พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4088/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการรื้อฟื้นคดีอาญา: บทบาทของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.รื้อฟื้นคดีอาญา
บทบัญญัติมาตรา 9 และมาตรา 10 ให้พนักงานอัยการซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา 6 (5) ที่ร้องขอรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่เท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นจะมีอำนาจพิจารณาสั่งคำร้องได้ แต่หากเป็นบุคคลตามมาตรา 6 (1) ถึง (4) เป็นผู้ร้องแล้ว ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจที่จะสั่งรับคำร้องให้ดำเนินคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่หรือยกคำร้อง ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ดำเนินการตามมาตรา 9 วรรคสอง ทำการไต่สวนคำร้องหรือหากเห็นว่าคำร้องไม่ชอบด้วยมาตรา 5 จะไม่ทำการไต่สวนก็ได้ แต่ศาลชั้นต้นมีสิทธิเพียงทำความเห็นเสนอสำนวนการไต่สวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา การสั่งรับคำร้องให้พิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่หรือสั่งให้ยกคำร้องเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ ซึ่งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่สุดตามมาตรา 10 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4088/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องรื้อฟื้นคดีอาญา: บทบาทศาลชั้นต้น-อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.รื้อฟื้นคดีอาญา
ตามพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 9 และมาตรา 10 เฉพาะกรณีที่พนักงานอัยการซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา 6(5) เป็นผู้ร้องขอรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่เท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นจะมีอำนาจพิจารณาสั่งคำร้องได้ แต่หากเป็นบุคคลตามมาตรา 6(1) ถึง (4) เป็นผู้ร้องศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจที่จะสั่งรับคำร้องให้ดำเนินคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่หรือยกคำร้องเลย ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ดำเนินการตามมาตรา 9 วรรคสอง ทำการไต่สวนคำร้อง หรือหากเห็นว่าคำร้องของผู้ร้องไม่ชอบด้วยมาตรา 5 จะไม่ทำการไต่สวนก็ได้ แต่ศาลชั้นต้นมีสิทธิเพียงทำความเห็นเสนอสำนวนการไต่สวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเท่านั้น และเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะมีคำสั่ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ของผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยโดยมิได้ทำความเห็นส่งไปให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง และเมื่อผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วศาลอุทธรณ์พิพากษาเห็นด้วยในผลที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้อง ย่อมถือว่าศาลล่างทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ชอบตามมาตรา 9 และมาตรา 10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3715/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างในฐานะผู้ว่าจ้าง ลูกจ้างกระทำละเมิด และอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดที่ ป. กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นนายจ้างของ ป. โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 ว่า ป. เป็นลูกจ้างของจำเลยกระทำไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของจำเลย
จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดีและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยดังกล่าวแล้ว คดีย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิพากษาคดีนี้ใหม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาใหม่เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว
จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดีและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยดังกล่าวแล้ว คดีย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิพากษาคดีนี้ใหม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาใหม่เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานใช้อาคารผิดประเภทและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นถือเป็นความผิดหลายกรรม
เมื่อจำเลยได้ก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยและหอพักที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเสร็จแล้วเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2540 จำเลยกลับใช้อาคารดังกล่าวเป็นโรงแรม โดยยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารดังกล่าวจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และยังไม่ได้ใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เปลี่ยนการใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับกิจการหนึ่งไปใช้เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับอีกกิจการหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดสองกรรมตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม กระทงหนึ่ง กับมาตรา 32 วรรคท้าย และมาตรา 33 วรรคสองอีกกระทงหนึ่ง
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคาร และฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับกิจการหนึ่งไปใช้เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับอีกกิจการหนึ่ง แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้แจ้งคำสั่งให้ระงับการการใช้อาคารทั้งสองลักษณะให้จำเลยทราบพร้อมกัน และจำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งทั้งสองดังกล่าวในขณะเดียวกันก็ตาม แต่ความผิดทั้งสองข้อหามีองค์ประกอบความผิดที่แตกต่างกัน แต่ละข้อหาจะมีความผิดตลอดไปจนกว่าจำเลยได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและจนกว่าจำเลยได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารแล้วแต่กรณี และการได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและใบอนุญาตในแต่ละกรณี เป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวข้องกัน และอาจได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและใบอนุญาตในระยะเวลาที่แตกต่างกันด้วย ทั้งความผิดฐานใช้อาคารโดยไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและฐานใช้อาคารเพื่อการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมอีกด้วย การกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งสองลักษณะจึงย่อมเป็นความผิดหลายกรรมแยกต่างหากจากกันได้เช่นกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2540 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2540 จึงต้องลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง เพียงถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2540 เท่านั้น
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคาร และฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับกิจการหนึ่งไปใช้เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับอีกกิจการหนึ่ง แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้แจ้งคำสั่งให้ระงับการการใช้อาคารทั้งสองลักษณะให้จำเลยทราบพร้อมกัน และจำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งทั้งสองดังกล่าวในขณะเดียวกันก็ตาม แต่ความผิดทั้งสองข้อหามีองค์ประกอบความผิดที่แตกต่างกัน แต่ละข้อหาจะมีความผิดตลอดไปจนกว่าจำเลยได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและจนกว่าจำเลยได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารแล้วแต่กรณี และการได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและใบอนุญาตในแต่ละกรณี เป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวข้องกัน และอาจได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและใบอนุญาตในระยะเวลาที่แตกต่างกันด้วย ทั้งความผิดฐานใช้อาคารโดยไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารและฐานใช้อาคารเพื่อการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมอีกด้วย การกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งสองลักษณะจึงย่อมเป็นความผิดหลายกรรมแยกต่างหากจากกันได้เช่นกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2540 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2540 จึงต้องลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง เพียงถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2540 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับอาคารควบคุมการใช้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร: โทษปรับรายวัน, การแก้ไขโทษ, และการพิจารณาโทษซ้ำ
จำเลยได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว แต่การที่จำเลยจะใช้อาคารที่จำเลยก่อสร้างนั้นต้องได้รับการตรวจสอบและใบรับรองให้ใช้อาคารจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน การที่จำเลยยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารแต่กลับเข้าใช้อาคารจึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม ฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยไม่ได้ใบรับรองให้ใช้อาคารซึ่งเป็นเจตนากระทำผิดกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นการเข้าใช้ในกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้าง หรือเข้าใช้เพื่อกิจการอื่นต่างจากที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือไม่
จำเลยใช้อาคารดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งเป็นอาคารควบคุมการใช้เช่นเดียวกับที่จำเลยใช้เพื่อดำเนินกิจการพาณิชยกรรมตามที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32(1)(2)แต่การจะเปลี่ยนการใช้อาคารเป็นโรงแรม ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือได้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนตามมาตรา 33 วรรคสอง เมื่อจำเลยยังไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือได้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนจึงเป็นการฝ่าฝืนใช้อาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสำหรับใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรมไปใช้เพื่อกิจการอื่น อันเป็นความผิดตามมาตรา 32 วรรคท้าย และมาตรา 33 วรรคสองอีกกระทงหนึ่ง
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารที่ยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคาร และฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารฯ เป็นความผิดหลายกรรมแยกต่างหากจากกันได้ แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งคำสั่งให้ระงับการใช้อาคารทั้งสองลักษณะให้จำเลยทราบพร้อมกันและจำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งในขณะเดียวกันก็ตาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารประเภทควบคุมการใช้ใช้อาคารเพื่อกิจการอื่นนอกจากที่ระบุในใบอนุญาตจำคุก2 เดือน ปรับ 40,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง ที่ให้ปรับจำเลยอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องจึงเป็นการไม่ถูกต้อง
จำเลยใช้อาคารดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งเป็นอาคารควบคุมการใช้เช่นเดียวกับที่จำเลยใช้เพื่อดำเนินกิจการพาณิชยกรรมตามที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32(1)(2)แต่การจะเปลี่ยนการใช้อาคารเป็นโรงแรม ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือได้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนตามมาตรา 33 วรรคสอง เมื่อจำเลยยังไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือได้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนจึงเป็นการฝ่าฝืนใช้อาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสำหรับใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรมไปใช้เพื่อกิจการอื่น อันเป็นความผิดตามมาตรา 32 วรรคท้าย และมาตรา 33 วรรคสองอีกกระทงหนึ่ง
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารที่ยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคาร และฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารฯ เป็นความผิดหลายกรรมแยกต่างหากจากกันได้ แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งคำสั่งให้ระงับการใช้อาคารทั้งสองลักษณะให้จำเลยทราบพร้อมกันและจำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งในขณะเดียวกันก็ตาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารประเภทควบคุมการใช้ใช้อาคารเพื่อกิจการอื่นนอกจากที่ระบุในใบอนุญาตจำคุก2 เดือน ปรับ 40,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง ที่ให้ปรับจำเลยอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องจึงเป็นการไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524-3525/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีโดยจงใจ และการฟ้องรื้อถอนสิ่งรุกล้ำที่ดินไม่ขาดอายุความ
ศาลนัดสืบพยานจำเลยเวลา 9 นาฬิกา และได้รออยู่จนถึงเวลา 10.40 นาฬิกา แต่จำเลยไม่มาศาล ศาลจึงได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าผู้รับมอบอำนาจของจำเลยมาศาลล่าช้าเพราะทนายจำเลยป่วย และผู้รับมอบอำนาจของจำเลยเดินทางไปรับคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่บ้านของทนายจำเลยซึ่งอยู่ห่างจากศาลมาก เนื่องจากผู้รับมอบอำนาจของจำเลยทราบเรื่องจากทนายจำเลยตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา ทนายจำเลยสามารถให้ผู้รับมอบอำนาจของจำเลยมาแถลงต่อศาลด้วยวาจาได้ และช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเร่งด่วนของการจราจรที่ติดขัดอันเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป ซึ่งทนายจำเลยย่อมคาดหมายล่วงหน้าได้ว่าผู้รับมอบอำนาจของจำเลยไม่สามารถไปศาลได้ทันภายในเวลา 9 นาฬิกา ถือว่าการขาดนัดพิจารณาของจำเลยเป็นไปโดยจงใจ และไม่มีเหตุอันสมควร จึงไม่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้
โจทก์ทั้งสี่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนชายคาที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสี่โดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ผู้ที่ยึดถือจะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และจะนำบทบัญญัติเรื่องฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตามมาตรา 1374 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะตามมาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเรื่องสิทธิครอบครอง แต่โจทก์ทั้งสี่มีกรรมสิทธิในที่ดินที่ชายคาหรือกันสาดของจำเลยได้รุกล้ำเข้าไป คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งสี่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนชายคาที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสี่โดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ผู้ที่ยึดถือจะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และจะนำบทบัญญัติเรื่องฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตามมาตรา 1374 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะตามมาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเรื่องสิทธิครอบครอง แต่โจทก์ทั้งสี่มีกรรมสิทธิในที่ดินที่ชายคาหรือกันสาดของจำเลยได้รุกล้ำเข้าไป คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524-3525/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินด้วยชายคา/กันสาด: ประเด็นความไม่ชัดเจนของฟ้อง และอายุความสิทธิเจ้าของที่ดิน
จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายให้ชัดแจ้งถึงลักษณะสภาพและขนาดของอาคาร ที่จำเลยฎีกาว่าตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2493 ให้ความหมายของคำว่า ชายคาและกันสาดแตกต่างกันอย่างชัดเจน การที่โจทก์ทั้งสี่บรรยายคำฟ้องยืนยันว่าจำเลยได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเฉพาะชายคาชั้นสองจึงเป็นคำบรรยายฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะสิ่งที่โจทก์ทั้งสี่กล่าวอ้างนั้นโดยแท้จริงมีสภาพเป็นกันสาดคอนกรีตที่ยื่นออกไปกันน้ำฝนไหลย้อนผนังอาคารด้านหลัง ไม่ใช่ชายคาหรือหลังคาตามฟ้องนั้น เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสี่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนชายคาที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความและจะนำบทบัญญัติเรื่องฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตามมาตรา 1374 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะตามมาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเรื่องสิทธิครอบครอง แต่โจทก์ทั้งสี่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ชายคาหรือกันสาดของจำเลยได้รุกล้ำเข้าไปคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งสี่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนชายคาที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความและจะนำบทบัญญัติเรื่องฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตามมาตรา 1374 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะตามมาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติเรื่องสิทธิครอบครอง แต่โจทก์ทั้งสี่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ชายคาหรือกันสาดของจำเลยได้รุกล้ำเข้าไปคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367-3368/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีฉ้อโกง: เริ่มนับจากวันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด
โจทก์แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 1 ถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของโจทก์โดยไม่ถูกต้อง เมื่อโจทก์สอบถามจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็ได้ชี้แจงถึงเหตุที่ทางธนาคารจำเลยที่ 1 ต้องหักเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ของลูกหนี้ที่โจทก์ค้ำประกันไว้แสดงว่าโจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 คือผู้ที่หักเอาเงินของโจทก์ไป โจทก์จึงไปแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองจึงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้รู้เรื่องความผิดที่จำเลยทั้งสองกระทำการฉ้อโกงโจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว ส่วนเมื่อโจทก์แจ้งความแล้วพนักงานสอบสวนผู้รับแจ้งจะเห็นว่าไม่เป็นความผิดทางอาญาจึงบันทึกการรับแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน ก็เป็นเพียงความเห็นของพนักงานสอบสวน ซึ่งไม่อาจลบล้างข้อเท็จจริงที่ถือว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงไปได้โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลา 3 เดือนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96แล้วจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญา: ปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนหรือแก้ไขเล็กน้อย
คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภรรยาของตนโดยเด็กหญิงไม่ยินยอมจำคุก 6 ปี ฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายจำคุก 6 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 4 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวแล้วแต่ละกระทงลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ทราบอายุของผู้เสียหายซึ่งเป็นสาระสำคัญขององค์ประกอบความผิดถือว่าเป็นความสำคัญผิดในข้อเท็จจริงนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลยฎีกาอีกว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายกับขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษจำคุกนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดโทษ ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นกัน
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ทราบอายุของผู้เสียหายซึ่งเป็นสาระสำคัญขององค์ประกอบความผิดถือว่าเป็นความสำคัญผิดในข้อเท็จจริงนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลยฎีกาอีกว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายกับขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษจำคุกนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดโทษ ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าผู้อื่นโดยทารุณโหดร้าย: การเชือดคอจนถึงแก่ความตายเข้าข่ายกระทำทารุณหรือไม่
จำเลยจับผู้ตายลากเข้าไปในบ้านใช้มีดเชือดคอลึกถึงกระดูกต้นคอ จำเลยใช้เวลานานกว่าจะเชือดคอผู้ตายจนมีบาดแผลยาวรอบคอ ทำให้ผู้ตายส่งเสียงร้องเพราะได้รับความเจ็บปวดทรมานเป็นการใช้วิธีการโหดร้ายในการฆ่าผู้ตาย จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(5)