คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต ยอดเณร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,015 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8568/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน: การอุทธรณ์ต้องห้าม & การพิจารณาพยานหลักฐานทางการแพทย์
โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 และมีหนังสือยินยอมให้องค์การค้าของคุรุสภาซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์เป็นผู้รับเงินทดแทนแทนโจทก์ การที่จำเลยโดยสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 มีหนังสือถึงผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภาปฏิเสธการจ่ายเงิน ส. ผู้ทำการแทนนายจ้างอุทธรณ์คำสั่ง ดังนี้ แม้จำเลยจะได้แจ้งผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนไปยังผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภาในวันที่ 1 พฤษภาคม 2545 และในวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 แต่เมื่อหนังสือยินยอมที่โจทก์มีถึงผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 โจทก์เพียงแต่ยินยอมให้องค์การค้าของคุรุสภารับเงินทดแทนได้โดยตรงจากสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 เท่านั้น โดยไม่มีข้อความใด ๆ ให้ผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภามีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน การแจ้งของจำเลยทั้งสองครั้งจึงไม่มีผลต่อโจทก์ การนำคดีมาสู่ศาลของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 53
โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 โจทก์อ้างว่าปวดบริเวณเอวเป็นอย่างมากและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ โดยมีเหตุเนื่องมาจากโจทก์ทำหน้าที่ตรวจสอบและวัดขนาดคุรุภัณฑ์ ซึ่งจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายคุรุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักมากให้แก่นายจ้าง ข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอรับเงินทดแทนกรณีลูกจ้างประสบอันตราย มิใช่ขอรับเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเจ็บป่วย จึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 14 ที่การเจ็บป่วยของลูกจ้างที่สามารถรับเงินทดแทนได้จะต้องเกิดจากโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน
การที่ศาลแรงงานกลางชั่งน้ำหนักระหว่างคำเบิกความของ ป. ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อผู้ตรวจรักษาโจทก์กับคำเบิกความของ ธ. ซึ่งเป็นอนุกรรมการการแพทย์คนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งแล้ววินิจฉัยว่า คำเบิกความของ ป. น่าจะรับฟังมากกว่าและเชื่อตามคำเบิกความดังกล่าวว่าโจทก์ประสบอันตรายจากการทำงาน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยจึงมุ่งประสงค์ให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ได้ประสบอันตรายจากการทำงานนั่นเอง อันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683-7693/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเครื่องจักร ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่จำเลยนำผงชูรสกึ่งสำเร็จรูปที่ซื้อมาใช้ในการผลิตผงชูรสสำเร็จรูปแทนการผลิตผงชูรสกึ่งสำเร็จรูปจากกากน้ำตาลด้วยตนเองดังที่เคยกระทำมา เป็นการตัดทอนขั้นตอนการผลิตเดิมตั้งแต่การหมักกากน้ำตาล เลี้ยงเชื้อ ต้มน้ำตาล ในกระบวนการผลิตขั้นตอนที่ 1 ของขั้นตอนเพาะเชื้อ ถึงกระบวนการในห้องแยกน้ำแยกเนื้อผงชูรสกึ่งสำเร็จรูปที่ห้องเอสดีซีซึ่งอยู่ในกระบวนการผลิตขั้นตอนที่ 2 ออก การปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยตัดทอนขั้นตอนการผลิตด้วยวิธีนี้จำเลยไม่ได้นำเครื่องจักรมาใช้ จำเลยมีวัตถุประสงค์ผลิตผงชูรส การนำน้ำที่เหลือจากการผลิตมารีไซเคิลเป็นเพียงการนำของเหลือที่จะทิ้งมาใช้อีกครั้ง สิ่งที่ได้เป็นผงชูรสกึ่งสำเร็จรูปจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับกำลังการผลิตต่อวันของจำเลย และเป็นการทำให้น้ำที่เหลือจากการผลิตสะอาดขึ้นก่อนปล่อยเป็นน้ำทิ้ง ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการผลิตของจำเลย ผงชูรสกึ่งสำเร็จรูปที่ได้จากการรีไซเคิลน้ำเป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น การที่จำเลยนำเครื่องโม่มาใช้ในการรีไซเคิลน้ำจึงไม่ใช่การที่นายจ้างปรับปรุงกระบวนการผลิตเนื่องจากการนำเครื่องจักรมาใช้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 121 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7675/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชยกรณีหยุดกิจการชั่วคราว ลูกจ้างทำงานอื่นได้ไม่ถือละทิ้งหน้าที่
ประกาศของโจทก์ที่แจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงความจำเป็นของโจทก์ที่ต้องหยุดกิจการทั้งหมดลงชั่วคราวและจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่โจทก์หยุดกิจการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 มิใช่หนังสือเลิกจ้างลูกจ้าง แม้ในประกาศจะระบุให้ลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานไปทันทีที่ไปทำงานประจำกับนิติบุคคลอื่น ก็เป็นเพียงเงื่อนไขที่โจทก์จะใช้สิทธิเลิกจ้างลูกจ้างเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างไปทำงานกับนิติบุคคลอื่นจึงมิใช่เป็นการตกลงเลิกสัญญาจ้างกับโจทก์ จำเลยที่ 2 ยังคงเป็นลูกจ้างโจทก์ ระหว่างที่โจทก์ประกาศหยุดกิจการชั่วคราว โจทก์มิได้มอบหมายงานให้จำเลยที่ 2 ทำ ส่วนเงินที่โจทก์จ่ายให้ในอัตราร้อยละห้าสิบของค่าจ้างก็มิใช่ค่าจ้าง แต่เป็นเงินที่ต้องจ่ายตาม มาตรา 75 และบทมาตราดังกล่าวก็มิได้บัญญัติห้ามลูกจ้างไปทำงานกับบุคคลอื่นในระหว่างที่นายจ้างประกาศหยุดกิจการชั่วคราว การที่จำเลยที่ 2 ไปทำงานกับนิติบุคคลอื่นจึงมิใช่การละทิ้งหน้าที่หรือทำผิดสัญญาจ้าง เมื่อโจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 2 โดยที่จำเลยที่ 2 มิได้กระทำผิดตาม มาตรา 119 โจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7613-7626/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างค้างจ่าย: ศาลฎีกาวินิจฉัยใช้บังคับตามมาตรา 193/34 (9) ป.พ.พ. ซึ่งมีอายุความ 2 ปี
ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน ซึ่งนายจ้างยังไม่ได้จ่ายให้แก่ลูกจ้าง จึงเป็นค่าจ้าง ซึ่ง ป.พ.พ. บัญญัติอายุความที่ลูกจ้างเรียกเอาค่าจ้างมีกำหนด 2 ปี ไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 193/34 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ค่าจ้างกับหนี้เช่าซื้อหลังเลิกจ้าง: ศาลฎีกาแก้ไขคำสั่งให้โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างตามคำสั่งเดิม
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 76 ที่บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นนอกจากหนี้ตาม (1) ถึง (5) มาหักกับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะถูกหักเงินดังกล่าวในระหว่างที่ลูกจ้างยังไม่พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเท่านั้น โจทก์ขอหักกลบลบหนี้เงินค่าจ้าง เงินรางวัลจากการขายฯ ที่โจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 กับค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระให้แก่โจทก์หลังจากจำเลยที่ 1 พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างแล้ว และการหักกลบลบหนี้กระทำได้ด้วยการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย โจทก์จึงขอหักกลบลบหนี้ได้ แต่การหักกลบลบหนี้จะกระทำได้เฉพาะกับสิทธิเรียกร้องหรือหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้ ซึ่งในชั้นสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยที่ 1 โต้แย้งว่าหนี้ค่าเช่าซื้อพร้อมดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ต่อมาในชั้นพิจารณาของศาลโจทก์จึงยอมรับว่าหนี้ค่าเช่าซื้อเป็นดังที่จำเลยที่ 1 โต้แย้ง หนี้ค่าเช่าซื้อที่โจทก์ขอหักกลบลบหนี้ในชั้นสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานจึงยังเป็นหนี้ที่มีข้อต่อสู้ ไม่สามารถหักกลบลบหนี้ได้ ที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับแก่จำเลยที่ 1 จึงมิได้ฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แต่เมื่อในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานโจทก์และจำเลยที่ 1 แถลงรับจำนวนหนี้ค่าเช่าซื้อพร้อมดอกเบี้ยโดยมิได้โต้แย้งกันอีก หนี้ค่าเช่าซื้อพร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์จึงเป็นอันยุติ มิได้เป็นหนี้ที่มีข้อต่อสู้ต่อไป โจทก์จึงขอนำไปหักกลบลบหนี้กับเงินต่าง ๆ ที่โจทก์ต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7389/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างไม่บังคับต้องมีเอกสาร ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบเหตุผลได้
การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้แสดงเจตนาจะต้องมีพยานเอกสารมาแสดง การแสดงเจตนาดังกล่าว อาจทำเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้ การบอกเลิกสัญญาจ้างจึงมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่อยู่ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 94 การที่ศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจพิเคราะห์พยานบุคคลประกอบเหตุผลแวดล้อมต่าง ๆ แล้วฟังว่าจำเลยบังคับให้โจทก์ทำหนังสือลาออก จึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084-7289/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นไม่เป็นนายจ้างในคดีแรงงาน ไม่มีหน้าที่ชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จึงไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
โจทก์เป็นลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับจำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันถึงที่สุด ผู้ร้องเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของจำเลย จึงไม่ใช่นายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 5 ตามความหมายคำว่า นายจ้าง (2) และ ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับ กำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้ และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084-7289/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นไม่มีส่วนได้เสียในคดีแรงงานระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้าง จึงไม่อาจเป็นจำเลยร่วม หรือขอทุเลา/ระงับการบังคับคดีได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับบริษัทจำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันถึงที่สุด เป็นกรณีลูกจ้างฟ้องให้นายจ้างชำระเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคสาม และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลย ไม่ใช่ผู้ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ไม่ใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลและไม่ได้เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยให้ทำการแทน จึงไม่ใช่นายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 และไม่ใช่ผู้ตกลงจะให้สินจ้าง จึงไม่ใช่นายจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084-7289/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นไม่มีส่วนได้เสียในคดีแรงงาน และไม่มีสิทธิขอทุเลาการบังคับคดี
โจทก์เป็นลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับจำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันถึงที่สุด เป็นกรณีลูกจ้างฟ้องให้นายจ้างชำระเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 124 วรรคสาม และ ป.พ.พ. มาตรา 582 ซึ่งเป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ผู้ร้องเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของจำเลย ไม่ใช่ผู้ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ไม่ใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลและไม่ได้เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยให้ทำการแทนจึงไม่ใช่นายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 ตามความหมายคำว่านายจ้าง (2) และไม่ใช่ผู้ตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานให้ จึงไม่ใช่นายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 ผู้ร้องไม่มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับโจทก์ ผลแห่งคดีมีเพียงว่านายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างหรือไม่เพียงใด เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชอบชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับ กำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจอย่างสมควร หากกำไรลดลงแต่ยังไม่ขาดทุน การเลิกจ้างถือว่าไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ ปรากฏผลการดำเนินงานของจำเลยในปี 2543 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 26.8 ปี 2544 ถึง 2546 ผลการดำเนินงานเป็นกำไรอยู่ เพียงแต่ในปี 2546 กำไรลดลงมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่กำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควรจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มิใช่เป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
of 202