คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีวัฒน์ แดงทองดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1643/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีโดยมีเหตุสุดวิสัยและการเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่ผิดระเบียบ
ตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์อ้างว่า ทนายโจทก์ไม่สามารถมาศาลได้เนื่องจากรถยนต์ที่ใช้เดินทางกลับจากการทำธุรกิจที่จังหวัดเชียงใหม่เสียกะทันหันและอยู่ไกลร้านซ่อมรถไม่สามารถซ่อมรถได้ทันทนายโจทก์จึงไปที่ศาลจังหวัดฝาง เมื่อเวลาประมาณ 14 นาฬิกา เพื่อยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดฝางในขณะนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 และเป็นอำนาจของศาลจังหวัดฝางที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของทนายโจทก์ว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำร้อง
ศาลจังหวัดฝางมีคำสั่งในคำร้องของทนายโจทก์ว่าจัดการให้ แม้จะไม่ชัดแจ้งว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแต่ต้องถือเป็นคำสั่งที่อนุญาตให้เลื่อนคดีไปได้โดยปริยายถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานและศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ดังนั้นที่โจทก์ไม่ไปศาลชั้นต้นในวันสืบพยานจึงมิอาจถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีก่อนทราบคำสั่งของศาลจังหวัดฝางดังกล่าว จึงเป็นการสั่งไปโดยผิดหลงต้องถือว่ามีกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในศาลชั้นต้นที่ต้องสั่งเพิกถอนแล้ว เมื่อศาลจังหวัดฝางส่งคำร้องของทนายโจทก์และคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทราบทางโทรสารศาลชั้นต้นจึงชอบที่สั่งเพิกถอนคำสั่งที่ผิดหลงนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อฉลซื้อขายที่ดิน: ผู้ซื้อทราบสัญญาก่อนหน้า เพิกถอนนิติกรรมได้
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ทราบว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทต่อกันไว้ก่อนแล้วการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ ถือว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำการฉ้อฉลโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำไว้กับโจทก์จริงจึงไม่ต้องนำสัญญาจะซื้อขายมาแสดงฉะนั้นแม้หนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกันไว้จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท-การกระทำความผิดต่อเนื่อง-การริบยานพาหนะ-ความสงบเรียบร้อย
การกระทำของจำเลยที่ขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปยังที่เกิดเหตุและกระโดดลงจากรถเข้ามาชกท้องผู้เสียหายแล้วฉุดเข้าไปในป่า กอดปล้ำ เมื่อผู้เสียหายไม่ยอมจำเลยจึงจับศีรษะผู้เสียหายโขกตอไม้ที่พื้น กดศีรษะลงพื้นและนำมีดปลายแหลมออกมาขู่ให้ผู้เสียหายถอดกางเกง แต่ผู้เสียหายหลอกให้จำเลยปล่อยก่อนแล้วถือโอกาสวิ่งหนีออกจากที่เกิดเหตุได้นั้น เป็นความผิดฐานกระทำอนาจารกับความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและฐานกระทำอนาจารนั้น จำเลยกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงในวาระเดียวกัน ซึ่งตามพฤติการณ์จำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อจะกระทำชำเราผู้เสียหายเท่านั้น จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยใช้รถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปยังที่เกิดเหตุแล้วกระทำผิด รถจักรยานยนต์ดังกล่าวย่อมเป็นเพียงพาหนะที่ใช้พาไปยังที่เกิดเหตุไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยตรงจึงไม่อาจริบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกาย กระทำอนาจาร และพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร เป็นกรรมเดียว ความผิดหลายบท ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแม้จำเลยมิได้ยกขึ้น
ปัญหาว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมหรือเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลางพานางสาว ส. ผู้เสียหายนั่งซ้อนท้ายไปยังที่เกิดเหตุ ห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 500 เมตร เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุผู้เสียหายกระโดดลงจากรถ จำเลยเข้ามาชกท้อง 1 ที แล้วฉุดเข้าไปในป่า กอดปล้ำ จูบซอกคอ และบอกผู้เสียหายว่าให้ยอมพี่เถอะ ผู้เสียหายบอกว่าไม่ยอม จำเลยจึงจับศีรษะผู้เสียหายโขกตอไม้ที่พื้น กดศีรษะลงพื้น และนำมีดปลายแหลมออกมาขู่สั่งให้ผู้เสียหายถอดกางเกง ผู้เสียหายหลอกให้จำเลยปล่อยแล้วผู้เสียหายวิ่งหนีออกจากที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ฐานกระทำอนาจาร และฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร และความผิดฐานกระทำอนาจารกับความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท และความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและฐานกระทำอนาจาร จำเลยกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงในวาระเดียวกัน ซึ่งตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อจะกระทำชำเราผู้เสียหายเท่านั้น จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ดังนั้น ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ฐานกระทำอนาจาร และฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารดังกล่าว จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด
จำเลยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อพาผู้เสียหายไปยังที่เกิดเหตุแล้วกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ฐานกระทำอนาจาร และฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นเพียงพาหนะที่ใช้พาไปยังที่เกิดเหตุ ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยตรง จึงไม่อาจริบได้ แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่ก็เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในคดีทำร้ายร่างกายถึงแก่ความตาย: การแบ่งแยกความผิดของผู้ใช้อาวุธปืนและผู้ร่วมทำร้าย
จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้ตาย และจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้ตายและผู้ตายถึงแก่ความตายโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไปด้วย ฉะนั้น จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายต้องรับผิดฐานฆ่าผู้ตายเป็นการเฉพาะตัวส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายมาแต่ต้นจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคหนึ่งมิใช่มีความผิดตามมาตรา 295 ดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามาแต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงแก้ไขเพียงปรับบทลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 เสียให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนเป็นพยานหลักฐาน และการกำหนดความผิดฐานทำร้ายร่างกายร่วมกับฆ่าผู้อื่น
คำให้การชั้นสอบสวนของพยาน ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีประกอบข้อพิจารณาของศาล เมื่อคำให้การชั้นสอบสวนของ ส. และ ว. สอดคล้องตรงกับคำให้การของ ข. ประจักษ์พยานโจทก์ พยานหลักฐานของโจทก์จึงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้ตาย และจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนสั้นยิงฆ่าผู้ตาย
จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้ตายและปรากฏว่าผู้ตายถึงแก่ความตายในเหตุการณ์ดังกล่าว โดยฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไปด้วย ฉะนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายต้องรับผิดฐานฆ่าผู้ตายเป็นการเฉพาะตัว ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายมาแต่ต้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคหนึ่ง มิใช่มีความผิดตามมาตรา 295 ดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงแก้ไขเพียงปรับบทลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 เสียให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีแพ่งที่จำหน่ายคดีเนื่องจากล้มละลาย ศาลต้องคืนค่าขึ้นศาลเพื่อบรรเทาภาระแก่โจทก์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยถูกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย บทบัญญัติของกฎหมายในมาตราดังกล่าวมีเจตนารมณ์ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร ซึ่งต่างจากกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลต้องมีคำสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด หรือในกรณีที่มีการถอนคำฟ้องหรือได้มีการ ตัดสินให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่ หรือเมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือ การประนีประนอม ยอมความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนแก่คู่ความได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์ทั้งสองกับ จำเลยทั้งหกเป็นพับจึงชอบแล้ว
อย่างไรก็ตาม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ ซึ่งเกิดจากเหตุที่จำเลยทั้งหก ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น โจทก์ทั้งสองก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายอีกด้วย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่คืน ค่าธรรมเนียมให้โจทก์ทั้งสองเลยนั้น น่าจะเป็นภาระแก่โจทก์ทั้งสองที่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน คือ ค่าธรรมเนียมในการยื่นฟ้องคดีนี้และค่าธรรมเนียมในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งเป็นหนี้จำนวนเดียวกันที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีแพ่งที่จำหน่ายคดีเนื่องจากล้มละลาย ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการสั่งคืนค่าธรรมเนียม
การที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย โดยมิได้กำหนดไว้ว่าจะให้ศาลสั่งคืนค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่คู่ความทั้งหมดหรือไม่คืน หรือคืนแต่บางส่วน อันแสดงว่าในกรณีที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้นอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร ซึ่งต่างจากกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องที่มาตรา 151 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลต้องมีคำสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด หรือในกรณีที่มีการถอนคำฟ้องหรือได้มีการตัดสินให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่หรือเมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความที่มาตรา 151 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนแก่คู่ความได้
โจทก์ยื่นฟ้องและจำเลยยื่นคำให้การจนถึงได้มีการนัดสืบพยานโจทก์แล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 25 เนื่องจากจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่อาจถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้ตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วมีเหตุให้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์ตั้งแต่ต้นอันจะทำให้ศาลมีคำสั่งคืนค่าธรรมเนียมคือคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 วรรคหนึ่งดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ โดยใช้ดุลพินิจให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นพับจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยระบุผู้รับประโยชน์: สิทธิยังไม่บริบูรณ์ ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิรับค่าสินไหมทดแทน
กรมธรรม์ประกันภัยระบุชื่อบรรษัท ง. เป็นผู้รับประโยชน์ ซึ่งผู้รับประโยชน์หาต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 ไม่ กรณีเช่นนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ซึ่งบรรษัท ง. จะมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนหากเกิดวินาศภัยต่อเมื่อได้แสดงเจตนาว่า จะขอเข้ารับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยต่อโจทก์แล้ว ตามมาตรา 374 มิใช่เพียงแต่มีชื่อเป็นผู้รับประโยชน์จะทำให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทันที เมื่อบรรษัท ง. มิได้แสดงเจตนาเข้าเป็นผู้รับประโยชน์ จึงยังไม่มีสิทธิใด ๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อสิทธิของบรรษัท ง. ยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว จำเลยผู้เอาประกันภัยในฐานะคู่สัญญาประกันภัยย่อมเป็นผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 861 การที่จำเลยได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์ จึงเป็นการได้รับไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เป็นลาภมิควรได้ตามมาตรา 406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก สิทธิผู้รับประโยชน์ยังไม่บริบูรณ์ ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิรับค่าสินไหมทดแทน
สัญญาประกันภัยที่ผู้รับประกันภัยทำกับผู้เอาประกันภัยระบุว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัย จำเลยเป็นผู้เอา ประกันภัย โดยมี ง. บุคคลภายนอกเป็นผู้รับประโยชน์เป็นการทำสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ง. จะมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนในฐานะเป็นผู้รับประโยชน์ต่อเมื่อ ง. ได้แสดงเจตนาขอเข้ารับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยต่อโจทก์ ตามป.พ.พ. มาตรา 374 มิใช่เพียงแต่มีชื่อเป็นผู้รับประโยชน์แล้วจะทำให้ ง. มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยทันที
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้ความว่า ง. ได้แสดงเจตนาต่อโจทก์เพื่อเข้าเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ ประกันภัย ก่อนที่โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลย ดังนั้น ง. จึงยังไม่มีสิทธิใด ๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อสิทธิของผู้รับประโยชน์ยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยในฐานะคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ย่อมเป็น ผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยตามป.พ.พ. มาตรา 861 การที่จำเลยได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์จึงเป็นการรับไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
of 34