คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีวัฒน์ แดงทองดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8065/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนฐานความผิด ศาลต้องอธิบายฟ้องและสอบถามจำเลย หากโจทก์ไม่สืบพยาน ศาลยกฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักลอบนำเนื้อโคแช่แข็งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่นำผ่านท่าเข้าและไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมปศุสัตว์ หรือจำเลยช่วยซ่อนเร้น รับซื้อ หรือรับจำนำ ช่วยพาเอาไปเสีย โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ซึ่งเป็นคนละฐานความผิดกัน จำเลยให้การรับสารภาพโดยไม่ได้ระบุว่ารับสารภาพฐานใด ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับไว้ซึ่งของอันควรรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรนั้น เห็นว่า รายงานกระบวนพิจารณาระบุว่าจำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยาน คดีเสร็จการพิจารณารอฟังคำพิพากษา มีโจทก์ลงลายมือชื่อในรายงานไว้ด้วย ที่โจทก์อ้างว่าเป็นหน้าที่ของศาลต้องอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและสอบถามคำให้การจำเลยก็ตาม เมื่อโจทก์เห็นว่าคำให้การจำเลยไม่ชัดเจน ไม่ได้ระบุว่ารับสารภาพในความผิดฐานใด ชอบที่โจทก์จะทักท้วง และขอสืบพยานเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานใดในสองฐานที่โจทก์บรรยายฟ้องมา เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานใด จึงไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องโจทก์มาชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6490/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันสิทธิเกินสมควรแก่เหตุ: การใช้ไฟฟ้าแรงสูงป้องกันทรัพย์สิน (ปลากัด) เป็นการกระทำที่ไม่สมดุล
แม้ขณะเกิดเหตุผู้ตายจะเข้าไปในบริเวณบ่อปลากัดของจำเลยเพื่อลักปลากัด ซึ่งถ้าจำเลยพบเห็นจำเลยย่อมมีสิทธิทำร้ายผู้ตายพอสมควรแก่เหตุเพื่อป้องกันทรัพย์สินของตนได้ แต่กระแสไฟฟ้าที่จำเลยปล่อยผ่านเส้นลวดที่ล้อมรอบบ่อปลากัดย่อมเป็นอันตรายร้ายแรงโดยสภาพซึ่งสามารถทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้ ส่วนทรัพย์สินของจำเลยเป็นเพียงปลากัดมีมูลค่าไม่มากนัก การปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าเส้นลวดกับการป้องกันทรัพย์สินของจำเลยย่อมไม่เป็นสัดส่วนกัน เมื่อผู้ตายถูกกระแสไฟฟ้าที่จำเลยปล่อยผ่านเส้นลวดดังกล่าวดูดถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันสิทธิของตนเกินสมควรกว่าเหตุตาม ป.อ. มาตรา 69

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5308/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะกรรมโอนหุ้นบริษัทประกันชีวิตฝ่าฝืนกฎกระทรวงออกตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต
จำเลยที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 10 รับโอนหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 11 ส่วนของโจทก์ไว้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิตฯ มาตรา 28 กำหนดว่านอกเหนือจากการประกันชีวิต ให้บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตลงทุนประกอบธุรกิจอื่นใดได้เฉพาะที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการควบคุมบริษัทประกันชีวิตให้นำเงินไปลงทุนได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 11 ที่จำเลยที่ 1 ถือหุ้นดังกล่าวไม่อยู่ในฐานะเป็นบริษัทที่มีทรัพย์สินเกินกว่าหนี้สินและไม่มีฐานะเป็นบริษัทที่มีกำไรสุทธิไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปีของทุนที่ชำระแล้วติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปีก่อนที่ซื้อหุ้นนั้นตามหลักเกณฑ์การลงทุนของบริษัทประกันชีวิตที่กำหนดในกฎกระทรวง ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตได้ลงทุนประกอบธุรกิจอันเป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2519) ออกตามความใน พ.ร.บ.ประกันชีวิตฯ ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการโอนหุ้นดังกล่าว จึงเป็นการทำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย นิติกรรมการโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 10 ตัวแทนของจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ในการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์โอนหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 11 ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 10 โดยเจตนาลวง ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 10 ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 11 แทนจำเลยที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะ กับการที่ศาลจะพิจารณาพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์ได้หรือไม่ ล้วนเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลสูงย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5280/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการคุ้มครองสิทธิผู้รับจำนองสุจริต
สาเหตุที่จำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทสืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ที่ลงลายมือชื่อในใบมอบอำนาจโดยไม่กรอกข้อความให้ ท. น้องสาวของโจทก์นำไปใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ แต่ ท. มิได้นำไปใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 กรอกข้อความในใบมอบอำนาจของโจทก์ว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินให้จำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปจำนองไว้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 3 รับจำนองไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อลงลายมือชื่อในใบมอบอำนาจโดยไม่กรอกข้อความ จึงต้องยอมรับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของตนเอง จะให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกต้องรับความเสียหายจากการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อของโจทก์เองย่อมไม่เป็นธรรมแก่จำเลยที่ 3 ผู้สุจริต โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเพิกถอนการจำนองดังกล่าวและแม้ที่ดินจะต้องถูกโอนกลับไปเป็นของโจทก์ นิติกรรมจำนองที่จำเลยที่ 2 ก่อไว้ย่อมตกติดมาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4918/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้เงิน: ความชอบธรรมและการบังคับใช้ตามประกาศกระทรวงการคลัง
สัญญากู้เงินระบุข้อตกลงว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีหรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของธนาคารโจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวกำหนดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาโดยอนุวัตตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 5) ฯ ที่กำหนดให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี โดยไม่มีข้อกำหนดให้ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยแต่ประการใด อัตราดอกเบี้ยตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันตามสัญญากู้เงินไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว การทำสัญญากู้เงินของโจทก์และจำเลยเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญาและอยู่ในกรอบที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนดจึงไม่ตกเป็นโมฆะ และแม้ขณะทำสัญญากู้เงินดังกล่าวจะมีประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราที่ระบุไว้ในสัญญากู้เงิน ซึ่งโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยเกินกว่าประกาศของโจทก์ไม่ได้ก็ตาม ก็ได้ความว่าในทางปฏิบัติจริงโจทก์คิดดอกเบี้ยและปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอยู่ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารโจทก์และประกาศกระทรวงการคลัง การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลบังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาดูแลนักเรียนต่างประเทศ, ค่าเล่าเรียน, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้, อัตราแลกเปลี่ยน, การคิดดอกเบี้ย
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาตกลงยินยอมเป็นนักเรียนในความดูแลของโจทก์ตามสัญญาเป็นนักเรียนในความดูแลของ ก.พ. มีจำเลยที่ 2 บิดาและ ก. มารดาทำหนังสือยินยอมให้จำเลยที่ 1 อยู่ในความดูแลของโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการศึกษาให้จำเลยที่ 1 ให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสถานศึกษาและยินยอมที่จะจัดส่งค่าใช้จ่ายตามที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายแทนไปก่อน จำเลยที่ 1 ได้เข้าเรียนในประเทศอังกฤษ เมื่อปิดการศึกษา จำเลยที่ 1 เดินทางกลับประเทศไทย และรายงานตัวต่อโจทก์ ที่สำนักงานประเทศไทยว่าจะกลับไปเรียนต่อ ต่อมา ก. ได้ทำบันทึกถึงโจทก์ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ย้ายโรงเรียน หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองทำหนังสือแจ้งยกเลิกการไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษถึงโจทก์ โจทก์ได้ชำระค่าเล่าเรียนแทนจำเลยที่ 1 ไปแล้ว และระหว่างศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จำเลยทั้งสองได้เบิกค่าใช้จ่ายให้โจทก์ทดรองจ่ายไปก่อนด้วย ดังนั้น เมื่อสัญญาเป็นนักเรียนในความดูแลของ ก.พ. และสัญญาฝากและออกค่าใช้จ่ายที่จำเลยทั้งสองทำไว้กับโจทก์ระบุว่า กรณีผิดนัดชำระหนี้ให้โจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญาดังกล่าว กรณีนี้ไม่ใช่เบี้ยปรับซึ่งศาลจะมีอำนาจปรับลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4087/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: การตรวจสอบกรรมสิทธิ์และเจตนาของผู้ร้อง
ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีในข้อกฎหมายโดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นปัญหาขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ แต่เพื่อให้คดีเสร็จสิ้นไปโดยเร็วเพราะข้อเท็จจริงที่ปรากฎตามคำร้องของผู้ร้องพอวินิจฉัยคดีได้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
การร้องคัดค้านและขอคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30 เป็นการใช้สิทธิทางศาลอย่างหนึ่ง ผู้ร้องต้องกระทำการโดยสุจริต เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งว่าในวันที่รถกระบะถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้เป็นของกลางนั้น กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของ ห. หาใช่เป็นของผู้ร้องแต่อย่างใดไม่ ผู้ร้องเพิ่งได้กรรมสิทธิ์ในรถกระบะของกลางภายหลังจากการกระทำความผิดเกิดขึ้น ซึ่งขณะนั้นเจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุมจำเลยทั้งเจ็ดพร้อมทั้งยึดรถกระบะของกลางไว้แล้ว การที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องคัดค้านว่า ตลอดเวลานับตั้งแต่ผู้ร้องได้รับมอบทรัพย์สินดังกล่าวจากผู้ขาย ผู้ร้องได้ใช้รถกระบะของกลางอย่างสุจริตและเปิดเผยมาโดยตลอดนั้น จึงเป็นเหตุผลที่ขัดกันเอง พฤติการณ์ตามคำร้องส่อให้เห็นว่า ผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กรณีมิใช่การร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดไว้เพราะเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในกระบวนการตามมาตรา 22, 27, 29 (2) ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าพอวินิจฉัยได้และให้งดการไต่สวนพยานของผู้ร้องและมีคำสั่งให้ริบรถกระบะของกลางนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเหตุอาการทางจิตหลังศาลชั้นต้น: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากมิได้ยกขึ้นในชั้นต้น
ปัญหาว่าขณะกระทำความผิดจำเลยมีอาการทางจิตหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกเหตุว่ามีอาการทางจิตในขณะกระทำความผิดขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่จะนำมาปรับแก่ข้อกฎหมายได้ ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาการทางจิตขณะกระทำความผิด: จำเลยต้องยกเหตุในศาลชั้นต้นจึงจะได้รับการพิจารณา
ปัญหาว่าขณะกระทำความผิดจำเลยมีอาการทางจิตหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกเหตุว่ามีอาการทางจิตในขณะกระทำความผิดขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่จะนำมาปรับแก่ข้อกฎหมายได้ ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2421/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดิน: ศาลวินิจฉัยว่าการฟ้องแย่งการครอบครองไม่เกิดขึ้นหากจำเลยอ้างเป็นเจ้าของแต่แรก
จำเลยที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 3 ให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า จำเลยที่ 3 จึงเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยปลูกสร้างบ้านและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ตามคำให้การของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาแต่ต้น ไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบ
of 34