คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีวัฒน์ แดงทองดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7075/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายยาเสพติดปริมาณมากเกิน 100 กรัม (สารบริสุทธิ์) ศาลฎีกาแก้ไขบทมาตราผิด
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 51,400 เม็ด น้ำหนัก 4,657.390 กรัม คำนวณเป็น น้ำหนักสารบริสุทธิ์ 946.187 กรัมและเฮโรอีนจำนวน 333 หลอด น้ำหนัก 403.820 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 314.333 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเห็นได้ว่าเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนของกลางที่จำเลยมีไว้ เพื่อจำหน่ายต่างก็มีปริมาณที่คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินหนึ่งร้อยกรัม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง, 66 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือ ประหารชีวิต การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการอ้างบทมาตราผิด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6759/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญาจากผู้ซื้อ การบอกเลิกสัญญา และสิทธิในการริบเงินวาง
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันในปี 2536แต่จำเลยเพิ่งได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินเมื่อปี 2538 ดังนั้น ขณะจำเลยจัดสรรที่ดินในโครงการออกเสนอขายต่อโจทก์และบุคคลทั่วไป จำเลยยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286ข้อ 10 ประกอบข้อ 35 แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นเรื่องของรัฐที่จะเข้าไปควบคุมให้จำเลยหรือผู้จะจัดสรรที่ดินได้ดำเนินการด้านสาธารณูปโภคให้เป็นไปตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อความสะดวกสบายของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละส่วนกับการที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท และตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทก็ไม่ปรากฏว่ามีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งใด ๆตามกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อันจะทำให้เป็นโมฆะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ทั้งจำเลยมิได้กระทำการใดอันเป็นกลฉ้อฉลทำให้โจทก์ต้องเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลย การที่จำเลยยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินในขณะที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันนั้น แม้จำเลยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบก็ไม่ถึงกับให้รับฟังว่าเป็นกลฉ้อฉลของจำเลยอันจะทำให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกำหนดให้โจทก์ชำระเงินเป็นงวด งวดละเดือนรวม 20 งวด และชำระเงินส่วนที่เหลือในวันที่จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ก็ตาม แต่พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันเป็นลักษณะผ่อนผันให้แก่กันเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาที่ต่างฝ่ายต่างต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนั้น มิได้เป็นสาระสำคัญที่จะให้ถือว่าอีกฝ่ายผิดสัญญาทันทีตามกำหนดไว้แต่อย่างใด แต่การที่โจทก์ชำระเงินค่างวดที่ 16 ให้แก่จำเลยแล้วไม่ชำระเงินค่างวดต่อไปให้แก่จำเลยให้ครบ 20 งวดอีกจนกระทั่งจำเลยมีหนังสือเตือนให้โจทก์ชำระเงินที่เหลือภายใน 7 วันนับแต่วันรับหนังสือ โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและริบเงินที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไว้แล้วตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6565/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี, คำสั่งศาลสูงอังกฤษ, ความรับผิด
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ฟ้องคดีแทนทำขึ้นที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งได้มีการรับรองว่าได้จัดทำกันขึ้นจริงโดยทนายความโนตารีปับลิกผู้ได้รับอนุญาตแห่งสำนักทนายความซึ่งได้รับอนุญาตจากกระทรวงยุติธรรมของประเทศสาธารณรัฐเกาหลีให้ทำหน้าที่โนตารีปับลิกแล้ว จึงแสดงว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ทำขึ้นถูกต้องตามบทบัญญัติกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐเกาหลีโดยชอบ ดังนั้น แม้จะได้นำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทยก็ย่อมถือได้ว่าเป็นตราสารที่รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ กรณีไม่จำเป็นต้องอยู่ในบังคับที่ให้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรฯ
คำฟ้องเป็นเพียงการสรุปข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเพื่อให้เห็นถึงความเกี่ยวพันกันระหว่างโจทก์และจำเลยตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้กระทำการใดให้โจทก์ต้องเสียหายพร้อมคำขอให้บังคับจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์พอที่จำเลยจะเข้าใจและต่อสู้คดีได้เท่านั้นส่วนการที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงการที่จำเลยผิดสัญญาเช่าเหมาระวางเรือข้อใด สินค้าสูญหายหรือเสียหายเท่าใด คิดเป็นเงินเท่าใดโจทก์ชดใช้เงินให้ผู้รับตราส่งไปแล้วเท่าใดและได้ชำระเมื่อใดนั้นมิได้เป็นสาระที่จะเป็นเหตุทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมแต่อย่างใดเพราะโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาเช่าเหมาระวางเรือแต่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ ตามคำสั่งของศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ ประเทศอังกฤษ
แม้อนุญาโตตุลาการ ณ นครลอนดอน ประเทศอังกฤษยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยก็ตามแต่ก็เป็นคนละส่วนกับคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดของศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ ประเทศอังกฤษ เกี่ยวกับคำร้องของจำเลยที่อ้างว่าโจทก์ส่งหมายเรียกเกี่ยวกับการพิพาทกันในชั้นอนุญาโตตุลาการดังกล่าวให้จำเลยในประเทศไทยโดยมิชอบ ซึ่งถึงที่สุดไปแล้วตามคำสั่งของศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายให้โจทก์(TheDefendants'paythePlaintiffs'costsinanyevent)คำสั่งของศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์จึงเป็นมูลหนี้ และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่าศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วยกคำร้องของจำเลย โดยจำเลยมิได้ต่อสู้ว่าศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ไม่มีอำนาจพิจารณาหรือดำเนินกระบวนพิจารณาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนอย่างไรหรือไม่ ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ซึ่งต้องรวมค่าใช้จ่ายที่โนตารีปับลิกรับรองเอกสารในการส่งคำสั่งศาลให้แก่จำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6565/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองเอกสาร, คำสั่งศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์อังกฤษ, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี, สิทธิเรียกร้องมูลหนี้, การบังคับตามคำสั่งศาล
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐเกาหลีและมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศ สาธารณรัฐเกาหลี หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ทำขึ้นที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีได้มีการรับรองว่าได้จัดทำขึ้นจริง โดยทนายความโนตารีปับลิกผู้ได้รับอนุญาตแห่งสำนักทนายความที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงยุติธรรมของ ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีให้ทำหน้าที่โนตารีปับลิกถูกต้องตามบัทบัญญัติกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐเกาหลีแล้ว แม้โจทก์จะได้นำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทย ก็เป็นตราสารที่รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับที่ให้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรอีก
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่าจำเลยเช่าเหมาระวางเรือจากโจทก์ไปขนข้าวสารที่ท่าเรือเกาะสีชังไปส่งที่ประเทศเซเนกัล แต่มีข้าวสารบางส่วนเสียหายผู้รับตราส่งจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์กับพวก ศาลเมืองดาการ์ ประเทศเซเนกัลพิพากษาให้โจทก์กับพวกต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายซึ่งโจทก์ได้ชำระค่าเสียหายไปแล้ว โจทก์เห็นว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งตามสัญญาที่ทำกับจำเลย จึงได้ทวงถามให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์ แต่จำเลยปฏิเสธ โจทก์จำเลยไปยื่น ข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการประเทศอังกฤษ ตามข้อตกลงในสัญญาเช่าเหมาระวางเรือ ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ประเทศอังกฤษ ให้ชี้ขาดว่าโจทก์ส่งหมายเรียกเกี่ยวกับการพิพาทกันในชั้นอนุญาโตตุลาการประเทศอังกฤษให้จำเลยในประเทศไทยโดยมิชอบ แต่ศาลสูง แผนกคดีพาณิชย์ ประเทศอังกฤษได้มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยแล้ว ให้จำเลยใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้ทวงถามค่าใช้จ่ายตามคำสั่งศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ ประเทศอังกฤษจากจำเลย แต่จำเลยเพิกเฉย และขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ส่วนนี้ให้แก่โจทก์นั้น เป็นคำฟ้องที่แสดงให้เห็นโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหา รวมทั้งข้อที่โจทก์อ้างอาศัยเป็นหลักในการกล่าวหาให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามสัญญาเช่าเหมาระวางเรือ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระค่าใช้จ่ายในกรณีที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลสูงแผนกคดีพาณิฃย์ ประเทศอังกฤษ ให้มีคำสั่งในกรณีที่จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ส่งหมายเรียกเกี่ยวกับการพิพาทกันในชั้นอนุญาโตตุลาการให้จำเลยในประเทศไทยโดยมิชอบ ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ณ นครลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 หมวด 6 ว่าด้วยการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทให้วินิจฉัยทั้งสองกรณี รวมตลอดเรื่องความถูกต้องของสัญญาเช่าเหมาระวางเรือ การที่ศาลล่างทั้งสองไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัยนั้นชอบแล้ว
แม้อนุญาโตตุลาการ ณ นครลอนดอน ประเทศอังกฤษ ยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย แต่ก็เป็นคนละส่วนกับคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ ประเทศอังกฤษ เกี่ยวกับคำร้องของจำเลยที่อ้างว่าโจทก์ส่งหมายเรียกเกี่ยวกับการพิพาทกันในชั้นอนุญาโตตุลาการดังกล่าวให้จำเลยในประเทศไทยโดยมิชอบ ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว ตามคำสั่งของศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ ประเทศอังกฤษ กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายให้โจทก์ ( The Defendant'pay the Plaintiffs' costs in any event) คำสั่งของศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ ประเทศอังกฤษ เองจึงเป็นมูลหนี้ และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่าศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ ประเทศอังกฤษ ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วยกคำร้องของจำเลย โดยจำเลยมิได้ต่อสู้ว่าศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ ประเทศอังกฤษ ไม่มีอำนาจพิจารณา หรือดำเนินกระบวนพิจารณาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงต้องรับผิด ค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลสูงแผนกคดีพาณิชย์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งต้องรวมค่าใช้จ่ายที่โนตารีปับลิกรับรองเอกสารในการส่งคำสั่งศาลให้แก่จำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6402/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอาคารบนที่ดินเช่าและผลกระทบต่อการหักภาษีซื้อมูลค่าเพิ่ม
โจทก์ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าและให้เช่าพื้นที่อาคารของห้างสรรพสินค้า โจทก์ได้ปลูกสร้างอาคารสรรพสินค้าด้วยสัมภาระของโจทก์บนที่ดินที่โจทก์ทำสัญญาเช่าจากกรมการศาสนา โดยโจทก์ตกลงยอมยกกรรมสิทธิ์สิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างบนที่ดินดังกล่าวให้ตกเป็นของกรมการศาสนาทันทีเพื่อให้เป็นทรัพย์สินส่วนควบตามสัญญาเช่า บรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่ที่เช่าหาได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินที่โจทก์เช่าจากกรมศาสนาไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ดังนั้น กรมการศาสนาย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่ที่เช่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 วรรคสอง แต่การที่กรมการศาสนาได้กรรมสิทธิ์ในบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างก็เนื่องมาจากข้อตกลงในสัญญาเช่า โดยโจทก์ผู้เช่าแสดงเจตนาไว้ชัดแจ้งถึงการยกกรรมสิทธิ์ให้ทันที เพื่อให้สิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างเป็นทรัพย์สินส่วนควบติดกับที่เช่าตลอดไป อันเป็นการแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่า ซึ่งหากโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์แล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจจะตกลงให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่เจ้าของที่ดินในทันทีได้ ฉะนั้น อาคารสรรพสินค้าและบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่า จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนาโดยนิติกรรม หาใช่โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมไม่ กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ได้จำหน่าย จ่าย โอนอาคารสรรพสินค้าและบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่า อันเป็นการ "ขาย" ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ที่ได้ให้คำนิยามว่า "ขาย" หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอน ไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่
กรณีของโจทก์เป็นการขายอาคารสรรพสินค้าและบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่าจากกรมการศาสนาและเป็นการขายภายในกำหนด 3 ปี นับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ดังนั้น ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่เช่าจากกรมการศาสนาเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/3 ทั้งนี้ตามมาตรา 82/5 (6) ประกอบด้วยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ข้อ 2 (4) โจทก์จึงไม่สามารถนำภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารสรรพสินค้าบนที่ดินที่เช่าจากกรมการศาสนามาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6402/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การขอคืนภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่า และการงดเบี้ยปรับ
โจทก์ปลูกสร้างอาคารสรรพสินค้าด้วยสัมภาระของโจทก์บนที่ดินที่โจทก์ทำสัญญาเช่าจากกรมการศาสนา โดยโจทก์ตกลงยอมยกกรรมสิทธิ์สิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างบนที่ดินดังกล่าวให้ตกเป็นของกรมการศาสนาทันที ดังนั้น การที่กรมการศาสนาได้กรรมสิทธิ์ในบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างก็เนื่องมาจากข้อตกลงในสัญญาเช่า โดยผู้เช่าแสดงเจตนาไว้ชัดแจ้งถึงการยกกรรมสิทธิ์ให้ทันทีเพื่อให้สิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างเป็นทรัพย์สินส่วนควบติดกับที่เช่าตลอดไป จึงเป็นการแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่า ซึ่งหากโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์แล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจจะตกลงให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่เจ้าของที่ดินในทันทีได้ ฉะนั้น อาคารสรรพสินค้าและบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่า จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนาโดยนิติกรรม หาใช่โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมไม่กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ได้จำหน่าย จ่าย โอนอาคารสรรพสินค้าและบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่า อันเป็นการ "ขาย"ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 91/1(4) ที่ได้ให้คำนิยามว่า "ขาย"หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอน ไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่
กรณีของโจทก์เป็นการขายอาคารสรรพสินค้าและบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่าจากกรมการศาสนาและเป็นการขายภายในกำหนด 3 ปี นับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ดังนั้น ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่เช่าจากกรมการศาสนาเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงไม่สามารถนำภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารสรรพสินค้าบนที่ดินที่เช่าจากกรมการศาสนามาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6379/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมหนังสือมอบอำนาจเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นเหตุให้สัญญาเป็นโมฆะและมีอำนาจฟ้องเพิกถอนได้
จำเลยนำแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์เพียงลงลายมือชื่อไว้ไปกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยเป็นผู้มีอำนาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของโจทก์ให้แก่จำเลยโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยหนังสือมอบอำนาจจึงเป็นเอกสารปลอม นิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทมิได้เกิดจากการแสดงเจตนาของโจทก์ที่ประสงค์จะทำนิติกรรมนั้น นิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์มาเป็นของจำเลยดังกล่าวได้
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโดยทำหนังสือมอบอำนาจปลอมแล้วนำไปดำเนินการทำนิติกรรมโอนขายที่ดินส่วนของโจทก์มาเป็นของจำเลยที่ 1 อันเป็นเหตุให้นิติกรรมดังกล่าวไม่มีผลผูกพันโจทก์นั้น เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้มีการชี้สองสถานกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามที่เห็นสมควรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6379/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินจากการแสดงเจตนาไม่ถูกต้อง และการประเมินความเสียหายที่ต้องพิสูจน์ถึงประโยชน์ที่ได้รับจริง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนซื้อขายและการถือกรรมสิทธิ์ให้กลับมาเป็นชื่อของโจทก์พร้อมกับเรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนเสร็จสิ้น โดยในส่วนค่าเสียหาย ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้พยายามติดตามทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขาย และการถือกรรมสิทธิ์รวมให้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ดังเดิม แต่จำเลยทั้งสี่เพิกเฉยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงินจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท ขอให้จำเลยชดใช้นับแต่วันฟ้อง แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องระบุเลยว่าฝ่ายจำเลยโต้แย้งการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทของโจทก์อย่างไร และไม่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่าหากฝ่ายจำเลยดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรม ดังกล่าวแล้ว โจทก์จะได้ประโยชน์อย่างไรถึงจำนวนเดือนละ 10,000 บาท อีกทั้งมารดาโจทก์อยู่อาศัยในที่ดินพิพาทและเป็นผู้เก็บเอาผลประโยชน์จากผลไม้ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์ทำการสมรสและย้ายออกไปจากที่ดินพิพาท โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์หรือเข้าเก็บผลประโยชน์จากที่ดินพิพาทไป ดังนั้น เมื่อได้ดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและการถือกรรมสิทธิ์รวมโดยแก้ไขสารบัญการจดทะเบียน ในโฉนดที่ดินพิพาทแล้ว ความเสียหายของโจทก์ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป ศาลย่อมไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ ในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสี่ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6230/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ การลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คโดยผู้ไม่ใช่เจ้าของบัญชี ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้เงิน ต่อมาจำเลยที่ 1 นำเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายก่อนแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1ได้กรอกรายการและลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายร่วมกับจำเลยที่ 2 และสลักหลังในเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาท แม้จำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของบัญชีก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายการที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เงินกู้โจทก์ตามสัญญากู้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ เพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว ถือว่าเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6166/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดโทษจำคุกคดียาเสพติด: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ให้อยู่ในกรอบมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 12 บัญญัติว่า "การกำหนดโทษจำคุกที่จะลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11 ให้กำหนดโทษจำคุกอย่างสูงที่สุดได้ไม่เกินห้าสิบปี"ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 และกำหนดโทษจำคุก 66 ปี จึงเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 12 ดังกล่าว
of 34