พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,015 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างแรงงานและการรับสภาพหนี้: การนับอายุความที่ถูกต้องและการขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำละเมิดต่อโจทก์และผิดหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งหากถือเอาอายุความเกี่ยวกับการละเมิดมาบังคับใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 โจทก์จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันทำละเมิด แต่เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานมาด้วย ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โดยนับจากวันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง คือวันที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน หาใช่นับแต่วันที่โจทก์ทราบการกระทำผิดไม่ ซึ่งระยะเวลาทั้ง 2 กรณี เมื่อนับถึงวันฟ้องเกินสิบปีแล้ว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงขาดอายุความ จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย
จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์ไว้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2544 อายุความจึงสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) เมื่อการรับสภาพหนี้ดังกล่าวเกิดจากสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2544 คิดถึงวันฟ้องยังไม่เกินสิบปี คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์ไว้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2544 อายุความจึงสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) เมื่อการรับสภาพหนี้ดังกล่าวเกิดจากสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2544 คิดถึงวันฟ้องยังไม่เกินสิบปี คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4830/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าชดเชยแรงงาน: ศาลยืนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน อัตรา 15% ต่อปี แม้โจทก์มิได้ขอ
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กำหนดให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำอัตราดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับไม่ได้ ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยร้อยละ 15 ต่อปี โดยโจทก์มิได้ขอมาในฟ้อง จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4830/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าชดเชย: พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 บังคับใช้โดยตรง ไม่ต้องอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยทั่วไป
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ได้กำหนดให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยของจำนวนเงิน ค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำอัตราดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้ กรณีจึงไม่ใช่ ไม่มีกฎหมายเปิดช่องให้จ่ายดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยร้อยละ 15 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4790/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินทดแทนกรณีเสียชีวิตจากการทำงาน แม้ไม่อยู่ในรายการโรคที่กำหนดไว้ แต่เกิดจากความเหนื่อยล้าจากการทำงาน
ตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง กำหนดชนิดของโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2539 แม้โรคต่าง ๆ ที่กำหนดไว้รายการแรก ๆ จะมีลักษณะของโรคที่เกิดจากสารเคมีเป็นพิษเป็นโรคที่เกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือโรคซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานก็ตาม แต่โรคในรายการที่ 23 ที่ว่า โรคจากความร้อน รายการที่ 24 โรคจากความเย็น รายการที่ 25 โรคจากความสั่นสะเทือน และรายการที่ 26 โรคจากความกดดันอากาศ แสดงให้เห็นว่าโรคที่ประกาศกำหนดมิได้มุ่งถึงสารเคมีที่มีพิษเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงโรคหรือการเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงานด้วย โดยเฉพาะในรายการที่ 32 อันเป็นโรครายการสุดท้ายที่ว่า โรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน ยิ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่าโรคหรือความเจ็บป่วยในรายการนี้ไม่ได้มุ่งเน้นถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหรือความเจ็บป่วยเลย แต่มุ่งเน้นว่าโรคหรือความเจ็บป่วยนั้นต้องเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานเท่านั้น เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยปฏิบัติงานให้จำเลยจนเกิดความเหนื่อยล้าและถึงแก่ความตายเนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดด้วยความเหนื่อยล้าดังกล่าว จึงเป็นโรคอื่นซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงานตามรายการที่ 32 อันเป็นการเจ็บป่วยตามคำจำกัดความคำว่า "เจ็บป่วย" ตามระเบียบของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 3 จำเลยจึงต้องจ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นภรรยาและบุตรผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4733/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคมล่าช้า หากมีเหตุสมควรก็ไม่ตัดสิทธิ
แม้โจทก์ไม่ได้ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาด กรณีที่ผู้ยื่นคำขอเกินกำหนด 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธินั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าหากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอเสียทีเดียวหาได้ไม่ คดีนี้ขณะที่ผู้ตายเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแจ้งว่าการใช้สิทธิประกันสังคมไม่คุ้มครองถึงโรคมะเร็ง ผู้ตายจึงเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยไม่ใช้สิทธิประกันสังคม จนกระทั่งผู้ตายเสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2541 ต่อมาเมื่อประมาณต้นปี 2545 โจทก์ทราบว่าประกันสังคมคุ้มครองถึงโรคมะเร็งจึงทำหนังสือร้องเรียนและอุทธรณ์คำสั่งของทางราชการมาตลอด ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนล่าช้ามิได้เกิดขึ้นจากการละเลยเพิกเฉยหรือจงใจไม่ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่เป็นโดยมีเหตุผลอันสมควรหรือมีความจำเป็นโดยแท้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4732/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเกษียณอายุและการเลิกจ้าง: ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแม้ใช้สิทธิเกษียณอายุเอง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ในหัวข้อเรื่องการเกษียณอายุนั้น เมื่อพิจารณาประกอบกันจะเห็นได้ว่า โจทก์แยกลูกจ้างเป็น 2 ประเภท โดยลูกจ้างประเภทที่ 2 โจทก์จะให้เกษียณเมื่ออายุครบ 60 ปี ซึ่งการจะให้ลูกจ้างเกษียณอายุไปหรือไม่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของโจทก์ฝ่ายเดียว ส่วนลูกจ้างประเภทที่ 1 แม้อายุครบ 60 ปีแล้ว การจะให้ลูกจ้างเกษียณอายุไปหรือไม่มิได้ขึ้นอยู่กับโจทก์ แต่ขึ้นอยู่กับลูกจ้าง ดังนั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างให้ลูกจ้างไม่ว่าลูกจ้างประเภทที่ 1 หรือลูกจ้างประเภทที่ 2 เกษียณอายุ เป็นกรณีที่โจทก์ไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้เนื่องจากการเกษียณอายุดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง และแม้จะเป็นกรณีที่ลูกจ้างประเภทที่ 1 ใช้สิทธิเกษียณอายุตนเองโดยโจทก์มอบสิทธิดังกล่าวให้ลูกจ้างประเภทที่ 1 เป็นผู้พิจารณาเองก็ยังเป็นเรื่องที่โจทก์เลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุนั่นเอง หาใช่เป็นเรื่องลูกจ้างขอลาออกในกรณีปกติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ไม่ การที่ ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างประเภทที่ 1 ซึ่งมีอายุ 63 ปีแล้ว ไม่มีความประสงค์จะทำงานให้โจทก์อีกต่อไป ขอใช้สิทธิเกษียณอายุตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน จึงเป็นกรณีที่โจทก์เลิกจ้าง ส. เมื่อ ส. ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี ขึ้นไป โจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ ส. ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (5) คำสั่งของจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานที่ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยส่วนที่ขาดจำนวน 545,000 บาท จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4689/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่เคยตัดสินแล้วในศาลอุทธรณ์
ที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาหมาย จ. 6 โจทก์เป็นผู้ร่างขึ้น จำเลยได้ทักท้วงสัญญาข้อที่ 8 ไว้ก่อนลงนามในสัญญาแล้ว แต่โจทก์ยังคงกำหนดข้อสัญญาข้อนี้ไว้เพื่อเอาเปรียบจำเลย สัญญาข้อนี้จึงเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ขัดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 จึงตกเป็นโมฆะ นั้น ในปัญหาข้อนี้ เดิมเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในครั้งแรกด้วยเหตุที่ว่า ข้อสัญญาข้อ 8 เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ศาลอุทธรณ์ได้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยวินิจฉัยว่าข้อสัญญาดังกล่าวไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ในประเด็นอื่น ๆ ตามรูปคดี จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยจะหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4338/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนชื่อบริษัทไม่กระทบต่อสัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันยังคงมีภาระผูกพัน
การที่บริษัทโจทก์เปลี่ยนชื่อไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงนิติบุคคล โจทก์ยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลดังเดิม แม้ไม่แจ้งการเปลี่ยนชื่อให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ลูกจ้างโจทก์ทราบ ก็ไม่เป็นผลให้สัญญาค้ำประกันสิ้นสุดลง เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในขณะทำงานให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4338/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทไม่ทำให้สัญญาค้ำประกันสิ้นสุด หากสภาพนิติบุคคลยังคงเดิม
การที่บริษัทโจทก์เปลี่ยนชื่อไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงนิติบุคคล โจทก์ยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลดังเดิม แม้ไม่แจ้งการเปลี่ยนชื่อให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ลูกจ้างโจทก์ทราบ ก็ไม่เป็นผลให้สัญญาค้ำประกันสิ้นสุดลง เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในขณะทำงานให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4325/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ: การยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี และเหตุอันสมควร
ผู้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพที่ยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธิตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า แต่หากผู้ยื่นคำขอดังกล่าวมีเหตุอันสมควรหรือมีความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไม่ได้ เมื่อตามบัตรประกันสังคมไม่มีข้อความใดที่บอกให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างผู้ประกันตนได้ทราบว่าต้องยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนต่อจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน แต่ข้อความนี้กลับมีระบุไว้เป็นคำเตือนในแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน ซึ่งลูกจ้างผู้ประกันตนจะเห็นคำเตือนให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปีนี้ได้ก็ต่อเมื่อมายื่นคำขอเท่านั้น ซึ่งเป็นการเห็นที่ไม่ก่อให้เกิดการรับรู้ก่อนการยื่นคำขอ ดังนั้น จึงมีเหตุอันสมควรที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ทราบว่าต้องยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน และมีเหตุอันสมควรที่โจทก์ต้องใช้สิทธิยื่นคำขอล่าช้า จึงนำระยะเวลาที่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเพราะไม่ทราบว่ามีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพและต้องยื่นคำขอภายใน 1 ปี มาตัดสิทธิของโจทก์ไม่ได้