คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีวัฒน์ แดงทองดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองกระสุนปืนที่ไม่ได้เป็นชนิดห้ามตามกฎกระทรวง และความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
ที่โจทก์ฎีกาว่า เครื่องกระสุนปืนขนาด 7.62 มม. ของกลาง จะต้องใช้กับกระสุนปืนที่ทหารของกองทัพนาโต้ใช้ประจำกายในการสงคราม ย่อมจะต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้นั้น เห็นว่ากฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ข้อ 3 กำหนดว่า " เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาต ให้ได้ตามมาตรา 7 หรือ มาตรา 24 ต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนตามข้อ 2 ที่ได้รับอนุญาต แต่ต้องไม่เป็น เครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง" อันหมายความว่า เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้นั้นต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ตามที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2522) ข้อ 2 เว้นแต่เครื่องกระสุนปืนนั้นแม้จะเป็นเครื่องกระสุนปืนขนาดที่ใช้กับ อาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ก็ตาม หากเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงแล้ว ก็เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ เมื่อเครื่องกระสุนปืนของกลางมีขนาดเพียง 7.62 มม. ไม่เกินขนาดอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2522) ข้อ 2 (1) ข้อ 2 (2) (ก) (ข) แล้ว จึงเห็นได้ว่าเครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ เครื่องกระสุนปืนดังกล่าว จึงเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้เช่นกัน ดังนั้นถึงหากจะให้รับฟังว่าเครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ผลิตขึ้นมาใช้กับอาวุธปืนสงครามของทหารกองทัพนาโต้เป็นการเฉพาะดังเช่นที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้นำพยานหลักฐานเข้าสืบให้เห็นว่า เครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2522) ข้อ 3 ตอนท้าย ที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้แล้ว ก็ไม่อาจรับฟังเช่นโจทก์ฎีกาได้
อาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้ในครอบครอง มีทั้งลำกล้องปืนและกระสุนปืนซึ่งเป็นคนละชนิดและขนาดกับอาวุธปืนนอกจากจะเป็นความผิดตามมาตรา 72 วรรคหนึ่งแล้ว ยังเป็นความผิดตามมาตรา 72 วรรคสองอีกด้วย และการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดกรรมเดียวกันผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอนุญาตเครื่องกระสุนปืน: ชนิด, ขนาด, และเจตนาการใช้งานตามกฎหมายอาวุธปืน
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) ข้อ 3 เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) ข้อ 2 แต่เครื่องกระสุนปืนนั้นแม้จะเป็นเครื่องกระสุนปืนขนาดที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ก็ตาม หากเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงแล้ว ก็เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
เครื่องกระสุนปืนขนาด 7.62 มม. เป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ จึงเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้เช่นกันเว้นแต่จะเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงจึงจะเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) ข้อ 3 ตอนท้าย ดังนั้น แม้เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวจะเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ผลิตขึ้นมาใช้กับอาวุธปืนสงครามของทหารกองทัพนาโต้เป็นการเฉพาะ แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 55,78

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3167/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทต้องระบุตัวบุคคลหรือมีความชัดเจน การวิจารณ์ทั่วไปทางการเมืองไม่ถือเป็นหมิ่นประมาท
การพิจารณาว่าถ้อยคำหรือข้อความใดจะเป็นการใส่ความผู้อื่นจนทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังหรือไม่ ต้องพิจารณาจากการรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกและความเข้าใจในถ้อยคำหรือข้อความนั้นของวิญญูชนทั่ว ๆ ไปเป็นเกณฑ์ว่าเป็นหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมาตรา 328 หรือไม่
ข้อความที่จำเลยตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เป็นข้อความทั่ว ๆ ไป ที่วิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติต่อประชาชนที่มาร่วมชุมนุมตามสิทธิที่จะทำได้ในระบอบประชาธิปไตยว่าไม่เหมาะไม่ควรเท่านั้น ไม่มีข้อความตอนใดที่เป็นการกล่าวร้ายใส่ความแม้จะมีคำว่า คนโรคจิตหรือบ้าอำนาจอยู่ด้วยก็เป็นถ้อยคำที่จำเลยกล่าวออกมาด้วยความรู้สึกที่เห็นว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ควรกระทำการใด ๆ รุนแรงต่อประชาชนผู้มาชุมนุมเท่านั้น มิได้กล่าวหาถึงขั้นว่าประพฤติชั่วกระทำการขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดีหรือฉ้อราษฎร์บังหลวง นอกจากนี้ถ้อยคำดังกล่าวมิได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นผู้ใดถึงแม้จะระบุถึงกองปราบปรามอยู่ด้วย ก็เป็นกล่าวโดยรวม มิได้ระบุตัวเจ้าพนักงานตำรวจในกองปราบปรามคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ หรือตำรวจหน่วยใดในกองปราบปรามที่ระบุได้แน่นอน ดังนั้นเจ้าพนักงานตำรวจที่สังกัดกองปราบปรามคนใดคนหนึ่งจึงไม่อาจกล่าวอ้างว่าเป็นผู้เสียหายได้ โจทก์ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสอบสวนกลาง ถึงแม้จะทำหน้าที่กำกับดูแลกองปราบปรามก็ไม่เป็นผู้เสียหายที่จะนำคดีมาฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3167/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทต้องระบุตัวผู้ถูกใส่ความชัดเจน หรือมีความหมายเฉพาะเจาะจง การวิจารณ์ทั่วไปไม่ถือเป็นหมิ่นประมาท
การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามจนทำให้ผู้นั้นต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 และมาตรา 328 นั้น จะต้องได้ความว่าการใส่ความดังกล่าวได้ระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันแน่นอน หรือหากไม่ระบุถึงผู้ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ส่วนการใส่ความที่เป็นถ้อยคำหรือข้อความอันจะทำให้ผู้ที่ถูกใส่ความต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังก็มิใช่จะพิจารณาหรือวัดจากความรู้สึกของผู้ถูกใส่ความเป็นสำคัญแต่อย่างใด เพราะอารมณ์และความรู้สึกของบุคคลจะมีที่มาจากความเห็นแก่ตนเองของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน ดังนั้น การพิจารณาว่าถ้อยคำหรือข้อความใดจะเป็นการใส่ความผู้อื่นจนทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังหรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากการรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกและความเข้าใจในถ้อยคำหรือข้อความนั้นของวิญญูชนทั่ว ๆ ไปเป็นเกณฑ์ที่จะให้รับฟังว่าเป็นหมิ่นประมาทหรือไม่ เมื่อข้อความที่จำเลยทั้งสามตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เป็นข้อความทั่ว ๆ ไปที่วิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยมิได้กล่าวถึงตัวบุคคลว่าเป็นผู้ใดและไม่มีตอนใดเป็นการกล่าวร้ายใส่ความ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่มีมูลความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยานกระทบคำพิพากษา จำเลยต้องวางค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย
การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยนั้น ย่อมมีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้สิ้นผลบังคับไปในตัวด้วย แต่จำเลยเลี่ยงไปอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยเพียงประการเดียวโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาด้วย แม้จะเป็นสิทธิของจำเลยที่กระทำได้โดยชอบ ซึ่งจำเลยได้ประโยชน์ที่ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์ โดยเสียเพียงค่าอุทธรณ์คำสั่ง 200 บาทเท่านั้นก็ตาม แต่การที่จำเลยอุทธรณ์เช่นนี้ทำให้มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลชั้นต้นพร้อมอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีไม่มีข้อยุ่งยากที่ผิดพลาด และการขอพิจารณาคดีใหม่ที่ไม่อ้างเหตุผลชัดเจน
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยเป็นเพียงการบรรยายเหตุที่จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ และระบุเพียงว่าหากจำเลยต่อสู้คดีเชื่อว่ายอดหนี้ที่กล่าวในคำบังคับต้องลดน้อยลง เพราะโจทก์คิดคำนวณดอกเบี้ยไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ได้อ้างหรือแสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใด อย่างไร ที่จะแสดงให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีใหม่ จำเลยอาจเป็นฝ่ายชนะคดี คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ซึ่ง ป.วิ.พ.มาตรา 196 วรรคสอง (3) ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะสำหรับคดีไม่มีข้อยุ่งยากว่าให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นมาจึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) โดยอาศัย ป.วิ.พ.มาตรา 204 และมาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่คดีโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก-ขาดนัดยื่นคำให้การ: ศาลต้องมีคำสั่งขาดนัดพิจารณา ก่อนสั่งให้ส่งเอกสาร
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยเป็นเพียงการบรรยายเหตุที่จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ และระบุเพียงว่าหากจำเลยต่อสู้คดีเชื่อว่ายอดหนี้ที่กล่าวในคำบังคับต้องลดน้อยลง เพราะโจทก์คิดคำนวณดอกเบี้ยไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ได้อ้างหรือแสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใด อย่างไรที่จะแสดงให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีใหม่ จำเลยอาจเป็นฝ่ายชนะคดี คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยากซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 196 วรรคสอง (3) ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะสำหรับคดีไม่มีข้อยุ่งยากว่าให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นมาจึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) โดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 204 และ มาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่คดีโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่ในคดีไม่มีข้อยุ่งยาก และกระบวนการพิจารณาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยบรรยายแต่เหตุที่จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ และมีเฉพาะข้อความในช่วงท้ายเท่านั้นที่ระบุว่า หากจำเลยต่อสู้คดีเชื่อว่ายอดหนี้ที่กล่าวในคำบังคับต้องลดน้อยลงอย่างแน่นอน เพราะหากตรวจสอบอย่างดีแล้วจะพบดอกเบี้ยที่โจทก์คิดคำนวณไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้อ้างหรือแสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใด อย่างไรที่จะแสดงให้เห็นว่าศาลได้พิจารณาคดีใหม่จำเลยอาจเป็นฝ่ายชนะคดี คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 199 จัตวา วรรคสอง
ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 196 วรรคสอง(3) ได้บัญญัติไว้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้น จึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม(1) โดยอาศัยมาตรา 204 และมาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาลและศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม(1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินในคดีฝ่าฝืนคำสั่งห้ามเพาะเลี้ยงกุ้ง: เครื่องตีน้ำไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่ห้ามเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบน้ำเค็มในพื้นที่น้ำจืดในเขตจังหวัดเท่านั้น ความผิดดังกล่าวจึงเกิดขึ้นเพราะจำเลยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น การที่จำเลยใช้เครื่องตีน้ำในบ่อกุ้งหาทำให้เครื่องตีน้ำดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดอันจะพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์ในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งราชการ: เครื่องมือที่ใช้ต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกระทำความผิด
การริบทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด แต่ปรากฏว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีนี้ เนื่องจากฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่ห้ามเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบน้ำเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืดในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีเท่านั้น ความผิดดังกล่าวจึงเกิดขึ้นเพราะจำเลยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น การที่จำเลยใช้เครื่องตีน้ำในบ่อกุ้งหาทำให้เครื่องตีน้ำดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้แต่อย่างใดไม่
of 34