คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต ยอดเณร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,015 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างหญิงมีครรภ์ การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และสิทธิโบนัส/วันหยุดพักผ่อน
ในระหว่างการลาเพื่อคลอดบุตร ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงที่ใช้สิทธิลาเพื่อคลอดบุตรยังมีสถานะเป็นลูกจ้าง แต่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานใดห้ามไม่ให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างนั้นในระหว่างการลาเพื่อคลอดบุตร คงมีเพียง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 43 ที่บัญญัติว่า "ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงเพราะเหตุมีครรภ์" แต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุโจทก์มีครรภ์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามมาตรา 43

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานต่างประเทศ: การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ และเขตอำนาจศาล
โจทก์เป็นคนสัญชาติอังกฤษ จำเลยเป็นนิติบุคคลสัญชาติอเมริกัน จดทะเบียนและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองอีสท์ ออเรนจ์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สัญญาจ้างแรงงานที่โจทก์ทำกับจำเลย โจทก์ได้ลงลายมือชื่อในประเทศไทย แล้วส่งสัญญาให้จำเลยลงลายมือชื่อในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงถือว่าสัญญาจ้างแรงงานได้ทำขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2581 มาตรา 13 เมื่อสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ตกลงกันว่า ให้สัญญาจ้างแรงงานอยู่ภายใต้บังคับและการตีความตามกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงต้องบังคับตามกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ตามเจตนาของโจทก์และจำเลยอันเป็นคู่สัญญา
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลย กำหนดให้ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งที่คู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้ และข้อโต้เถียง สิทธิเรียกร้อง หรือข้อพิพาทอันเกิดแต่หรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้ให้ระงับโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎของสมาคมการอนุญาโตตุลาการของประเทศสหรัฐอเมริกาและให้ถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนของการดำเนินการฟ้องร้องคดี กระบวนการอนุญาโตตุลาการให้ดำเนินในเมืองอีสท์ ออเรนจ์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือในสถานที่อื่นอันเป็นที่ยอมรับร่วมกันของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ข้อตกลงดังกล่าวสามารถใช้บังคับได้ เพราะเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทอย่างหนึ่งที่คู่กรณีตกลงให้บุคคลที่ไม่ใช่ตุลาการทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแทนตุลาการในศาล จึงไม่ขัดต่อกฎหมายไทยและข้อเท็จจริงได้ความว่าไม่ขัดต่อกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย ดังนั้น โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเสียก่อน เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด โจทก์จึงยังไม่อาจเสนอคดีต่อศาลแรงงานกลางได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานต่างประเทศ: การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการและการบังคับใช้กฎหมายต่างประเทศ
โจทก์เป็นคนสัญชาติอังกฤษ จำเลยเป็นนิติบุคคลสัญชาติอเมริกัน จดทะเบียนและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองอีสท์ ออเรนจ์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สัญญาจ้างแรงงานที่โจทก์ทำกับจำเลยนี้ โจทก์ได้ลงลายมือชื่อในประเทศไทย แล้วส่งสัญญาให้จำเลยลงลายมือชื่อในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงถือว่าสัญญาจ้างแรงงานฉบับนี้ได้ทำขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 13 เมื่อพิจารณาสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้ว ได้ตกลงกันในข้อ 21 ว่า ให้สัญญาจ้างแรงงานฉบับนี้อยู่ภายใต้บังคับและการตีความตามกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงต้องบังคับตามกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ตามเจตนาของโจทก์และจำเลยอันเป็นคู่สัญญา
สัญญาจ้างแรงงานกำหนดให้ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งที่คู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้ และข้อโต้เถียง สิทธิเรียกร้อง หรือข้อพิพาทอันเกิดแต่หรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้ให้ระงับโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎของสมาคมการอนุญาโตตุลาการของประเทศสหรัฐอเมริกาและให้ถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนของการดำเนินการฟ้องร้องคดี กระบวนการอนุญาโตตุลาการให้ดำเนินการในเมืองอีสท์ ออเรนจ์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือในสถานที่อื่นอันเป็นที่ยอมรับร่วมกันของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวสามารถใช้บังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมายไทยและศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าไม่ขัดต่อกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย ดังนั้น โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยเสียก่อน เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด โจทก์จึงยังไม่อาจเสนอคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการในสัญญาจ้างแรงงานต่างชาติมีผลผูกพัน โจทก์ต้องดำเนินการอนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องศาล
โจทก์เป็นคนสัญชาติอังกฤษ จำเลยเป็นนิติบุคคลสัญชาติอเมริกันจดทะเบียนและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองอีสท์ ออเรนจ์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สัญญาจ้างแรงงานที่โจทก์ทำกับจำเลย โจทก์ลงลายมือชื่อในประเทศไทย แล้วส่งสัญญาให้จำเลยลงลายมือชื่อในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงถือว่าสัญญาจ้างแรงงานฉบับนี้ได้ทำขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ต้องบังคับตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 เมื่อสัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวมีข้อตกลงว่า ให้สัญญาฉบับนี้อยู่ภายใต้บังคับและการตีความตามกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงต้องบังคับตามกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ตามเจตนาของคู่สัญญา และสัญญาจ้างแรงงานข้อ 20 กำหนดให้ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งที่คู่สัญญาไม่สามารถตกลงกันได้ และข้อโต้เถียง สิทธิเรียกร้อง หรือข้อพิพาทอันเกิดแต่หรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้ให้ระงับโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎของสมาคมการอนุญาโตตุลาการของประเทศสหรัฐอเมริกา และให้ถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนของการดำเนินการฟ้องร้องคดี กระบวนการอนุญาโตตุลาการให้ดำเนินในเมืองอีสท์ ออเรนจ์ มลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือในสถานที่อื่นอันเป็นที่ยอมรับร่วมกันของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวใช้บังคับได้ เพราะเป็นวิธีระงับข้อพิพาทอย่างหนึ่งและข้อตกลงนี้ไม่ขัดต่อกฎหมายไทย และกฎหมายของมลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอันเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยเสียก่อน เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด โจทก์จึงยังไม่อาจเสนอคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางได้ ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939-1954/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกใช้สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน: ฟ้องศาลหรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ทางเดียว
ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 ถึง 125 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งระหว่างใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้แต่เพียงทางเดียว จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและเงินประกัน ซึ่งเป็นเงินตามสิทธิใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 เลือกใช้สิทธิดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลแรงงานอีกจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด
สำหรับโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 เมื่อปรากฏว่าได้ถอนคำร้องที่ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานก่อนยื่นคำฟ้อง ดังนั้น ในขณะยื่นคำฟ้องจึงไม่มีคำร้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จึงมีอำนาจฟ้อง แม้โจทก์ดังกล่าวจะไม่ระบุในคำขอถอนคำร้องดังกล่าวว่าประสงค์จะดำเนินคดีทางศาลเอง ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939-1954/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีแรงงานหลังยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน: การเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งและการมีอำนาจฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 ถึงมาตรา 125 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแต่เพียงทางเดียว การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย และเงินประกันซึ่งเป็นเงินตามสิทธิใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541เป็นกรณีที่เลือกใช้สิทธิดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องศาลแรงงานอีกจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด เมื่อระหว่างที่พนักงานตรวจแรงงานพิจารณาคำร้องนั้น โจทก์ที่ 1 ถึง ที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ได้นำมูลกรณีเลิกจ้างอันเดียวกันนี้มายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางอีก ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ที่ฟ้องเรียกเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แต่ไม่ตัดสิทธิที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุอายุความ
โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 ถอนคำร้องที่ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานก่อนยื่นคำฟ้อง ดังนั้น ในขณะยื่นคำฟ้องจึงไม่มีคำร้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานตรวจแรงงานโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จะไม่ระบุในคำขอถอนคำร้องดังกล่าวว่าประสงค์จะดำเนินคดีทางศาลเองก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาค่าเสียหายเองได้
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 เป็นการให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายที่ลูกจ้างได้รับ หาใช่เป็นการตัดสิทธิของลูกจ้างซึ่งได้รับความเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมที่จะฟ้องเรียกร้องไม่ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเห็นว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมแล้ว กรณีย่อมถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 และ 49 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลแรงงานได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกับลูกจ้าง และอ้างความเป็นมาของการเลิกจ้างว่า จำเลยมีหนังสือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ไปเป็นตำแหน่งที่ด้อยกว่าเดิมมาก เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ และเมื่อโจทก์ร้องเรียนต่อสำนักงานสวัสดิการและแรงงานจังหวัดชลบุรีว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ไม่ครบถ้วน เป็นเหตุให้สำนักงานดังกล่าวสั่งให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เพิ่มเติม จำเลยจึงมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอคิดค่าเสียหายโดยคำนวณจากเงินเดือนที่เคยได้รับและค่าตรวจรักษาคนไข้เป็นเวลา 5 ปี ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัย – อำนาจผู้ว่าการประปาส่วนภูมิภาคในการเปลี่ยนแปลงโทษ – การไล่ออกชอบด้วยกฎหมาย
ตามระเบียบการประปาส่วนภูมิภาคว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนทางวินัยฯ หมวด 4 การประชุมปรึกษาและการรายงาน ข้อ 21 ถึง 24 มีข้อความเพียงแต่ให้คณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยหรือไม่ และผู้กระทำผิดควรได้รับโทษสถานใด เมื่อผู้ว่าการเห็นควรให้มีการสอบสวนเพิ่มเติมก็ยังสามารถทำได้ มิได้มีข้อความในข้อใดระบุไว้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายอันแสดงให้เห็นว่าเมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นแล้วข้อเท็จจริงต้องยุติตามสำนวนการสอบสวน และเมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นควรรับโทษสถานใดแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโทษให้น้อยลงหรือเพิ่มขึ้นได้ อีกทั้งข้อความที่ว่า ให้คณะกรรมการสอบสวนรายงานการสอบสวนนั้นต่อผู้ว่าการเพื่อสั่งการโดยมิชักช้า คำว่าเพื่อสั่งการย่อมมีความหมายว่าให้ผู้ว่าการพิจารณาก่อนว่ามีความเห็นตามที่คณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นหรือไม่ การพิจารณาดังกล่าวก็มิได้กำหนดไว้ว่าผู้ว่าการจะต้องเป็นผู้พิจารณาด้วยตนเอง การที่ผู้ว่าการจำเลยเกษียนสั่งอนุมัติการขยายเวลาการสอบสวนตามที่คณะกรรมการสอบสวนขอมาพร้อมกับส่งเรื่องไปให้รองผู้ว่าการ (บริหาร) พิจารณาดำเนินการต่อไป จำเลยโดยผู้ว่าการยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบตามที่คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยเสนอการลงโทษโจทก์ เมื่อรองผู้ว่าการ (บริหาร) พิจารณาแล้วก็มอบเรื่องให้กองการเจ้าหน้าที่ไปพิจารณา ดังนั้น การที่ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่สรุปข้อเท็จจริงตามสำนวนการสอบสวนแล้วเห็นควรเสนอผู้ว่าการเพื่อมีคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานเนื่องจากโจทก์ทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่ ก็เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มิได้เป็นการกระทำที่ผิดระเบียบของจำเลย คำสั่งของจำเลยที่ไล่โจทก์ออกจากงานเป็นคำสั่งที่ชอบและเป็นธรรมต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมพิจารณาฟ้องแย้งเรื่องค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อ กับฟ้องเดิมเรื่องเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าเสียหายและเงินอื่นๆ จำเลยให้การว่าจำเลยเลิกจ้างเพราะโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง และยังประมาทเลินเล่อทำให้เงินของจำเลยสูญหายไป จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และฟ้องแย้งเรียกเอาเงินจำนวนที่สูญหายไป เงินที่โจทก์เรียกร้องตามฟ้องแย้งจึงเป็นเงินที่โจทก์ทำสูญหายไปเพราะโจทก์ประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลยในขณะที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ซึ่งจำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าเสียหายและเงินอื่น มิใช่เป็นการเรียกร้องเอาเงินอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของโจทก์ตามสัญญาจ้างเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ศาลแรงงานควรรับพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าเสียหายและเงินอื่นๆ จำเลยให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง และยังประมาทเลินเล่อทำให้เงินของจำเลยสูญหายไป จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหายและเงินอื่นแก่โจทก์ และฟ้องแย้งเรียกเอกเงินจำนวนที่สูญหายไปเนื่องจากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลยอันเป็นการประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ดังนี้ เงินที่โจทก์เรียกร้องตามฟ้องแย้งจึงเป็นเงินที่โจทก์ทำสูญหายไปเพราะโจทก์ประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลยในขณะที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ซึ่งจำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าเสียหายและเงินอื่นหาใช่เป็นการเรียกร้องเอาเงินอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของโจทก์ตามสัญญาจ้างเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
of 202