คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีวัฒน์ แดงทองดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6477/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าต้องมีเหตุความจำเป็นตามนโยบายที่ชัดเจน การใช้พื้นที่จริงเป็นเกณฑ์
จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเรื่องความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้างทางขึ้น-ลง เพิ่มเติมสำหรับทางด่วนเฉลิมมหานครผิดไปจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน เป็นอุทธรณ์ใน ข้อกฎหมายไม่ใช่เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แต่เพื่อไม่ให้คดีล่าช้าศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
ตามสัญญาจัดหาประโยชน์ในเขตทางพิเศษระบุว่าถ้าผู้ร้องสอดมีความจำเป็นตามนโยบายแล้วผู้ร้องสอด มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ และตามสัญญาเช่าช่วงระบุว่าถ้ามีความจำเป็นตามนโยบายของผู้ร้องสอดแล้ว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ การบอกเลิกการเช่าก่อนครบกำหนดตามสัญญาทั้งสองฉบับจึงขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ร้องสอด และคำว่า "จำเป็น" ตามพจนานุกรมหมายความว่าต้องเป็นอย่างนั้น ต้องทำ ขาดไม่ได้ กรณีจึงหมายความว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จะขาดพื้นที่ส่วนนี้เสียมิได้ แต่ในขณะที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2537 เห็นชอบตามโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขออนุมัตินั้น ยังไม่มีการออกแบบรายละเอียดทางขึ้น - ลง และกำหนดจุดก่อสร้างที่แน่ชัด เป็นเพียงระบุสถานที่ ก่อสร้างไว้กว้าง ๆ ว่าเป็นบริเวณถนนเพชรบุรี ถนนสุขุมวิท และทางแยกต่างระดับคลองเตย ซึ่งในส่วนของทางแยกต่างระดับคลองเตยที่โจทก์เช่าจากผู้ร้องสอดก็มีพื้นที่ถึง 8,000 ตารางวา ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงอนุมัติเพียงหลักและ วิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการอันตรงกับความหมายของคำว่า "นโยบาย" ตามพจนานุกรมเท่านั้น ยังไม่อาจระบุรายละเอียดที่แน่ชัดได้ว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้างหรือไม่ และก่อนที่ผู้ร้องสอดจะบอกเลิกการเช่าบางส่วนแก่โจทก์ก็ยังปรากฏอีกว่าตำแหน่งเสาของโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติม ไม่ได้ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 อีกทั้งทางขึ้น - ลงเพิ่มเติมนั้นได้ก่อสร้างเสร็จและเปิดใช้มาเป็นเวลาประมาณ 1 ปี แล้วโดยตึกแถวเลขที่ 98/57 ก็ยังคงตั้งอยู่ ดังนั้นแม้จะไม่ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ผู้ร้องสอดก็ยังคงก่อสร้างทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมได้ เมื่อผู้ร้องสอดไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ในส่วนพื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 แก่โจทก์ และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5872/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนซื้อขายที่ดิน-ภาษีธุรกิจเฉพาะ: แม้เป็นตัวแทนแต่ไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงาน ทำให้ต้องรับผิดชอบภาษี
แม้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการซื้อและขายที่ดิน แต่ในการเสียภาษี จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะต่อเจ้าพนักงานของโจทก์โดยยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับและผ่อนชำระภาษี โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญารับสภาพหนี้ และจำเลยที่ 3เป็นผู้ค้ำประกันการชำระนี้ แสดงว่าตลอดระยะเวลาที่จำเลยทั้งสามติดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบเลยว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์ไม่อยู่ในฐานะที่ได้รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวมาก่อนจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีตามฟ้องแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5872/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทน ผู้ซื้อ และผู้ค้ำประกัน ในการชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการซื้อและขายที่ดินรวม 5 โฉนด หลังจากทำการซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับและผ่อนชำระภาษี โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญารับสภาพหนี้ และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ ต่อมาโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์ในงวดที่ 8 ถึง 12 ไม่ได้ โจทก์จึงแจ้งจำเลยทั้งสามให้นำเงินมาชำระ แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ตลอดระยะเวลาที่จำเลยทั้งสามติดต่อโจทก์ ไม่ว่าในขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือในชั้นที่เจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบภาษีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซื้อที่ดินแทนจำเลยที่ 3 แล้วขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ เงินเพิ่มเบี้ยปรับและภาษีส่วนท้องถิ่นแก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ จำเลยที่ 2ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ระบุยอมรับชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เต็มจำนวนส่วนจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงรับผิดต่อโจทก์ด้วย โดยจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ แต่ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำกับโจทก์มิได้ระบุให้จำเลยที่ 3 รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยที่ 3 รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5872/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนซื้อขายที่ดินและขอบเขตความรับผิดของตัวแทน ผู้รับสภาพหนี้ และผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการซื้อและขายที่ดินรวม 5 โฉนด หลังจากทำการซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับและผ่อนชำระภาษี โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญารับสภาพหนี้และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ ต่อมาโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์ในงวดที่ 8 ถึง 12 ไม่ได้โจทก์จึงแจ้งจำเลยทั้งสามให้นำเงินมาชำระ แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉยตลอดระยะเวลาที่จำเลยทั้งสามติดต่อโจทก์ ไม่ว่าในขณะที่จำเลยที่ 1ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือในชั้นที่เจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบภาษีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2และที่ 3 ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซื้อที่ดินแทนจำเลยที่ 3แล้วขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 2และที่ 3 ก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะเงินเพิ่มเบี้ยปรับและภาษีส่วนท้องถิ่นแก่โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ระบุยอมรับชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เต็มจำนวน ส่วนจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงรับผิดต่อโจทก์ด้วยโดยจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ แต่ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำกับโจทก์มิได้ระบุให้จำเลยที่ 3รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยที่ 3รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5787/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้องเป็นประธานสภาฯ หรือนายอำเภอ การประชุมโดยรองประธานสภาฯ ย่อมไม่ชอบ
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จะต้องได้ความว่า เจ้าพนักงานผู้นั้นได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบหรือโดยทุจริตเฉพาะเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนตามกฎหมาย หรือระเบียบหรือที่ได้รับมอบหมายให้กระทำโดยตรงเท่านั้น
จำเลยทั้งเก้าเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำเลยที่ 1เป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล นายอำเภออนุมัติและมีคำสั่ง ประกาศให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเปิดสมัยประชุมวิสามัญและ ชอบด้วยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 55 วรรคหนึ่ง ในการเรียกประชุมพระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 54 กำหนด ให้เป็นหน้าที่ของประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้เรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดและ ปิดประชุมเว้นแต่กรณีที่ยังไม่มีประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หรือประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เรียกประชุมตามกฎหมาย จึงเป็นหน้าที่ของนายอำเภอที่จะต้องเรียกประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม เมื่อนายอำเภอได้มีประกาศให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเปิดสมัยประชุมวิสามัญตามคำร้องขอของจำเลยทั้งเก้ากับพวกได้แล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เรียกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาประชุมตามวันที่ กำหนดย่อมต้องเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคือนายอำเภอ เท่านั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีหน้าที่ในการเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เว้นแต่ จะได้รับมอบหมายจากนายอำเภอ เมื่อนายอำเภอไม่ได้มอบหมายให้ จำเลยเรียกประชุม จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจหน้าที่จะเรียกประชุมสมัยวิสามัญดังกล่าวได้ แม้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือเรียกประชุม สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 พร้อมสมาชิก สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาร่วมประชุม โดยมีจำเลยที่ 1 ทำหน้าที่ ประธานที่ประชุมในวันดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เป็นการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสมัยวิสามัญ โดยชอบตาม พระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 หมวด 2 ส่วนที่ 1 ว่าด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำเลยทั้งเก้าจึงไม่มีหน้าที่ ต้อง เข้าร่วมประชุมสมัยวิสามัญซึ่งเรียกประชุมโดยไม่ชอบด้วยบทกฎหมายหากมติที่ประชุมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งเก้า ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติโดยมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5787/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานสภา อบต. การเรียกประชุมสภาที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 จะต้องได้ความว่า เจ้าพนักงานผู้นั้นได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตเฉพาะเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนตามกฎหมายหรือระเบียบหรือที่ได้รับมอบหมายให้กระทำโดยตรงเท่านั้น
จำเลยทั้งเก้าซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และจำเลยที่ 1 เป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล นายอำเภออนุมัติและมีคำสั่งประกาศให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเปิดสมัยประชุมวิสามัญและชอบด้วย พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 55 วรรคหนึ่ง ในการเรียกประชุม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 54 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้เรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดและปิดประชุม เว้นแต่กรณีที่ยังไม่มีประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหรือประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เรียกประชุมตามกฎหมาย จึงเป็นหน้าที่ของนายอำเภอที่จะต้องเรียกประชุม และเป็นผู้เปิดหรือปิดประชุม เมื่อนายอำเภอได้มีประกาศให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเปิดสมัยประชุมวิสามัญตามคำร้องขอของจำเลยทั้งเก้ากับพวกได้แล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เรียกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาประชุมตามวันที่กำหนดย่อมต้องเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคือนายอำเภอเท่านั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีหน้าที่ในการเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เว้นแต่จะได้รับมอบหมายจากนายอำเภอ เมื่อนายอำเภอไม่ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เรียกประชุม จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจหน้าที่จะเรียกประชุมสมัยวิสามัญดังกล่าวได้ แม้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 พร้อมสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาร่วมประชุม โดยมีจำเลยที่ 1 ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมในวันดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เป็นการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสมัยวิสามัญโดยชอบตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 หมวด 2 ส่วนที่ 1 ว่าด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำเลยทั้งเก้าจึงไม่มีหน้าที่ต้องเข้าร่วมประชุมสมัยวิสามัญซึ่งเรียกประชุมโดยไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งเก้าจึงไม่ใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่โดยตรงต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว หากมติที่ประชุมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งเก้าก็ไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติโดยมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5585/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากจำเลยยื่นฎีกาเกินกำหนด และศาลฎีกายกฟ้องฐานครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่ายเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 26 มกราคมและมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่จำเลยถึงวันที่ 17 มีนาคม จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 16 มีนาคม โดยไม่ได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิตามมาตรา 221 มาพร้อมด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาจำเลยเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ต่อมาวันที่ 20 มีนาคม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิ่มเติมในฎีกาจำเลยเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และให้จำเลยแถลงหรือยื่นคำร้องต่อศาลภายในวันที่ 21 มีนาคมว่าประสงค์จะให้ผู้พิพากษาผู้มีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ หากไม่ยื่นคำร้องภายในวันดังกล่าวก็ให้ถือว่าศาลมีคำสั่งไม่รับฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดวันให้จำเลยยื่นคำแถลงหรือยื่นคำร้องตามมาตรา 221 เท่ากับเป็นการมีคำสั่งขยายระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณา ซึ่งจะกระทำได้ต่อเมื่อพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิตามมาตรา 221 จนล่วงพ้นกำหนดยื่นฎีกาและไม่มีเหตุสุดวิสัยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดวันให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษารับรองตามมาตรา 221 เมื่อพ้นกำหนดยื่นฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ดังนั้น คำสั่งของผู้พิพากษาที่รับรองให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับฎีกาจำเลยในความผิดดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง และมาตรา 221

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5585/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง: การดำเนินการตามมาตรา 221 และผลของการไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนด
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218วรรคหนึ่ง หากจำเลยประสงค์จะใช้สิทธิฎีกาโดยขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษารับรองให้ฎีกาตามเงื่อนไขในมาตรา 221 จำเลยก็ต้องดำเนินการใช้สิทธิดังกล่าวให้ถูกต้องเสียก่อนพ้นระยะเวลายื่นฎีกา
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยยื่นฎีกาโดยมิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาจำเลย ต่อมาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิ่มเติมให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและให้จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลภายในเวลาศาลชั้นต้นกำหนด ว่าประสงค์จะให้ผู้พิพากษาผู้มีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ หากไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดก็ให้ถือว่าศาลมีคำสั่งไม่รับฎีกา เท่ากับเป็นการมีคำสั่งขยายระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณา ซึ่งคำสั่งเช่นนี้จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 ในเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิตามมาตรา 221 จนล่วงพ้นกำหนดยื่นฎีกาและกรณีไม่มีเหตุสุดวิสัยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดวันให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายปัญหานี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5585/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงและการดำเนินการตามมาตรา 221 หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขศาลจะไม่รับฎีกา
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งหากจำเลยประสงค์จะใช้สิทธิฎีกาโดยขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษารับรองให้ฎีกาตามเงื่อนไขในมาตรา 221จำเลยก็ต้องดำเนินการใช้สิทธิดังกล่าวให้ถูกต้องเสียก่อนพ้นระยะเวลายื่นฎีกา
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยยื่นฎีกาโดยมิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาจำเลย ต่อมาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิ่มเติมให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและให้จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลภายในเวลาศาลชั้นต้นกำหนดว่าประสงค์จะให้ผู้พิพากษาผู้มีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ หากไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดก็ให้ถือว่าศาลมีคำสั่งไม่รับฎีกาเท่ากับเป็นการมีคำสั่งขยายระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณา ซึ่งคำสั่งเช่นนี้จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ในเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิตามมาตรา 221 จนล่วงพ้นกำหนดยื่นฎีกาและกรณีไม่มีเหตุสุดวิสัย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดวันให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงิน: เอกสารระบุจำนวนเงินและลายมือชื่อผู้กู้เพียงพอแล้ว แม้ไม่ระบุชื่อผู้ให้กู้
สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคแรก อยู่ที่ว่า มีการแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอแล้วไม่ได้บังคับถึงกับจะต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้
เอกสารฉบับพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ลงไว้ แต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงมีอำนาจฟ้อง แต่คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,812 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247
of 34