พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8592/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด: สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่กรณี แม้ไม่มีการมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร
โจทก์ยอมให้บุคคลอื่นเชิดตนเองเป็นตัวแทนของโจทก์ ดังนั้น แม้บันทึกข้อตกลงจะไม่มีข้อความระบุชัดแจ้งว่าโจทก์มอบอำนาจบุคคลอื่นกระทำการแทนตนเอง โจทก์ก็ต้องมีความผูกพันตามข้อตกลงในบันทึกข้อตกลง ถือว่าบุคคลภายนอกเป็นตัวแทนเชิดของโจทก์และการเป็นตัวแทนเชิดหาจำต้องมีการมอบอำนาจต่อกันเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8464/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาล แม้คดีก่อนหน้าจะเกี่ยวข้องกับที่ดินเดียวกัน
แม้ที่ดินที่เป็นเหตุให้โจทก์จำเลยพิพาทกันในคดีนี้เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นอีกคดีหนึ่งก็ตามแต่ก็เป็นคนละคดีกัน เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีเรื่องนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์และมีคำสั่งให้จำเลยวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มจำเลยก็ชอบที่จะต้องนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางต่อศาลชั้นต้นให้ครบตามระยะเวลาที่กำหนด ส่วนที่จำเลยเห็นว่าจำเลยไม่ควรต้องวางเงินค่าขึ้นศาลอุทธรณ์ซ้ำอีก เพราะได้วางเงินค่าขึ้นศาลในอีกคดีหนึ่งแล้ว ก็เป็นกรณีที่จำเลยมีสิทธิที่จะคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไว้แล้วฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวในภายหลังได้ แต่การที่จำเลยไม่นำเงินมาวางตามกำหนดโดยการขอขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีกหลายครั้ง ทั้งมีการอุทธรณ์คำสั่งของศาลที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลอุทธรณ์เพิ่มด้วย เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาประวิงเวลาให้ชักช้า ถือได้ว่าเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยปฏิบัติและจำเลยก็ได้ทราบคำสั่งโดยชอบแล้ว จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8277/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินเขตหวงห้าม แม้มีเอกสารสิทธิเดิม ย่อมเป็นความผิด หากทราบว่าเป็นที่ดินหวงห้าม
เมื่อที่ดินพิพาทได้มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามสำหรับใช้ในราชการทหารพร้อมด้วยแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ประชาชนทราบแล้ว ทั้งต่อมากรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุด้วย ดังนั้น ย่อมถือว่าประชาชนทุกคนได้ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าไม่มีเจตนาเข้าไปยึดถือครอบครองในที่ดินพิพาทอันเป็นที่ห้วงห้ามได้ จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8239/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณา: คำสั่งศาลอุทธรณ์ยกคำร้องระบุพยานเพิ่มเติม ต้องห้ามฎีกาจนกว่ามีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาจนกว่าศาลอุทธรณ์จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8239/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณา: คำสั่งศาลอุทธรณ์ยกคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมยังไม่ถึงที่สุด ห้ามฎีกา
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา จนกว่าศาลอุทธรณ์จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7921/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: การครอบครองไม้แปรรูปต่างชนิดกัน แต่เป็นไม้หวงห้ามประเภทเดียวกัน
แม้โจทก์บรรยายแยกฟ้องว่าจำเลยครอบครองไม้สักแปรรูปจำนวนหนึ่งออกต่างหากจากการครอบครองไม้ชิงชันแปรรูปและไม้มะค่าโมงแปรรูปอีกจำนวนหนึ่งเป็นคนละข้อก็ตาม แต่ไม้ดังกล่าวก็เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติกำหนดไม้หวงห้ามฯ ด้วยกัน ทั้งตามคำบรรยายฟ้องที่ระบุการกระทำผิดของจำเลยก็เป็นกรณีที่จำเลยครอบครองไม้ทั้งสามชนิดนั้นในคราวเดียวกัน เป็นแต่การครอบครองไม้แปรรูปทั้งสามชนิดนั้นกฎหมายกำหนดอัตราโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 73 แตกต่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันเป็นเหตุในลักษณะคดีอันเกี่ยวกับการปรับบทลงโทษจำเลย แม้จำเลยอื่นจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 และ 22
การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันเป็นเหตุในลักษณะคดีอันเกี่ยวกับการปรับบทลงโทษจำเลย แม้จำเลยอื่นจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 และ 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7442/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมรณะของคู่ความระหว่างพิจารณาคดี ศาลต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.42 ก่อนมีคำพิพากษา
จำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์และปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ว่าส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมแสดงว่าศาลชั้นต้นทราบว่าจำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมตั้งแต่ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับการมรณะของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วส่งสำนวนพร้อมคำพิพากษาคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อสั่งเกี่ยวกับความมรณะของจำเลยที่ 2 แล้วมีคำพิพากษาใหม่ต่อไป การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 2รวมทั้งมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาฎีกาแก่จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ล้วนเป็นคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7442/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีหลังคู่ความถึงแก่กรรม: ศาลต้องดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 เพื่อให้ถูกต้อง
จำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เจ้าหน้าที่ส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแจ้งนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แก่ทนายความของจำเลยที่ 2 แสดงว่าศาลชั้นต้นได้ทราบว่า จำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมตั้งแต่ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับการมรณะของคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แล้วส่งถ้อยคำสำนวนพร้อมคำพิพากษาคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่งเกี่ยวกับความมรณะของจำเลยที่ 2 แล้ว มีคำพิพากษาใหม่ต่อไป การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 2 รวมทั้งมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาฎีกาแก่จำเลยที่ 2 จึงล้วนเป็นคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลล่างทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งให้ถูกต้องก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7412/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่โจทก์นำสืบพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดจำเลย แม้จำเลยรับสารภาพก็ต้องมีพยานหลักฐานสนับสนุน
ในคดีอาญา เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธแล้วก็เป็นหน้าที่ของโจทก์โดยตรงที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อสนับสนุนฟ้องและพิสูจน์ให้ได้ความชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตามฟ้อง เพราะแม้ในคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องในความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกว่านั้น โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำพยานหลักฐานเข้าสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยให้ศาลรับฟังได้จนเป็นที่พอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงจะลงโทษจำเลยตามฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่งแม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134จะบัญญัติไว้ว่าถ้อยคำของจำเลยหรือผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้ก็ตามแต่ถ้อยคำหรือคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนก็เป็นเพียงพยานหลักฐานของโจทก์อย่างหนึ่งที่โจทก์จะนำสืบสนับสนุนฟ้องเท่านั้น ดังนั้น ลำพังแต่คำรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จึงไม่อาจที่จะยกขึ้นมายันลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่, นับโทษกรรมต่างกันชอบ, อายุความความผิดปรับ
จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างไว้ในฟ้องอุทธรณ์เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ใช้สำหรับจัดระเบียบสังคมให้ผู้คนในสังคมได้อยู่ร่วมกันด้วยความปกติสุข เมื่อจำเลยกระทำผิดก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคมแล้ว จำเลยจึงต้องถูกลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในความผิดเรื่องนั้น ๆ จำเลยกระทำผิดในคดีอาญาเป็นการกระทำต่างกรรมกัน การที่ศาลล่างทั้งสองให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจชอบ ไม่ได้ขัดต่อสิทธิมนุษยชนใด ๆ
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 เกิน 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ใช้สำหรับจัดระเบียบสังคมให้ผู้คนในสังคมได้อยู่ร่วมกันด้วยความปกติสุข เมื่อจำเลยกระทำผิดก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคมแล้ว จำเลยจึงต้องถูกลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในความผิดเรื่องนั้น ๆ จำเลยกระทำผิดในคดีอาญาเป็นการกระทำต่างกรรมกัน การที่ศาลล่างทั้งสองให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจชอบ ไม่ได้ขัดต่อสิทธิมนุษยชนใด ๆ
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 เกิน 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้