คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีวัฒน์ แดงทองดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4728/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเมื่อสำนวนถูกปลดออก โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับคดีจากทรัพย์เดิมได้หากเคยยึดทรัพย์นั้นไว้ภายใน 10 ปี
การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาต้องดำเนินการตามขั้นตอนขั้นแรกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ขั้นต่อไปต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดี และจากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 275 และ 278
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเคยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยขณะที่ยังเป็นใบจอง โดยได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนแล้วภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา แต่ในขณะยึดที่ดินดังกล่าวไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีจึงจ่ายเงินจากการขายทอดตลาดให้โจทก์ไม่ได้ เมื่อจำเลยขอออกโฉนดที่ดินแล้วและโจทก์มาขอนำยึดที่ดินดังกล่าวใหม่อีกครั้งหนึ่ง แม้จะเกินสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแต่ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ไว้แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินซึ่งเป็นที่ดินแปลงเดิม ของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทด้วยการกล่าวหาพัวพันยาเสพติด ส่งผลเสียต่อชื่อเสียงและอนาคตทางการเมือง จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และความผิดต่อพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2485 มาตรา 48 ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย ข้อเท็จจริงในคดีอาญารับฟังว่า จำเลยใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณาด้วยเอกสาร โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ เป็นคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คำพิพากษา ส่วนอาญาย่อมผูกพันจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46จำเลยไม่อาจโต้เถียงข้อเท็จจริงให้รับฟังเป็นอย่างอื่นได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 423 วรรคหนึ่ง
แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 447จะบัญญัติให้จำเลยในคดีแพ่งรับผิดชอบจัดการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์อันเป็นทางแก้เพื่อให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์กลับคืนดีก็ตาม แต่เมื่อในคดีอาญาศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในคดีส่วนอาญาในหนังสือพิมพ์โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณาแล้วเป็นการเพียงพอที่จะแก้ไขให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีแล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้องโฆษณาในคดีส่วนแพ่งต่อไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าโดยบันดาลโทสะ vs. ไตร่ตรองไว้ก่อน: พิจารณาจากคำด่าและพฤติการณ์ของผู้ตาย
แม้ ว.เจ้าของร้านอาหารที่เกิดเหตุและท.ลูกจ้างของว.พยานโจทก์ที่อยู่ในร้านอาหารเกิดเหตุจะเบิกความต้องกันว่า จำเลยเข้ามาในร้านอาหารแล้วทวงถามหนี้จากผู้ตาย โดย ท. เบิกความว่าผู้ตายโกรธจำเลยและด่าจำเลยด้วยถ้อยคำหยาบ ๆ คาย ๆ ว่า "ไอ้หน้าหีหน้าแตดเจอทีไรต้องทวงหนี้ทุกที กูไม่ใช้มึง มึงอยากได้ มึงก็ไปฟ้องเอา ถ้ามึงไม่ฟ้องไม่ใช่ลูกผู้ชาย" ซึ่งถ้อยคำด่าดังกล่าวนี้แม้จะทำให้จำเลยมีความอับอายต่อหน้าบุคคลอื่นที่อยู่ในร้านอาหารที่เกิดเหตุขณะนั้นได้แต่ก็เป็นเพียงถ้อยคำที่หยาบคายตามปกติที่หากผู้ตายเป็นวิญญูชนโดยทั่วไปแล้วก็ไม่สมควรที่จะกล่าวออกมาเท่านั้น เมื่อผู้ตายด่าว่าจำเลยแล้วก็ลุกออกเดินจะไปที่รถยนต์ของผู้ตายที่จอดอยู่ใกล้ ๆ กับหน้าร้านอาหารที่เกิดเหตุ โดยไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้กระทำใด ๆ อันเป็นการคุกคามต่อความปลอดภัยในร่างกายหรือทรัพย์สินของจำเลยอีก พฤติการณ์ของผู้ตายที่แสดงต่อจำเลยยังถือไม่ได้ว่าได้กระทำการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยใช้อาวุธปืนเล็กกล (เอ็ม 16) ซึ่งจำเลยรู้ดีว่าเป็นอาวุธปืนที่มีอานุภาพร้ายแรงยิงผู้ตายเป็นการกระทำไปด้วยความโกรธขาดสติ จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าฆ่าผู้ตายโดยเหตุบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
การไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นภาวะทางจิตใจของจำเลยที่จะต้องคิดทบทวนตกลงใจว่า จะฆ่าผู้ตายก่อนที่จะลงมือกระทำ ซึ่งเป็นการยากที่จะหยั่งรู้ได้โดยตรง การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายที่ร้านอาหารที่เกิดเหตุ แม้จะได้ความว่าสาเหตุที่จำเลยฆ่าผู้ตายเนื่องมาจากเหตุที่ผู้ตายยืมเงินจำเลยจำนวนมากถึง 205,000 บาท จำเลยทวงถามหลายครั้งแล้วผู้ตายไม่ยอมชำระก็ตาม แต่การกู้ยืมเงินกันระหว่างจำเลยกับผู้ตายก็ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินกันไว้ ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะฟ้องบังคับเองได้โดยชอบด้วยกฎหมาย พฤติการณ์ของจำเลยตามที่โจทก์นำสืบมายังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยได้คิดทบทวนตัดสินใจที่จะฆ่าผู้ตายที่ไม่ยอมชำระหนี้ให้จำเลยไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีปลอมแปลงเอกสารสัญญาเช่า และเบิกความเท็จต่อศาล ไม่เป็นความผิด ฐานปลอมแปลงเอกสาร
แม้จำเลยที่ 1 จะทำสำเนาภาพถ่ายสัญญาเช่าเพื่อการลงทุนปลูกสร้างอาคารศูนย์การค้าและโรงแรมขึ้นมาโดยการปกปิดข้อเท็จจริงบางประการไว้ แต่หากไม่ได้ทำให้เนื้อความตามข้อสัญญาต้องเปลี่ยนแปลงไปมีความหมายเป็นอย่างอื่นหรือเพิ่มเติมข้อความใหม่ให้แตกต่างไปแทนที่ข้อเท็จจริงที่ปกปิดไว้แล้วย่อมมีสิทธิที่จะทำได้ การปกปิดข้อเท็จจริงบางอย่างไว้เช่นนั้นจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการตัดทอนข้อความอันจะเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร อีกทั้งการกระทำดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดหรือไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยปกปิดข้อเท็จจริงดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264
เมื่อสำเนาภาพถ่ายสัญญาเช่าเพื่อการลงทุนปลูกสร้างอาคารศูนย์การค้าและโรงแรมดังกล่าวไม่เป็นเอกสารปลอมแล้ว การที่จำเลยเบิกความในคดีอาญาอ้างถึงสัญญาดังกล่าวจึงไม่อาจถือว่าเป็นการเบิกความเท็จได้ เพราะได้มีการทำสัญญาดังกล่าวกันจริง ทั้งจำเลยก็เบิกความไปตามที่ระบุไว้ในสัญญานั้น อีกทั้งศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อความที่ถูกปกปิดมิใช่เป็นข้อสำคัญในคดีที่โจทก์ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทจำเลยที่ 1 จึงมิได้หยิบยกขึ้นมาวินิจฉัย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปกปิดข้อความในสัญญาเช่าเพื่อการลงทุน ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร หากเนื้อความหลักไม่เปลี่ยนแปลง
แม้จำเลยจะทำสำเนาภาพถ่ายสัญญาเช่าเพื่อการลงทุนปลูกสร้างอาคารศูนย์การค้าและโรงแรมขึ้นมาโดยการปกปิดข้อเท็จจริงบางประการไว้ แต่หากไม่ได้ทำให้เนื้อความตามข้อสัญญาต้องเปลี่ยนแปลงไปมีความหมายเป็นอย่างอื่น หรือเพิ่มเติมข้อความใหม่ให้แตกต่างไปแทนที่ข้อเท็จจริงบางอย่างไว้เช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการตัดทอนข้อความอันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร อีกทั้งการกระทำดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดหรือไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยปกปิดข้อเท็จจริงดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264, 265
เมื่อสำเนาภาพถ่ายสัญญาเช่าเพื่อการลงทุนปลูกสร้างอาคารศูนย์การค้าและโรงแรมดังกล่าวไม่เป็นเอกสารปลอมแล้ว การที่จำเลยเบิกความในคดีอาญาอ้างถึงสัญญาดังกล่าวจึงไม่อาจถือว่าเป็นการเบิกความเท็จได้ เพราะได้มีการทำสัญญาดังกล่าวกันจริง ทั้งจำเลยก็เบิกความไปตามที่ระบุไว้ในสัญญานั้น อีกทั้งศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อความที่ถูกปกปิดมิใช่เป็นข้อความสำคัญในคดีที่โจทก์ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาท จึงมิได้หยิบยกขึ้นมาวินิจฉัย จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองและจำหน่ายยาเสพติดโดยเจตนา และการมีส่วนรู้เห็นร่วมกันกระทำผิด
จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 12 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำนวน 2 เม็ด ให้แก่สายลับของเจ้าพนักงานตำรวจที่ไปล่อซื้อ เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นตัวจำเลยที่ 2 พบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด อยู่ในกระเป๋าด้านหน้าข้างขวาที่จำเลยที่ 2 สวมใส่อยู่เมื่อจำเลยที่ 2 ยืนอยู่กับจำเลยที่ 1 ในขณะที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ ทั้งในตัวของจำเลยที่ 2 ยังมีเมทแอมเฟตามีนถึง 10 เม็ด เช่นนี้พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนรู้เห็นกับจำเลยที่ 1 ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา241 วรรคสอง บัญญัติแต่เพียงว่า ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องสอบถามผู้ต้องหาก่อนเริ่มการสอบสวน แม้หากพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยโดยไม่ได้ถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวก่อนก็ตาม ก็ไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญฯการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ต้องหาในการมีทนายความร่วมฟังการสอบสวน: พนักงานสอบสวนไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งสิทธิ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 241 วรรคสองบัญญัติแต่เพียงว่า ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องสอบถามผู้ต้องหาก่อนเริ่มการสอบสวน ดังนั้น แม้หากพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยโดยไม่ได้ถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวก่อนดังที่จำเลยอ้างก็ตามก็ไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันจำหน่ายยาเสพติด: พฤติการณ์เชื่อได้ว่ามีส่วนรู้เห็นและมีส่วนร่วม
จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 12 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำนวน 2 เม็ด ให้แก่สายลับของเจ้าพนักงานตำรวจที่ไปล่อซื้อ เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นตัวจำเลยที่ 2 พบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ดอยู่ในกระเป๋าด้านหน้าข้างขวาที่จำเลยที่ 2 สวมใส่อยู่เมื่อจำเลยที่ 2ยืนอยู่กับจำเลยที่ 1 ในขณะที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ ทั้งในตัวของจำเลยที่ 2 ยังมีเมทแอมเฟตามีนถึง 10 เม็ดเช่นนี้พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนรู้เห็นกับจำเลยที่ 1ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 241 วรรคสอง บัญญัติแต่เพียงว่า ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องสอบถามผู้ต้องหาก่อนเริ่มการสอบสวน แม้หากพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยโดยไม่ได้ถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวก่อนก็ตาม ก็ไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญฯ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากการเช่าเครื่องจักร และการประเมินภาษีการค้าที่ถูกต้อง
โจทก์ประกอบกิจการให้เช่าเครื่องจักรผลิตกล่องและบรรจุอาหารโดยโจทก์เช่าเครื่องจักรจากบริษัทในประเทศสิงคโปร์แล้วนำมาให้ลูกค้าในประเทศไทยเช่าช่วง ค่าเช่าพื้นฐานที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้ให้เช่ารวมทั้งค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเครื่องจักรที่เช่าเป็นรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิการเช่าเครื่องจักร ซึ่งสิทธิการเช่า เครื่องจักรนี้ถือเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง การได้มาซึ่งสิทธิการเช่า จึงเป็นการได้สิทธิในทรัพย์สิน และเนื่องจากสิทธิการเช่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่กิจการของโจทก์เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี จึงถือว่า เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน โจทก์จึงไม่มีสิทธินำไปหักเป็นรายจ่ายทั้งจำนวนในรอบระยะเวลาบัญชีที่โจทก์นำเครื่องจักรดังกล่าว ออกให้เช่าช่วง โจทก์คงมีสิทธิทยอยหักในรูปของค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา เมื่อการเช่าเครื่องจักรระหว่างโจทก์กับผู้ให้เช่าเป็นการเช่า ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจึงหักได้ไม่เกินรอบระยะเวลาบัญชีละร้อยละ 10 ตามมาตรา 4(3) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 การที่เจ้าพนักงานประเมิน นำรายจ่ายดังกล่าวมาเฉลี่ยหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเป็นเวลา10 ปี จึงชอบด้วยกฎหมาย
ลูกค้าเช่าช่วงเครื่องจักรจากโจทก์เพื่อนำไปผลิตกล่องใช้บรรจุนมและผลไม้ โจทก์คิดค่าเช่าช่วงตามจำนวนกล่องที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าที่บรรจุในกล่องได้แล้ว ซึ่งจะมีการบันทึกไว้ในมิเตอร์ของเครื่องจักรในแต่ละเดือน สิทธิของโจทก์ที่เรียกให้ผู้เช่าช่วงรับผิดในจำนวนเงิน ค่าเช่าช่วงจึงเกิดขึ้นในวันที่ผู้เช่าช่วงผลิตกล่องที่บรรจุนมและน้ำผลไม้ และจำหน่ายได้แล้ว รายได้จากค่าเช่าช่วงจึงเกิดขึ้นในวันดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์สิทธิ โจทก์ต้องนำรายได้ตามหนี้ดังกล่าวมารวมคำนวณ ภาษีเงินได้นิติบุคคลในวันดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง ที่โจทก์อ้างว่าผู้เช่าช่วงจะส่งรายงานเป็นหนังสือระบุจำนวนกล่องที่ผลิต ได้จากเครื่องจักรในระหว่างเดือนปฏิทินที่ผ่านมาให้แก่โจทก์ไม่ช้ากว่าวันที่ 20 ของทุกเดือนปฏิทิน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะออกใบแจ้งหนี้ และเรียกเก็บค่าเช่าช่วงจากผู้เช่าช่วงได้ก่อนที่ผู้เช่าช่วงจะรายงานแจ้งจำนวนการผลิตของเดือนที่ผ่านมา โจทก์จึงต้องบันทึกรายได้ค่าเช่าของเดือนที่ผ่านมาเป็นรายได้ของเดือนที่ออกใบแจ้งหนี้นั้น เป็นเพียงวิธีการชำระเงินค่าเช่าช่วงตามสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับผู้เช่าช่วงเท่านั้น และเป็นเรื่องกิจการภายในธุรกิจของโจทก์เอง โจทก์จะนำ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับผู้เช่าช่วงมาเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การ จัดเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากรหาได้ไม่ การบันทึกรายได้ค่าเช่ารับ ตามขนาดและยอดการผลิตที่โจทก์บันทึกไว้จึงเหลื่อมเดือนกัน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินนำค่าเช่าที่คำนวณจากยอดการผลิตและ จำหน่ายได้แล้วซึ่งโจทก์คำนวณไว้มาบันทึกรายได้ให้ถูกต้องตาม เงื่อนไขของมาตรา 65 วรรคสอง จึงถือเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วย กฎหมายแล้ว
ประเด็นที่ว่าหากรายจ่ายค่าเช่าพื้นฐานของโจทก์ต้องเฉลี่ย หักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในระยะเวลา 10 ปีแล้ว รายได้ ค่าเช่าพื้นฐานที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าช่วงและโจทก์ได้ลงเป็นรายรับ ในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับรายจ่ายค่าเช่าพื้นฐานก็ต้องปรับปรุงเป็นรายได้เฉลี่ย 10 ปี เช่นเดียวกันตามหลักการบัญชีว่าด้วยการรับรู้ รายได้และรายจ่ายโดยใช้เกณฑ์สิทธิและหลักการจับคู่รายจ่ายกับ รายได้นั้น แม้โจทก์จะกล่าวอ้างมาในคำฟ้องและจำเลยให้การต่อสู้ แต่ในชั้นชี้สองสถานเมื่อศาลภาษีอากรกลางมิได้กำหนดเป็นประเด็น ข้อพิพาท โจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน อุทธรณ์ของโจทก์เกี่ยวกับ ประเด็นนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณา คดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับนั้น โจทก์มิได้ยกปัญหา ดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง จึงเป็น ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ให้ส่วนลดเพื่อจูงใจลูกค้าของบริษัทโดยกำหนดหลักเกณฑ์การให้ส่วนลดไว้แน่นอนและใช้สำหรับลูกค้าทุกรายของโจทก์ดังนี้ (1) ลูกค้าที่บรรจุและขายผลิตภัณฑ์บริษัทได้มากกว่า 5 ล้านกล่อง จะให้ส่วนลดร้อยละ 2 ของราคาวัตถุดิบ (2) ลูกค้าที่บรรจุและขาย ผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้มากกว่า 75 ล้านกล่องจะให้ส่วนลดร้อยละ 3 ของราคาวัตถุดิบ การให้ส่วนลดนี้ถ้าลูกค้าสามารถบรรจุและขาย ผลิตภัณฑ์ได้มากแล้ว โจทก์จะมีรายได้เพิ่มขึ้น ค่าส่วนลดที่โจทก์ ให้แก่ลูกค้าตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายเพื่อประกอบธุรกิจตามวัตถุประสงค์ของโจทก์อันเกี่ยวข้องกับธุรกิจของโจทก์โดยตรง โจทก์ย่อมนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร และลำพังเพียงแต่ โจทก์ไม่ได้แจ้งให้ลูกค้าของโจทก์ทราบทุกรายถึงแผนการให้ส่วนลดดังกล่าวก็ยังไม่อาจถือว่าส่วนลดดังกล่าวเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะ เป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หาหรือการกุศลตามมาตรา 65 ตรี (3)แห่งประมวลรัษฎากร อันจะเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นภาษี: การรับรู้รายได้-รายจ่ายตามเกณฑ์สิทธิ, ส่วนลดลูกค้า, และรายจ่ายต้องห้ามทางภาษี
โจทก์คิดค่าเช่าช่วงตามยอดการผลิต ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนกล่องที่ผลิตได้จากเครื่องจักรที่ผ่านการบรรจุและจำหน่ายได้แล้วกับผู้เช่าช่วงทุกรายของโจทก์ เมื่อผู้เช่าช่วงเครื่องจักรจากโจทก์ทำการผลิตกล่องที่บรรจุนมและน้ำผลไม้และจำหน่ายได้แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้เช่าช่วงรับผิดในจำนวนเงินค่าเช่าช่วงดังกล่าวได้ในวันที่ผู้เช่าช่วงผลิตกล่องที่บรรจุนมและน้ำผลไม้และจำหน่ายได้แล้ว ถือเป็นรายได้จากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีตามหลักเกณฑ์สิทธิโจทก์ต้องนำรายได้ตามหนี้ดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในวันดังกล่าวตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง การที่ผู้เช่าช่วงส่งรายงานเป็นหนังสือระบุจำนวนกล่องที่ผลิตได้จากเครื่องจักรในระหว่างเดือนปฏิทินที่ผ่านมาให้แก่โจทก์ไม่ช้ากว่าวันที่ 20 ของทุกเดือนปฏิทิน เป็นเพียงวิธีการชำระเงินค่าเช่าช่วงตามสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับผู้เช่าช่วงเท่านั้น และเป็นเรื่องกิจการภายในธุรกิจของโจทก์เอง โจทก์จะนำข้อตกลงระหว่างโจทก์กับผู้เช่าช่วงมาเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรหาได้ไม่ และเมื่อโจทก์บันทึกรายได้ค่าเช่ารับตามขนาดและยอดการผลิตเหลื่อมเดือนกัน จึงมีผลทำให้โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงยอดรายรับของแต่ละเดือนเหลื่อมเดือนกันด้วย
การประกอบกิจการของโจทก์ โจทก์จะดำเนินการต่อเมื่อลูกค้าในประเทศได้ทำสัญญาเช่าเครื่องจักรกับโจทก์ก่อน โจทก์จึงได้ติดต่อไปยังเจ้าของเครื่องจักรในประเทศสิงคโปร์เพื่อเช่าเครื่องจักรตามแบบและขนาดที่ลูกค้าในประเทศต้องการ ซึ่งโจทก์ต้องจ่ายค่าเช่าพื้นฐานให้แก่เจ้าของเครื่องจักรในประเทศสิงคโปร์รวมทั้งค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าและรายจ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตอนนำเข้าเพราะโจทก์เป็นผู้นำเข้าและผ่านพิธีศุลกากรเอง รายจ่ายต่าง ๆ ดังกล่าว จึงเป็นรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิการเช่าเครื่องจักร ซึ่งเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง การได้มาซึ่งสิทธิการเช่าจึงเป็นการได้สิทธิในทรัพย์สิน และเนื่องจากสิทธิการเช่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่กิจการของบริษัทโจทก์เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี จึงถือว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน
สัญญาเช่าไม่ได้ระบุว่ามีกำหนดระยะเวลาเช่าเท่าใด คงระบุแต่เพียงว่า ไม่ว่าเวลาใด ๆ หลังจากครบกำหนด 2 ปี นับจากวันที่การเช่ามีผลบังคับผู้เช่าอาจบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่านี้เป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบล่วงหน้า 12 เดือนมีความหมายว่าหากผู้เช่ายังไม่บอกกล่าวเลิกสัญญาแล้วผู้เช่าก็เช่าได้ต่อไปโดยไม่มีกำหนด ลักษณะเช่นนี้ถือว่าเป็นสัญญาเช่าไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อค่าเช่าพื้นฐานดังกล่าวเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเป็นการเช่าที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรดังกล่าวจึงต้องบังคับตามมาตรา4 (3) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 ซึ่งกำหนดถึงทรัพย์สินประเภทที่เป็นต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่าว่า กรณีมีหนังสือสัญญาเช่าที่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้โดยเงื่อนไขการต่ออายุนั้น เปิดโอกาสให้ต่ออายุการเช่ากันได้ต่อ ๆ ไปจะหักได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าต้นทุน การที่เจ้าพนักงานประเมินนำรายจ่ายค่าเช่าพื้นฐานของโจทก์มาเฉลี่ยหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรที่เช่ามาเป็นเวลา 10 ปี จึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้ประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์โจทก์จะกล่าวอ้างมาในคำฟ้อง และจำเลยให้การต่อสู้ แต่เมื่อศาลภาษีอากรกลางมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานและโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นดังกล่าวไว้ อุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับนั้น โจทก์มิได้ยกปัญหาดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากร ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ประชุมฝ่ายการตลาดของโจทก์ได้อนุมัติแผนการให้ส่วนลดเพื่อจูงใจลูกค้าของบริษัท ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1). สำหรับลูกค้าที่บรรจุและขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้มากกว่า 50 ล้านกล่อง จะให้ส่วนลดร้อยละ 2 (ของราคาวัตถุดิบ)(2). สำหรับลูกค้าที่บรรจุและขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้มากกว่า 75 ล้านกล่องจะให้ส่วนลดร้อยละ 3 (ของราคาวัตถุดิบ) หลักเกณฑ์การให้ส่วนลดดังกล่าวกำหนดไว้แน่นอน และใช้สำหรับลูกค้าทุกรายของโจทก์ ทั้งแผนการให้ส่วนลดเพื่อจูงใจลูกค้าของโจทก์นั้น ถ้าลูกค้าสามารถบรรจุและขายผลิตภัณฑ์ได้มากแล้ว โจทก์จะมีรายได้เพิ่มขึ้น รายจ่ายดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายเพื่อประกอบธุรกิจตามวัตถุประสงค์ของโจทก์อันเกี่ยวข้องกับธุรกิจของโจทก์โดยตรง จำเลยไม่มีหลักฐานมาสนับสนุนให้เห็นว่าลูกค้าของโจทก์ทั้ง 3 ราย ที่ได้รับส่วนลดนั้นมีความผูกพันเฉพาะกับโจทก์อย่างไรอันแสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้เลือกปฏิบัติ ลำพังเพียงแต่โจทก์ไม่ได้แจ้งให้ลูกค้าของโจทก์ทราบทุกรายถึงแผนการให้ส่วนลดนั้น ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หาหรือการกุศล เมื่อโจทก์ได้จ่ายเพื่อผลในการดำเนินธุรกิจของโจทก์หรือเพื่อกิจการของโจทก์ โจทก์ย่อมนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13)
of 34