พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,015 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12088/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง vs. ประกาศฝ่ายเดียว: ขอบเขตมาตรา 20 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
แม้บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 20 จะใช้คำว่า ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยมิได้บัญญัติว่าต้องเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากข้อเรียกร้อง แต่บทบัญญัติมาตรา 20 ดังกล่าว บัญญัติต่อเนื่องจากมาตรา 13 ถึง 19 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วมีการเจรจาต่อรองจนตกลงกันได้มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างนำไปจดทะเบียนอันมีผลบังคับทั้งสองฝ่ายแล้วต่อด้วยมาตรา 20 ที่ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดังนั้น ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 20 จึงหมายถึงเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น นายจ้างจึงสามารถทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างใหม่ให้ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มิได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องได้ เมื่อประกาศของจำเลย จำเลยได้ประกาศจ่ายค่าเที่ยวแก่ลูกจ้างรถบรรทุกหัวลากแต่ฝ่ายเดียว แล้วมีการถือปฏิบัติจ่ายค่าเที่ยวเรื่อยมาจนกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยายก็ไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง จำเลยจึงสามารถทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างที่ทำงานใหม่โดยตกลงยกเว้นสิทธิประโยชน์บางส่วนตามประกาศของจำเลยได้ ไม่ขัดต่อมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12088/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตมาตรา 20 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์: ข้อตกลงสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 นั้น หมายถึงเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น นายจ้างจึงสามารถทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างใหม่ให้ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มิได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องได้ เมื่อประกาศของจำเลยได้ประกาศจ่ายค่าเที่ยวแก่ลูกจ้างผู้ขับรถบรรทุกหัวลากแต่ฝ่ายเดียว แล้วมีการถือปฏิบัติจ่ายค่าเที่ยวเรื่อยมาจนกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยาย ก็ไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง ดังนั้น จำเลยจึงสามารถทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่ โดยตกลงยกเว้นสิทธิประโยชน์บางส่วนตามประกาศได้ ไม่ขัดต่อ มาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9977-10229/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โครงการร่วมใจจากองค์กร: การลาออกโดยสมัครใจ ไม่เข้าข่ายเลิกจ้างหรือเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
โจทก์พ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยตามโครงการร่วมใจจากองค์กรอันมีลักษณะเป็นข้อตกลงระงับสัญญาจ้างร่วมกัน โดยจำเลยตกลงให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่พนักงานซึ่งตกลงเข้าร่วมโครงการดังกล่าว และข้อตกลงดังกล่าวมิได้ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของกฎหมายและมิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด จึงมีผลบังคับได้ เมื่อโจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยเนื่องจากข้อตกลงตามโครงการร่วมใจจากองค์กร โดยผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวยื่นใบสมัครลาออกอันมีลักษณะเป็นการตกลงระงับสัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับโจทก์ดังกล่าวด้วยความสมัครใจ จึงมิใช่เป็นการพ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยสืบเนื่องมาจากจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้าง หรือการเกษียณอายุ โจทก์ดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือเงินค่าตอบแทนความชอบในการทำงานตามที่กำหนดในเรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับค่าชดเชยข้อที่ 45 และ 47 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9128/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหยุดงานชั่วคราวเนื่องจากคำสั่งซื้อลดลง การใช้สิทธิหยุดกิจการบางส่วนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์คุ้มครองนายจ้างที่ต้องประสบวิกฤตการณ์ในการดำเนินกิจการซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ส่งผลกระทบกระเทือนแก่กิจการของนายจ้างอย่างรุนแรงจนถึงขั้นมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว อันเป็นการให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะไม่ให้ลูกจ้างทั้งหมดหรือบางส่วนทำงานเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้เพื่อให้นายจ้างมีโอกาสแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นให้หมดไปหรือบรรเทาลง ข้อเท็จจริงได้ความว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2545 ถึงมิถุนายน 2546 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้รับคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าลดลงมากเมื่อเทียบกับในปี 2544 หากโจทก์ยังคงผลิตสินค้าในปริมาณเดิม ก็เห็นได้ชัดว่าโจทก์ไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้หมดอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าของโจทก์มีปัญหาด้านเทคโนโลยีที่ไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูงขึ้นตามความต้องการของตลาดได้ หากยังคงผลิตออกมาก็ไม่มีตลาดรองรับ ย่อมเสี่ยงต่อการขาดทุนอันส่งผลกระทบอย่างมากต่อสถานะการเงินและความคงอยู่ของกิจการโจทก์ การที่โจทก์ลดการผลิตลงจึงเป็นความจำเป็นโดยเหตุที่มิใช่เหตุสุดวิสัย และการที่โจทก์ลดการผลิตลงด้วยการให้ลูกจ้างสลับกันหยุดงานเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ให้ลูกจ้างบางส่วนทำงาน มีผลเท่ากับโจทก์หยุดการผลิตบางส่วนซึ่งทำให้ผลผลิตลดลง อันเป็นการหยุดกิจการในส่วนที่ต้องลดการผลิตนั้น จึงเป็นการหยุดกิจการบางส่วนชั่วคราว การที่โจทก์ให้ลูกจ้างสลับกันหยุดงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ครึ่งหนึ่งตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2545 ถึงสิงหาคม 2546 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่โจทก์ได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าลดลงมาก จึงเป็นการปฏิบัติตามมาตรา 75 วรรคหนึ่ง โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9072/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงห้ามแข่งขันหลังเลิกจ้าง: การคุ้มครองความลับทางการค้าและการลดเบี้ยปรับ
ธุรกิจการค้าของโจทก์ต้องอาศัยการแข่งขัน ข้อมูลความรู้ความลับทางการค้าเกี่ยวกับสินค้าของโจทก์ตามสมควร โจทก์จึงมีสิทธิที่จะป้องกันสงวนรักษาข้อมูลและความลับในทางการค้าเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจของโจทก์ได้ ทั้งข้อตกลงตามสัญญาจ้างทำงานก็มีกำหนดเวลาห้ามจำเลยอยู่ 2 ปี อันถือได้ว่าเป็นกำหนดเวลาพอสมควร สัญญาจ้างทำงานดังกล่าว จึงหาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยจะไม่ทำงานรับจ้างหรือให้ข้อมูลของโจทก์แก่ผู้ประกอบการรายอื่น ซึ่งมีลักษณะธุรกิจแบบเดียวกับโจทก์ภายในกำหนด 2 ปี นับจากวันเลิกจ้าง หากผิดสัญญายอมให้ปรับ 200,000 บาท นั้น ย่อมเป็นข้อสัญญาที่มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย ถ้าสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้หรือโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 การที่ศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงจึงชอบด้วยกฎหมาย
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยจะไม่ทำงานรับจ้างหรือให้ข้อมูลของโจทก์แก่ผู้ประกอบการรายอื่น ซึ่งมีลักษณะธุรกิจแบบเดียวกับโจทก์ภายในกำหนด 2 ปี นับจากวันเลิกจ้าง หากผิดสัญญายอมให้ปรับ 200,000 บาท นั้น ย่อมเป็นข้อสัญญาที่มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย ถ้าสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้หรือโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 การที่ศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8801/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่เมื่อจำเลยไม่ได้รับหมายเรียก การส่งหมายเรียกไม่ชอบด้วยกฎหมายมีผลต่อกำหนดเวลา
จำเลยที่ 2 ขอพิจารณาคดีใหม่โดยอ้างว่าได้ย้ายที่อยู่จากจังหวัดอุบลราชธานีไปอยู่กับบุตรสาวเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยที่จังหวัดเพชรบุรี จำเลยที่ 2 ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเนื่องจากโจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ณ ที่อยู่เดิมที่จังหวัดอุบลราชธานี จำเลยที่ 2 เพิ่งทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2546 คำร้องดังกล่าวเป็นการอ้างว่าการส่งหมายเรียกให้จำเลยที่ 2 มาศาลในวันนัดพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งหากฟังได้ตามที่อ้าง กำหนดเวลาในการร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 2 ก็ไม่อยู่ในบังคับภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัด และให้พิจารณาคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 41 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ยังไม่ทราบถึงกำหนดนัดพิจารณาคดี ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 2 โดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ได้รับหมายเรียกให้มาศาลในวันนัดพิจารณาโดยชอบแล้วหรือไม่ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8800/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทดลองงาน การบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชย กรณีเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน
ตามสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์ตกลงจ้างจำเลยที่ 2 ทำงานโดยมีระยะเวลาการทดลองงาน 120 วัน หากผ่านการทดลองงานโจทก์จะจ้างต่อไป ถ้าไม่ผ่านการทดลองงานโจทก์สามารถเลิกจ้างได้ หรืออาจให้จำเลยที่ 2 ทดลองงานต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งไม่แน่นอนว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุดเมื่อใด จึงเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง ดังนี้ เมื่อครบกำหนดเวลาทดลองงาน 120 วัน แล้ว โจทก์ยังให้จำเลยที่ 2 ทำงานต่อไปอีก 20 วัน และต่อมาเลิกจ้างจำเลยที่ 2 ด้วยสาเหตุไม่ผ่านการทดลองงาน เท่ากับโจทก์ให้จำเลยที่ 2 ทดลองงานต่อไปอีก 20 วัน ตามสัญญานั่นเอง เมื่อโจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 2 ในระหว่างทดลองงานอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 ไม่ผ่านการทดลองงาน โจทก์จึงต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 2 ทราบเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใดเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป การที่โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 17 ตุลาคม 2545 บอกเลิกจ้างจำเลยที่ 2 โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 25 ตุลาคม 2545 จึงเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้จำเลยที่ 2 และเมื่อจำเลยที่ 2 ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 2 ด้วยเหตุไม่ผ่านการทดลองงาน จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8661/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการหยุดพักผ่อนประจำปีและการจ่ายค่าชดเชยเมื่อนายจ้างไม่ได้จัดให้ลูกจ้างหยุดงานตามสิทธิ
โจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละ 30 วัน โดยถือตามปีปฏิทิน พนักงานสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีไม่ได้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้จัดให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้หยุดในวันหยุดพักผ่อนประจำปีของแต่ละปีที่โจทก์ทำงานกับจำเลย แสดงว่าจำเลยมิได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 30 ที่กำหนดให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้หยุดพักผ่อนประจำปีในแต่ละปีที่ทำงานหรือต้องตกลงกับโจทก์เพื่อกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์มิได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ตามมาตรา 64
สิทธิเรียกร้องค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9)
สิทธิเรียกร้องค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8373/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความผิดสัญญาจ้างแรงงาน-ละเมิด & ผลสัญญาประนีประนอมยอมความหลังฟ้องคดี
แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่เก็บเงินจากลูกค้าของโจทก์แล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตนจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่เนื่องจากโจทก์และจำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์กันตามสัญญาจ้างแรงงาน การที่จำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าว จึงเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานอยู่ในตัวด้วย การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ต้องอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คือ มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี หนี้ของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความและแม้จำเลยที่ 1 กับโจทก์จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกระทำภายในศาลหลังมีการฟ้องคดีแล้ว เห็นได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อบังคับหนี้ตามฟ้อง มิใช่เพื่อระงับหนี้เดิมและก่อหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ไม่มีผลให้หนี้เดิมระงับ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8335/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดในราชอาณาจักรไทย: การครอบครองยาเสพติดบนเครื่องบินและในอาคารผู้โดยสาร
ขณะที่เจ้าพนักงานตรวจค้นพบยาเสพติดให้โทษ จำเลยลงจากเครื่องบินมาอยู่ในอาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยานกรุงเทพ เพื่อจะไปขึ้นเครื่องบินอีกลำหนึ่ง จำเลยจึงเข้ามาในราชอาณาจักรไทยแล้ว เมื่อจำเลยมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งตามกฎหมายไทยบัญญัติว่าเป็นความผิด จำเลยจึงเป็นผู้กระทำความผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมายไทยตาม ป.อ. มาตรา 4