คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต ยอดเณร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,015 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3907/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายหลังประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย และสิทธิของเจ้าหนี้ในการรับชำระหนี้
ในคดีล้มละลายคดีก่อน เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของจำเลยที่ 2 นับแต่วันดังกล่าว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นอันถูกยกเลิกไป การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายเป็นคดีนี้ในมูลหนี้ ที่เกิดขึ้นภายหลังศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้แล้ว จนกระทั่งต่อมาศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาด จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 15 แต่อย่างใด
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดในคดีนี้ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ผ่อนชำระหนี้ในการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายในคดีก่อนทำให้จำเลยที่ 2 ไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ต่อไปได้ เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่ขอรับชำระหนี้ไว้แล้วในคดีก่อนย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในคดีนี้โดยแจ้งความประสงค์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีนี้ทราบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมที่ไม่ปรากฏผู้เขียน/ผู้พิมพ์ แต่ทำตามแบบกฎหมาย
พินัยกรรมที่ทำขึ้นขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายที่จะทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1705 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่ามีกรณีใดบ้างที่เป็นโมฆะ แต่มิได้บัญญัติให้พินัยกรรมที่ไม่ลงลายมือชื่อผู้เขียน (หรือผู้พิมพ์) ในกรณีที่ผู้เขียนมิใช่ผู้ทำพินัยกรรม กล่าวคือทำไม่ถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1671 ตกเป็นโมฆะ ฉะนั้นเมื่อขณะทำพินัยกรรมในคดีนี้มีพยานในพินัยกรรมทั้งสี่คนอยู่พร้อมกันและผู้ตายลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยาน 2 คน พินัยกรรมดังกล่าวจึงถูกต้องตามแบบที่ ป.พ.พ. มาตรา 1656 กำหนดไว้ และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเอกสารทะเบียนอาวุธปืนปลอมต่อพนักงานสอบสวน ไม่ถือเป็นการใช้เอกสารปลอม เนื่องจากเป็นการใช้สิทธิปฏิเสธในฐานะผู้ต้องหา
การที่จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในข้อหาว่ามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต พาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แล้วต่อมาจำเลยแสดงเครื่องหมายทะเบียนและนำสำเนาใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนแสดงต่อร้อยตำรวจโท ก. ซึ่งเป็นผู้สอบสวนคดีนี้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวเท่ากับจำเลยให้การปฏิเสธในฐานที่จำเลยเป็นผู้ต้องหา ถูกกล่าวหาว่ามีอาวุธปืนของกลางไม่มีเครื่องหมายทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมาย ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ให้สิทธิแก่ผู้ต้องหาที่จะให้การรับหรือปฏิเสธอย่างใดก็ได้ เมื่อกฎหมายให้สิทธิแก่จำเลยในฐานะผู้ต้องหาไว้เช่นนี้ ดังนั้น ถึงแม้ว่าเครื่องหมายทะเบียนและสำเนาใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนที่จำเลยนำมาแสดงต่อร้อยตำรวจโท ก. จะเป็นเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารราชการก็ตาม ก็จะเอาความผิดแก่จำเลยฐานใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารราชการไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับเป็นเงื่อนไขสำคัญในการจ่ายสินบนนำจับในคดีพนัน และพฤติการณ์ร้ายแรงที่ไม่รอการลงโทษ
ในกรณีที่มีคำขอให้จ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.การพนันฯ ศาลจะพิพากษาให้จ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับได้ก็ต่อเมื่อมีการลงโทษปรับจำเลยด้วย เพราะจำนวนเงินค่าปรับจะต้องนำมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณว่าจะต้องจ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อคดีนี้ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแต่อย่างเดียวโดยไม่ลงโทษปรับ จึงไม่อาจจ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิ vs. เอกสารปลอม: แบบคำขอใช้บริการ ATM ไม่ใช่เอกสารสิทธิโดยตรง
"เอกสารสิทธิ" ตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ แต่แบบคำขอใช้บริการบัวหลวง เอ.ที.เอ็ม ที่จำเลยปลอมขึ้นนั้นเป็นเอกสารที่จำเลยใช้ยื่นต่อธนาคารผู้เสียหายเพื่อขอให้ ส. ซึ่งเป็นลูกค้าเงินฝากประเภทสะสมทรัพย์ของธนาคารผู้เสียหายได้ใช้บัตรฝากถอนเงินอัตโนมัติ แต่ยังไม่แน่ว่าธนาคารผู้เสียหายจะอนุมัติตามแบบคำขอใช้บริการดังกล่าวหรือไม่ แบบคำขอใช้บริการดังกล่าวมิใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อสิทธิในการฝาก - ถอนเงินกับธนาคารผู้เสียหายโดยตรง จึงมิใช่เอกสารสิทธิตามความใน ป.อ. มาตรา 1 (9) การกระทำของจำเลยซึ่งปลอมแบบคำขอใช้บริการดังกล่าวและใช้เอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม คงเป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผิดพลาดในการพิมพ์คำพิพากษาโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้หากไม่เป็นผลร้ายต่อจำเลย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2547 ศาลชั้นต้นได้พิจารณาพิพากษาคดีนี้โดยลงโทษจำคุกจำเลยเป็นเวลา 3 ปี และลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ตามร่างคำพิพากษา เอกสารลำดับที่ 13/1 ที่ปรากฏอยู่ในสำนวน แต่เมื่อทำการจัดพิมพ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นตามร่างคำพิพากษาดังกล่าวได้พิมพ์จำนวนโทษจำคุกจำเลยภายหลังจากลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้ว คงจำคุกจำเลยเพียง 6 เดือน ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ลำดับที่ 13/2 ที่ปรากฏในสำนวนนั้น เป็นเรื่องพิมพ์ตัวเลขผิดพลาดตกระยะเวลาไป 1 ปี โทษจำคุกจำเลยจึงเหลือเพียง 6 เดือน ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวให้ถูกต้องตามความจริงได้โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดร้องขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบมาตรา 215 และไม่ถือเป็นผลร้ายแก่จำเลยแต่อย่างใด อีกทั้งไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2048/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งข้อมูลเท็จเพื่อทำบัตรประชาชน, แก้ไขบทมาตราผิด, ไม่รอการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน ทำให้เจ้าพนักงานหลงเชื่อจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ อันมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่เจ้าพนักงานดังกล่าว กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยและประชาชน อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 267 แต่คำขอท้ายฟ้องกลับขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 269 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องผู้ประกอบวิชาชีพทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ เห็นได้ว่าโจทก์อ้างบทมาตราผิด เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้อง กรณีเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์และการร่วมกระทำความผิด โดยจำเลยมีอายุเกินเกณฑ์เยาวชนในระหว่างการพิจารณาคดี
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วางข้อกำหนดให้ส่งจำเลยไปฝึกอบรม มีกำหนด 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 75 ประกอบมาตรา 74 (5) นั้น ไม่อาจบังคับได้เนื่องจากจำเลยมีอายุครบ 18 ปี ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจึงไม่เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งคดี ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้รอการกำหนดโทษไว้ 3 ปี และคุมประพฤติจำเลยไว้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ แม้โจทก์และจำเลยจะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษคดีอาญาต่อเนื่อง: นับโทษต่อได้แม้คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด
คดีอาญาเรื่องก่อนยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์ยังมิได้มีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลง โดยพิพากษาแก้หรือกลับผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วจำเลยยังคงต้องถูกบังคับตามโทษของศาลชั้นต้น ดังนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษคดีอาญาเรื่องก่อนของศาลชั้นต้นต่อไปจนกว่าผลของคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลนั้นๆ จะเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษคดีอาญาต่อเนื่อง: ศาลชอบที่จะนับโทษต่อได้แม้คดีเดิมยังไม่ถึงที่สุด
เมื่อคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลจังหวัดชลบุรีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 หากศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังมิได้มีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงโดยพิพากษาแก้หรือกลับผลของคำพิพากษาศาลจังหวัดชลบุรีแล้ว จำเลยยังคงต้องถูกบังคับตามโทษในคดีอาญาดังกล่าว ศาลชั้นต้นชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีนั้นต่อไปจนกว่าผลของคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลนั้นจะเปลี่ยนแปลงไป
of 202