พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้ให้กู้ อำนาจฟ้องเกิดจากหลักฐานหนังสือ
สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653วรรคหนึ่งอยู่ที่ว่า มีการแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอแล้ว ไม่ได้บังคับถึงกับจะต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้ด้วย
เอกสารฉบับพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ลงไว้ แต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงมีอำนาจฟ้อง แต่คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,812 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงสมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบก่อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247
เอกสารฉบับพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ลงไว้ แต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงมีอำนาจฟ้อง แต่คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,812 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงสมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบก่อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ข้อเรียกร้องที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ ไม่สามารถนำมาวินิจฉัยได้
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้ร้องทั้งสองไม่เหมาะสมจะเป็นผู้จัดการมรดก ขอให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องทั้งสองและแต่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก โดยมิได้มีคำขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องทั้งสองด้วย ปัญหาว่าผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องทั้งสองหรือไม่ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและแม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5198/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ถอนฟ้อง, ดุลพินิจศาล, การไม่เสียเปรียบจากการเจรจา, การขอเลื่อนคดี
โจทก์จะถอนฟ้องจำเลยหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้แต่อยู่ในดุลพินิจของศาลว่าสมควรจะอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือไม่ โดยคำนึงถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันในเชิงคดี
คดียังไม่มีการนำพยานของโจทก์และจำเลยเข้าสืบ โดยศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก แต่ทนายจำเลยขอเลื่อนคดี หลังจากนั้นมีการขอเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์อีกถึง 10 นัด จนถึงนัดที่โจทก์ขอถอนฟ้อง ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าว ทั้งโจทก์และจำเลยได้ขอเลื่อนคดีด้วยเหตุที่ขอเจรจาต่อรองเพื่อตกลงกัน แม้ในที่สุดตกลงกันไม่ได้ก็หาทำให้ฝ่ายใดต้องเสียเปรียบในเชิงคดีไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 แล้ว
คดียังไม่มีการนำพยานของโจทก์และจำเลยเข้าสืบ โดยศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก แต่ทนายจำเลยขอเลื่อนคดี หลังจากนั้นมีการขอเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์อีกถึง 10 นัด จนถึงนัดที่โจทก์ขอถอนฟ้อง ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าว ทั้งโจทก์และจำเลยได้ขอเลื่อนคดีด้วยเหตุที่ขอเจรจาต่อรองเพื่อตกลงกัน แม้ในที่สุดตกลงกันไม่ได้ก็หาทำให้ฝ่ายใดต้องเสียเปรียบในเชิงคดีไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5198/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่ง: ดุลพินิจศาลคำนึงถึงความได้เปรียบเสียเปรียบในการดำเนินคดี
การที่โจทก์จะถอนฟ้องคดีแพ่งหรือไม่ เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้แต่อยู่ในดุลพินิจของศาลว่าสมควรจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้หรือไม่ โดยให้ศาลคำนึงถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันในเชิงคดีเท่าที่ต่างดำเนินคดีต่อสู้กันมา
คดียังไม่มีการนำพยานของโจทก์และจำเลยเข้าสืบเพื่อเป็นการสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องและข้อเถียงตามคำให้การของฝ่ายตนโดยศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก แต่ทนายจำเลยขอเลื่อนคดีหลังจากนั้นมีการขอเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์อีกถึง 10 นัด จนถึงนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นนัดที่โจทก์ทั้งห้าขอถอนฟ้องซึ่งตลอดเวลาดังกล่าวทั้งโจทก์ทั้งห้าและจำเลยทั้งสามได้ขอเลื่อนคดีด้วยเหตุที่ขอเจรจาต่อรองเพื่อตกลงกัน แม้ในที่สุดตกลงกันไม่ได้ ก็หาทำให้ฝ่ายใดต้องเสียเปรียบในเชิงคดีไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 แล้ว
คดียังไม่มีการนำพยานของโจทก์และจำเลยเข้าสืบเพื่อเป็นการสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องและข้อเถียงตามคำให้การของฝ่ายตนโดยศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก แต่ทนายจำเลยขอเลื่อนคดีหลังจากนั้นมีการขอเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์อีกถึง 10 นัด จนถึงนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นนัดที่โจทก์ทั้งห้าขอถอนฟ้องซึ่งตลอดเวลาดังกล่าวทั้งโจทก์ทั้งห้าและจำเลยทั้งสามได้ขอเลื่อนคดีด้วยเหตุที่ขอเจรจาต่อรองเพื่อตกลงกัน แม้ในที่สุดตกลงกันไม่ได้ ก็หาทำให้ฝ่ายใดต้องเสียเปรียบในเชิงคดีไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5198/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนฟ้องและการใช้ดุลพินิจของศาล
โจทก์จะถอนฟ้องจำเลยหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้แต่อยู่ในดุลพินิจของศาลว่าสมควรจะอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือไม่ โดยคำนึงถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันในเชิงคดี
คดียังไม่มีการนำพยานของโจทก์และจำเลยเข้าสืบ โดยศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก แต่ทนายจำเลยขอเลื่อนคดี หลังจากนั้นมีการขอเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์อีกถึง 10 นัด จนถึงนัดที่โจทก์ขอถอนฟ้อง ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าว ทั้งโจทก์และจำเลยได้ขอเลื่อนคดีด้วยเหตุที่ขอเจรจาต่อรองเพื่อตกลงกัน แม้ในที่สุดตกลงกันไม่ได้ก็หาทำให้ฝ่ายใดต้องเสียเปรียบในเชิงคดีไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 175 แล้ว
คดียังไม่มีการนำพยานของโจทก์และจำเลยเข้าสืบ โดยศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก แต่ทนายจำเลยขอเลื่อนคดี หลังจากนั้นมีการขอเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์อีกถึง 10 นัด จนถึงนัดที่โจทก์ขอถอนฟ้อง ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าว ทั้งโจทก์และจำเลยได้ขอเลื่อนคดีด้วยเหตุที่ขอเจรจาต่อรองเพื่อตกลงกัน แม้ในที่สุดตกลงกันไม่ได้ก็หาทำให้ฝ่ายใดต้องเสียเปรียบในเชิงคดีไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 175 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ค่าเช่ารวมสิทธิซื้อ VS ค่าเช่าที่แท้จริง
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันในประเด็นที่ว่าจะนำค่าเช่าที่ระบุในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้ให้เช่ามาถือเป็นค่ารายปีได้หรือไม่มิได้โต้เถียงกันเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายของสถานีบริการน้ำมันของโจทก์เอกสารบัญชีรายรับรายจ่ายเกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นพิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท พ. และบริษัท ร. มิใช่ค่าเช่าที่ดินอย่างเดียว หากแต่เป็นเงินค่าสิทธิที่โจทก์จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำด้วย ที่จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวมากำหนดเป็นค่ารายปีเป็นการไม่ถูกต้องขอให้แก้ไขใบแจ้งการประเมินคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาซึ่งจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้วโจทก์ไม่จำต้องบรรยายคำฟ้องด้วยว่า ค่าเช่าจำนวนเท่าใด ค่าสิทธิ ที่จะซื้อที่ดินในราคาต่ำจำนวนเท่าใด คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เคลือบคลุม
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสามหาได้ให้ถือว่าค่าเช่าเป็นค่ารายปีโดยเด็ดขาดไม่ เพราะค่ารายปีหมายความว่าจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 8 วรรคสอง หากค่าเช่ามิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของ ทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้น ได้รับประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ตามมาตรา 8 วรรคสาม การนำสืบว่า ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำจึงหาต้องห้ามไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าค่าเช่าในสัญญาเช่าที่ดินรวม ค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำไว้ด้วย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนดค่ารายปีโดยใช้ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวเป็นหลักในการคำนวณ โดยมิได้พิจารณาถึงค่าเช่าที่แท้จริงจึงไม่ชอบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 ให้นำ ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเท่านั้นมิได้บังคับว่าจะต้องนำมาคำนวณภาษีโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ค่าเช่าซึ่งรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินไว้ด้วยเป็นหลักในการคำนวณอันเป็นการไม่ชอบจึงไม่อาจนำค่ารายปีดังกล่าวมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท พ. และบริษัท ร. มิใช่ค่าเช่าที่ดินอย่างเดียว หากแต่เป็นเงินค่าสิทธิที่โจทก์จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำด้วย ที่จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวมากำหนดเป็นค่ารายปีเป็นการไม่ถูกต้องขอให้แก้ไขใบแจ้งการประเมินคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาซึ่งจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้วโจทก์ไม่จำต้องบรรยายคำฟ้องด้วยว่า ค่าเช่าจำนวนเท่าใด ค่าสิทธิ ที่จะซื้อที่ดินในราคาต่ำจำนวนเท่าใด คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เคลือบคลุม
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสามหาได้ให้ถือว่าค่าเช่าเป็นค่ารายปีโดยเด็ดขาดไม่ เพราะค่ารายปีหมายความว่าจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 8 วรรคสอง หากค่าเช่ามิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของ ทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้น ได้รับประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ตามมาตรา 8 วรรคสาม การนำสืบว่า ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำจึงหาต้องห้ามไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าค่าเช่าในสัญญาเช่าที่ดินรวม ค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำไว้ด้วย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนดค่ารายปีโดยใช้ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวเป็นหลักในการคำนวณ โดยมิได้พิจารณาถึงค่าเช่าที่แท้จริงจึงไม่ชอบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 ให้นำ ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเท่านั้นมิได้บังคับว่าจะต้องนำมาคำนวณภาษีโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ค่าเช่าซึ่งรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินไว้ด้วยเป็นหลักในการคำนวณอันเป็นการไม่ชอบจึงไม่อาจนำค่ารายปีดังกล่าวมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิซื้อที่ดิน ประเมินค่ารายปีต้องพิจารณาค่าเช่าที่แท้จริง
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันในประเด็นที่ว่าจะนำค่าเช่าที่ระบุในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้ให้เช่ามาถือเป็นค่ารายปีได้หรือไม่ มิได้โต้เถียงกันเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายของสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ เอกสารบัญชีรายรับรายจ่ายเกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ ที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นพิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท พ. และบริษัท ร. มิใช่ค่าเช่าที่ดินอย่างเดียว หากแต่เป็นเงินค่าสิทธิที่โจทก์จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำด้วย ที่จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวมากำหนดเป็นค่ารายปี เป็นการไม่ถูกต้องขอให้แก้ไขใบแจ้งการประเมิน คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ซึ่งจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายคำฟ้องด้วยว่า ค่าเช่าจำนวนเท่าใด ค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในราคาต่ำจำนวนเท่าใด คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสาม หาได้ให้ถือว่าค่าเช่าเป็นค่ารายปีโดยเด็ดขาดไม่ เพราะค่ารายปีหมายความว่าจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 8 วรรคสอง หากค่าเช่ามิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ ตามมาตรา 8 วรรคสาม การนำสืบว่าค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำจึงหาต้องห้ามไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ค่าเช่าในสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำไว้ด้วย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดค่ารายปีโดยใช้ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวเป็นหลักในการคำนวณโดยมิได้พิจารณาถึงค่าเช่าที่แท้จริงจึงไม่ชอบ
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 ให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเท่านั้น มิได้บังคับว่าจะต้องนำมาคำนวณภาษีโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ค่าเช่าซึ่งรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินไว้ด้วยเป็นหลักในการคำนวณ อันเป็นการไม่ชอบ จึงไม่อาจนำค่ารายปีดังกล่าวมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท พ. และบริษัท ร. มิใช่ค่าเช่าที่ดินอย่างเดียว หากแต่เป็นเงินค่าสิทธิที่โจทก์จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำด้วย ที่จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวมากำหนดเป็นค่ารายปี เป็นการไม่ถูกต้องขอให้แก้ไขใบแจ้งการประเมิน คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ซึ่งจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายคำฟ้องด้วยว่า ค่าเช่าจำนวนเท่าใด ค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในราคาต่ำจำนวนเท่าใด คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสาม หาได้ให้ถือว่าค่าเช่าเป็นค่ารายปีโดยเด็ดขาดไม่ เพราะค่ารายปีหมายความว่าจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 8 วรรคสอง หากค่าเช่ามิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ ตามมาตรา 8 วรรคสาม การนำสืบว่าค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำจึงหาต้องห้ามไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ค่าเช่าในสัญญาเช่าที่ดินรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินในภายหน้าในราคาต่ำไว้ด้วย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดค่ารายปีโดยใช้ค่าเช่าตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวเป็นหลักในการคำนวณโดยมิได้พิจารณาถึงค่าเช่าที่แท้จริงจึงไม่ชอบ
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 ให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษี ซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเท่านั้น มิได้บังคับว่าจะต้องนำมาคำนวณภาษีโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ค่าเช่าซึ่งรวมค่าสิทธิที่จะซื้อที่ดินไว้ด้วยเป็นหลักในการคำนวณ อันเป็นการไม่ชอบ จึงไม่อาจนำค่ารายปีดังกล่าวมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4777/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตรายได้จากการขายที่ดินและอาคาร: สัญญาพัฒนาที่ดินและการเสียภาษี
ตามหนังสือสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. จำกัด มีข้อความระบุแต่เพียงว่าให้บริษัท ส. จำกัด จำหน่าย ที่ดินของโจทก์ให้แก่บุคคลทั่วไปได้โดยให้ทำการจำหน่ายเป็นแปลงย่อย ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าโจทก์ว่าจ้างให้ บริษัท ส. จำกัด ก่อสร้างอาคารให้แก่โจทก์ แต่กลับปรากฏข้อความว่าบรรดาค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคภายในบริเวณที่ดินของโจทก์นั้น บริษัท ส. จำกัด เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น อีกทั้งตามปกติแล้วสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารจะต้องมีแบบแปลน รายละเอียดเกี่ยวกับการก่อสร้างรวมทั้งสินจ้างด้วย จึงจะเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ถึงแม้ในหนังสือสัญญาจะมีข้อความบางตอนว่าโจทก์ตกลงให้บริษัท ส. จำกัด รับเหมาก่อสร้างและ จัดจำหน่าย แต่ผู้เดียวก็ตามจะฟังว่าหนังสือสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างทำของไม่ได้
โจทก์มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาคารที่ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์เลยไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง ทำโครงการขาย หรือรับเงินจากผู้ซื้อ โจทก์เพียงแต่มอบอำนาจให้พนักงานของบริษัท ส. จำกัด ไปโอนที่ดินและอาคารที่ปลูกอยู่บน ที่ดินของโจทก์ให้แก่ผู้ซื้อเท่านั้น และบริษัท ส. จำกัด ได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะในส่วนรายรับจากการขายอาคารต่อ เจ้าพนักงานของจำเลยในนามของบริษัท ส. จำกัด แล้ว เมื่อโจทก์ตกลงให้บริษัท ส. จำกัด เข้ามาลงทุนพัฒนาที่ดินและจำหน่ายที่ดินแทนโจทก์ โดยบริษัท ส. จำกัด ได้รับผลประโยชน์จากการขายอาคารที่ปลูกสร้างบนที่ดินของโจทก์ และผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากสัญญาดังกล่าว คือสามารถขายที่ดินได้ในราคาที่โจทก์กำหนดโดยไม่ต้องลงทุนเท่านั้น บริษัท ส. จำกัด จะขายอาคารแล้วมีผลกำไรหรือขาดทุนก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโจทก์ ดังนั้น รายรับจากการขายอาคารบนที่ดินของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นรายรับจากการประกอบกิจการของบริษัท ส. จำกัด มิใช่รายรับของโจทก์ โจทก์คงมีรายรับจากการขายที่ดินเพียงอย่างเดียวเป็นเงิน 9,336,000 บาท โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในปี 2537 จากยอดรายรับดังกล่าว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากรายรับซึ่งคำนวณจากราคาที่ดินและอาคารรวมกันจึงไม่ชอบ
โจทก์มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาคารที่ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์เลยไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง ทำโครงการขาย หรือรับเงินจากผู้ซื้อ โจทก์เพียงแต่มอบอำนาจให้พนักงานของบริษัท ส. จำกัด ไปโอนที่ดินและอาคารที่ปลูกอยู่บน ที่ดินของโจทก์ให้แก่ผู้ซื้อเท่านั้น และบริษัท ส. จำกัด ได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะในส่วนรายรับจากการขายอาคารต่อ เจ้าพนักงานของจำเลยในนามของบริษัท ส. จำกัด แล้ว เมื่อโจทก์ตกลงให้บริษัท ส. จำกัด เข้ามาลงทุนพัฒนาที่ดินและจำหน่ายที่ดินแทนโจทก์ โดยบริษัท ส. จำกัด ได้รับผลประโยชน์จากการขายอาคารที่ปลูกสร้างบนที่ดินของโจทก์ และผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากสัญญาดังกล่าว คือสามารถขายที่ดินได้ในราคาที่โจทก์กำหนดโดยไม่ต้องลงทุนเท่านั้น บริษัท ส. จำกัด จะขายอาคารแล้วมีผลกำไรหรือขาดทุนก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโจทก์ ดังนั้น รายรับจากการขายอาคารบนที่ดินของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นรายรับจากการประกอบกิจการของบริษัท ส. จำกัด มิใช่รายรับของโจทก์ โจทก์คงมีรายรับจากการขายที่ดินเพียงอย่างเดียวเป็นเงิน 9,336,000 บาท โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในปี 2537 จากยอดรายรับดังกล่าว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้โจทก์เสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากรายรับซึ่งคำนวณจากราคาที่ดินและอาคารรวมกันจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับชำระหนี้ล่าช้าทำให้สิทธิเรียกร้องหนี้ทั้งหมดทันทีสิ้นสุดลง ต้องมีการบอกกล่าวเตือนก่อน
โจทก์ยอมรับเงินค่างวดที่จำเลยผิดนัดชำระให้แก่โจทก์เรื่อยมาโดยไม่ได้อิดเอื้อนหรือโต้แย้งสงวนสิทธิของโจทก์ที่จะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยในกรณีดังกล่าวไว้เลย พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยแสดงออกต่อกันเช่นนี้ต่างมิได้ถือเอากำหนดวันปฏิทินให้จำเลยชำระเงินแต่ละงวดตามสัญญากู้เงินเป็นสาระสำคัญต่อไป และถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระเงินแต่ละงวดล่าช้าไปกว่าวันที่กำหนดไว้ตามสัญญากู้เงินเป็นการผิดนัดกันอีกแล้ว ดังนั้นเมื่อถึงงวดชำระ จำเลยไม่ชำระเงินให้โจทก์ จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยผิดนัด อันจะก่อให้โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมดคืนได้ทันทีตามสัญญากู้เงิน เว้นแต่โจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินงวดที่ค้างในกำหนดเวลาพอสมควรก่อน หากจำเลยไม่ชำระจึงจะถือได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดเพราะโจทก์ได้เตือนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 และ 204 วรรคหนึ่ง
โจทก์เรียกให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดคืนให้แก่โจทก์โดยอ้างเหตุกล่าวหาว่าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระเงินให้โจทก์ตามกำหนดเท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสิทธิที่โจทก์พึงมีตามสัญญากู้เงินข้อ 7 แม้จำเลยไม่ผิดนัดก็ตาม แต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัดชำระเงินให้แก่โจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจากจำเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ผิดนัดแล้ว ก็ย่อมพิพากษายกฟ้องได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยถึงสิทธิอื่นใดของโจทก์อีก เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในคดี ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์ตามสัญญากู้เงิน โดยเห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการชอบแล้ว
โจทก์เรียกให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดคืนให้แก่โจทก์โดยอ้างเหตุกล่าวหาว่าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระเงินให้โจทก์ตามกำหนดเท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสิทธิที่โจทก์พึงมีตามสัญญากู้เงินข้อ 7 แม้จำเลยไม่ผิดนัดก็ตาม แต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัดชำระเงินให้แก่โจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจากจำเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ผิดนัดแล้ว ก็ย่อมพิพากษายกฟ้องได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยถึงสิทธิอื่นใดของโจทก์อีก เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในคดี ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์ตามสัญญากู้เงิน โดยเห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4728/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: การยึดทรัพย์ซ้ำภายใน 10 ปีหลังมีคำพิพากษา แม้ทรัพย์เดิมถูกยึดแล้วแต่ไม่สำเร็จ ยังคงมีสิทธิยึดได้
การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาต้องดำเนินการตามขั้นตอน ขั้นแรกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ขั้นต่อไปต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดี และจากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 275 และ 278
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเคยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยขณะที่ยังเป็นใบจอง โดยได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนแล้วภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา แต่ในขณะยึดที่ดินดังกล่าวไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีจึงจ่ายเงินจากการขายทอดตลาดให้โจทก์ไม่ได้ เมื่อจำเลยขอออกโฉนดที่ดินแล้วและโจทก์มาขอนำยึดที่ดินดังกล่าวใหม่อีกครั้งหนึ่ง แม้จะเกินสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแต่ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 ไว้แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินซึ่งเป็นที่ดินแปลงเดิมของจำเลยได้
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเคยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยขณะที่ยังเป็นใบจอง โดยได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนแล้วภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา แต่ในขณะยึดที่ดินดังกล่าวไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีจึงจ่ายเงินจากการขายทอดตลาดให้โจทก์ไม่ได้ เมื่อจำเลยขอออกโฉนดที่ดินแล้วและโจทก์มาขอนำยึดที่ดินดังกล่าวใหม่อีกครั้งหนึ่ง แม้จะเกินสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแต่ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 ไว้แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินซึ่งเป็นที่ดินแปลงเดิมของจำเลยได้