คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีวัฒน์ แดงทองดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวและการขัดขวางเจ้าพนักงาน: พิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
จำเลยเป็นผู้ให้คนต่างด้าวสัญชาติลาวจำนวน 20 คน โดยสารรถยนต์จากตำบลนาตาลกิ่งอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อไปส่งที่จังหวัดปทุมธานี โดยรู้ว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นคนต่างด้าวและเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่งแล้ว ส่วนที่ต่อมาระหว่างทางเจ้าพนักงานตำรวจตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยจึงเข้าจับกุมแต่จำเลยได้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ โดยขับรถยนต์คันที่พาคนต่างด้าวมาหลบหนีและพุ่งเข้ารถยนต์ของทางราชการนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ต่างกรรมต่างวาระกันอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91
การที่จำเลยร่วมกันขับรถหลบหนีและพุ่งเข้าชนรถยนต์ของทางราชการจนเกิดการเสียหายนั้น จำเลยมีเจตนาที่จะกระทำขึ้นและได้กระทำในวาระเดียวกันอันเป็นวิธีการอย่างหนึ่งเพื่อหลบหนีการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจ ดังนั้น ความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่กับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวและขัดขวางเจ้าพนักงาน: ความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
การที่จำเลยทั้งสองนำคนต่างด้าวสัญชาติลาว 20 คน โดยสารรถยนต์จากจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อไปส่งที่จังหวัดปทุมธานี โดยรู้ว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นคนต่างด้าวและเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฯ มาตรา 64 วรรคหนึ่ง แล้ว
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันขับรถหลบหนีเจ้าพนักงานตำรวจและพุ่งชนรถของทางราชการจนเกิดการเสียหายนั้น จำเลยทั้งสองมีเจตนากระทำเพื่อหลบหนีการจับกุมดังนั้น ความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่กับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์จึงเป็นกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีอนุญาโตตุลาการ: ศาลต้องไต่สวนสัญญาเลิกสัญญาก่อนมีคำสั่ง
จำเลยที่ 2 ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยอ้างว่าคดีนี้เป็นข้อพิพาทอันเกิดจากสัญญาเข้าร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 3 กันยายน 2535 สัญญาดังกล่าวข้อ 37 ได้ระบุให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ โจทก์คัดค้านว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยอาศัยสิทธิตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการเลิกสัญญาร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 สัญญาดังกล่าวได้ยกเลิกข้อกำหนดเดิมเรื่องการตั้งอนุญาโตตุลาการ ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการเลิกสัญญาร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ว่า มีการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวหรือไม่ ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสามรับกันแต่เพียงว่า ประเด็นข้อพิพาทเฉพาะเรื่องค่าภาษีเท่านั้นที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการซึ่งโจทก์สมัครใจเข้าร่วมกระบวนการแล้ว คดีมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอื่นอีกจึงมีความจำเป็นที่จะต้องไต่สวนให้ได้ความดังกล่าว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 โดยไม่ทำการไต่สวนก่อนนั้น จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ: ผลของการแก้ไขสัญญาเดิมด้วยสัญญาใหม่
จำเลยที่ 2 ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยอ้างว่าคดีนี้เป็นข้อพิพาทอันเกิดจากสัญญาเข้าร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 3 กันยายน 2535 สัญญาดังกล่าวข้อ 37 ได้ระบุให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ โจทก์คัดค้านว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยอาศัยสิทธิตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการเลิกสัญญาร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 สัญญาดังกล่าวได้ยกเลิกข้อกำหนดเดิมเรื่องการตั้งอนุญาโตตุลาการ ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการเลิกสัญญาร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 20พฤศจิกายน 2539 ว่า มีการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวหรือไม่ ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสามรับกันแต่เพียงว่า ประเด็นข้อพิพาทเฉพาะเรื่องค่าภาษีเท่านั้นที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการซึ่งโจทก์สมัครใจเข้าร่วมกระบวนการแล้ว คดีมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอื่นอีกจึงมีความจำเป็นที่จะต้องไต่สวนให้ได้ความดังกล่าว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530มาตรา 10 โดยไม่ทำการไต่สวนก่อนนั้น จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3766/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุคคลสิทธิซื้อขาย vs. บุริมสิทธิภาษีอากร: การยึดทรัพย์หลังสัญญาซื้อขาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 วางหลักไว้ว่า การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นย่อมไม่กระทบถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมายนั้น คำว่าสิทธิอื่น ๆต้องเป็นสิทธิที่เทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิ แต่กรณีของโจทก์แม้จะได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนที่นายอำเภอจะมีคำสั่งให้ยึดที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าว และโจทก์ได้ชำระราคาให้จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่สิทธิของโจทก์เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาดังกล่าวได้ก่อนบุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 เท่านั้น ต่างจากหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อรัฐ เป็นหนี้บุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253 ทั้งขณะที่นายอำเภอมีคำสั่งให้ยึดที่ดินและบ้านพิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระภาษีนั้น ที่ดินและบ้านพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 อยู่ ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจจดทะเบียนซื้อขายโอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12 ทวิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินและบ้านพิพาทดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3735/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน – การพิสูจน์สิทธิ – ไม่มีอำนาจฟ้อง – ผลกระทบต่อจำเลยอื่น
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหก เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันบุกรุกที่ดินพิพาทโดยมิได้แบ่งแยกเนื้อที่ดินที่จำเลยแต่ละคนบุกรุก ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 5 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247 ประกอบมาตรา 245(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3735/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การพิสูจน์การครอบครองทำประโยชน์ และผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
แบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์เป็นเพียงเอกสารราชการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำขึ้นขณะมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) มิใช่หลักฐานอันแสดงว่าโจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวเมื่อซื้อมาจากผู้อื่น
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองอ้างว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันบุกรุกที่ดินพิพาท โดยมิได้แบ่งแยกเนื้อที่ดินที่จำเลยแต่ละคนบุกรุก เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 5 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 245 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3695/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานมีรังนกไว้ในครอบครองโดยรู้ว่าได้มาโดยกระทำผิดกฎหมาย ฟ้องไม่ครบองค์ประกอบ ศาลลงโทษไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุจำเลยร่วมกันไปบนเกาะรูสิบซึ่งมีนกและรังนกอีแอ่นอยู่ตามธรรมชาติอันเป็นเขตห้ามตามกฎหมาย และเป็นเขตที่บริษัท ร. ผู้เสียหายเป็นผู้รับสัมปทานและเข้ายึดถือครอบครองดูแลรังนกอีแอ่นในเขตสัมปทานเพื่อตนแล้ว จำเลยไม่ใช่ผู้รับสัมปทานได้ร่วมกันใช้ไฟฉายส่องใช้ไม้และแท่งเหล็กตีทำลายรังนกที่อยู่อาศัยอันเป็นอันตรายแก่นกอีแอ่นไข่ของนกและรังนกอีแอ่น และอาจเป็นเหตุให้นกอีแอ่นและที่อยู่อาศัยไปจากเกาะดังกล่าว แล้วจำเลยร่วมกันลักรังนกและลูกนกอีแอ่นของผู้เสียหายในเขตสัมปทานดังกล่าวไปโดยทุจริต โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันครอบครองซึ่งรังนกอันตนรู้ว่าได้มาโดยการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่นฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่งแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่นฯ มาตรา 26 เมื่อโจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดแห่งการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 26 มาในฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยได้ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบังคับที่มิชอบและการนับระยะเวลาคำร้องขอพิจารณาใหม่ ผู้รับต้องอยู่ที่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงาน
ป.วิ.พ.มาตรา 208 เดิม เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยผู้ขาดนัดพิจารณาที่จะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ โดยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่เมื่อได้มีการส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้แก่จำเลย หรือภายใน 15 วัน นับแต่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง ซึ่งในการส่งคำบังคับนั้น ต้องเป็นการส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 74 (2) หากการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยไม่ใช่เป็นการส่งไปยังสถานที่ดังกล่าวแล้ว ก็ถือว่าเป็นการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยมิชอบ เมื่อยังไม่มีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยชอบ กำหนดระยะเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) แห่ง ป.วิ.พ. จึงยังไม่เริ่มนับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบังคับที่มิชอบและการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ที่ล่าช้า ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 เดิม เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยผู้ขาดนัดพิจารณาที่จะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ โดยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่เมื่อได้มีการส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้แก่จำเลย หรือภายใน 15 วัน นับแต่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง ซึ่งในการส่งคำบังคับนั้น ต้องเป็นการส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2) หากการส่งคำบังคบให้แก่จำเลยไม่ใช่เป็นการส่งไปยังสถานที่ดังกล่าวแล้ว ก็ถือว่าเป็นการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยมิชอบ เมื่อยังไม่มีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยชอบ กำหนดระยะเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 วรรคหนึ่ง(เดิม)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงยังไม่เริ่มนับ
of 34