พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้ ป.วิ.พ.มาตรา 245(1) เฉพาะคู่ความที่ไม่ได้อุทธรณ์เท่านั้น ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเกินขอบเขต
ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ใช้เฉพาะกรณีที่เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายที่มิได้อุทธรณ์เท่านั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลย คงให้แต่จำเลยร่วมรับผิด โจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยร่วมจึงขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา142, 243, 245 การที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อจำเลยร่วมหรือไม่ อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันเป็นคดีต่างหาก ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นมา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลย คงให้แต่จำเลยร่วมรับผิด โจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยร่วมจึงขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา142, 243, 245 การที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อจำเลยร่วมหรือไม่ อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันเป็นคดีต่างหาก ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นมา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีและการใช้บทบัญญัติมาตรา 245(1) คพพ. เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ใช้เฉพาะกรณีที่เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายที่มิได้อุทธรณ์เท่านั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลย คงให้แต่จำเลยร่วมรับผิด โจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยร่วมจึงขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142, 243,245 การที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อจำเลยร่วมหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันเป็นคดีต่างหาก ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นมา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลย คงให้แต่จำเลยร่วมรับผิด โจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยร่วมจึงขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142, 243,245 การที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อจำเลยร่วมหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันเป็นคดีต่างหาก ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นมา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4006/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแสดงแบบและลิขสิทธิ์: การผลิตผลงานในรูปแบบต่างๆ ไม่ผิดสัญญาหากไม่ได้ห้ามไว้ชัดเจน
บริษัทจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นนิติบุคคลก็มีสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ต่างหากจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นกรรมการ ดังนั้น การกระทำใด ๆของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ว่าจะเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 อันถือว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำการนั้นเสมอไป ต้องพิจารณาว่าการที่จำเลยที่ 2 กระทำนั้นเป็นการกระทำในฐานะเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 หรือไม่ด้วย
เมื่อสัญญาว่าจ้างถ่ายแสดงแบบมิได้ระบุห้ามจำเลยที่ 2 มิให้บันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ในรูปแบบอื่นนอกจากเป็นม้วนเทปวีดีโอไว้โดยชัดแจ้งและสัญญาว่าจ้าง ข้อ 3 กำหนดให้ลิขสิทธิ์ที่เกิดจากการทำงานครั้งนี้ตกเป็นของจำเลยที่ 2 ผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ 2จึงมีสิทธิในงานบันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ดังกล่าวอันเป็นงานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 6 จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะนำงานนั้นมาทำซ้ำหรือบันทึกภาพของโจทก์ดังกล่าวซ้ำในรูปแบบของม้วนเทปวีดีโอหรือแผ่นซีดีหรือแผ่นเลเซอร์ดิสก์อย่างหนึ่งอย่างใดออกจำหน่ายได้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15(1) การกระทำของจำเลยที่ 2ไม่เป็นการผิดสัญญาว่าจ้าง และไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ตามสัญญาว่าจ้าง จำเลยที่ 1จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ส่วนที่จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้จัดจำหน่ายม้วนเทปวีดีโอ แผ่นซีดีและแผ่นเลเซอร์ดิสก์นั้น ก็เป็นการจัดจำหน่ายสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำของจำเลยที่ 1จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์มิใช่ผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว
เมื่อสัญญาว่าจ้างถ่ายแสดงแบบมิได้ระบุห้ามจำเลยที่ 2 มิให้บันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ในรูปแบบอื่นนอกจากเป็นม้วนเทปวีดีโอไว้โดยชัดแจ้งและสัญญาว่าจ้าง ข้อ 3 กำหนดให้ลิขสิทธิ์ที่เกิดจากการทำงานครั้งนี้ตกเป็นของจำเลยที่ 2 ผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ 2จึงมีสิทธิในงานบันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ดังกล่าวอันเป็นงานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 6 จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะนำงานนั้นมาทำซ้ำหรือบันทึกภาพของโจทก์ดังกล่าวซ้ำในรูปแบบของม้วนเทปวีดีโอหรือแผ่นซีดีหรือแผ่นเลเซอร์ดิสก์อย่างหนึ่งอย่างใดออกจำหน่ายได้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15(1) การกระทำของจำเลยที่ 2ไม่เป็นการผิดสัญญาว่าจ้าง และไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ตามสัญญาว่าจ้าง จำเลยที่ 1จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ส่วนที่จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้จัดจำหน่ายม้วนเทปวีดีโอ แผ่นซีดีและแผ่นเลเซอร์ดิสก์นั้น ก็เป็นการจัดจำหน่ายสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำของจำเลยที่ 1จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์มิใช่ผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4006/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของบริษัทและกรรมการ, ลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์, การจัดจำหน่ายสำเนาถูกต้องตามกฎหมาย
บริษัทจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นนิติบุคคลก็มีสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ต่างหากจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นกรรมการ ดังนั้น การกระทำใด ๆ ของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ว่าจะเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 อันถือว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการนั้นเสมอไป ต้องพิจารณาว่าการที่จำเลยที่ 2 กระทำนั้นเป็นการกระทำในฐานะเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 หรือไม่ด้วย
เมื่อสัญญาว่าจ้างถ่ายแสดงแบบมิได้ระบุห้ามจำเลยที่ 2 มิให้บันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ในรูปแบบอื่นนอกจากเป็นม้วนเทปวิดีโอไว้โดยชัดแจ้งและสัญญาว่าจ้าง ข้อ 3 กำหนดให้ลิขสิทธิ์ที่เกิดจากการทำงานครั้งนี้ตกเป็นของจำเลยที่ 2 ผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ 2 จึงมีลิขสิทธิ์ในงานบันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ดังกล่าวอันเป็นงานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 6 จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะนำงานนั้นมาทำซ้ำหรือบันทึกภาพของโจทก์ดังกล่าวซ้ำในรูปแบบของม้วนเทปวิดีโอ หรือแผ่นซีดี หรือแผ่นเลเซอร์ดิสก์อย่างหนึ่งอย่างใดออกจำหน่ายได้ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15 (1) การกระทำของจำเลยที่ 2ไม่เป็นการผิดสัญญาว่าจ้าง และไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ตามสัญญาว่าจ้าง จำเลยที่ 1จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ส่วนที่จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้จัดจำหน่ายม้วนเทปวิดีโอ แผ่นซีดี และแผ่นเลเซอร์ดิสก์นั้น ก็เป็นการจัดจำหน่ายสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์มิใช่ผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว
เมื่อสัญญาว่าจ้างถ่ายแสดงแบบมิได้ระบุห้ามจำเลยที่ 2 มิให้บันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ในรูปแบบอื่นนอกจากเป็นม้วนเทปวิดีโอไว้โดยชัดแจ้งและสัญญาว่าจ้าง ข้อ 3 กำหนดให้ลิขสิทธิ์ที่เกิดจากการทำงานครั้งนี้ตกเป็นของจำเลยที่ 2 ผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ 2 จึงมีลิขสิทธิ์ในงานบันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ดังกล่าวอันเป็นงานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 6 จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะนำงานนั้นมาทำซ้ำหรือบันทึกภาพของโจทก์ดังกล่าวซ้ำในรูปแบบของม้วนเทปวิดีโอ หรือแผ่นซีดี หรือแผ่นเลเซอร์ดิสก์อย่างหนึ่งอย่างใดออกจำหน่ายได้ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15 (1) การกระทำของจำเลยที่ 2ไม่เป็นการผิดสัญญาว่าจ้าง และไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ตามสัญญาว่าจ้าง จำเลยที่ 1จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ส่วนที่จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้จัดจำหน่ายม้วนเทปวิดีโอ แผ่นซีดี และแผ่นเลเซอร์ดิสก์นั้น ก็เป็นการจัดจำหน่ายสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์มิใช่ผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3864/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมคดีอาญาที่ความผิดเกี่ยวพันต่อเนื่องกัน การนับโทษจำคุกที่เกินกำหนดตามกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า คดีนี้กับคดีก่อนมีลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวเกี่ยวพันกัน จำเลยและผู้เสียหายเป็นบุคคลคนเดียวกัน โจทก์จึงอาจจะฟ้องคดีทั้งสองสำนวนเป็นคดีเดียวกัน แต่ปรากฏว่าโจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนโดยศาลชั้นต้นมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองทุกกรรมและจำคุกจำเลยทั้งสองมีกำหนด 20 ปีเต็มตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) ในคดีก่อนแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจนำโทษของจำเลยทั้งสองในคดีนี้ไปนับต่อกับโทษของจำเลยทั้งสองในคดีก่อนของศาลชั้นต้นได้ เพราะจะทำให้จำเลยทั้งสองต้องรับโทษจำคุกเกินกำหนดที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) บัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายภริยา: ศาลฎีกาแก้ไขความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายทางกาย และลดโทษพร้อมรอการลงโทษ
จำเลยใช้อาวุธมีดของกลางทำร้ายผู้เสียหายซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย มีบาดแผลที่คอและข้อมือซ้าย ตามรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ระบุว่า ผู้เสียหายมีบาดแผลฉีกขาดที่คอไม่ลึกยาว 3 เซนติเมตร กับแผลฉีกขาดที่ข้อมือซ้ายขนาด 4x1 เซนติเมตรลึก 2 เซนติเมตร มีเอ็นฉีกขาดและเส้นเลือดแดงเล็กฉีกขาด ต้องใช้เวลารักษาประมาณ 21 ถึง 28 วัน จึงจะหายเป็นปกติ แต่ผู้เสียหายเบิกความตอบโจทก์ว่านอนพักรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลประมาณ 7 วัน และตอบทนายจำเลยถามค้านว่าเอ็นข้อมือซ้ายไม่ขาด ดังนี้ แม้แพทย์ผู้ตรวจรักษาจะมาเบิกความยืนยันบาดแผล แต่ที่ ระบุว่าต้องรักษาบาดแผลประมาณ 21 ถึง 28 วัน ก็เป็นเพียงความเห็น ของแพทย์เกี่ยวกับการรักษาบาดแผลให้หายเป็นปกติโดยคาดคะเนเอาเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏว่าบาดแผลดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้เสียหายต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันตลอดระยะเวลานั้นด้วย จึงฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)
จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวน แม้ในชั้นพิจารณาจำเลยให้การปฏิเสธ แต่จำเลยก็อ้างตัวเองเบิกความเป็นพยานทำนองรับสารภาพความผิดทุกข้อหาตามฟ้อง และข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าจำเลยกับผู้เสียหายเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย หลังเกิดเหตุยังคงอยู่กินด้วยกัน ประกอบกับผู้เสียหายยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและศาลฎีกาขอให้รอการลงโทษแก่จำเลย ตามพฤติการณ์จึงสมควรลดโทษแก่จำเลยกึ่งหนึ่งและรอการลงโทษแก่จำเลยด้วย
จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวน แม้ในชั้นพิจารณาจำเลยให้การปฏิเสธ แต่จำเลยก็อ้างตัวเองเบิกความเป็นพยานทำนองรับสารภาพความผิดทุกข้อหาตามฟ้อง และข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าจำเลยกับผู้เสียหายเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย หลังเกิดเหตุยังคงอยู่กินด้วยกัน ประกอบกับผู้เสียหายยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและศาลฎีกาขอให้รอการลงโทษแก่จำเลย ตามพฤติการณ์จึงสมควรลดโทษแก่จำเลยกึ่งหนึ่งและรอการลงโทษแก่จำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3798/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใกล้ชิดวงการพนันเป็นเหตุให้สันนิษฐานว่ากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน จำเลยมีหน้าที่พิสูจน์หักล้าง
การที่จำเลยอยู่ห่างเพียง 2 ถึง 3 ก้าว ตอนที่เจ้าพนักงานตำรวจมาจับกุมคนเล่นการพนันนั้นนับว่าใกล้ชิดกับวงการพนัน ต้องด้วย ข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเล่นการพนันตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติ การพนันฯ จำเลยมีหน้าที่นำสืบหักล้าง แม้จำเลยจะมีพยานหลายปาก มาสืบว่า ตอนเกิดเหตุจำเลยนั่งกินส้มตำอยู่หลังบ้าน แต่จำเลยหาได้ ถามค้านพยานผู้จับกุมให้ปรากฏว่า โต๊ะที่จำเลยนั่งไม่ใช่โต๊ะที่ใช้ เล่นการพนัน กลับได้ความจากผู้จับกุมว่าของกลางที่ยึดได้นั้นวางอยู่ หน้าจำเลยซึ่งขณะนั้นจำเลยกำลังยืนขึ้น พยานจำเลยไม่มีน้ำหนัก หักล้างพยานโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีหลายครั้งในคดีเดียว การคำนวณค่าขึ้นศาล และการข้อยกเว้นการเลื่อนวันชี้สองสถาน
อ.ได้ยื่นคำขอถอนตัวเองออกจากการเป็นทนายโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์จะแต่งตั้งทนายความใหม่ และได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าตัวโจทก์ได้ลงลายมือชื่อรับทราบการถอนตัวออกจากการเป็นทนายความของ อ. จึงต้องถือว่า อ.ยังมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าทนายผู้มาถอนตัวได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 65 วรรคหนึ่ง การที่ศาลภาษีอากรยังไม่มีคำสั่งอนุญาตให้ อ.ถอนตัวออกจากการเป็นทนายโจทก์แต่รอไว้สั่งในวันนัดชี้สองสถานจึงชอบแล้ว
ข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2539 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 หมวด 3 ได้บัญญัติกระบวนพิจารณาในชั้นชี้สองสถานไว้โดยชัดเจนในข้อ 16ซึ่งเป็นบทบัญญัติในกรณีที่คู่ความมาศาล เพื่อศาลจะได้สอบถามให้ได้ความชัดเจนในประเด็นข้อพิพาท และข้อเท็จจริงบางอย่างที่คู่ความอาจแถลงร่วมกันได้ อย่างไรก็ดีถ้าในวันนัดชี้สองสถานคู่ความไม่มาศาล ก็ให้ศาลทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 17 และถือว่าคู่ความผู้ไม่มาศาลได้ทราบกระบวนพิจารณาในวันนั้นแล้ว ดังนี้ การที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดชี้สองสถาน จึงไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ศาลย่อมทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเท่าที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนความ การที่ ก.ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนวันนัดชี้สองสถานโดยอ้างว่าป่วย แม้จะได้ความว่า ก.ป่วยจนไม่อาจมาศาลได้จริงก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ศาลจะต้องเลื่อนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นชี้สองสถานออกไป
ศาลภาษีอากรนัดชี้สองสถานในวันที่ 19 มกราคม 2542โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานวันที่ 11 มกราคม 2542 เป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2539 ข้อ 10 วรรคหนึ่งซึ่งกำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 30 วัน ศาลภาษีอากรไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานจึงชอบแล้ว
ศาลภาษีอากรกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น เมื่อโจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล โจทก์จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบพยานที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 87
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2529 กับปีภาษี 2530 โดยเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีโจทก์ 4 ครั้ง เป็นการประเมินสำหรับปีภาษี 2529 (ครึ่งปี) 1 ครั้ง ประเมินสำหรับปีภาษี 2529 อีก 1 ครั้ง ประเมินสำหรับปีภาษี 2530 (ครึ่งปี) 1 ครั้ง และประเมินสำหรับปีภาษี 2530 อีก 1 ครั้ง ตามคำฟ้องจึงเป็นกรณีที่โจทก์รายเดียวถูกประเมินภาษีหลายคราว แล้วโจทก์รวมฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินมาเป็นคดีเดียว แต่การประเมินสำหรับปีภาษี 2529 กับปีภาษี 2530 ซึ่งมีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปี ถือได้ว่าเป็นการประเมินภาษีในปีภาษีเดียวกัน จึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกัน ดังนั้น แม้จะได้ความว่า เจ้าพนักงานของจำเลยจะทำการประเมินภาษีโจทก์รวม 4 ใบประเมิน แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2529 และปีภาษี 2530 เท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีข้อหาในการคำนวณทุนทรัพย์เพียง 2 ข้อหา คือ ทุนทรัพย์ของการประเมินสำหรับปีภาษี 2529ข้อหาหนึ่ง กับทุนทรัพย์ของการประเมินสำหรับปีภาษี 2530 อีกข้อหาหนึ่ง โจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลใน 2 ทุนทรัพย์ดังกล่าว
ข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2539 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 หมวด 3 ได้บัญญัติกระบวนพิจารณาในชั้นชี้สองสถานไว้โดยชัดเจนในข้อ 16ซึ่งเป็นบทบัญญัติในกรณีที่คู่ความมาศาล เพื่อศาลจะได้สอบถามให้ได้ความชัดเจนในประเด็นข้อพิพาท และข้อเท็จจริงบางอย่างที่คู่ความอาจแถลงร่วมกันได้ อย่างไรก็ดีถ้าในวันนัดชี้สองสถานคู่ความไม่มาศาล ก็ให้ศาลทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 17 และถือว่าคู่ความผู้ไม่มาศาลได้ทราบกระบวนพิจารณาในวันนั้นแล้ว ดังนี้ การที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดชี้สองสถาน จึงไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ศาลย่อมทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเท่าที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนความ การที่ ก.ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนวันนัดชี้สองสถานโดยอ้างว่าป่วย แม้จะได้ความว่า ก.ป่วยจนไม่อาจมาศาลได้จริงก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ศาลจะต้องเลื่อนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นชี้สองสถานออกไป
ศาลภาษีอากรนัดชี้สองสถานในวันที่ 19 มกราคม 2542โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานวันที่ 11 มกราคม 2542 เป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2539 ข้อ 10 วรรคหนึ่งซึ่งกำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 30 วัน ศาลภาษีอากรไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานจึงชอบแล้ว
ศาลภาษีอากรกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น เมื่อโจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล โจทก์จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบพยานที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 87
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2529 กับปีภาษี 2530 โดยเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีโจทก์ 4 ครั้ง เป็นการประเมินสำหรับปีภาษี 2529 (ครึ่งปี) 1 ครั้ง ประเมินสำหรับปีภาษี 2529 อีก 1 ครั้ง ประเมินสำหรับปีภาษี 2530 (ครึ่งปี) 1 ครั้ง และประเมินสำหรับปีภาษี 2530 อีก 1 ครั้ง ตามคำฟ้องจึงเป็นกรณีที่โจทก์รายเดียวถูกประเมินภาษีหลายคราว แล้วโจทก์รวมฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินมาเป็นคดีเดียว แต่การประเมินสำหรับปีภาษี 2529 กับปีภาษี 2530 ซึ่งมีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปี ถือได้ว่าเป็นการประเมินภาษีในปีภาษีเดียวกัน จึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกัน ดังนั้น แม้จะได้ความว่า เจ้าพนักงานของจำเลยจะทำการประเมินภาษีโจทก์รวม 4 ใบประเมิน แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2529 และปีภาษี 2530 เท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีข้อหาในการคำนวณทุนทรัพย์เพียง 2 ข้อหา คือ ทุนทรัพย์ของการประเมินสำหรับปีภาษี 2529ข้อหาหนึ่ง กับทุนทรัพย์ของการประเมินสำหรับปีภาษี 2530 อีกข้อหาหนึ่ง โจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลใน 2 ทุนทรัพย์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีภาษีอากร การกำหนดประเด็นข้อพิพาท การนำสืบพยาน และค่าขึ้นศาล
อ. ได้ยื่นคำขอถอนตัวเองออกจากการเป็นทนายโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์จะแต่งตั้งทนายความใหม่และได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วเท่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าตัวโจทก์ได้ลงลายมือชื่อรับทราบการถอนตัวออกจากการเป็นทนายความของ อ. จึงต้องถือว่า อ. ยังมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าทนายผู้มาถอนตัวได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้ว ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 65 วรรคหนึ่ง การที่ศาลภาษีอากรยังไม่มีคำสั่งอนุญาตให้ อ. ถอนตัวออกจากการเป็นทนายโจทก์แต่รอไว้สั่งในวันนัดชี้สถานจึงชอบแล้ว
ข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 หมวด 3 ได้บัญญัติกระบวนพิจารณาในชั้นชี้สองสถานไว้โดยชัดเจนในข้อ 16 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในกรณีที่คู่ความมาศาล เพื่อศาลจะได้สอบถาม ให้ได้ความชัดเจนในประเด็นข้อพิพาทและข้อเท็จจริงบางอย่างที่คู่ความ อาจแถลงร่วมกันได้อย่างไรก็ดี ถ้าในวันนัดชี้สองสถานคู่ความไม่มาศาล ก็ให้ศาลทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 17 และถือว่าคู่ความผู้ไม่มาศาลได้ทราบกระบวนพิจารณาในวันนั้นแล้ว การที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดชี้สองสถาน จึงไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ศาลย่อมทำการชี้สองสถานไปได้ตาม ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเท่าที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนความ การที่ ก. ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนวันนัดชี้สองสถานโดยอ้างว่าป่วย แม้จะได้ความ ว่า ก ป่วยจริงจนไม่อาจมาศาลได้ก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ศาล จะต้องเลื่อนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นชี้สองสถานออกไป
ศาลภาษีอากรนัดชี้สองสถานในวันที่ 19 มกราคม 2542 โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานวันที่ 11 มกราคม 2542 เป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 30 วัน ศาลภาษีอากรไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานจึงชอบแล้ว
ศาลภาษีอากรกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น เมื่อโจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล โจทก์จึงไม่อาจนำพยานเข้านำสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบพยานที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2529 กับปีภาษี 2530 โดยเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีโจทก์ 4 ครั้ง เป็นการประเมินสำหรับปีภาษี 2529(ครึ่งปี)1 ครั้ง ประเมินสำหรับปีภาษี 2529 อีก 1 ครั้ง ประเมินสำหรับปีภาษี 2530(ครึ่งปี)1 ครั้ง และประเมินสำหรับปีภาษี 2530 อีก 1 ครั้งตามคำฟ้องจึงเป็นกรณีที่โจทก์รายเดียวถูกประเมินภาษีหลายคราวแล้ว โจทก์รวมฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินมาเป็นคดีเดียว แต่การประเมินสำหรับปีภาษี 2529 กับปีภาษี 2530 ซึ่งมีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปีถือได้ว่าเป็นการประเมินภาษีในปีภาษีเดียวกันจึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกันแม้จะได้ความว่าเจ้าพนักงานของจำเลยจะทำการประเมินภาษีโจทก์รวม4 ใบประเมิน แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2529 และปีภาษี 2530 เท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีข้อหาในการคำนวณทุนทรัพย์เพียง 2 ข้อหา คือ ทุนทรัพย์ของการประเมินสำหรับปีภาษี 2529ข้อหาหนึ่ง กับทุนทรัพย์ของการประเมินสำหรับปีภาษี 2530 อีกข้อหาหนึ่งโจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลใน 2 ทุนทรัพย์ ดังกล่าว
ข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 หมวด 3 ได้บัญญัติกระบวนพิจารณาในชั้นชี้สองสถานไว้โดยชัดเจนในข้อ 16 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในกรณีที่คู่ความมาศาล เพื่อศาลจะได้สอบถาม ให้ได้ความชัดเจนในประเด็นข้อพิพาทและข้อเท็จจริงบางอย่างที่คู่ความ อาจแถลงร่วมกันได้อย่างไรก็ดี ถ้าในวันนัดชี้สองสถานคู่ความไม่มาศาล ก็ให้ศาลทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 17 และถือว่าคู่ความผู้ไม่มาศาลได้ทราบกระบวนพิจารณาในวันนั้นแล้ว การที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดชี้สองสถาน จึงไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ศาลย่อมทำการชี้สองสถานไปได้ตาม ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเท่าที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนความ การที่ ก. ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนวันนัดชี้สองสถานโดยอ้างว่าป่วย แม้จะได้ความ ว่า ก ป่วยจริงจนไม่อาจมาศาลได้ก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ศาล จะต้องเลื่อนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นชี้สองสถานออกไป
ศาลภาษีอากรนัดชี้สองสถานในวันที่ 19 มกราคม 2542 โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานวันที่ 11 มกราคม 2542 เป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 30 วัน ศาลภาษีอากรไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานจึงชอบแล้ว
ศาลภาษีอากรกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น เมื่อโจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล โจทก์จึงไม่อาจนำพยานเข้านำสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบพยานที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2529 กับปีภาษี 2530 โดยเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีโจทก์ 4 ครั้ง เป็นการประเมินสำหรับปีภาษี 2529(ครึ่งปี)1 ครั้ง ประเมินสำหรับปีภาษี 2529 อีก 1 ครั้ง ประเมินสำหรับปีภาษี 2530(ครึ่งปี)1 ครั้ง และประเมินสำหรับปีภาษี 2530 อีก 1 ครั้งตามคำฟ้องจึงเป็นกรณีที่โจทก์รายเดียวถูกประเมินภาษีหลายคราวแล้ว โจทก์รวมฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินมาเป็นคดีเดียว แต่การประเมินสำหรับปีภาษี 2529 กับปีภาษี 2530 ซึ่งมีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปีถือได้ว่าเป็นการประเมินภาษีในปีภาษีเดียวกันจึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกันแม้จะได้ความว่าเจ้าพนักงานของจำเลยจะทำการประเมินภาษีโจทก์รวม4 ใบประเมิน แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2529 และปีภาษี 2530 เท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีข้อหาในการคำนวณทุนทรัพย์เพียง 2 ข้อหา คือ ทุนทรัพย์ของการประเมินสำหรับปีภาษี 2529ข้อหาหนึ่ง กับทุนทรัพย์ของการประเมินสำหรับปีภาษี 2530 อีกข้อหาหนึ่งโจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลใน 2 ทุนทรัพย์ ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาทจากการแจ้งความ: เจตนาใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียง แม้แจ้งความเพื่อเป็นหลักฐาน
จำเลยแจ้งความต่อร้อยตำรวจโท อ. เพื่อเป็นหลักฐานหากจะมีข้อความบางส่วนเป็นเท็จหรือผิดความจริงไปบ้างก็ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ร้อยตำรวจโท อ. ต้องทำการสอบสวนเนื่องจากไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7) เมื่อจำเลยไม่มีเจตนาจะมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ การแจ้งความของจำเลยจึงย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีเพื่อเอาผิดต่อจำเลยในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานได้
คำว่า "ใส่ความ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึงพูดหาเหตุร้าย กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย โจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะกล่าวหาเรื่องร้ายประจานโจทก์ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ เมื่อจำเลยแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มีเจตนาให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่โจทก์ จึงเห็นได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ถูกดูหมิ่นเกลียดชังและทำลายชื่อเสียงของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งข้อความอันเป็นหมิ่นประมาทโจทก์เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัวไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนแม้เรื่องที่กล่าวหาจะเป็นความจริง จำเลยก็ไม่อาจยกเอาเหตุกระทำเพื่อป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมขึ้นปฏิเสธความผิดได้
คำว่า "ใส่ความ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึงพูดหาเหตุร้าย กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย โจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะกล่าวหาเรื่องร้ายประจานโจทก์ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ เมื่อจำเลยแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มีเจตนาให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่โจทก์ จึงเห็นได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ถูกดูหมิ่นเกลียดชังและทำลายชื่อเสียงของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งข้อความอันเป็นหมิ่นประมาทโจทก์เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัวไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนแม้เรื่องที่กล่าวหาจะเป็นความจริง จำเลยก็ไม่อาจยกเอาเหตุกระทำเพื่อป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมขึ้นปฏิเสธความผิดได้