พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,015 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2697/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิและหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังหย่าร้าง และอายุความของคดีเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู
บทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 เป็นการกำหนดให้สิทธิแก่บิดามารดากับบุตรสามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างกันได้เท่านั้น ส่วนการดำเนินการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูมีบทบัญญัติมาตรา 1565 ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการเป็นผู้ยกคดีขึ้นว่ากล่าวแล้วยังกำหนดให้บิดาหรือมารดาสามารถนำคดีขึ้นว่ากล่าวได้เองด้วย
บทบัญญัติมาตรา 1564 วรรคหนึ่ง กำหนดให้บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์อันมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ซึ่งในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันนั้นย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามมาตรา 296
โจทก์จำเลยได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยตกลงให้บุตรอยู่ในความปกครองของโจทก์ แต่มิได้ตกลงว่าโจทก์ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายเดียว เมื่อโจทก์ได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ฝ่ายเดียวจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่ได้ออกไปก่อนนับแต่วันหย่าจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะจากจำเลย เพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมและเข้าใช้หนี้นั้นตามมาตรา 229 (3) แม้ขณะยื่นฟ้องนั้นบุตรจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรสมควรจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลมีอำนาจกำหนดตามมาตรา 1522
การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์มีอายุความ 5 ปีนับแต่วันที่บิดามารดาหรือบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือในกรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียว ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายนับแต่วันที่ตนได้ชำระไปซึ่งถือว่าเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (4) ประกอบมาตรา 193/12
บทบัญญัติมาตรา 1564 วรรคหนึ่ง กำหนดให้บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์อันมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ซึ่งในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันนั้นย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามมาตรา 296
โจทก์จำเลยได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยตกลงให้บุตรอยู่ในความปกครองของโจทก์ แต่มิได้ตกลงว่าโจทก์ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายเดียว เมื่อโจทก์ได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ฝ่ายเดียวจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่ได้ออกไปก่อนนับแต่วันหย่าจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะจากจำเลย เพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะที่เป็นลูกหนี้ร่วมและเข้าใช้หนี้นั้นตามมาตรา 229 (3) แม้ขณะยื่นฟ้องนั้นบุตรจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรสมควรจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลมีอำนาจกำหนดตามมาตรา 1522
การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์มีอายุความ 5 ปีนับแต่วันที่บิดามารดาหรือบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือในกรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียว ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายนับแต่วันที่ตนได้ชำระไปซึ่งถือว่าเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (4) ประกอบมาตรา 193/12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดให้มีการเล่นพนัน: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้รอการลงโทษและคุมความประพฤติเพื่อโอกาสกลับตัว
ความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นพนัน ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ปรับสถานเดียว 1,000 บาท ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นจำคุกสถานเดียวมีกำหนด 1 เดือน แต่ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทนเป็นกรณีแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ต้องห้ามจำเลยที่ 1 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดให้มีการเล่นพนัน: ศาลฎีกาเห็นควรให้รอการลงโทษและคุมความประพฤติ เพื่อโอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี
ความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นพนัน ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ปรับสถานเดียว 1,000 บาท ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นจำคุกสถานเดียวมีกำหนด 1 เดือน แต่ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน เป็นกรณีแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ต้องห้ามจำเลยที่ 1 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยพฤติการณ์นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อ แม้ไม่มีการบอกกล่าวเลิกจ้างเป็นหนังสือ
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งกรรมการรองผู้อำนวยการ วันที่ 21 กันยายน 2545 จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่า ทัศนคติในการทำงานไม่ตรงกันไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ให้โจทก์ลาออกจะให้ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 3 เดือน และให้เวลาโจทก์ปรึกษาครอบครัว 3 วัน ในวันดังกล่าวจำเลยขอรถประจำตำแหน่งที่โจทก์ใช้อยู่คืนและในช่วง 3 วันดังกล่าวโจทก์ไม่ต้องมาทำงาน หลังจากครบกำหนด 3 วันแล้วโจทก์ไม่ได้เข้าไปทำงานให้จำเลยอีก จำเลยจึงคัดชื่อโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 การกระทำของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะไม่ยอมให้โจทก์ทำงานให้จำเลยอีก มิได้ให้โอกาสโจทก์ดังที่กล่าวข้างต้น พฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2545
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องพิจารณาจากการกระทำของนายจ้าง ไม่ใช่แค่การบอกกล่าว การเรียกคืนทรัพย์สินและสั่งหยุดงานถือเป็นการเลิกจ้าง
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสอง บัญญัติว่า "การเลิกจ้างตามมาตรานี้หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเพราะเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่ดำเนินกิจการต่อไป" ดังนั้น การจะวินิจฉัยว่ามีการเลิกจ้างแล้วหรือไม่จึงต้องพิจารณาถึงการกระทำของนายจ้างประกอบด้วย จะพิจารณาเพียงว่ามีการบอกกล่าวเลิกจ้างด้วยวาจาหรือเลิกจ้างเป็นหนังสือแล้วหรือไม่ ย่อมไม่ได้
ธ. ประธานกรรมการบริหารของจำเลยแจ้งในที่ประชุมว่าขอให้โจทก์ลาออกโดยจะให้ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 3 เดือน และให้เวลาโจทก์ปรึกษากับครอบครัวก่อน 3 วัน แต่ในวันเดียวกันนั้นเอง ธ. ขอรถยนต์ประจำตำแหน่งที่โจทก์ใช้อยู่คืน โดยในช่วงระยะเวลา 3 วันนี้โจทก์ไม่ต้องไปทำงาน ซึ่งหาก ธ. ยังให้โอกาสโจทก์ตัดสินใจเสียก่อนดังที่แจ้งต่อโจทก์ ก็ไม่มีเหตุผลใดที่ต้องเรียกเอารถประจำตำแหน่งคืนเสียตั้งแต่วันนั้น และไม่มีเหตุผลใดที่จะให้โจทก์หยุดทำงาน การกระทำของ ธ. มีลักษณะไม่ยอมให้โจทก์ทำงานให้จำเลยอีก ถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่เรียกเอารถประจำตำแหน่งคืนจากโจทก์แล้ว หาใช่วันที่จำเลยคัดชื่อโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยอันเป็นระยะเวลาหลังจากนั้นไม่
ธ. ประธานกรรมการบริหารของจำเลยแจ้งในที่ประชุมว่าขอให้โจทก์ลาออกโดยจะให้ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 3 เดือน และให้เวลาโจทก์ปรึกษากับครอบครัวก่อน 3 วัน แต่ในวันเดียวกันนั้นเอง ธ. ขอรถยนต์ประจำตำแหน่งที่โจทก์ใช้อยู่คืน โดยในช่วงระยะเวลา 3 วันนี้โจทก์ไม่ต้องไปทำงาน ซึ่งหาก ธ. ยังให้โอกาสโจทก์ตัดสินใจเสียก่อนดังที่แจ้งต่อโจทก์ ก็ไม่มีเหตุผลใดที่ต้องเรียกเอารถประจำตำแหน่งคืนเสียตั้งแต่วันนั้น และไม่มีเหตุผลใดที่จะให้โจทก์หยุดทำงาน การกระทำของ ธ. มีลักษณะไม่ยอมให้โจทก์ทำงานให้จำเลยอีก ถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่เรียกเอารถประจำตำแหน่งคืนจากโจทก์แล้ว หาใช่วันที่จำเลยคัดชื่อโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยอันเป็นระยะเวลาหลังจากนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องพิจารณาจากการกระทำของนายจ้าง ไม่ใช่แค่การบอกกล่าว การเรียกคืนรถและให้หยุดงานถือเป็นการเลิกจ้าง
การที่จะวินิจฉัยว่ามีการเลิกจ้างแล้วหรือไม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 ต้องพิจารณาถึงการกระทำของนายจ้างประกอบด้วย จะพิจารณาเพียงว่ามีการบอกกล่าวเลิกจ้างด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือแล้วหรือไม่ ย่อมไม่ได้ แม้ในที่ประชุม ธ. ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารของบริษัทจำเลยจะขอให้โจทก์ลาออกโดยจะให้ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 3 เดือน และให้เวลาโจทก์ปรึกษากับครอบครัวก่อน 3 วัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังให้โอกาสโจทก์ตัดสินใจว่าจะยอมลาออกหรือไม่ ก่อนที่ ธ. จะมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไป แต่กลับปรากฏว่าในวันนั้นเอง ธ. ขอรถยนต์ประจำตำแหน่งที่โจทก์ใช้อยู่คืน โดยในช่วงระยะเวลา 3 วันนี้ โจทก์ไม่ต้องไปทำงาน การกระทำของ ธ. มีลักษณะไม่ยอมให้โจทก์ทำงานให้จำเลยอีกมิได้ให้โอกาสโจทก์ดังที่กล่าวในที่ประชุม ถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่เรียกเอารถประจำตำแหน่งคืนแล้วมิใช่เพิ่งเลิกจ้างนับแต่วันที่จำเลยคัดชื่อโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดในคดีแรงงาน การขอพิจารณาใหม่ต้องทำภายใน 7 วันตามกฎหมายเฉพาะ
ศาลแรงงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสอง จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เกินเวลา 7 วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดแล้วตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 41 จำเลยย่อมไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งตามมาตรา 40 วรรคสองดังกล่าวซึ่งเป็นกรณีที่กฎหมายวิธีพิจารณาคดีแรงงานบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำ ป.วิ.พ. มารา 199 จัตวา วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการ/ผู้ถือหุ้น ทำงานอิสระ ไม่เป็นลูกจ้าง แม้ได้รับเงินเดือน สิทธิเรียกร้องเมื่อพ้นจากตำแหน่งกรรมการไม่มี
โจทก์เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลย มีหน้าที่ดูแลด้านการตลาด โจทก์ต้องมาทำงานทุกวัน บางวันหรือส่วนใหญ่จะอยู่ที่ไซด์งาน การดำเนินงานหรือการแก้ปัญหาตามปกติ โจทก์ทำได้เองโดยอิสระ เว้นแต่เรื่องใหญ่ๆ หรือมีจำนวนเงินสูงๆ หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ โจทก์ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมของกรรมการหรือปรึกษา ส. กรรมการบริษัทจำเลยก่อน โจทก์ไม่ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบหรือข้อบังคับในการทำงานของบริษัทจำเลย โจทก์จึงทำงานในฐานะกรรมการและผู้ถือหุ้นที่ต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของบริษัทจำเลยที่โจทก์เป็นผู้ร่วมก่อตั้งมา แม้โจทก์จะได้รับเงินเดือนจากจำเลย ก็ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลย เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้โจทก์ออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินใดๆ ตามสัญญาจ้างแรงงานจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะกรรมการ/ผู้ถือหุ้น ไม่ถือเป็นลูกจ้าง แม้รับเงินเดือน สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจึงไม่เกิดขึ้น
โจทก์เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลย มีหน้าที่ดูแลด้านการตลาด ในการทำงานของโจทก์นั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบหรือข้อบังคับในการทำงานของบริษัทจำเลย แม้โจทก์จะได้รับมอบหมายให้ดูแลงานของบริษัทจำเลยโดยต้องมาทำงานทุกวัน ก็ไม่มีผู้ใดบังคับบัญชาโจทก์ นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งบริษัทจำเลยและทำงานกับจำเลยโดยเป็นกรรมการมาแต่แรก การทำงานของโจทก์ให้แก่บริษัทจำเลยจึงเป็นการทำในฐานะกรรมการและผู้ถือหุ้นที่ต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของบริษัทจำเลยที่โจทก์เป็นผู้ร่วมก่อตั้งมา แม้โจทก์จะได้รับเงินเดือนจากจำเลย แต่การทำงานของโจทก์ในบริษัทจำเลยไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลย เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้โจทก์ออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2244/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินโบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องอายุความ 10 ปี
เงินโบนัสไม่ใช่ค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (8) และ (9) การเรียกร้องเงินโบนัสจึงไม่อยู่ในบังคับกำหนดอายุความ 2 ปี ของบทบัญญัติดังกล่าว กำหนดอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องเงินโบนัสตามสัญญาจ้างแรงงานมิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30