พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3297/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบเนื่องจากจำเลยถึงแก่กรรมและไม่มีผู้ดำเนินการแทน
คดีนี้จำเลยถึงแก่กรรมภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ทนายจำเลยจะมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของจำเลยจะเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยโดยทนายจำเลยมีอำนาจลงนามเป็นฎีกาแทนจำเลยได้ก็ตาม แต่ความปรากฏต่อศาลฎีกาว่าจำเลยได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2546 ดังนั้น เมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ปรากฏต่อศาลว่าจำเลยถึงแก่กรรมแล้วไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลย โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าเป็นเพราะเหตุใด จึงต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2775/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: ประมาทขับรถเมาแล้วเกิดอุบัติเหตุ
การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุราอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (2) (4), 157, 160 วรรคท้าย กับการที่จำเลยขับรถยนต์ฝ่าฝืนกฎจราจรด้วยความเร็วสูงโดยประมาทล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางเข้าไปในช่องทางรถสวนในขณะเมาสุราซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาณเป็นเหตุให้รถยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับขี่ ผู้ตายถึงแก่ความตายและผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 และ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (2) (4), 157, 160 วรรคท้าย เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายและผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินเพื่อปลูกกล้วยและพืชล้มลุกไม่เข้าข่ายการเช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คชก.วินิจฉัยผิด ศาลมีอำนาจปฏิเสธบังคับตามคำชี้ขาด
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มุ่งคุ้มครองการเช่าที่ดินเพื่อการทำนาเป็นจดหมายหลัก จึงได้ให้คำนิยามไว้ในหมวด 2 การเช่านาในมาตรา 21 ว่า "นา" หมายความว่า ที่ดินที่เช่าเพื่อทำนาทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่ "ทำนา" หมายความว่า การเพาะปลูกข้าวหรือพืชไร่ "พืชไร่" หมายความว่า พืชซึ่งต้องการน้ำน้อยและอายุสั้น หรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน 12 เดือน จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติคำนิยามไว้โดยเฉพาะ จะนำเอาความหมายตามที่พจนานุกรมบัญญัติไว้มาใช้บังคับไม่ได้
กล้วยไม่ใช่พืชที่อายุสั้น ส่วนพืชล้มลุกไม่ใช่พืชที่ต้องการน้ำน้อยและอายุสั้น หรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน 12 เดือน กล้วยและพืชล้มลุกจึงไม่ใช่พืชไร่ตามนิยามข้างต้น โจทก์ซึ่งเช่าที่ดินเพื่อปลูกต้นกล้วยและพืชล้มลุกจึงไม่ใช่ผู้เช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ
เมื่อการเช่าที่ดินของโจทก์ไม่ใช่การเช่านา การที่คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คชก.) จังหวัดราชบุรี วินิจฉัยว่า การเช่าที่ดินของโจทก์เป็นการเช่านาจึงเป็นการขัดต่อกฎหมาย ศาลมีอำนาจปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 58 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 221 และ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 24 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ
กล้วยไม่ใช่พืชที่อายุสั้น ส่วนพืชล้มลุกไม่ใช่พืชที่ต้องการน้ำน้อยและอายุสั้น หรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน 12 เดือน กล้วยและพืชล้มลุกจึงไม่ใช่พืชไร่ตามนิยามข้างต้น โจทก์ซึ่งเช่าที่ดินเพื่อปลูกต้นกล้วยและพืชล้มลุกจึงไม่ใช่ผู้เช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ
เมื่อการเช่าที่ดินของโจทก์ไม่ใช่การเช่านา การที่คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คชก.) จังหวัดราชบุรี วินิจฉัยว่า การเช่าที่ดินของโจทก์เป็นการเช่านาจึงเป็นการขัดต่อกฎหมาย ศาลมีอำนาจปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 58 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 221 และ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 24 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2284/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์: การครอบครองทรัพย์โดยอนุญาตไม่ตัดสิทธิความผิดฐานยักยอก หากมีการทุจริตเบียดบังเอาราคา
เหตุผลตามที่จำเลยยกขึ้นอ้างเป็นเพียงข้อตกลงและมีผลต่อกันว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยครอบครองและทำการจำหน่ายสินค้าของผู้เสียหาย อันเป็นพฤติการณ์แห่งข้อเท็จจริงในการที่จำเลยได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการครอบครองทรัพย์ของผู้เสียหาย การกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์นี้ แม้ผู้เสียหายจะอนุญาตหรือยินยอมให้จำเลยกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์ของผู้เสียหายที่จำเลยครอบครองอยู่นั้นได้ตามที่ตกลงกันไว้ แต่การครอบครองทรัพย์ดังกล่าวของจำเลยจะกลายเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ทันที เมื่อจำเลยกระทำการเบียดบังเอาทรัพย์หรือราคาทรัพย์ของผู้เสียหายเป็นของจำเลยโดยมีเจตนาทุจริตตามบทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก ฉะนั้น การที่ผู้เสียหายไม่อนุญาตให้จำเลยเข้าครอบครองทรัพย์ของผู้เสียหายหรือไม่ จึงหาใช่เป็นองค์ประกอบความผิดฐานยักยอกทรัพย์แต่อย่างใดไม่
จากข้อความที่ปรากฏในเอกสารได้ความแต่เพียงว่า เงินค่าราคาสินค้าที่จำเลยรับมาจากลูกค้าแล้วไม่ส่งมอบให้แก่ผู้เสียหายมีจำนวน 94,729 บาท จำเลยจะนำมาส่งคืนให้ผู้เสียหายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 เท่านั้น โดยไม่ปรากฏข้อความหรือพฤติการณ์ใดเลยว่า ผู้เสียหายได้ตกลงยินยอมที่จะไม่ดำเนินคดีทางอาญาเกี่ยวกับความผิดฐานยักยอกทรัพย์ที่จำเลยได้กระทำขึ้นให้ระงับหรือเลิกกันไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป
จากข้อความที่ปรากฏในเอกสารได้ความแต่เพียงว่า เงินค่าราคาสินค้าที่จำเลยรับมาจากลูกค้าแล้วไม่ส่งมอบให้แก่ผู้เสียหายมีจำนวน 94,729 บาท จำเลยจะนำมาส่งคืนให้ผู้เสียหายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 เท่านั้น โดยไม่ปรากฏข้อความหรือพฤติการณ์ใดเลยว่า ผู้เสียหายได้ตกลงยินยอมที่จะไม่ดำเนินคดีทางอาญาเกี่ยวกับความผิดฐานยักยอกทรัพย์ที่จำเลยได้กระทำขึ้นให้ระงับหรือเลิกกันไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องในคดีอาญา: ป.วิ.อ. มาตรา 158 ใช้บังคับโดยเฉพาะ, ไม่อ้างอิง ป.วิ.พ. มาตรา 172
ในคดีอาญาเมื่อ ป.วิ.อ. มาตรา 158 ได้บัญญัติเรื่องคำบรรยายฟ้องไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: กำหนดระยะเวลาเป็นเพียงกรอบการปฏิบัติตามสัญญา ไม่ใช่เงื่อนไขสิ้นสุดสัญญา
วัตถุประสงค์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกันด้วยการที่จำเลยจะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน ส่วนโจทก์ก็จะชำระราคารวมทั้งภาระค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอื่นๆ ให้แก่จำเลย เมื่อคู่สัญญาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีวัตถุประสงค์ดังกล่าว การกำหนดระยะเวลา 6 เดือนไว้จึงเป็นการกำหนดระยะเวลาให้โจทก์จำเลยปฏิบัติตามสัญญาเท่านั้น หากไม่ปฏิบัติก็บังคับคดีกันไปเพื่อให้สมวัตถุประสงค์แห่งการทำสัญญาที่ต้องการให้ข้อพิพาทระหว่างกันระงับไปด้วยวิธีดังกล่าว หาใช่ว่าหากไม่ปฏิบัติตามสัญญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วจะทำให้ข้อกำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความสิ้นผลไปโดยคู่สัญญาไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใด เนื่องจากไม่เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างกันตามที่โจทก์จำเลยมีเจตนาในการเข้าทำสัญญามาตั้งแต่ต้น ดังนั้น เมื่อโจทก์วางเงินจำนวน 200,000 บาท ต่อศาลแล้วแม้จะเกินเวลา 6 เดือน จำเลยจึงต้องรับเงินและมีหน้าที่จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับตามสัญญา แม้เกินกำหนดระยะเวลา และเจตนาของคู่สัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล ระบุให้จำเลยจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ตกลงชำระเงินให้จำเลย 200,000 บาท ในวันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท หากจำเลยผิดนัด จำเลยยินยอมให้โจทก์ถือเอาสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไปจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองได้ทันทีและถือเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย ดังนี้ วัตถุประสงค์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกันด้วยการที่จำเลยจะโอนที่ดินให้แก่โจทก์และโจทก์ก็จะชำระราคาให้แก่จำเลย การกำหนดระยะเวลา 6 เดือนไว้ จึงเป็นกำหนดเวลาให้โจทก์จำเลยปฏิบัติตามสัญญา หากไม่ปฏิบัติก็บังคับคดีกันไปเพื่อให้สมวัตถุประสงค์แห่งการทำสัญญาที่ต้องการให้ข้อพิพาทระหว่างกันระงับไปด้วยวิธีการดังกล่าว หาใช่ว่าหากไม่ปฏิบัติตามสัญญาภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วจะทำให้ข้อกำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความสิ้นผลไปโดยคู่สัญญาไม่จำต้องปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใดไม่ เนื่องจากไม่เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างกันตามที่โจทก์จำเลยมีเจตนาในการเข้าทำสัญญามาแต่ต้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์วางเงินจำนวน 200,000 บาท ต่อศาลแล้ว แม้จะเกินเวลา 6 เดือน จำเลยจึงต้องรับเงินและมีหน้าที่จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติ โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่: ปัญหาบริวารและการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยเป็นที่สุดว่าที่ดินเป็นของโจทก์และมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินพิพาท การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องว่าผู้ร้องมิใช่บริวารจำเลย แต่เป็นผู้มีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่ดินได้ เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติและบริวารจำเลยที่ถูกฟ้องขับไล่ ที่ดินพิพาทมีราคา 97,950 บาท และอาจให้เช่าได้เดือนละ 2,500 บาท โจทก์และจำเลยจึงห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยและยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ที่ผู้ร้องฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องโดยซื้อที่ดินมาจากโจทก์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ฎีกาของผู้ร้องจึงต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่ที่เกี่ยวข้องกับวงศ์ญาติและบริวาร โดยเฉพาะเมื่อมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินดังกล่าว ต่อมาโจทก์บอกกล่าวให้ออกไป แต่จำเลยเพิกเฉย ขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดิน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยเป็นที่สุดว่าที่ดินเป็นของโจทก์และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดิน ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องมิใช่บริวารจำเลย แต่เป็นผู้มีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่ดินได้เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่ จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติและบริวารจำเลยที่ถูกฟ้องขับไล่เมื่อที่ดินมีราคา 97,950 บาท และอาจให้เช่าได้เดือนละ 2,500 บาท โจทก์และจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยและยกคำร้องศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ที่ผู้ร้องฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องโดยซื้อที่ดินมาจากโจทก์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิในการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเล็กน้อยในคดีอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้โดยลดโทษให้หนึ่งในสาม ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต เป็นการแก้เฉพาะโทษ กรณีเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เกินห้าปี คดีต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อหลักฐานไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ขอให้ลงโทษประหารชีวิต เป็นฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว