คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดลจรัส รัตนโศภิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1316/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมรดกของพระภิกษุตกเป็นสมบัติของวัดเมื่อมรณภาพ แม้จะทำสัญญาจะซื้อขายก่อนมรณภาพก็ไม่ผูกพัน
จ. ถึงแก่กรรม ที่ดินของ จ. จึงตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทโดยธรรมรวมทั้ง ส. ซึ่งเป็นพระภิกษุ จ. ด้วย ที่ดินที่ ส. ได้รับมรดกมาเช่นนี้มิใช่ที่ดินของวัด แม้จะได้มาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศ ส. จึงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินส่วนของตนซึ่งยังมิได้แบ่งแยกจากที่ดินเดิมให้แก่โจทก์ได้ การที่ ส. ดำเนินการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จในเวลาต่อมาแต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์และถึงแก่มรณภาพเสียก่อน ที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นสมบัติของวัดจำเลย โดยผลแห่งกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623
ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์และที่ศาสนสมบัติกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 35 เป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 285(4) ด้วย คำพิพากษาในส่วนที่ให้วัดจำเลยโอนที่ดินให้แก่โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยสภาพแห่งหนี้จึงไม่เปิดช่องให้บังคับได้ ทั้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 วรรคสาม ก็บัญญัติให้ศาลดำเนินการบังคับคดีเพียงเท่าที่สภาพแห่งการบังคับคดีจะเปิดช่องให้กระทำได้เท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นนัดพร้อมเพื่อให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินแก่โจทก์เพื่อดำเนินการจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ และมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาต่อไปจึงไม่อาจกระทำได้ ศาลฎีกาให้ยกเลิกการบังคับคดีแก่จำเลย
การแบ่งแยกโฉนดที่ดินออกมาจากโฉนดเดิมไม่ถือว่าเป็นการจำหน่ายที่ดิน เพราะการจำหน่ายจะต้องเป็นการจดทะเบียนโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น การที่ ส. ซึ่งเป็นพระภิกษุดำเนินการแบ่งแยกโฉนดที่ดินของตนเสร็จ แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ก่อนที่ ส. มรณภาพ จึงมิใช่ ส. โอนที่ดินให้แก่โจทก์ก่อน ส. มรณภาพ ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นของวัดจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการตรวจค้นจับกุมของเภสัชกร กองควบคุมวัตถุเสพติด และอำนาจฟ้องคดีวัตถุออกฤทธิ์
จ. เภสัชกร 8 และ ศ. เภสัชกร 5 กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ถือเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มีหน้าที่ตรวจสอบสถานที่ผลิต เก็บ และขายวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าว รวมทั้งตรวจสอบตามร้านขายยาโดยทั่วไป และได้พบเห็นจำเลยทั้งสองกระทำผิดซึ่งหน้า ดังนั้น การตรวจค้นร้านขายยาภักดีเภสัชสถานที่เกิดเหตุและจับกุมจำเลยทั้งสอง จึงกระทำโดยชอบ ทั้งเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานดำเนินการเป็นขั้นตอนในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 เมื่อได้แจ้งความดำเนินคดีต่อพนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุและพนักงานสอบสวนได้สอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คที่ออกชำระหนี้จากสัญญากู้ยืมที่ไม่ครบอากรแสตมป์ สามารถใช้เป็นหลักฐานในคดีอาญาได้
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 118 ตราสารใดไม่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือส่วนของตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ส่วนในคดีอาญาไม่ต้องห้ามที่จะนำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ในคดีอาญาตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2538 มาตรา 4 เมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมโดยมีสัญญากู้ยืมเงินแม้ปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนมาแสดงก็ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง และบังคับตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินก็ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 แล้ว
(วรรคหนึ่ง วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาครั้งที่ 3/2544)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คคืนเงินเนื่องจากบัญชีถูกปิด แม้สัญญากู้ยืมไม่ครบอากรแสตมป์ แต่ยังถือเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงตาม พ.ร.บ. เช็ค
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกหรือส่วนของตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานไม่ได้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ส่วนในคดีอาญาไม่ต้องห้ามที่จะนำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมโดยมีหนังสือสัญญากู้ยืมเงินมาแสดงก็ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แม้สัญญากู้ยืมเงินจะปิดอากรแสตมป์ไม่ครบก็ตามเมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดหลายกรรมต่อเนื่องและการปรับบทลงโทษตามกฎหมายอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(8) กระทงหนึ่ง และมาตรา 365(3) ประกอบมาตรา 364อีกกระทงหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท และปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเป็นกรณีที่พิพากษาแก้เพียงว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลย และฎีกาของโจทก์ ที่ว่าศาลไม่ควรลดโทษให้จำเลยเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ ในการลงโทษแก่จำเลยล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกา
จำเลยบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายที่ 1 โดยมีเจตนาอันเดียวคือมุ่งหมายที่จะทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 เท่านั้น แต่การที่ผู้เสียหายที่ 3ซึ่งอยู่คนละบ้านกับผู้เสียหายที่ 1 จะเข้ามาช่วยผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้เสียหายที่ 1 จำเลยจึงใช้ไม้รวกตีผู้เสียหายที่ 3 จนแขนหัก เจตนาทำร้ายผู้เสียหายที่ 3 เพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง แยกออกจากเจตนาบุกรุกได้ มิใช่เป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียวคือเพื่อทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 3จึงมิใช่กรรมเดียว แต่เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน: เจตนาบุกรุกและทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย แม้เกิดต่อเนื่องกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) กระทงหนึ่ง และมาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 364 อีกกระทงหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท และปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เพียงว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทอันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายที่ 1 โดยมีเจตนาอันเดียวคือ มุ่งหมายที่จะทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 การที่ผู้เสียหายที่ 3 ซึ่งอยู่คนละบ้านกับผู้เสียหายที่ 1 ได้ยินเสียงผู้เสียหายที่ 2 บุตรผู้เสียหายที่ 1 ร้องไห้ ผู้เสียหายที่ 3 จะเข้ามาอุ้มผู้เสียหายที่ 2 จำเลยจึงใช้ไม้รวกตีผู้เสียหายที่ 3 จนแขนหัก เจตนาทำร้ายผู้เสียหายที่ 3 เพิ่งเกิดขึ้นภายหลัง แยกออกจากเจตนาบุกรุกได้ จึงเป็นการกระทำสองกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 หาใช่เป็นการกระทำต่อเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียวเพื่อทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 3 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเสนอซื้อขาย/เช่า และการบอกเลิกสัญญา กรณีแหล่งเงินกู้ไม่อนุมัติ
แผ่นพับโฆษณาที่มีข้อความกล่าวถึงขนาด เนื้อที่อาคารราคาเซ้งต่อห้อง 20 ปี การผ่อนชำระเงิน วันจอง ทำสัญญา ผ่อนชำระชำระวันโอนสิทธิ การผ่อนชำระแก่สถาบันการเงินอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปีซึ่งหากผู้ใดสนใจจะจองห้องเช่าที่ขนาดใดต้องติดต่อขอทำสัญญากับโจทก์นั้นเป็นการชวนเชิญให้จำเลยเป็นฝ่ายทำคำเสนอเท่านั้น ไม่ชัดเจนแน่นอนพอที่จะถือเป็นคำเสนอ
สัญญาจองห้องเช่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าหากจำเลยประสงค์ให้ติดต่อแหล่งเงินทุนเพื่อการกู้ยืมเงินชำระค่าเช่า จำเลยจะต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า จำเลยต้องไปพบเจ้าหน้าที่ของแหล่งเงินทุน และปฏิบัติตามข้อกำหนดของแหล่งเงินทุนโดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายในการกู้ยืม และจดทะเบียนต่าง ๆ เองทั้งสิ้น เป็นการอนุเคราะห์ให้ความสะดวกแก่จำเลย หากแหล่งเงินทุนไม่อนุมัติ จำเลยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญานี้ จะยกการไม่อนุมัติเงินกู้มาเป็นเหตุไม่ปฏิบัติตามสัญญาหาได้ไม่ โจทก์เป็นเพียงคนกลางติดต่อหาแหล่งเงินกู้ให้เท่านั้น มิใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องติดต่อหาแหล่งเงินกู้ให้จำเลยจนได้รับอนุมัติให้กู้เงินได้ตามจำนวนที่กำหนด ดังนั้น เมื่อโจทก์ติดต่อให้จำเลยกู้เงินจากบริษัทเงินทุนแล้ว แต่จำเลยได้รับอนุมัติให้กู้เพียง1,200,000 บาท ยังขาดอยู่อีกประมาณ 500,000 บาท การที่จำเลยไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้จากการสั่งซื้อวัสดุก่อสร้าง: จำเลยร่วมผู้สั่งซื้อจริงมีหน้าที่ชำระหนี้
จำเลยทั้งสองว่าจ้างจำเลยร่วมให้ทำถนนลาดยางในโครงการบ้านสวนนำโชคของจำเลยทั้งสอง โดยมีข้อตกลงให้จำเลยร่วมเป็นผู้จัดหาเครื่องจักร เครื่องใช้ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เอง เมื่อ ก. ซึ่งเป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยร่วมให้มีอำนาจดำเนินการใด ๆ แทนจำเลยร่วมได้นำ ส. ไปสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์โดยแนะนำว่า ส. เป็นผู้จัดการโครงการของจำเลยทั้งสองได้รับมอบหมายจากจำเลยทั้งสองให้มาติดต่อซื้อสินค้าของโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยทั้งสองมอบหมายให้ ส. มาติดต่อซื้อจริงและส่งสินค้าไปให้จำเลยทั้งสองยังสถานที่ก่อสร้างตามโครงการ โดยมี ส. ร่วมลงชื่อเป็นผู้รับมอบสินค้าด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ ส. มาซื้อสินค้าจากโจทก์ มีเพียง ก. ตัวแทนของจำเลยร่วมเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อใช้ในงานทำถนนเท่านั้น แม้บางครั้งจะมีชื่อ ส. เป็นผู้สั่งซื้อ แต่ก็เนื่องมาจากการที่ ส. กับ ก. คุ้นเคยกันและ ก. เป็นผู้แนะนำว่า ส. เป็นผู้จัดการโครงการดังกล่าว โจทก์จึงไม่เคร่งครัดที่จะให้คนใดคนหนึ่งสั่งซื้อและลงชื่อในใบวางบิล/ส่งของ การที่ ส. ลงชื่อในใบวางบิล/ส่งของ หรือลงชื่อเป็นผู้รับสินค้าจึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์แต่อย่างใด โจทก์ไม่มีอำนาจเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยตัวแทนที่ปรากฏต่อบุคคลภายนอก ทำให้จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในละเมิด
หลังเกิดเหตุละเมิด พ. เป็นผู้เจรจากับโจทก์หลายครั้งรวมทั้งที่บริษัทจำเลยที่ 3 โดยให้นามบัตรแก่โจทก์ซึ่งระบุว่าเป็นกรรมการของจำเลยที่ 3 นอกจากนี้ พ. อยู่ที่บริษัทจำเลยที่ 3 เป็นประจำซึ่งมีหน้าที่จ่ายงานในบริษัทจำเลยที่ 3 พฤติการณ์ของ พ. ที่แสดงออกมาดังกล่าวดุจ พ. เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 3 แม้จะไม่มีชื่อ พ. เป็นกรรมการตามหนังสือรับรองบริษัทก็ตาม ย่อมก่อให้ผู้อื่นที่เกี่ยวข้องเข้าใจและรับรู้ถึงอำนาจการจัดการของ พ. กรณีเป็นการที่จำเลยที่ 3 เชิด พ. ให้กระทำการแทน จำเลยที่ 3 โดยออกนอกหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย: ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เนื่องจากพยานหลักฐานของจำเลยไม่มีน้ำหนักเพียงพอ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯมาตรา 15 วรรคหนึ่ง,66 วรรคหนึ่ง ให้จำคุก 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุก 3 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 ส่วนกำหนดโทษให้เป็นไปตามศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะใช้ถ้อยคำว่าให้ยกฟ้องข้อหามีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วยก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็มีผลเป็นการแก้เฉพาะบทลงโทษเท่านั้น มิได้แก้กำหนดโทษถือว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 47 เม็ด ผิดปกติวิสัยของผู้ติดยาเสพติดซึ่งจะมีไว้เพื่อเสพเองและจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการรับรองหรืออนุญาตให้โจทก์ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ฎีกาของโจทก์จึงต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 20