พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,015 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีค่าชดเชยหลังฟื้นฟูกิจการ: ฟ้องใหม่เป็นคดีต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 และได้เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้บริหารแผนแล้ว ต่อมาโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้าง โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานเพื่อเรียกค่าชดเชย จำเลยที่ 2 มีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งจำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชย ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีคำขอให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ อันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเข้ามาด้วยก็เพื่อที่จะให้โจทก์ได้รับค่าชดเชยจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ทำให้คดีนี้ไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้แต่อย่างใด ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องค่าชดเชยหลังศาลสั่งฟื้นฟูกิจการ: เป็นฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินลูกหนี้ ต้องห้ามตาม พรบ.ล้มละลาย
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจำเลยที่ 3 ที่สั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามคำร้องนั้น มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 1 ยังไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่านั้น มิได้บังคับโจทก์ให้กระทำหรือไม่กระทำการใด หากโจทก์ไม่ติดใจในค่าชดเชยนั้นต่อไปโจทก์ไม่จำต้องนำคดีไปฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และหากโจทก์ประสงค์จะได้ค่าชดเชยโจทก์ก็สามารถฟ้องคดีขอให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ได้ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีคำขอให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ อันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในคดีล้มละลาย แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานของจำเลยที่ 2 ซึ่งสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเข้ามาด้วย ก็เพื่อที่จะให้โจทก์ได้รับจ่ายค่าชดเชยจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ทำให้คดีนี้ไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเรียกค่าชดเชยหลังศาลสั่งฟื้นฟูกิจการ: การฟ้องที่ต้องห้ามตามกฎหมายล้มละลาย
วันที่ 21 มิถุนายน 2543 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 และวันที่ 30 มีนาคม 2544 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการและตั้งบริษัท ส. เป็นผู้บริหารแผน โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้างเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2543 อ้างว่าทุจริตต่อหน้าที่ โจทก์จึงไปยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานเพื่อเรียกค่าชดเชยจากจำเลยที่ 1 พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามคำร้อง ดังนี้การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2545 ขอให้จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ จ่ายค่าชดเชย อันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจำเลยที่ 3 และขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเข้ามาด้วยก็เพื่อที่จะให้โจทก์ได้รับค่าชดเชยจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ทำให้คดีนี้ไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ แต่อย่างใด ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238-2240/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางเงินชำระหนี้และการเพิกถอนการบังคับคดี: ศาลต้องแจ้งคำสั่งขยายเวลาให้จำเลยทราบชัดเจน
จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 9 สิงหาคม 2545 ขอขยายระยะเวลาที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้จำเลยวางเงินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 58 ออกไป 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนด ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งคำร้องดังกล่าววันที่ 13 สิงหาคม 2545 อนุญาตให้จำเลยวางเงินภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เนื่องจากศาลแรงงานกลางมิได้มีคำสั่งในวันที่ 9 สิงหาคม 2545 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยื่นคำร้องแต่ได้มีคำสั่งภายหลังต่อมาอีก 4 วัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้นการที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในวันที่ 10 กันยายน 2545 ว่าจำเลยมิได้นำเงินมาวางศาลภายในวันที่ศาลแรงงานกลางอนุญาตจึงไม่ชอบ
โจทก์เท่านั้นที่จะเป็นผู้มีสิทธิขอคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาด
โจทก์เท่านั้นที่จะเป็นผู้มีสิทธิขอคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238-2240/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอระงับการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินจากการบังคับคดี: เฉพาะโจทก์เท่านั้นที่มีสิทธิ
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) แต่ผู้ที่จะมีสิทธิขอคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากการละทิ้งหน้าที่ และอำนาจการสั่งการของผู้อำนวยการที่ถูกจำกัด
สัญญาจ้างผู้อำนวยการระหว่างจำเลยที่ 1 กับ พ. กำหนดว่า พ. มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย ภายใต้นโยบายและการควบคุมดูแลของคณะกรรมการจำเลยที่ 1 พ. ต้องปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการจำเลยที่ 1 ที่ยับยั้งหรือสั่งการเมื่อเห็นว่า พ. ปฏิบัติงานใด ๆ ขัดต่อกฎหมาย นโยบายหรือมติของคณะกรรมการ หรือเป็นไปในทางที่อาจทำให้เสียประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และในระหว่างอายุสัญญา คณะกรรมการของจำเลยที่ 1 จะพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานของ พ. ทุกปี ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ท้ายสัญญา คณะกรรมการของจำเลยที่ 1 จึงให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของ พ. ได้ เมื่อผลการปฏิบัติงานของ พ. ไม่เป็นที่พอใจของคณะกรรมการและคณะกรรมการเห็นว่าการปฏิบัติงานของ พ. เป็นไปในทางที่อาจทำให้จำเลยที่ 1 เสียประโยชน์ จึงสามารถยับยั้งการปฏิบัติหน้าที่ของ พ. ได้ และ พ. ต้องปฏิบัติตามไม่ว่าจะได้ทำผิดระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายหรือไม่
คณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้ พ. รับตำแหน่งที่ปรึกษาโดยให้การดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของ พ. มีผลเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติตำแหน่ง และแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำการแทน พ. ให้มีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการองค์การจำเลยที่ 1 โดย พ. ไม่ต้องรับผิดชอบในผลการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2545 เป็นต้นไป ส่วนหนึ่งเป็นการยับยั้งการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการของ พ. อีกส่วนหนึ่งเป็นการให้ พ. ไปรับตำแหน่งที่ปรึกษาเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติ ซึ่งแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น ไม่ว่ากระทรวงการคลังจะได้อนุมัติตำแหน่งที่ปรึกษาของ พ. แล้วหรือไม่ และจะได้มีการถอดถอน พ. ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการหรือไม่ พ. ก็ไม่อาจทำหน้าที่ผู้อำนวยการต่อไปได้ จึงเป็นกรณีที่ผู้อำนวยการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่ง พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 24 บัญญัติให้รองผู้อำนวยการเป็นผู้ทำการแทน แม้ขณะที่ พ. ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จะมีจำเลยที่ 2 เป็นรองผู้อำนวยการซึ่งมาตราดังกล่าวบัญญัติให้เป็นผู้ทำการแทนไว้แล้ว การที่คณะกรรมการมีมติและคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำการแทน พ. อีก ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ไม่มีฐานะเป็นผู้ทำการแทน พ. เพราะมติและคำสั่งของคณะกรรมการเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจกระทำการแทน
จำเลยที่ 2 ออกคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 102/2545 ให้โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ ณ สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคเหนือตอนล่าง โจทก์ได้โต้แย้งเฉพาะเรื่องตำแหน่งที่ให้โจทก์ไปดำรงโดยมิได้กล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ออกคำสั่ง ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่า พ. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการของจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อ พ. สั่งการให้โจทก์ไปช่วยปฏิบัติงานที่สำนักงาน อ.ส.ค. กรุงเทพมหานครในวันที่ 28 พ.ค. 2545 ภายหลังจากที่โจทก์ได้โต้แย้งคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 102/2545 และจำเลยที่ 2 ได้แก้ไขข้อผิดพลาดในคำสั่งดังกล่าวด้วยการออกคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 107/2545 แล้วโจทก์จะอ้างว่าโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่า พ. ยังมีอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการของจำเลยที่ 1 และโจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของ พ. ไม่ได้ การที่โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งของ พ. และไม่เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 107/2545 จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่การงานเกินกว่า 7 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรซึ่งการละทิ้งหน้าที่การงานโดยไม่มีเหตุอันสมควรของพนักงานรัฐวิสาหกิจ แม้เพียง 3 วันทำงานติดต่อกัน ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์พนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ข้อ 46 (4) ก็กำหนดให้รัฐวิสาหกิจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การละทิ้งหน้าที่การงานเกินกว่า 7 วันโดย ไม่มีเหตุอันสมควรของโจทก์จึงเป็นความผิดร้ายแรง จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
2/2
คณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้ พ. รับตำแหน่งที่ปรึกษาโดยให้การดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของ พ. มีผลเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติตำแหน่ง และแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำการแทน พ. ให้มีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการองค์การจำเลยที่ 1 โดย พ. ไม่ต้องรับผิดชอบในผลการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2545 เป็นต้นไป ส่วนหนึ่งเป็นการยับยั้งการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการของ พ. อีกส่วนหนึ่งเป็นการให้ พ. ไปรับตำแหน่งที่ปรึกษาเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติ ซึ่งแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น ไม่ว่ากระทรวงการคลังจะได้อนุมัติตำแหน่งที่ปรึกษาของ พ. แล้วหรือไม่ และจะได้มีการถอดถอน พ. ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการหรือไม่ พ. ก็ไม่อาจทำหน้าที่ผู้อำนวยการต่อไปได้ จึงเป็นกรณีที่ผู้อำนวยการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่ง พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 24 บัญญัติให้รองผู้อำนวยการเป็นผู้ทำการแทน แม้ขณะที่ พ. ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จะมีจำเลยที่ 2 เป็นรองผู้อำนวยการซึ่งมาตราดังกล่าวบัญญัติให้เป็นผู้ทำการแทนไว้แล้ว การที่คณะกรรมการมีมติและคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำการแทน พ. อีก ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ไม่มีฐานะเป็นผู้ทำการแทน พ. เพราะมติและคำสั่งของคณะกรรมการเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจกระทำการแทน
จำเลยที่ 2 ออกคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 102/2545 ให้โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ ณ สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคเหนือตอนล่าง โจทก์ได้โต้แย้งเฉพาะเรื่องตำแหน่งที่ให้โจทก์ไปดำรงโดยมิได้กล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ออกคำสั่ง ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่า พ. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการของจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อ พ. สั่งการให้โจทก์ไปช่วยปฏิบัติงานที่สำนักงาน อ.ส.ค. กรุงเทพมหานครในวันที่ 28 พ.ค. 2545 ภายหลังจากที่โจทก์ได้โต้แย้งคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 102/2545 และจำเลยที่ 2 ได้แก้ไขข้อผิดพลาดในคำสั่งดังกล่าวด้วยการออกคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 107/2545 แล้วโจทก์จะอ้างว่าโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่า พ. ยังมีอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการของจำเลยที่ 1 และโจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของ พ. ไม่ได้ การที่โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งของ พ. และไม่เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 107/2545 จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่การงานเกินกว่า 7 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรซึ่งการละทิ้งหน้าที่การงานโดยไม่มีเหตุอันสมควรของพนักงานรัฐวิสาหกิจ แม้เพียง 3 วันทำงานติดต่อกัน ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์พนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ข้อ 46 (4) ก็กำหนดให้รัฐวิสาหกิจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การละทิ้งหน้าที่การงานเกินกว่า 7 วันโดย ไม่มีเหตุอันสมควรของโจทก์จึงเป็นความผิดร้ายแรง จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
2/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2192/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดเมื่อจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาล ฟ้องแย้งเรื่องยักยอกทรัพย์ไม่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยชำระค่าจ้างและเงินประกันแก่โจทก์ พ้นกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติแล้วจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน การที่จำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลทำให้คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสอง ซึ่งจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนั้น ไม่มีสิทธินำคดีในเรื่องเดียวกันนี้ไปสู่ศาลอีก ตามคำฟ้องจึงเป็นกรณีโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันเป็นที่สุดแล้ว ไม่เกี่ยวกับเรื่องโจทก์ยักยอกทรัพย์จำเลย ดังนั้นที่จำเลยฟ้องแย้งอ้างว่าโจทก์ยักยอกทรัพย์ของจำเลย โจทก์ต้องชดใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกโดยจำเลยขอนำเงินตามจำนวนที่พนักงานตรวจแรงงานสั่งให้จำเลยชำระมาหักกับราคาทรัพย์แล้วให้โจทก์ชำระส่วนที่เหลือ จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2192/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดเมื่อจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาล ศาลไม่รับฟ้องแย้งเรื่องยักยอกทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่าพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งที่ 31/2545 สั่งให้จำเลยชำระค่าจ้างและเงินประกันแก่โจทก์ พ้นกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติแล้วจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 31/2545 การที่จำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลทำให้คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสอง ซึ่งจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนั้นไม่มีสิทธินำคดีในเรื่องเดียวกันนี้ไปสู่ศาลอีก ตามคำฟ้องจึงเป็นกรณีโจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันเป็นที่สุดแล้ว ไม่เกี่ยวกับเรื่องโจทก์ยักยอกทรัพย์จำเลย ที่จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ยักยอกทรัพย์ของจำเลย โจทก์ต้องชดใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกโดยจำเลยขอนำเงินตามจำนวนที่พนักงานตรวจแรงงานสั่งให้จำเลยชำระมาหักกับราคาทรัพย์แล้วให้โจทก์ชำระส่วนที่เหลือจึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่, เหตุอันสมควร, และค่าชดเชย
โจทก์ในฐานะผู้จัดการฝ่ายบริหารของจำเลยกล่าวหาว่า น. และ ม. ลูกจ้างของจำเลยปลอมเอกสารอันเป็นความผิดอาญาและเสนอให้จำเลยดำเนินคดีแก่บุคคลทั้งสอง ทั้งๆ ที่โจทก์ยังตรวจสอบพยานหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไม่ครบถ้วน จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ ผลของการกระทำของโจทก์คือจำเลยได้เลิกจ้าง น. และ ม. โดยไม่จำเลยค่าชดเชยซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของลูกจ้างจำเลย ทำให้ระบบบริหารงานบุคคลของจำเลยเสียหาย และการดำเนินงานของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับการทำงานของบุคคลทั้งสองที่ถูกเลิกจ้างต้องหยุดชะงักไปด้วย
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่าลูกจ้างที่ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายจะถูกลงโทษขั้นปลดออกจากงาน แสดงว่าจำเลยมุ่งประสงค์ลงโทษลูกจ้างที่ทำงานประมาทเลินเล่อถึงขั้นเลิกจ้างเฉพาะกรณีทำให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายเท่านั้น จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยเสียหายในระบบการบริหารงานบุคคลและการดำเนินงานซึ่งไม่ใช่ความเสียหายเป็นทรัพย์สินตามความประสงค์ของข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (3) เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามมาตรา 118 (1) แต่การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบริหารให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยสาเหตุปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์เช่นกัน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่าลูกจ้างที่ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายจะถูกลงโทษขั้นปลดออกจากงาน แสดงว่าจำเลยมุ่งประสงค์ลงโทษลูกจ้างที่ทำงานประมาทเลินเล่อถึงขั้นเลิกจ้างเฉพาะกรณีทำให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายเท่านั้น จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยเสียหายในระบบการบริหารงานบุคคลและการดำเนินงานซึ่งไม่ใช่ความเสียหายเป็นทรัพย์สินตามความประสงค์ของข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (3) เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามมาตรา 118 (1) แต่การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบริหารให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยสาเหตุปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างระหว่างลาคลอดบุตร: นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้หากไม่ใช่เพราะเหตุมีครรภ์
แม้ในระหว่างการลาเพื่อคลอดบุตร ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงที่ใช้สิทธิลาเพื่อคลอดบุตรจะยังมีสถานะเป็นลูกจ้าง แต่ก็ไม่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานใดห้ามไม่ให้นายจ้างลูกจ้างนั้นในระหว่างการลาเพื่อคลอดบุตร คงมีเพียง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 43 ที่บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงเพราะเหตุมีครรภ์ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุโจทก์มีครรภ์ การบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยที่ 1 ที่กระทำในระหว่างที่โจทก์ลาคลอดบุตรจึงเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือเลิกจ้างหาใช่มีผลเมื่อวันลาคลอดบุตรของโจทก์สิ้นสุดลงไม่