คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีวัฒน์ แดงทองดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฎีกาและการแจ้งคำสั่งศาล: จำเลยไม่ทราบคำสั่ง จึงไม่ถือเป็นการทิ้งฎีกา
แม้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาได้ และมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในวันเดียวกันก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในภายหลัง ซึ่งไม่ปรากฏในสำนวนว่าจำเลยที่ 1 ได้ลงนามทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับฎีกาและให้จำเลยที่ 1 นำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์เพื่อแก้ฎีกา ทั้งไม่ปรากฏว่ามีหมายแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบคำสั่งดังกล่าว ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ทราบคำสั่งรับฎีกาของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 7 วันนั้นจะถือว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันเป็นการทิ้งฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),247ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอนาถาและการทิ้งฎีกา: การแจ้งคำสั่งรับฎีกาและการปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาได้และสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในวันเดียวกัน แต่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในภายหลัง และจำเลยที่ 1 ยังไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์เพื่อแก้ฎีกา การที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้นำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์ ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นจะถือว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดี อันเป็นการทิ้งฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2), 247 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยในคดีอาญา: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการอุทธรณ์เรื่องบุคคลเดียวกันและปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ปัญหาว่าการเพิ่มโทษจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญาซ้ำกระทง: การพิจารณาตัวบุคคลเดียวกันและการยกข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
ปัญหาว่าการเพิ่มโทษจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยและขอให้เพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ชั้นพิจารณาศาลได้สอบถามเรื่องที่จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีก่อนหรือไม่แล้ว จำเลยให้การรับสารภาพและลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาโดยมิได้โต้แย้งทักท้วง ประกอบกับกองทะเบียนประวัติอาชญากรรมระบุว่า ลายนิ้วมือของจำเลยคดีนี้และคดีก่อนเป็นบุคคลเดียวกัน ดังนี้ศาลย่อมเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางค่าฤชาธรรมเนียมเพื่อฎีกาในคดีขอพิจารณาใหม่ จำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีในชั้นไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ติดต่อกันถึง 5 ครั้ง ศาลชั้นต้นจึงยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสอง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม การที่จำเลยทั้งสองจะฎีกาในปัญหาตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับการขอพิจารณาใหม่นั้น จำเลยทั้งสองต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบมาตรา 247 เมื่อไม่ปฏิบัติตาม ฎีกาจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาจำเลยทั้งสองจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9697/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมกับการกระทำความผิดตามกฎหมายภาษีอากร: พิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
แม้ ป.อ. มาตรา 268 บัญญัติว่า ผู้ใดใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 265 และเป็น ผู้ปลอมเอกสารนั้น ให้ลงโทษตามมาตรา 268 แต่เพียงกระทงเดียวก็ตาม แต่จำเลยใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86/13, 90/4 (3) ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษต่างหากจาก ป.อ. จึงไม่เข้าข้อยกเว้นให้รับโทษฐานใช้เอกสารปลอมกระทงเดียว ตาม ป.อ. มาตรา 268 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9526/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยสุจริตและผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1310
คำว่า "สุจริต" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 นั้น มีความหมายว่าผู้ปลูกสร้างได้ปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินโดยไม่ทราบว่าที่ดินเป็นของผู้ใดแต่เข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเองและเชื่อว่าตนมีสิทธิปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้นโดยชอบ เมื่อจำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ส. โดยทราบอยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ส. และได้ขออนุญาต ส. ปลูกบ้าน จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยสุจริต แม้จำเลยจะต่อเติมบ้านในภายหลังอีกโดย ส. และโจทก์ไม่ห้ามปรามขัดขวางก็จะบังคับให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาของ ส. รับเอาบ้านแล้วใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ การที่จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ส. นั้น มิได้ทำให้โรงเรือนตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. และโจทก์แต่อย่างใดตามมาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9526/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างบนที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต และสิทธิหน้าที่ของเจ้าของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310
ป.พ.พ. มาตรา 1310 เป็นบทบัญญัติกำหนดสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของที่ดินและผู้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตว่าจะต้องปฏิบัติต่อกันอย่างไร คำว่า "สุจริต" ตามมาตรา 1310 มีความหมายว่า ผู้ปลูกสร้างได้ปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินโดยไม่ทราบว่าที่ดินเป็นของผู้ใด แต่เข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเองและเชื่อว่าตนมีสิทธิปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้นได้โดยชอบ
จำเลยที่ 1 ได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยทราบว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ส. และได้ขออนุญาต ส.ปลูกบ้าน จึงไม่ทำให้บ้านตกเป็นส่วนควบของที่ดิน จำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 1 เข้าอยู่อาศัยในบ้านกับจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าได้ปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทโดยสุจริตและบังคับให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ส. รับเอาบ้านแล้วใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้จำเลยทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 วรรคหนึ่ง มิได้ สิทธิและหน้าที่ของเจ้าของที่ดินและผู้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1310 วรรคสอง มีได้เฉพาะกรณีที่ผู้ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินได้กระทำไปโดยสุจริตเท่านั้น ส่วนกรณีเจ้าของที่ดินแม้ประมาทเลินเล่อไม่ห้ามปรามขัดขวางมิให้ผู้ปลูกสร้างโรงเรือนปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดิน ก็ไม่มีผลที่ผู้ปลูกสร้างจะอ้างเอาประโยชน์ตามบทบัญญัติมาตรา 1310 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. ได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์และให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายเดือนละ 1,000 บาท โดยโจทก์ไม่ได้ฎีกาจึงถือว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9168/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อ และประเด็นฎีกาไม่เป็นสาระ/ต้องห้ามฎีกา คดีซื้อขายห้องชุด
ห้องชุดย่อมเป็นอสังหาริมทรัพย์ตามความหมายใน ป.พ.พ. มาตรา 466 ดังนั้นที่จำเลยฎีกาว่ามาตรา 466 ที่ศาลล่างทั้งสองยกขึ้นมาปรับเข้ากับข้อเท็จจริงในคดีควรเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ดินซึ่งสามารถดำเนินการรังวัดสอบเขตได้โดยชัดเจน และสามารถคำนวณหาพื้นที่ได้อย่างสะดวก จะนำมาปรับเข้ากับข้อเท็จจริงในการจะซื้อจะขายห้องชุดไม่ได้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องฎีกาจำเลยไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา จึงเป็นคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) แต่เมื่อฎีกาจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย และฎีกาของจำเลยข้ออื่นต้องห้ามฎีกา คดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อจัดการให้มีการลงลายมือชื่อผู้ฎีกาให้ถูกต้องต่อไป ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง ศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาจำเลย คืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9016/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การเกินกำหนด: ความผิดพลาดจากการรายงานผลการส่งหมายเรียก ไม่ถือเป็นการโต้แย้งคำพิพากษา
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การภายในกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ส่งไปยังจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่แรก แต่ความผิดพลาดดังกล่าวเกิดจากการรายงานผลการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องของพนักงานเดินหมาย จำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะยื่นคำให้การภายในกำหนดแล้ว หาได้มีเจตนาหรือจงใจขาดนัดยื่นคำให้การแต่อย่างใดนั้น ไม่เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 มาศาลเมื่อเริ่มต้นสืบพยานแต่มิได้แจ้งให้ศาลทราบถึงเหตุที่ตนมิได้ยื่นคำให้การ โดยเพิ่งมายื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การภายหลัง จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคหนึ่ง ว่าเป็นการไม่ชอบหรือไม่อย่างไร จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 34