คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดลจรัส รัตนโศภิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3305/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยเจตนาและทรมาน: ปฏิเสธบันดาลโทสะ เตรียมการล่วงหน้าและลงมืออย่างโหดร้าย
จำเลยไปหาผู้ตายเพราะความเจ็บใจซึ่งเกิดมานานแล้ว เมื่อจำเลยเห็นผู้ตายก็ยิงผู้ตายทันที ในวันเกิดเหตุจำเลยเป็นฝ่ายลงมือก่อเหตุจะไปเผาบ้านที่ผู้ตายพักอาศัยอยู่โดยเตรียมน้ำมันเบนซิน ไฟแช็ก ตลอดจนเตรียมยากำจัดหนูเพื่อจะฆ่าตัวตายพร้อมกับผู้ตาย บังเอิญเมื่อมาที่ห้องนอนผู้ตายพบอาวุธปืนจึงคิดจะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและฆ่าตัวตายตาม มูลเหตุที่จูงใจให้กระทำผิด เกิดจากความเจ็บแค้นใจซึ่งมีอยู่เดิม กรณีมิใช่บันดาลโทสะโดยถูกข่มเหง อย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
ภายหลังจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ผู้ตายไม่ถึงแก่ความตายทันที จำเลยใช้น้ำมันเบนซินราดผู้ตายแล้วจุดไฟเผา ซึ่งผู้ตายได้รับความเจ็บปวดและทรมานก่อนถึงแก่ความตาย แสดงให้เห็นว่าจำเลยประสงค์ให้ผู้ตายได้รับความลำบากอย่างสาหัสก่อนตาย จึงเป็นการฆ่าโดยทรมานและโดยทารุณโหดร้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3305/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยเจตนาและประสงค์ทรมาน: พฤติการณ์โหดร้ายทารุณ
จำเลยไปหาผู้ตายเพราะความเจ็บใจซึ่งเกิดมานานแล้ว เมื่อจำเลยเห็นผู้ตายก็ยิงผู้ตายทันที ในวันเกิดเหตุจำเลยเป็นฝ่ายลงมือก่อเหตุจะไปเผาบ้านที่ผู้ตายพักอาศัยอยู่โดยเตรียมน้ำมันเบนซิน ไฟแช็ก ตลอดจนเตรียมยากำจัดหนูเพื่อจะฆ่าตัวตายพร้อมกับผู้ตาย บังเอิญเมื่อมาที่ห้องนอนผู้ตายพบอาวุธปืนจึงคิดจะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและฆ่าตัวตายตาม มูลเหตุที่จูงใจให้กระทำผิดเกิดจากความเจ็บแค้นใจซึ่งมีอยู่เดิม กรณีมิใช่บันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
ภายหลังจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ผู้ตายไม่ถึงแก่ความตายทันที จำเลยใช้น้ำมันเบนซินราดผู้ตายแล้วจุดไฟเผา ซึ่งผู้ตายได้รับความเจ็บปวดและทรมานก่อนถึงแก่ความตาย แสดงให้เห็นว่าจำเลยประสงค์ให้ผู้ตายได้รับความลำบากอย่างสาหัสก่อนตาย จึงเป็นการฆ่าโดยทรมานและโดยทารุณโหดร้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา
สัญญากู้ระบุว่าหากผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้เงินกู้ตามที่กำหนดไว้ไม่ว่างวดหนึ่งงวดใด ยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนด (สูงกว่าร้อยละ 9.5) เมื่อใดก็ได้แต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ สัญญากู้เงิน ฉบับพิพาท ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอนแล้วจำนวนหนึ่ง มีระยะเวลาที่แน่นอนชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ยังให้สิทธิ ผู้ให้กู้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ใหม่เมื่อใดก็ได้เมื่อผู้กู้ผิดนัดเช่นนี้ มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง สมควร เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นหลังผิดนัดกู้เงิน มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดได้
เมื่อสัญญากู้เงินกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอนชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่ยังให้สิทธิผู้ให้กู้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ต่อเมื่อผู้กู้ผิดนัดเช่นนี้ มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดไว้ล่วงหน้า อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นจึงเป็นเบี้ยปรับเมื่อสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจปรับลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำอนาจารเด็กและการพรากเด็ก: การพิจารณาความผิดฐานพรากเด็กเมื่อเด็กอยู่ในบริเวณวัด
ผู้เสียหายเป็นเด็กมีอายุ 8 ปี 6 เดือน ได้ไปที่วัดที่จำเลยจำพรรษาอยู่ ขณะที่ผู้เสียหายกำลังจะกลับบ้าน จำเลยได้จูงมือผู้เสียหายและเด็กหญิง ก. ชวนไปรับประทานขนมที่กุฏิของจำเลยการที่จำเลยจูงมือผู้เสียหายซึ่งไปที่วัดช่วยพระทำงานอยู่ในบริเวณวัดไปที่กุฏิของจำเลยซึ่งอยู่ในวัดนั่นเอง ยังไม่ถือว่าเป็นการพรากผู้เสียหายไปจากความปกครองดูแลของบิดามารดา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขแผนผังโครงการจัดสรรที่ดินโดยลดพื้นที่สาธารณูปโภคขัดต่อกฎหมายและข้อตกลงเดิม
จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน โดยมีเงื่อนไขระบุห้ามมิให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงบริเวณที่กันไว้เป็นบริการสาธารณะซึ่งมีขนาดและเนื้อที่ เกินกว่ามาตรฐานไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ที่ดินส่วนที่กันไว้เป็นบริการ สาธารณะทั้งหมดจึงตกเป็นภารจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 หาใช่ตกเป็นภารจำยอมเฉพาะแต่ส่วนตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนด เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินพ.ศ. 2534 ข้อ 45 ไม่ จำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงเนื้อที่ของบริการสาธารณะจากสวนพักผ่อนเป็นโรงเรียนอนุบาล แม้ บริการสาธารณะทั้งสองต่างเป็นสาธารณูปโภคแต่ก็เป็นสาธารณูปโภค คนละประเภทกัน การเปลี่ยนแปลงขนาดเนื้อที่ของสวนพักผ่อนจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแล้ว แม้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 17 จะให้อำนาจคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดิน อนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผังโครงการได้ แต่ต้องมิใช่การลดขนาด สาธารณูปโภคและการจัดสรรนั้นยังต้องดำเนินการอยู่ด้วย จำเลยที่ 1 ได้จัดสรรที่ดินจำหน่ายไปหมดแล้ว จึงไม่สามารถขอเปลี่ยนแปลงแก้ไข แผนผังโครงการได้อีก อำนาจของคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2535 ข้อ 4 เป็นอำนาจที่อาจผ่อนผันให้แก่ผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินบางราย หาใช่ว่าคณะกรรมการจะมีอำนาจอนุญาตให้ผู้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินรายใดผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ตามอำเภอใจอันเป็นการขัดต่อกฎหมายได้ มติของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ที่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเปลี่ยนแปลงลดจำนวนพื้นที่สวนพักผ่อน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงพื้นที่สาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรที่ดินที่ขัดต่อภาระจำยอมและการใช้อำนาจโดยมิชอบของคณะกรรมการควบคุมการจัดสรร
จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน โดยมีเงื่อนไขระบุห้ามมิให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงบริเวณที่กันไว้เป็นบริการสาธารณะซึ่งมีขนาดและเนื้อที่เกินกว่ามาตรฐานไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ที่ดินส่วนที่กันไว้เป็นบริการสาธารณะทั้งหมดจึงตกเป็นภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 หาใช่ตกเป็นภาระจำยอมเฉพาะแต่ส่วนตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2535 ข้อ 45 ไม่ จำเลยที่ 1 เปลี่ยนแปลงเนื้อที่ของบริการสาธารณะจากสวนพักผ่อนเป็นโรงเรียนอนุบาล แม้บริการสาธารณะทั้งสองต่างเป็นสาธารณูปโภค แต่ก็เป็นสาธารณูปโภคคนละประเภทกัน การเปลี่ยนแปลงขนาดเนื้อที่ของสวนพักผ่อนจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น แม้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 17 จะให้อำนาจคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินอนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผังโครงการได้ แต่ต้องมิใช่การลดขนาดสาธารณูปโภคและการจัดสรรนั้นยังต้องดำเนินการอยู่ด้วย จำเลยที่ 1 ได้จัดสรรที่ดินจำหน่ายไปหมดแล้ว จึงไม่สามารถขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนผังโครงการได้อีก อำนาจของคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2535 ข้อ 4 เป็นอำนาจที่อาจผ่อนผันให้แก่ผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินบางราย หาใช่ว่าคณะกรรมการจะมีอำนาจอนุญาตให้ผู้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินรายใดผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ตามอำเภอใจอันเป็นการขัดต่อกฎหมายได้ มติของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ที่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเปลี่ยนแปลงลดจำนวนพื้นที่สวนพักผ่อนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย: ศาลรับฟังพยานหลักฐานโจทก์ และใช้บทสันนิษฐานตามกฎหมาย
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาเพียงประการเดียวข้อเท็จจริงในความผิดฐานมีอีเฟดรีนเกินปริมาณที่กำหนดไว้ในครอบครองเพื่อขายและฐานขายอีเฟดรีนเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดทั้งสองฐานที่ว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15
ความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิต แม้ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่า จำเลยกระทำผิดฐานดังกล่าวหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 245 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยระบุวรรคสองของมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และปรับบท ป.อ.มาตรา 83 เพิ่มขึ้น แม้จะเป็นการแก้ไขเล็กน้อย แต่ความผิดฐานนี้ก็ยังไม่ถึงที่สุด จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาในความผิดฐานนี้ได้ เมื่อศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ ทั้งประจักษ์พยานและพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีนี้แล้วเห็นว่า พยานโจทก์เบิกความสอดคล้องต้องกันในสาระสำคัญ ทั้งไม่ปรากฏว่าพยานโจทก์เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน และบางคนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจปฏิบัติการไปตามหน้าที่มีการดำเนินการวางแผนเพื่อจับกุมจำเลยเป็นขั้นตอนและจับกุมจำเลยได้พร้อมของกลางเป็นจำนวนมาก ทั้งไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าพยานโจทก์จะทำพยานหลักฐานเท็จปรักปรำกลั่นแกล้งจำเลย เมื่อส่งผงขาวของกลางไปตรวจพิสูจน์แล้ว ปรากฏว่าเป็นเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณสารบริสุทธิ์หนัก 1,298.2 กรัม เกินกว่า 20 กรัม ซึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 15 วรรคสอง ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นบทสันนิษฐานโดยเด็ดขาดของกฎหมาย และจำเลยไม่อาจจะนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวได้ เมื่อจำเลยถูกจับกุมได้ขณะครอบครองเฮโรอีนของกลาง และตามพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว การกระทำของจำเลยมีลักษณะร่วมกันเป็นขบวนการกับบุคคลจำนวนมากในการค้าขายเสพติด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
การรวบรวมพยานหลักฐานและนำพยานเข้าสืบในระบบกล่าวหา เป็นเรื่องของโจทก์เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามฟ้องหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ เมื่อศาลรับฟังข้อเท็จจริงได้โดยปราศจากสงสัยว่า จำเลยกระทำความผิดจริงตามฟ้องแล้วก็พิพากษาลงโทษจำเลย โดยไม่จำต้องฟังคำเบิกความหรือดูอากัปกิริยาของสายลับก็ได้
แม้โจทก์มิได้นำสายลับมาสืบแสดงให้ศาลได้พิจารณาและวินิจฉัยคำเบิกความและอากัปกิริยาของสายลับ และให้โอกาสจำเลยได้ถามค้านค้นหาความจริงเพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวหาของโจทก์ ก็หาได้ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์อื่น ๆมีพิรุธสงสัยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย พยานหลักฐานเพียงพอ ศาลยืนตามคำพิพากษา
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาเพียงประการเดียว ข้อเท็จจริงในความผิดฐานมีอีเฟดรีนเกินปริมาณที่กำหนดไว้ในครอบครองเพื่อขายและฐานขายอีเฟดรีนเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดทั้งสองฐานที่ว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
ความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิต แม้ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่า จำเลยกระทำผิดฐานดังกล่าวหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 245 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ โดยระบุวรรคสองของมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และปรับบทประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เพิ่มขึ้น แม้จะเป็นการแก้ไขเล็กน้อยแต่ความผิดฐานนี้ก็ยังไม่ถึงที่สุด จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาในความผิดฐานนี้ได้เมื่อศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ ทั้งประจักษ์พยานและพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีนี้แล้วเห็นว่า พยานโจทก์เบิกความสอดคล้องต้องกันในสาระสำคัญ ทั้งไม่ปรากฏว่าพยานโจทก์เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน และบางคนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจปฏิบัติการไปตามหน้าที่มีการดำเนินการวางแผนเพื่อจับกุมจำเลยเป็นขั้นตอนและจับกุมจำเลยได้พร้อมของกลางเป็นจำนวนมาก ทั้งไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าพยานโจทก์จะทำพยานหลักฐานเท็จปรักปรำกลั่นแกล้งจำเลย เมื่อส่งผงขาวของกลางไปตรวจพิสูจน์แล้ว ปรากฏว่าเป็นเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณสารบริสุทธิ์หนัก 1,298.2 กรัม เกินกว่า 20 กรัม ซึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นบทสันนิษฐาน โดยเด็ดขาดของกฎหมายและจำเลยไม่อาจจะนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวได้ เมื่อจำเลยถูกจับกุมได้ขณะครอบครองเฮโรอีนของกลาง และตามพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว การกระทำของจำเลยมีลักษณะร่วมกันเป็นขบวนการกับบุคคลจำนวนมากในการค้าขายเสพติด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
การรวบรวมพยานหลักฐานและนำพยานเข้าสืบในระบบกล่าวหาเป็นเรื่องของโจทก์เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามฟ้องหรือเป็นบริสุทธิ์ เมื่อศาลรับฟังข้อเท็จจริงได้โดยปราศจากสงสัยว่า จำเลยกระทำความผิดจริงตามฟ้องแล้วก็พิพากษาลงโทษจำเลย โดยไม่จำต้องฟังคำเบิกความหรือดูอากัปกิริยาของสายลับก็ได้
แม้โจทก์มิได้นำสายลับมาสืบแสดงให้ศาลได้พิจารณาและวินิจฉัยคำเบิกความและอากัปกิริยาของสายลับ และให้โอกาสจำเลยได้ถามค้านค้นหาความจริงเพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวหาของโจทก์ ก็หาได้ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์อื่น ๆ มีพิรุธสงสัยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย: การกระทำชำเราเด็กหญิงและพรากเด็กจากบิดามารดา
จำเลยมีอาชีพรับราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ 5ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการในโครงการต่าง ๆ ของทางราชการหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมอาชีพแก่ชาวบ้าน เด็กและเยาวชน ตลอดจนเป็นวิทยากรอบรมลูกเสือชาวบ้าน จำเลยจึงได้พบปะผู้คนมากมีประสบการณ์ในชีวิตพอสมควร พอจะประมาณการได้ว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุประมาณเท่าใด จำเลยรู้จักกับผู้เสียหายมาก่อนเกิดเหตุเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ เพราะรับสอนผู้เสียหายขับรถยนต์โดยผู้เสียหายไปกับมารดาทุกครั้ง แต่วันเกิดเหตุจำเลยเบิกความยอมรับว่าก่อนเกิดเหตุ 1 วัน จำเลยบอกมารดาของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายสามารถขับรถทางไกลได้ พรุ่งนี้เมื่อมารดาขับรถเสร็จแล้วไม่ต้องรอรับผู้เสียหายกลับบ้านเพราะจะนำผู้เสียหายฝึกหัดขับรถทางไกลเป็นเวลา2 ชั่วโมงนับว่าเป็นเรื่องผิดปกติ วันเกิดเหตุจำเลยก็ให้ผู้เสียหายขับรถไกลถึงประมาณ 60 กิโลเมตร ก็เป็นพิรุธเพราะกว่าจะไปและกลับคงต้องใช้เวลานานกว่าที่ฝึกขับรถปกติวันละ 2 ชั่วโมง จำเลยเป็นครูฝึกหัดขับรถแต่ไปสอบถามเรื่องส่วนตัวของผู้เสียหายซึ่งเป็นคนละเรื่องกับหน้าที่ของตนเอง หากจำเลยพูดคุยกับผู้เสียหายก็น่าจะพอคาดคิดได้ว่าผู้เสียหายมีระดับสติปัญญาเป็นเด็กเพียงใด พฤติการณ์ที่จำเลยขับรถพาผู้เสียหายเข้าโรงแรมก็ไม่ปรากฏว่าได้รักใคร่ชอบพอผู้เสียหายหรือเคยพูดจาแสดงความรักกันมาก่อน เพียงแต่จำเลยเบิกความทำนองคิดว่าผู้เสียหายมีใจแก่จำเลยเท่านั้น นับว่าเป็นการฉวยโอกาสจากความไร้เดียงสาของผู้เสียหายเพื่อสนองตัณหาของตนเท่านั้น ชั้นจับกุมและสอบสวนจำเลยก็มิได้แสดงว่าจำเลยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหายอย่างใด กรณีจะเป็นเรื่องสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคแรก จะต้องมีพฤติการณ์หรือเหตุชักจูงใจให้สำคัญผิดโดยสุจริต มิใช่คาดคะเนเอาเองดังที่จำเลยเบิกความพฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อเป็นข้อแก้ตัวว่าจำเลยสำคัญผิดโดยสุจริต ดังนั้น เมื่อจำเลยกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคแรก และการที่จำเลยพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราที่ห้องของโรงแรมที่เกิดเหตุ เป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม
of 20