คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีวัฒน์ แดงทองดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร กรณีสำแดงราคานำเข้าต่ำกว่าราคาตลาด
การที่จะเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ตรี นั้น มีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่งแห่งมาตรา 112 ทวิซึ่งสืบเนื่องจากการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ประการหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 หรือมาตรา 45 อีกประการหนึ่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมสูงกว่าจำนวนค่าอากรที่จำเลยได้สำแดงไว้ พร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โจทก์จึงเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาและเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าเมื่อสำแดงราคาสินค้าน้อยกว่าราคาตลาด
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 มีความเห็นว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมพร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรแล้ว เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่มและแจ้งให้จำเลยทราบ แต่จำเลยมิได้ชำระเงินให้ครบถ้วนภายในกำหนดระยะเวลา กรณีของจำเลยจึงอยู่ในข่ายที่โจทก์จะเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้ากรณีสำแดงราคาต่ำกว่าราคาตลาด และไม่ชำระภายในกำหนดตามกฎหมายศุลกากร
การที่จะเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี นั้นมิได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่งแห่งมาตรา 112 ทวิ ซึ่งสืบเนื่องจากการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ประการหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 หรือมาตรา 45 อีกประการหนึ่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมสูงกว่าจำนวนค่าอากรที่จำเลยได้สำแดงไว้พร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งโจทก์จึงเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2984/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดีอาญาเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้น หากไม่ปฏิบัติตามต้องย้อนสำนวน
คดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มการพิจารณาศาลชั้นต้นจะต้องถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง เมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาศาลชั้นต้น เพียงอ่านอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง โดยไม่ดำเนินการตามบทกฎหมาย จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาจำเป็นต้องย้อนสำนวนเพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินการใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 57(2)
ผู้ที่จะขอเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(2) จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ซึ่งหมายความว่าผลของคดีตามกฎหมายจะเป็นผลไปถึงตนโดยจะต้องเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีโดยตรง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัด เป็นนิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น มีกรรมการเป็นผู้จัดการแทน หากโจทก์ชนะคดี ต้องเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลย ผู้มีหน้าที่ต้องจัดการต่อไปตามผลของคดีก็คือจำเลยโดยกรรมการของจำเลยผู้ถือหุ้นหาได้มีหน้าที่ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ต่อผลของคำพิพากษาที่โจทก์ขอบังคับด้วยไม่ สิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยยังคงมีอยู่โดยสมบูรณ์เช่นเดิม ผู้ร้องจึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามความหมายของมาตรา 57 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นไม่มีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ จึงไม่สามารถเป็นจำเลยร่วมได้
ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) หมายความว่าผลของคดีตามกฎหมายเป็นผลไปถึงตนโดยเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีโดยตรง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด หากโจทก์ชนะคดีผู้มีหน้าที่ต้องจัดการต่อไปตามผลของคดีคือจำเลยที่ 1 โดยกรรมการ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหามีหน้าที่ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ต่อผลของคำพิพากษาไม่ การที่ผู้ร้องอ้างว่าได้เข้าร่วมประชุมและลงมติขอเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อนำสืบให้ศาลทราบว่าการประชุมดำเนินการไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็อาจขอให้จำเลยทั้งสี่นำผู้ร้องและพยานหลักฐานที่ผู้ร้องมีเข้านำสืบอ้างส่งเป็นพยานฝ่ายจำเลยได้ หาจำต้องร้องเข้ามาด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216: การคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องระบุเหตุผลชัดเจน
ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 ฎีกาต้องมีข้อความคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่า การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงหรือไม่รับฟังข้อเท็จจริงข้อใดนั้นชอบหรือไม่ชอบเพราะเหตุใด ควรรับฟังข้อเท็จจริงอย่างไร
ฎีกาของโจทก์มิได้มีข้อความระบุเลยว่า ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคำเบิกความของพยานโจทก์เกี่ยวกับการพบเห็นชาย 4 คน ขัดกันในสาระสำคัญเป็นการไม่ชอบเพราะเหตุใด ควรถือว่าเป็นพลความคือไม่ใช่ข้อสาระสำคัญด้วยเหตุใดข้อที่เกี่ยวกับของกลางและรายละเอียดส่วนใหญ่ ศาลอุทธรณ์ควรต้องยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเหตุใด รายละเอียดส่วนใดยกขึ้นวินิจฉัยแล้วผลจะเป็นอย่างไร ข้อที่ว่าพยานโจทก์ต่างเบิกความตรงกันก็มิได้ระบุว่าพยานชื่อใดบ้าง เบิกความตรงกันในข้อใดควรรับฟังหรือไม่ ด้วยเหตุผลอย่างไร อีกทั้งข้อความตามฎีกาโจทก์ที่ว่า คดีมีพยานหลักฐานพอยื่นฎีกาได้ ก็คล้ายเป็นข้อความที่โจทก์เสนอความเห็นของตนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ ข้อความที่ว่า ศาลชั้นต้นอยู่ใกล้ชิดกับพยานที่เบิกความ โจทก์ก็ไม่ระบุชัดแจ้งว่าศาลชั้นต้นอยู่ใกล้ชิดกับพยานอย่างไร เพราะเหตุใดจึงจะรับฟังได้ว่า จำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบตามมาตรา 216 คพพ. เหตุไม่อ้างเหตุผลคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ฎีกาต้องมีข้อความคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่า การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงหรือไม่รับฟังข้อเท็จจริงข้อใดนั้นชอบหรือไม่ชอบเพราะเหตุใดควรรับฟังข้อเท็จจริงอย่างไร
ฎีกาของโจทก์มิได้มีข้อความระบุเลยว่า ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคำเบิกความของพยานโจทก์เกี่ยวกับการพบเห็นชาย 4 คน ขัดกันในสาระสำคัญเป็นการไม่ชอบเพราะเหตุใด ควรถือว่าเป็นพลความคือไม่ใช่ข้อสาระสำคัญด้วยเหตุใด ข้อที่เกี่ยวกับของกลางและรายละเอียดส่วนใหญ่ ศาลอุทธรณ์ควรต้องยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเหตุใด รายละเอียดส่วนใดยกขึ้นวินิจฉัยแล้วผลจะเป็นอย่างไร ข้อที่ว่าพยานโจทก์ต่างเบิกความตรงกันก็มิได้ระบุว่าพยานชื่อใดบ้าง เบิกความตรงกันในข้อใด ควรรับฟังหรือไม่ ด้วยเหตุผลอย่างไร อีกทั้งข้อความตามฎีกาโจทก์ที่ว่า คดีมีพยานหลักฐานพอยื่นฎีกาได้ก็คล้ายเป็นข้อความที่โจทก์เสนอความเห็นของตนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ข้อความที่ว่า ศาลชั้นต้นอยู่ใกล้ชิดกับพยานที่เบิกความ โจทก์ก็ไม่ระบุชัดแจ้งว่าศาลชั้นต้นอยู่ใกล้ชิดกับพยานอย่างไร เพราะเหตุใดจึงจะรับฟังได้ว่า จำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2788/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น จึงขอเป็นจำเลยร่วมไม่ได้
ผู้ที่จะขอเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี คือ จะต้องเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีนี้โดยตรง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดเป็นนิติบุคคล มีสิทธิและหน้าที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น หากโจทก์ชนะคดี ผู้มีหน้าที่ต้องจัดการต่อไปตามผลของคดีคือจำเลยที่ 1 โดยกรรมการของจำเลยที่ 1 ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหาได้มีหน้าที่ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ตามคำพิพากษาไม่ สิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ยังคงมีอยู่โดยสมบูรณ์เช่นเดิม ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ไม่อาจขอเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2682/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงและการบังคับให้โอนที่ดินหลังทำสัญญาซื้อขายและครอบครอง
แม้จำเลยทำสัญญาจะขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้และโจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา โดยจำเลยได้รับ ชำระราคาจากโจทก์แล้วตั้งแต่ปี 2521 โจทก์ซึ่งสิทธิยึดหน่วงที่ดินพิพาท มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้ไปดำเนินการยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกเพื่อ จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ต่อเจ้าพนักงานได้ ฟ้องโจทก์ ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27
of 34