คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีวัฒน์ แดงทองดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเรือในความผิดศุลกากร: ข้อจำกัดขนาดระวางบรรทุกและองค์ประกอบความผิด
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำหรือยอมให้ผู้อื่นนำของที่ต้องเสียภาษีลงในเรือหรือออกจากเรือในทะเล ซึ่งอาจเป็นทางแก่การฉ้อประโยชน์รายได้ของแผ่นดิน หรือเป็นการหลีกเลี่ยง ข้อจำกัด หรือข้อห้าม ซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 31 เพียงแต่ระบุในคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าวเท่านั้น เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวไม่ได้
มาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดการกระทำความผิดคดีนี้บัญญัติว่า เรือชนิดใด ๆ อันมีระวางบรรทุกไม่เกินสองร้อยห้าสิบตัน? หากใช้ในการย้ายถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือที่ต้องจำกัด หรือต้องห้าม ท่านว่าให้ริบเสียสิ้น? แสดงว่า พ.ร.บ.ศุลกากรได้บัญญัติถึงการริบเรือที่นำมาใช้ในการกระทำความผิดตามบทมาตราดังกล่าวไว้เป็นพิเศษโดยชัดแจ้งว่า เฉพาะเรือที่มีระวางบรรทุกไม่เกิน 250 ตันเท่านั้น ที่จะพึงริบได้ ดังนั้น การริบเรือที่มีระวางบรรทุกเกิน 250 ตัน จึงไม่อาจกระทำได้ ซึ่งจะเห็นเจตนารมณ์ของบทกฎหมายดังกล่าวได้จากมาตรา 32 วรรคสอง ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ที่บัญญัติว่า ถ้าเรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำตามวรรคหนึ่งมีระวางบรรทุกเกินสองร้อยห้าสิบตัน ให้ศาลมีอำนาจสั่งริบเรือนั้นได้ตามสมควรแก่การกระทำความผิด
มาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติพระราชบัญญัติศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายหรือพระราชบัญญัติอื่น ให้ยกเอาบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) มาใช้บังคับแก่คดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3636/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับให้จำเลยชำระเงิน 126,580.79 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 111,596.30 บาท นับถัดจากฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท แม้จำเลยจะเสียค่าขึ้นศาลมาในชั้นฎีกาในจำนวนทุนทรัพย์ในศาลชั้นต้น 277,298.06 บาท ก็ตาม แต่ทุนทรัพย์ที่แท้จริงที่พิพาทในชั้นฎีกาเป็นเงินจำนวน 126,580.79 บาท ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้ชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ซึ่งเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขความผิดและโทษในศาลอุทธรณ์: ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง จำคุก 3 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 279 วรรคหนึ่ง จำคุก 8 เดือน เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้วรรคของความผิดในบทมาตราเดียวกันไม่ถือเป็นการแก้บทความผิด แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะแก้ไขโทษด้วยก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และคงให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคหนึ่งและมาตรา 317 วรรคสาม เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 317 วรรคสาม ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 284 ให้ยกฟ้องในความผิดฐานนี้ และพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 317 วรรคหนึ่ง จำคุก 2 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้วรรคของความผิดในบทหนักอันเป็นบทที่ศาลชั้นต้นลงโทษ แม้จะยกฟ้องความผิดในบทที่เบากว่า ก็ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและคงให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ซื้อขายสินค้าและค่าธรรมเนียมการใช้ชื่อทางการค้า การวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับอายุความและขอบเขตของสัญญา
คดีเรื่องใดจะอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หากคดีเรื่องนี้เป็นคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่จะพิจารณาพิพากษาแล้ว ศาลชั้นต้นก็ย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนี้ได้ ซึ่งการวินิจฉัยว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลใด ในกรณีเช่นนี้เป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 9 แต่คดีนี้จำเลยมิได้ให้การโต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาลหรือยกปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาลขึ้นโต้แย้งในระหว่างศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาจนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา กรณีถือได้ว่าจำเลยยอมรับอำนาจศาลและไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาล เมื่อจำเลยเพิ่งยกปัญหานี้อุทธรณ์ขึ้นมาจึงเป็นการล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว และศาลฎีกาก็ไม่อาจส่งให้ประธานศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยด้วย
การที่โจทก์ยอมให้จำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์เพื่อเปิดร้านดำเนินกิจการของจำเลย โดยจำเลยยอมจ่ายเงินเป็นค่าธรรมเนียมการใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์นั้น ค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นเงินค่าตอบแทนในการที่โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์เพื่อดำเนินกิจการของจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยได้ชื่อทางการค้าของโจทก์ไปเป็นผู้อุปโภคในลักษณะเป็นเจ้าของเองเหมือนกับที่จำเลยซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ไปจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของจำเลย ที่จำเลยมีฐานะเป็นเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซื้อไปจากโจทก์ แต่ชื่อทางการค้าของโจทก์ที่จำเลยมีสิทธิใช้ตามสัญญานั้นยังเป็นสิทธิของโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์เรียกเอาค่าธรรมเนียมหรือเงินค่าตอบแทนในการที่จำเลยใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ตามสัญญานั้น จึงไม่ใช่เป็นการที่โจทก์เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นที่จะมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)แต่การเรียกร้องดังกล่าวนี้มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
การที่จำเลยสั่งซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงจากโจทก์ไปจำหน่ายนั้นเป็นกรณีที่จำเลยสั่งซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์ไปเพื่อประกอบกิจการค้าตามวัตถุประสงค์ของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย จึงมีอายุความเรียกร้อง 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ การลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดมีผลผูกพัน
อุทธรณ์ของผู้ร้องในหน้าแรกมีตัวหนังสือที่มีตรายางประทับข้อความว่าผู้ร้องจะมารับทราบคำสั่งศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันยื่นและทุก ๆ 7 วันนั้น เป็นขั้นตอนการปฏิบัติของศาลในการกำหนดวิธีการรับทราบคำสั่งของศาลมีผลเป็นคำสั่งของศาล หาใช่เป็นเพียงแบบฟอร์มและวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ศาลไม่ ศาลชั้นต้นกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 7 วัน โดยมีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2545 หลังจากที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ 7 วันก็ตาม แต่การที่ทนาย ผู้ร้องลงลายมือชื่อรับทราบข้อความที่ประทับตรายางต้องถือว่าผู้ร้องยอมผูกพันตามข้อความที่ประทับตรายางนั้น ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้นแม้ผู้ร้องจะไม่มาฟังคำสั่งก็ถือว่าคำสั่งศาลชั้นต้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบและผู้ร้องทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2545 เมื่อปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2545 ว่าผู้ร้องมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้คัดค้าน จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบ มาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเอกสาร, การอ้างพยาน, และการพิจารณาความผิดหลายกรรม
ป.วิ.อ. มาตรา 232 บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานนั้น หมายถึง จำเลยในคดีเดียวกัน แต่ น. มิได้เป็นจำเลยร่วมกับจำเลยในคดีนี้ กรณีจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 232
เมื่อมีการปลอมหนังสือเดินทางซึ่งออกให้แก่บุคคลหนึ่งแล้วต่อมาปลอมตราประทับของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประทับลงในหนังสือเดินทางที่ปลอมขึ้นนั้นเพื่อให้มีรายการครบถ้วน ทั้งนี้ เพื่อที่จะนำหนังสือเดินทางดังกล่าวไปใช้ เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท เมื่อจำเลยปลอมหนังสือเดินทางเสร็จฉบับหนึ่งก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว เพราะโดยสภาพของการกระทำย่อมแยกออกจากกันได้ เมื่อจำเลยปลอมหนังสือเดินทาง 2 ฉบับ ต่างรายกัน จึงเป็นความผิดสองกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอฎีกาอย่างคนอนาถาต้องแสดงหลักฐานความยากจนเพิ่มเติม หากศาลเคยวินิจฉัยแล้วว่าไม่เข้าข่าย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ในชั้นฎีกาฉบับแรกว่าโจทก์ไม่นำพยานมาไต่สวน ให้ยกคำร้องขออนาถาของโจทก์ เท่ากับวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องของโจทก์แล้วว่า โจทก์ไม่ใช่คนอนาถา ซึ่งโจทก์ต้องขออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนจริง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่โดยไม่ได้ขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติม ประกอบกับคดีนี้ไม่มีการไต่สวนสืบพยานเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานและไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนครั้งแรก จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาฉบับใหม่ของโจทก์ไว้จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอฎีกาอนาถาซ้ำโดยไม่แสดงหลักฐานเพิ่มเติม ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ชอบด้วยกระบวนการ
โจทก์ยื่นฎีกาวันที่ 12 เมษายน 2544 พร้อมกับยื่นคำร้องขอฎีกาอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องวันที่ 9 กรกฎาคม 2544 แต่ไม่มีคู่ความมาศาล ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่า โจทก์ไม่นำพยานมาไต่สวน ให้ยกคำร้อง ให้โจทก์นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาชำระภายใน 7 วัน ต่อมาวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นฎีกาอย่างคนอนาถาใหม่ ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ฉบับแรกโดยวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องของโจทก์แล้วว่า โจทก์ไม่ใช่คนอนาถาการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ ย่อมถือเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ ซึ่งโจทก์จะต้องขออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจน แต่คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ของโจทก์ มิได้ขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมโดยระบุถึงเหตุที่มิได้ระบุหรืออ้างไว้ในการไต่สวนครั้งแรกประกอบกับไม่มีการไต่สวนพยานโจทก์จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 156 วรรคสี่ ที่ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ของโจทก์ไว้ไต่สวนจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอฎีกาอย่างคนอนาถาต้องแสดงหลักฐานเพิ่มเติมหากศาลเคยปฏิเสธคำร้องแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ฉบับแรกว่าโจทก์ไม่นำพยานมาไต่สวน และให้ยกคำร้องขออนาถาของโจทก์ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเท่ากับวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องของโจทก์แล้วว่า โจทก์ไม่ใช่คนอนาถาจะใช้สิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่นั้นย่อมถือเป็นการใช้สิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ ซึ่งโจทก์จะต้องขออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่า โจทก์เป็นคนยากจน แต่คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ของโจทก์ หาได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมโดยระบุถึงเหตุที่มิได้ระบุหรืออ้างไว้ในการไต่สวนครั้งแรกไว้ไม่ เมื่อประกอบกับคดีนี้ไม่มีการไต่สวนสืบพยานโจทก์เนื่องจากโจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานและไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนครั้งแรก กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ ที่ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ของโจทก์ไว้ไต่สวนจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญาประกันตัว, การลดค่าปรับ, ค่าฤชาธรรมเนียม, และดอกเบี้ยผิดนัด – ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าปรับตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาเป็นเงิน540,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลดค่าปรับตามสัญญาให้ปรับจำเลยเป็นเงิน200,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ขอลดค่าปรับลงอีกโดยอุทธรณ์ว่าค่าปรับไม่ควรเกินสัญญาละ 50,000 บาท รวมสองสัญญาควรเป็นเงินไม่เกิน 100,000 บาท จำเลยมิได้อุทธรณ์ขอให้งดหรือยกเว้นค่าปรับแก่จำเลย ดังนี้ ที่จำเลยฎีกาขอให้ยกเว้นค่าปรับจึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำนวนเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายหนึ่งใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นดุลพินิจของแต่ละศาลซึ่งจะกำหนดให้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 161 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินค่าปรับที่กำหนดจำนวนแน่นอนตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาโจทก์ไม่อาจฟ้องโดยกำหนดทุนทรัพย์ให้ต่ำกว่าที่ข้อสัญญาระบุไว้ได้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องตามทุนทรัพย์ที่กำหนดในศาลชั้นต้นโดยสุจริต เมื่อศาลล่างทั้งสองได้ใช้ดุลพินิจลดค่าปรับตามสัญญาอันเป็นประโยชน์แก่จำเลยเช่นนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยใช้ค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เต็มตามที่โจทก์ฟ้องจึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
โจทก์แต่งตั้งพนักงานอัยการให้เป็นทนายความแก้ต่างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลมีอำนาจที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีเสียค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้แก่โจทก์ได้ตามมาตรา 161
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
of 34