิดสัญญาดังกล่าวจึงขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เมื่อข้อสัญญาในส่วนที่กำหนดให้ลูกหนี้มีหน้าที่ต่อผู้ร้องตกเป็นโมฆะ ผู้ร้องจึงไม่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/41 ทวิ
ผู้ร้องสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทลูกหนี้ โดยผู้ร้องเข้าไปซื้อหุ้นและเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท สถานะดังกล่าวมีผลเสมือนหนึ่งว่าผู้ร้องมีส่วนในการเป็นเจ้าของลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้น ประโยชน์ที่ผู้ร้องจะได้รับจากเงินที่ลงทุนซื้อหุ้นไปอย่างไรย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1200 มาตรา 1201 และมาตรา 1269 กล่าวคือ ผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนก็แต่เฉพาะเงินปันผลและจะได้รับชำระคืนเงินค่าหุ้นเมื่อมีการเลิกบริษัทและชำระบัญชีและมีการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของบริษัทครบถ้วนแล้ว การที่ผู้ร้องได้ร่วมลงทุนในบริษัทลูกหนี้โดยเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวโดยมีสัญญาผู้ถือหุ้น (shareholders agreement) ระหว่าง ผู้ร้อง ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และลูกหนี้ ซึ่งกำหนดในสัญญาให้ผู้ถือหุ้นกับบริษัทลูกหนี้จะต้องดำเนินการให้กรรมการของบริษัทลูกหนี้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 ของหุ้นในบริษัทในการออกหุ้นแต่ละครั้งและจะไม่ออกหุ้นใหม่ให้แก่บุคคลใดๆ ซึ่งจะมีผลทำให้กรรมการถือหุ้นคิดเป็นร้อยละต่ำกว่าร้อยละที่ระบุไว้ข้างต้นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ถือหุ้นและผู้ร้อง และกำหนดให้บริษัทลูกหนี้และผู้ถือหุ้นจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้อง สำหรับต้นทุน ค่าใช้จ่าย ค่าสูญเสียและค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ร้องอันเกี่ยวเนื่องกับการที่บริษัทและผู้ถือหุ้นไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันที่กำหนดในสัญญาผู้ถือหุ้นได้ ข้อสัญญาดังกล่าวในส่วนลูกหนี้กับผู้ร้องจึงขัดต่อบทบัญญัติของ ป.พ.พ. ในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบของบริษัท รูปแบบผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทอันเป็นกฎหมายที่กำหนดแบบแผนที่สังคมจะต้องปฏิบัติร่วมกัน มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก ทั้งเป็นการวางรูปแบบองค์กรทางธุรกิจเพื่อให้สาธารณชนยึดถือและปฏิบัติ ถือว่าเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาผู้ถือหุ้น (shareholders agreement) เฉพาะส่วนที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทลูกหนี้กับผู้ถือหุ้น และความรับผิดอันเกิดจากการผิดสัญญาดังกล่าวจึงขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เมื่อข้อสัญญาในส่วนที่กำหนดให้ลูกหนี้มีหน้าที่ต่อผู้ร้องตกเป็นโมฆะ ผู้ร้องจึงไม่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/41 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3402/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผู้ถือหุ้นขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อยของประชาชน โมฆะ ไม่มีผลบังคับ ทำให้ผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
การขอรับชำระหนี้ในค่าเสียหายเนื่องจากผู้บริหารแผนไม่ยอมรับทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือ สิทธิตามสัญญาที่สภาวะเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้และบุคคลภายนอกต่างมีสิทธิและหน้าที่ ซึ่งกันและกัน สัญญาที่จะก่อให้เกิดหน้าที่แก่ลูกหนี้ดังกล่าวได้ ข้อสัญญาดังกล่าวจะต้องสมบูรณ์และมีผลบังคับ ตามกฎหมาย
ผู้ร้องได้สนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทลูกหนี้โดยผู้ร้องเข้าไปซื้อหุ้นและเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท สถานะดังกล่าวมีผลเสมือนหนึ่งว่าผู้ร้องมีส่วนในการเป็นเจ้าของลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้น ผู้ร้องจะได้รับประโยชน์จากเงินลงทุนเพียงใด ย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1200 มาตรา 1201 และ มาตรา 1269 การที่สัญญาผู้ถือหุ้นระหว่างผู้ร้อง ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และลูกหนี้ ข้อ 1 (1)(3) กำหนดว่า "ผู้ถือหุ้น กับบริษัทจะดำเนินการให้กรรมการของบริษัทถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 ของหุ้นในบริษัทในการออกหุ้นแต่ละครั้งและจะไม่ออกหุ้นใหม่ของบริษัทให้แก่บุคคลใดๆ ซึ่งจะมีผลทำให้กรรมการถือหุ้น คิดเป็นร้อยละต่ำกว่าร้อยละที่ระบุไว้ข้างต้นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ถือหุ้นและผู้ร้อง" และข้อ 3 กำหนดว่า "บริษัทและผู้ถือหุ้นจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ลงทุนสำหรับต้นทุนค่าใช้จ่าย ค่าสูญหายและค่าเสียหาย (รวมทั้งค่าธรรมเนียมทางกฎหมายที่สมเหตุสมผล) ที่เกิดขึ้นต่อผู้ลงทุนอันเกี่ยวเนื่องกับการที่บริษัทและผู้ถือหุ้นไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ได้" ข้อสัญญาดังกล่าวในส่วนของลูกหนี้กับผู้ร้องจึงขัดต่อบทบัญญัติของ ป.พ.พ. ในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบของบริษัทจำกัด รูปแบบผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทอันเป็นกฎหมายที่กำหนดแบบแผนที่สังคมจะต้องปฏิบัติร่วมกัน มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอกถือว่าเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ผู้ร้องจึงมิได้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/41 ทวิ แต่อย่างใด
ผู้ร้องได้สนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทลูกหนี้โดยผู้ร้องเข้าไปซื้อหุ้นและเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท สถานะดังกล่าวมีผลเสมือนหนึ่งว่าผู้ร้องมีส่วนในการเป็นเจ้าของลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้น ผู้ร้องจะได้รับประโยชน์จากเงินลงทุนเพียงใด ย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1200 มาตรา 1201 และ มาตรา 1269 การที่สัญญาผู้ถือหุ้นระหว่างผู้ร้อง ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และลูกหนี้ ข้อ 1 (1)(3) กำหนดว่า "ผู้ถือหุ้น กับบริษัทจะดำเนินการให้กรรมการของบริษัทถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 ของหุ้นในบริษัทในการออกหุ้นแต่ละครั้งและจะไม่ออกหุ้นใหม่ของบริษัทให้แก่บุคคลใดๆ ซึ่งจะมีผลทำให้กรรมการถือหุ้น คิดเป็นร้อยละต่ำกว่าร้อยละที่ระบุไว้ข้างต้นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ถือหุ้นและผู้ร้อง" และข้อ 3 กำหนดว่า "บริษัทและผู้ถือหุ้นจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ลงทุนสำหรับต้นทุนค่าใช้จ่าย ค่าสูญหายและค่าเสียหาย (รวมทั้งค่าธรรมเนียมทางกฎหมายที่สมเหตุสมผล) ที่เกิดขึ้นต่อผู้ลงทุนอันเกี่ยวเนื่องกับการที่บริษัทและผู้ถือหุ้นไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ได้" ข้อสัญญาดังกล่าวในส่วนของลูกหนี้กับผู้ร้องจึงขัดต่อบทบัญญัติของ ป.พ.พ. ในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบของบริษัทจำกัด รูปแบบผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทอันเป็นกฎหมายที่กำหนดแบบแผนที่สังคมจะต้องปฏิบัติร่วมกัน มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอกถือว่าเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ผู้ร้องจึงมิได้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/41 ทวิ แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066-3189/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง: การลดชั่วโมงทำงาน และการรับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติมในคดีแรงงาน
ระเบียบว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของจำเลยฉบับที่ถูกยกเลิกและฉบับใหม่ต่างก็กำหนดให้พนักงานอื่นนอกจากที่ได้ระบุไว้อันหมายถึงพนักงานฝ่ายบริการภาคพื้นซึ่งรวมโจทก์กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ตลอดมาตั้งแต่ปี 2521 ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้จำเลยจะให้โจทก์กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง แต่จำเลยก็ไม่ได้ประกาศหรือออกระเบียบใหม่ให้ทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง นับเป็นเรื่องที่จำเลยให้ประโยชน์แก่โจทก์กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 โดยให้ทำงานต่ำกว่าชั่วโมงทำงานที่กำหนดไว้ในสภาพการจ้าง จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ให้ประโยชน์นั้นต่อไปโดยให้โจทก์กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง เต็มตามสภาพการจ้างที่ได้กำหนดไว้ได้ ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
แม้จำเลยอ้างส่งเอกสารหมาย ล. 10 โดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่การที่ศาลแรงงานกลางรับเอกสารหมาย ล. 10 ไว้และได้วินิจฉัยถึงเอกสารดังกล่าวในคำพิพากษาแสดงว่าศาลแรงงานกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟังเอกสารหมาย ล. 10 โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคหนึ่ง
แม้จำเลยอ้างส่งเอกสารหมาย ล. 10 โดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่การที่ศาลแรงงานกลางรับเอกสารหมาย ล. 10 ไว้และได้วินิจฉัยถึงเอกสารดังกล่าวในคำพิพากษาแสดงว่าศาลแรงงานกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟังเอกสารหมาย ล. 10 โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060-3064/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเลื่อนขั้นเงินเดือนของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจต้องเป็นไปตามข้อบังคับขององค์กร ไม่สามารถอ้างสิทธิจากหนังสือเวียนของกระทรวงการคลัง
หนังสือกระทรวงการคลัง เรื่อง มาตรการปรับลดอัตราเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างของรัฐวิสาหกิจประจำปี 2544 เป็นเพียงการผ่อนปรนจำนวนเงินปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังปรับลดร้อยละ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรีให้กับรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาจำนวนวงเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังปรับลดไม่เพียงพอที่จะเลื่อนขั้นเงินเดือนค่าจ้างแก่พนักงานผู้มีสิทธิเลื่อนขั้นคนละ 1 ขั้น เนื่องจากรัฐวิสาหกิจไม่มีข้อบังคับ/คำสั่งกำหนดความดีความชอบเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขึ้นหรือมีระเบียบแต่จำนวนเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังปรับลดไม่เพียงพอเท่านั้น ส่วนการจะปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนให้พนักงานคนใดบ้างเป็นเรื่องที่รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งต้องไปพิจารณาเองตามระเบียบของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ หนังสือกระทรวงการคลังดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นการผ่อนปรนให้ปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นไปก่อนแล้วจ่ายเพิ่มหรือปรับให้ภายหลัง จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิใดแก่โจทก์ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับการปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือไม่ เพียงใด ย่อมต้องเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057-3058/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงาน ศาลต้องพิจารณาเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาความคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 มิได้กำหนดให้คู่ความต้องยื่นคำร้องย่นหรือขยายระยะเวลาต่อศาลแรงงานก่อนสิ้นสุดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ แม้ระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจะสิ้นสุดไปแล้ว จำเลยก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลางได้ ส่วนศาลแรงงานกลางจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์หรือไม่ ก็ต้องพิจารณาถึงความจำเป็นหรือเหตุอันจำเป็นของจำเลยว่ามีจริงหรือไม่และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นลูกจ้างต้องดูที่อำนาจบังคับบัญชา หากไม่มีการควบคุมสั่งการ ไม่เป็นลูกจ้าง
ลูกจ้าง คือผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้างโดยอยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของนายจ้าง หมายความว่า ลูกจ้างต้องทำงานตามที่นายจ้างสั่งและต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืนนายจ้างสามารถลงโทษได้ ดังนั้นเมื่อการทำงานของโจทก์ไม่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของจำเลย หรือต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แสดงว่าการทำงานของโจทก์ไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของจำเลย โจทก์จึงมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างและค่าชดเชยจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งโอนย้ายพนักงานระดับสูงต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ หากไม่เช่นนั้นถือเป็นการถอดถอนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จะพิจารณาว่าคำสั่งใดเป็นคำสั่งในทางบริหารจัดการในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอำนาจของผู้อำนวยการจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะตาม พ.ร.ฎ. จัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ฯ มาตรา 19 หรือเป็นคำสั่งบรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน พนักงานในระดับสูงซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ก่อนตามมาตรา 20 (1) ต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องมีคำสั่ง และผลกระทบที่จะมีต่อผู้รับคำสั่งด้วย เพราะคำสั่งแต่งตั้งหรือถอดถอนพนักงานคนใดอาจเป็นการให้คุณหรือให้โทษแก่พนักงานผู้นั้นอยู่ในตัว การแต่งตั้งหรือถอดถอนพนักงานในระดับสูงย่อมมีความสำคัญ และมีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน และเพื่อเป็นหลักประกันการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงานไปโดยถูกต้องและสุจริตมิให้ถูกกลั่นแกล้งจากผู้หนึ่งผู้ใด จึงจำกัดอำนาจของจำเลยที่ 2 ไว้ โดยให้ได้รับการกลั่นกรองจากคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 อีกชั้นหนึ่งด้วยการพิจารณาถึงคำสั่งใดๆ ว่าจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ก่อนหรือไม่ จึงมิได้พิจารณาเฉพาะถ้อยคำในคำสั่งว่าให้ไปปฏิบัติงานเพียงชั่วคราวหรือไม่เท่านั้น เพราะการมีคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานในตำแหน่งอื่นเป็นเวลานานโดยไม่มีเหตุผลที่เพียงพอย่อมมิใช่อำนาจในการบริหารจัดการตามปกติ และมีผลอย่างเดียวกันกับการถอดถอนจากตำแหน่งเดิมนั่นเอง การที่จำเลยทั้งสองมีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนัก (ระดับ 9) เป็นหัวหน้าหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อจำเลยที่ 2 ไปปฏิบัติงานที่สำนักงานภาคเหนือ ในฐานะที่ปรึกษาสำนักงานอุตสาหกรรมสวนป่าแม่เมาะ แม้ในคำสั่งจะระบุว่าให้ไปช่วยปฏิบัติงานเป็นเวลา 120 วัน แต่ก็ให้โอนอัตราตามตัวไปตั้งเบิกจ่ายด้วย ซึ่งมีผลทำให้โจทก์ต้องขาดจากอัตราและตำแหน่งเดิมจึงมีผลอย่างเดียวกับการถอดถอนโจทก์จากตำแหน่งเดิม ยิ่งไปกว่านั้นในขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแรงงานกลาง จำเลยทั้งสองยังออกคำสั่งให้โจทก์ช่วยปฏิบัติงานต่อไปอีก 30 วัน โดยอ้างว่าเพื่อให้การบริหารจัดการบรรลุตามแผนงานที่กำหนดไว้ ทั้งๆ ที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้แม่เมาะยังไม่เคยมีแผนที่จะปรับปรุงงาน และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขอบุคคลใดไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองมีคำสั่งให้โจทก์ไปปฏิบัติงานในตำแหน่งอื่นเป็นการชั่วคราว เพียงเพื่อไม่ต้องให้ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ตามที่ พ.ร.ฎ. จัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ฯ มาตรา 20 (1) บัญญัติไว้เท่านั้น หาใช่เป็นอำนาจของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะตามมาตรา 19 ไม่ คำสั่งของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2966-2968/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการปรับขึ้นค่าจ้างสงวนเฉพาะพนักงานทั่วไป ผู้บังคับบัญชาไม่อาจอ้างสิทธิได้ และเหตุผลสมควรในการไม่จ่ายค่าจ้างไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้กำหนดเรื่องการปรับขึ้นเงินประจำปีหรือค่าจ้างไว้ชัดเจนว่าเป็นการปรับให้เฉพาะพนักงานทั่วไปเท่านั้น ไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินประจำปีหรือค่าจ้างของพนักงานระดับผู้บังคับบัญชาหรือเทียบเท่าหรือระดับเจ้าหน้าที่ แม้ต่อมาจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกับสหภาพแรงงานจะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอีก 3 ฉบับ แต่ก็มิได้เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินประจำปีหรือค่าจ้างพนักงานระดับอื่นนอกจากระดับพนักงานทั่วไปที่มีอยู่เดิมแต่อย่างใด จึงยังคงมีแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินประจำปีหรือค่าจ้างของพนักงานทั่วไปที่มีอยู่เดิมแต่อย่างใด จึงยังคงมีแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินประจำปีหรือค่าจ้างของพนักงานทั่วไปเท่านั้น เมื่อโจทก์ทั้งสามมิได้เป็นพนักงานทั่วไปแต่เป็นพนักงานระดับผู้บังคับบัญชาจึงไม่อาจอ้างข้อตกลงเกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินประจำปีหรือค่าจ้างในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเพื่อปรับขึ้นค่าจ้างสำหรับตนเองได้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงานเป็นเพียงเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนพิจารณาเท่านั้น ส่วนการวินิจฉัยคดีย่อมต้องเป็นไปตามข้ออ้างและข้อเถียงของคู่ความ คดีนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 3 บรรยายฟ้องและมีคำขอบังคับเรื่องเงินเพิ่มดังกล่าวมาด้วย จึงชอบที่ศาลแรงงานกลางจะต้องวินิจฉัยปัญหาเรื่องเงินเพิ่มด้วย จะไม่รับวินิจฉัยโดยอ้างว่ามิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ไม่ได้
การที่นายจ้างจะต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มเพราะเหตุไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างนั้นตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างจงใจไม่จ่ายโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเหตุที่จำเลยไม่ปรับขึ้นค่าจ้างและไม่จ่ายค่าครองชีพให้โจทก์ที่ 1 และที่ 3 เพราะจำเลยอ้างว่าไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินดังกล่าวเนื่องจากโจทก์ที่ 1 และที่ 3 เป็นพนักงานระดับผู้บังคับบัญชา จึงไม่ใช่เป็นการจงใจไม่จ่ายโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงานเป็นเพียงเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนพิจารณาเท่านั้น ส่วนการวินิจฉัยคดีย่อมต้องเป็นไปตามข้ออ้างและข้อเถียงของคู่ความ คดีนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 3 บรรยายฟ้องและมีคำขอบังคับเรื่องเงินเพิ่มดังกล่าวมาด้วย จึงชอบที่ศาลแรงงานกลางจะต้องวินิจฉัยปัญหาเรื่องเงินเพิ่มด้วย จะไม่รับวินิจฉัยโดยอ้างว่ามิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ไม่ได้
การที่นายจ้างจะต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มเพราะเหตุไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างนั้นตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างจงใจไม่จ่ายโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเหตุที่จำเลยไม่ปรับขึ้นค่าจ้างและไม่จ่ายค่าครองชีพให้โจทก์ที่ 1 และที่ 3 เพราะจำเลยอ้างว่าไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินดังกล่าวเนื่องจากโจทก์ที่ 1 และที่ 3 เป็นพนักงานระดับผู้บังคับบัญชา จึงไม่ใช่เป็นการจงใจไม่จ่ายโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2697/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: อายุความ, ลูกหนี้ร่วม, และข้อยกเว้นการฟ้อง
บทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 เป็นการกำหนดให้สิทธิแก่บิดามารดากับบุตรสามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างกันได้เท่านั้น ส่วนการดำเนินการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูมีบทบัญญัติมาตรา 1565 ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการเป็นผู้ยกคดีขึ้นว่ากล่าวแล้วยังกำหนดให้บิดาหรือมารดาสามารถนำคดีขึ้นว่ากล่าวได้เองด้วย และบทบัญญัติมาตรา 1564 วรรคหนึ่ง กำหนดให้บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์อันมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ซึ่งในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันนั้นย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามมาตรา 296 โจทก์จำเลยได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยตกลงให้บุตรอยู่ในความปกครองของโจทก์ แต่มิได้ตกลงว่าโจทก์ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายเดียว เมื่อโจทก์ได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ฝ่ายเดียวจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่ได้ออกไปก่อนนับแต่วันหย่าจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะจากจำเลย เพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมและเข้าใช้หนี้นั้นตามมาตรา 229 (3) แม้ขณะยื่นฟ้องนั้นบุตรจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรสมควรจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลมีอำนาจกำหนดตามมาตรา 1522
การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์มีอายุความ 5 ปีนับแต่วันที่บิดามารดาหรือบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ในกรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียว ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายนับแต่วันที่ตนได้ชำระไปซึ่งถือว่าเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (4) ประกอบมาตรา 193/12
การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์มีอายุความ 5 ปีนับแต่วันที่บิดามารดาหรือบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ในกรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียว ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายนับแต่วันที่ตนได้ชำระไปซึ่งถือว่าเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (4) ประกอบมาตรา 193/12