พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,015 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจ หากกิจการยังไม่ขาดทุน การเลิกจ้างเพราะกำไรลดลงถือว่าไม่สมควร
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ คดีนี้กิจการของจำเลยยังมีกำไรอยู่ เพียงแต่กำไรลดลงในปีที่ล่วงมาจำนวนมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่กำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุอันควร จึงถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมมิใช่เป็นการที่ลูกจ้างเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมมิใช่เป็นการที่ลูกจ้างเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจอย่างสมควร หากกำไรลดลงแต่ยังไม่ขาดทุน การเลิกจ้างถือว่าไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ ปรากฏผลการดำเนินงานของจำเลยในปี 2543 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 26.8 ปี 2544 ถึง 2546 ผลการดำเนินงานเป็นกำไรอยู่ เพียงแต่ในปี 2546 กำไรลดลงมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่กำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควรจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มิใช่เป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มิใช่เป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6960/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหยุดงานชั่วคราวของนายจ้างต้องมีเหตุผลสำคัญกระทบต่อกิจการ มิใช่ปัญหาการบริหารจัดการหรือขาดการวางแผน
ความจำเป็นของนายจ้างที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นความจำเป็นที่สำคัญอันจะมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างอย่างมาก ทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการตามปกติได้ มิใช่เป็นแต่เพียงความจำเป็นทั่ว ๆ ไป เล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อกิจการของนายจ้างมากนัก อีกทั้งระยะเวลาในการแก้ไขเหตุแห่งความจำเป็นนั้นจะต้องมีกำหนดเวลาที่แน่นอนติดต่อกันอย่างพอสมควร การที่ในระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2545 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2545 โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างบางส่วนคือ ท. กับพวกรวม 444 คน หยุดงานชั่วคราวเป็นระยะ ๆ จำนวน 17 ครั้ง ครั้งหนึ่งไม่เกิน 2 วัน รวม 31 วัน แม้โจทก์จะอ้างว่ายอดสั่งซื้อสินค้าลดลงก็ตาม ลักษณะการสั่งให้หยุดงานชั่วคราวของโจทก์ดังกล่าวเป็นการหยุดงานตามที่โจทก์คาดหมายว่าจะประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าซึ่งไม่มีความแน่นอน ประกอบกับโจทก์มีปัญหาด้านแรงงานกับลูกจ้างและบางครั้งโจทก์ขาดวัตถุดิบเนื่องจากไม่ได้กักตุนวัตถุดิบไว้ ความจำเป็นในการหยุดงานชั่วคราวของโจทก์จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากการบริหารจัดการของโจทก์เองที่ขาดการวางแผนงานที่ดีและมีปัญหาด้านแรงงาน มิใช่เป็นเหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6960/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหยุดงานชั่วคราวต้องมีเหตุจำเป็นสำคัญจากการประกอบกิจการจริง มิใช่ปัญหาการบริหารจัดการภายใน
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง เป็นกฎหมายที่คุ้มครองนายจ้างที่ประสบปัญหามีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว แต่นายจ้างยังมีความประสงค์จะประกอบกิจการของตนอีกต่อไป เพื่อเป็นการบรรเทาค่าใช้จ่ายจึงให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในระหว่างการหยุดงานเพียงครึ่งเดียว แต่ก็ถือว่าเป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองลูกจ้างด้วย สำหรับความจำเป็นของนายจ้างที่จะยกขึ้นอางจะต้องเป็นความจำเป็นที่สำคัญอันจะมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการตามปกติได้มิใช่เป็นแต่เพียงความจำเป็นทั่ว ๆ ไป เล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบแก่กิจการมากนัก อีกทั้งระยะเวลาในการแก้ไขเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าวจะต้องมีกำหนดเวลาที่แน่นอนติดต่อกันอย่างพอสมควร
โจทก์มีคำสั่งให้ลูกจ้างบางส่วนคือ ท. กับพวกรวม 444 คน หยุดงานชั่วคราวเป็นระยะ ๆ จำนวน 17 ครั้ง ครั้งหนึ่งไม่เกิน 2 คน รวม 31 วัน แม้โจทก์จะอ้างว่ายอดสั่งซื้อสินค้าลดลง แต่ลักษณะการสั่งให้หยุดงานชั่วคราวของโจทก์เป็นการคาดหมายว่าจะประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าซึ่งไม่มีความแน่นอน ประกอบกับโจทก์มีปัญหาด้านแรงงานกับลูกจ้าง และบางครั้งโจทก์ขาดวัตถุดิบเนื่องจากไม่ได้กักตุนวัตถุดิบไว้ ความจำเป็นในการหยุดงานชั่วคราวของโจทก์เป็นผลสืบเนื่องมาจากการบริหารจัดการของโจทก์เองที่ขาดการวางแผนที่ดีและมีปัญหาด้านแรงงาน มิใช่เป็นเหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้
โจทก์มีคำสั่งให้ลูกจ้างบางส่วนคือ ท. กับพวกรวม 444 คน หยุดงานชั่วคราวเป็นระยะ ๆ จำนวน 17 ครั้ง ครั้งหนึ่งไม่เกิน 2 คน รวม 31 วัน แม้โจทก์จะอ้างว่ายอดสั่งซื้อสินค้าลดลง แต่ลักษณะการสั่งให้หยุดงานชั่วคราวของโจทก์เป็นการคาดหมายว่าจะประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าซึ่งไม่มีความแน่นอน ประกอบกับโจทก์มีปัญหาด้านแรงงานกับลูกจ้าง และบางครั้งโจทก์ขาดวัตถุดิบเนื่องจากไม่ได้กักตุนวัตถุดิบไว้ ความจำเป็นในการหยุดงานชั่วคราวของโจทก์เป็นผลสืบเนื่องมาจากการบริหารจัดการของโจทก์เองที่ขาดการวางแผนที่ดีและมีปัญหาด้านแรงงาน มิใช่เป็นเหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6937/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพักงานทางวินัย: การปฏิบัติตามระเบียบ, กำหนดเวลาสอบสวน, และการกำหนดค่าเสียหาย
โจทก์มีพฤติกรรมในการปฏิบัติงานไม่ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติงานภาคการพนักงานของจำเลย และมีพฤติการณ์ต้องสงสัยว่าจะมีส่วนร่วมหรือรู้เห็นกับการทุจริตของ ส. ในการเบิกค่าใช้จ่ายต่างๆโดยไม่มีใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญคู่จ่ายประกอบการเบิกจ่ายแล้วนำเงินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว ดังที่จำเลยระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งพักงานซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นกรณีความผิดร้ายแรง หากจะให้โจทก์คงปฏิบัติงานอยู่อาจจะเกิดผลร้ายแก่ธนาคารจำเลยได้ จำเลยย่อมมีอำนาจพักงานโจทก์ได้ คำสั่งพักงานของจำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยระเบียบปฏิบัติงานภาคการพนักงานของจำเลย แม้จำเลยจะมิได้มีคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนและวินิจฉัยโทษให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันออกคำสั่งพักงานซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบก็เป็นกรณีที่เกิดขึ้นหลังจากจำเลยได้มีคำสั่งพักงานโจทก์ไปโดยชอบแล้ว หาทำให้คำสั่งพักงานที่จำเลยมีอำนาจออกคำสั่งได้โดยชอบกลับกลายเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยมิได้วินิจฉัยโทษให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามที่ระเบียบกำหนดไว้ โจทก์ก็เพียงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเป็นการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นเท่านั้น
การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้กำหนดค่าเสียหายรายเดือนเท่ากับเงินเดือนของโจทก์ มิใช่ครึ่งหนึ่งของค่าจ้างนั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายเพราะเหตุจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้โจทก์ตามความเหมาะสม อุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้กำหนดค่าเสียหายรายเดือนเท่ากับเงินเดือนของโจทก์ มิใช่ครึ่งหนึ่งของค่าจ้างนั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายเพราะเหตุจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้โจทก์ตามความเหมาะสม อุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยไม่ระบุเหตุผล นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้ลูกจ้างประมาทเลินเล่อ
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 นายจ้างจะอ้างเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 ขึ้นต่อสู้ได้หรือไม่นั้น ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 17 วรรคสาม แม้โจทก์กระทำความผิดฐานประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงซึ่งเข้าข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 (3) แต่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้ระบุเหตุผลในการเลิกจ้างไว้ จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดได้ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6848/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดหากไม่ได้ให้ลูกจ้างหยุดพักตามกฎหมาย
บทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 28 มาตรา 62 และมาตรา 64 หมายความว่า นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละหนึ่งวัน หากนายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างเสมือนว่านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด โดยจ่ายค่าทำงานในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานสำหรับลูกจ้างที่มีสิทธิได้ค่าจ้างในวันหยุดและจ่ายในอัตรา 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานสำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างในวันหยุด
โจทก์ให้ลูกจ้างของโจทก์ทำงานทุกวันโดยไม่ได้จัดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ โจทก์จึงต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างเสมือนว่าโจทก์สั่งให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด โดยลูกจ้างรายวันซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 56 (1) จะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างดังกล่าวในอัตรา 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานตามมาตรา 62 (2)
โจทก์ให้ลูกจ้างของโจทก์ทำงานทุกวันโดยไม่ได้จัดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ โจทก์จึงต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างเสมือนว่าโจทก์สั่งให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด โดยลูกจ้างรายวันซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 56 (1) จะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างดังกล่าวในอัตรา 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานตามมาตรา 62 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6848/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทำงานในวันหยุด: นายจ้างไม่ได้จัดวันหยุดประจำสัปดาห์ ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดเพิ่ม 1 เท่า
โจทก์ให้ลูกจ้างทั้งห้าซึ่งมีหน้าที่เฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินให้แก่ธุรกิจของโจทก์ทำงานทุกวันโดยไม่ได้จัดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ โจทก์ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างทั้งห้าเสมือนว่าโจทก์สั่งให้ลูกจ้างทั้งห้าทำงานในวันหยุด เมื่อลูกจ้างทั้งห้าเป็นลูกจ้างรายวันที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 56 (1) โจทก์จึงต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างทั้งห้าในอัตรา 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานตามมาตรา 62 (2) แต่โจทก์ได้จ่ายค่าทำงานในวันหยุดเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานให้แก่ลูกจ้างทั้งห้าไปแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์จ่ายค่าทำงานในวันหยุดขาดไปจำนวน 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงาน การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างทั้งห้าเพิ่มอีก 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน: ระยะเวลาทำงานจริงสำคัญกว่าสัญญาจ้าง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์ทำงานมีกำหนดเวลา 1 ปี แล้วจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดเวลาโดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กับค่าชดเชย ซึ่งศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้เฉพาะประเด็นสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนค่าชดเชยศาลแรงงานกลางมิได้มีคำวินิจฉัย คำวินิจฉัยจึงไม่ครบทุกประเด็นแห่งคดีอันเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 เป็นกรณีลูกจ้างที่ได้ทำงานจริงและมีระยะเวลาติดต่อกันครบตามที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วยจึงจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชย มิใช่เอาระยะเวลาจ้างตามสัญญาจ้างมากำหนดว่าหากโจทก์ทำงานครบเวลาตามสัญญาจ้างแล้วโจทก์มีสิทธิจะได้รับค่าชดเชยมากำหนด เมื่อโจทก์ทำงานกับจำเลยได้เพียง 3 เดือนเศษ ย่อมไม่มีสิทธิจะได้รับค่าชดเชย
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 เป็นกรณีลูกจ้างที่ได้ทำงานจริงและมีระยะเวลาติดต่อกันครบตามที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วยจึงจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชย มิใช่เอาระยะเวลาจ้างตามสัญญาจ้างมากำหนดว่าหากโจทก์ทำงานครบเวลาตามสัญญาจ้างแล้วโจทก์มีสิทธิจะได้รับค่าชดเชยมากำหนด เมื่อโจทก์ทำงานกับจำเลยได้เพียง 3 เดือนเศษ ย่อมไม่มีสิทธิจะได้รับค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6787/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกของลูกจ้าง การสิ้นสุดสัญญาจ้าง และสิทธิในการได้รับเงินบำเหน็จ
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งคู่สัญญาอาจแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญากันได้ตามหลักเกณฑ์ใน ป.พ.พ. มาตรา 386 และมาตรา 582 โดยนายจ้างหรือลูกจ้างบอกเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสามเดือน จำเลยกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือน เมื่อโจทก์ยื่นใบลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2546 ซึ่งเป็นวันก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างในวันที่ 31 มกราคม 2546 ย่อมมีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2546 ซึ่งเป็นกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แม้จำเลยจะมีระเบียบขององค์การค้าของคุรุสภาที่ออกโดยอาศัยอำนาจของ พ.ร.บ.ครูฯ กำหนดให้การลาออกของลูกจ้างของจำเลยต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภาก่อน จำเลยก็มิได้โต้แย้งหรือสั่งให้ระงับใบลาออกของโจทก์ จนกระทั่งการสอบสวนที่กล่าวหาว่าโทษกระทำผิดสิ้นสุดลงโดยที่โจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยก็มิได้สั่งการเกี่ยวกับใบลาออกของโจทก์แต่กลับจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2546 แสดงว่าจำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกโดยปริยายแล้ว
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยได้สิ้นสุดลงด้วยการลาออก มิได้สิ้นสุดลงเนื่องจากโจทก์กระทำความผิด โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบคุรุสภาว่าด้วยการจ่ายเงินบำเหน็จ เงินทำขวัญ และเงินช่วยเหลือในการทำศพเจ้าหน้าที่คุรุสภา (ฉบับที่ 2)ฯ
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยได้สิ้นสุดลงด้วยการลาออก มิได้สิ้นสุดลงเนื่องจากโจทก์กระทำความผิด โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบคุรุสภาว่าด้วยการจ่ายเงินบำเหน็จ เงินทำขวัญ และเงินช่วยเหลือในการทำศพเจ้าหน้าที่คุรุสภา (ฉบับที่ 2)ฯ