พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8889/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำให้การพยานชั้นสอบสวนประกอบการพิจารณาคดีอาญา และการพิสูจน์ความตายจากบาดแผล
โจทก์มีประจักษ์พยานรู้เห็นใกล้ชิดมาให้การต่อพนักงานสอบสวนแต่ประจักษ์พยานโจทก์เบิกความในชั้นศาลเพื่อช่วยเหลือจำเลย ศาลจึงนำคำให้การของพยานโจทก์ดังกล่าวชั้นสอบสวนมาฟังประกอบข้อพิจารณาของศาลได้ทั้งไม่มีบทบัญญัติใดห้ามมิให้ศาลรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนหรือให้รับฟังแต่เฉพาะพยานที่มาเบิกความต่อศาลเท่านั้น เมื่อคำให้การชั้นสอบสวนเกิดขึ้นโดยสมัครใจของพยานโจทก์ ศาลจึงนำคำให้การพยานชั้นสอบสวนมาฟังประกอบได้
ผู้ตายถูกจำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดยาวประมาณ 1 ศอก ฟันที่บริเวณศีรษะและท้อง กะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลไม่รู้สึกตัวเมื่อมาโรงพยาบาลจนแพทย์ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดและเย็บแผลให้ แม้แผลภายนอกจะหาย แต่ผู้ตายก็ยังมีอาการไม่สามารถพูดได้รับฟังไม่รู้เรื่อง แม้จะออกจากโรงพยาบาลมานอนรักษาตัวต่อที่บ้านอาการผู้ตายก็คงเช่นเดิม การที่จำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดใหญ่ฟันที่บริเวณท้องและที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญจนเป็นเหตุให้ผู้ตายกะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลเห็นได้ชัดว่าเป็นการฟันอย่างแรง แสดงว่าจำเลยฟันโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ความตายของผู้ตายย่อมเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ใช้มีดอีโต้ฟัน จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตาย
ผู้ตายถูกจำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดยาวประมาณ 1 ศอก ฟันที่บริเวณศีรษะและท้อง กะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลไม่รู้สึกตัวเมื่อมาโรงพยาบาลจนแพทย์ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดและเย็บแผลให้ แม้แผลภายนอกจะหาย แต่ผู้ตายก็ยังมีอาการไม่สามารถพูดได้รับฟังไม่รู้เรื่อง แม้จะออกจากโรงพยาบาลมานอนรักษาตัวต่อที่บ้านอาการผู้ตายก็คงเช่นเดิม การที่จำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดใหญ่ฟันที่บริเวณท้องและที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญจนเป็นเหตุให้ผู้ตายกะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลเห็นได้ชัดว่าเป็นการฟันอย่างแรง แสดงว่าจำเลยฟันโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ความตายของผู้ตายย่อมเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ใช้มีดอีโต้ฟัน จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8889/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนประกอบการพิจารณาคดี และเจตนาฆ่าจากการกระทำด้วยอาวุธอันตราย
โจทก์มีประจักษ์พยานรู้เห็นใกล้ชิดมาให้การต่อพนักงานสอบสวนแต่ประจักษ์พยานโจทก์เบิกความในชั้นศาลเพื่อช่วยเหลือจำเลย ศาลจึงนำคำให้การของพยานโจทก์ดังกล่าวชั้นสอบสวนมาฟังประกอบข้อพิจารณาของศาลได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติใดห้ามมิให้ศาลรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนหรือให้รับฟังแต่เฉพาะพยานที่มาเบิกความต่อศาลเท่านั้น เมื่อคำให้การชั้นสอบสวนเกิดขึ้นโดยสมัครใจของพยานโจทก์ ศาลจึงนำคำให้การพยานชั้นสอบสวนมาฟังประกอบได้
ผู้ตายถูกจำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดยาวประมาณ 1 ศอก ฟันที่บริเวณศีรษะและท้อง กะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลไม่รู้สึกตัวเมื่อมาโรงพยาบาลจนแพทย์ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดและเย็บแผลให้ แม้แผลภายนอกจะหาย แต่ผู้ตายก็ยังมีอาการไม่สามารถพูดได้รับฟังไม่รู้เรื่อง แม้จะออกจากโรงพยาบาลมานอนรักษาตัวต่อที่บ้านอาการผู้ตายก็คงเช่นเดิม การที่จำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดใหญ่ฟันที่บริเวณท้องและที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญจนเป็นเหตุให้ผู้ตายกะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลเห็นได้ชัดว่าเป็นการฟันอย่างแรง แสดงว่าจำเลยฟันโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ความตายของผู้ตายย่อมเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ใช้มีดอีโต้ฟัน จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตาย
ผู้ตายถูกจำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดยาวประมาณ 1 ศอก ฟันที่บริเวณศีรษะและท้อง กะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลไม่รู้สึกตัวเมื่อมาโรงพยาบาลจนแพทย์ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดและเย็บแผลให้ แม้แผลภายนอกจะหาย แต่ผู้ตายก็ยังมีอาการไม่สามารถพูดได้รับฟังไม่รู้เรื่อง แม้จะออกจากโรงพยาบาลมานอนรักษาตัวต่อที่บ้านอาการผู้ตายก็คงเช่นเดิม การที่จำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดใหญ่ฟันที่บริเวณท้องและที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญจนเป็นเหตุให้ผู้ตายกะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลเห็นได้ชัดว่าเป็นการฟันอย่างแรง แสดงว่าจำเลยฟันโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ความตายของผู้ตายย่อมเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ใช้มีดอีโต้ฟัน จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7994/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวและกรรโชกทรัพย์ ความผิดสองกรรมต่างกัน
จำเลยที่ 2 กับพวกใช้กำลังประทุษร้ายโดยล็อกคอผู้เสียหายทั้งสองให้เข้าไปนั่งในรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เป็นคนขับ แล้วจำเลยที่ 1 พูดบังคับ ขู่เข็ญให้ผู้เสียหายทั้งสองมอบเงินให้จำเลยที่ 1 กับพวกคนละ 1,000 บาท หากไม่ให้จะอยู่ในอำเภอหาดใหญ่ไม่ได้ ผู้เสียหายทั้งสองเกรงกลัวจึงยอม ตามที่จำเลยที่ 1 ขู่บังคับ และได้มอบเงิน 500 บาท ให้จำเลยที่ 3 ไป วันเดียวกัน ผู้เสียหายที่ 1 โทรศัพท์นัดหมายให้จำเลยที่ 1 มารับเงิน ส่วนที่เหลืออีก 1,500 บาท เมื่อจำเลยที่ 1 มารับเงินจึงถูกเจ้าพนักงาน ตำรวจจับกุมได้ แล้วจำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ในวันเดียวกัน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะไม่ได้มารับเงิน ส่วนที่เหลือจากผู้เสียหายทั้งสองด้วยก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แสดง ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันวางแผนและกระทำความผิด ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการเรียกร้องเงินจากผู้เสียหายทั้งสองตั้งแต่ต้น ทั้งยังร่วมกับจำเลยที่ 1 นำเงิน 500 บาท ที่ผู้เสียหายมอบให้ในวันเกิดเหตุไปใช้ในการรับประทานอาหารกันการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวกดังกล่าวครบองค์ประกอบความผิดโดยร่วมกันเป็นตัวการในการกระทำความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายทั้งสองให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายและกรรโชกผู้เสียหายทั้งสอง และการที่จำเลยทั้งสามกับพวกเอาตัวผู้เสียหายทั้งสองไปหน่วงเหนี่ยวไว้ในรถยนต์โดยเจตนาทำให้ผู้เสียหายทั้งสองปราศจากเสรีภาพในร่างกายเป็นความผิดสำเร็จกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อมีการขู่เรียกเอาเงินโดยเจตนากรรโชกเอาทรัพย์จนผู้เสียหายทั้งสองยินยอมให้เงินก็เป็นความผิดฐานกรรโชกอีกกรรมหนึ่งจึงเป็นความผิดสองกรรม ไม่ใช่กระทำกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7858/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่างตอบแทน: การพิจารณาความถูกต้องของสัญญาเช่าและการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การพิจารณาว่าคดีตามคำฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องแยกพิจารณาต่างหากเป็นคนละส่วนกัน คดีตามคำฟ้องแย้งจำเลยที่ 1 อ้างว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับ ส. สามีจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาและขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่าให้จำเลยที่ 1 นั้นมิใช่เรียกร้องเอาทรัพย์สินจากโจทก์ จึงเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
ส. สามีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าที่ดินพร้อมอาคารกับโจทก์มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี และต่อสัญญาปีต่อปี โดยมิได้มีข้อตกลงที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กับพวกได้ปรับปรุงที่ดินที่เช่า ปลูกอาคารขึ้นมาใหม่และก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารพิพาท จึงเป็นการกระทำเพื่อความสะดวกสบายในการใช้สอยทรัพย์สินที่ ส. สามีจำเลยที่ 1เช่าจากโจทก์เท่านั้นไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาที่จะทำให้จำเลยที่ 1 กับพวกมีสิทธิยิ่งไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะให้เช่าต่อ จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นบริวารของ ส. จึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินและอาคารอีกต่อไป และไม่มีสิทธิบังคับให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าตามฟ้องแย้งได้
ส. สามีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าที่ดินพร้อมอาคารกับโจทก์มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี และต่อสัญญาปีต่อปี โดยมิได้มีข้อตกลงที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กับพวกได้ปรับปรุงที่ดินที่เช่า ปลูกอาคารขึ้นมาใหม่และก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารพิพาท จึงเป็นการกระทำเพื่อความสะดวกสบายในการใช้สอยทรัพย์สินที่ ส. สามีจำเลยที่ 1เช่าจากโจทก์เท่านั้นไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาที่จะทำให้จำเลยที่ 1 กับพวกมีสิทธิยิ่งไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะให้เช่าต่อ จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นบริวารของ ส. จึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินและอาคารอีกต่อไป และไม่มีสิทธิบังคับให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าตามฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7713/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งผลประโยชน์จากโรงเรียนคอมพิวเตอร์ ไม่เป็นโมฆะจากการหลีกเลี่ยงภาษี หรือสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาแบ่งผลประโยชน์ระหว่างโจทก์และจำเลย โดยคิดจากจำนวนนักเรียนที่เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 700 คน ต่อ 1 ภาคการศึกษา เก็บค่าเล่าเรียนคนละ 700 บาท ต่อ 1 ภาคการศึกษา ส่งแก่โจทก์ โดยจำเลยจะได้ผลตอบแทนเป็นเงินร้อยละ 15 ของค่าเล่าเรียนที่เก็บได้ โจทก์เป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งจัดสร้างห้องเรียนคอมพิวเตอร์ให้จำเลย 1 ห้อง เมื่อครบ 4 ปีแล้ว โจทก์จะมอบคอมพิวเตอร์ วัสดุอุปกรณ์ ห้องเรียนและหลักสูตรการเรียนการสอนให้จำเลยทั้งหมด ผลของสัญญามิได้กระทบต่อสิทธิหรือประโยชน์ของคนโดยทั่วไป สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนรูปแบบหนึ่งซึ่งใช้บังคับกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 149 และ 369 ไม่ใช่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีหรือเป็นสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายเงินผ่อน จึงเป็นธรรมและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7713/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งปันผลประโยชน์จากโรงเรียน: ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำกัดค่าเสียหาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างโจทก์และจำเลย โดยคิดจากจำนวนนักเรียนที่เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 700 คน ต่อ 1 ภาคการศึกษากรณีที่มีน้อยกว่า 700 คน ให้ถือว่าจำนวนนักเรียนเป็น 700 คน จำเลยเป็นผู้เก็บค่าเล่าเรียน คนละ 700 บาท ส่งแก่โจทก์ทุกภาคการศึกษา จำเลยจะได้ผลตอบแทนเป็นเงินร้อยละ 15 ของค่าเล่าเรียนที่เก็บได้ โดยโจทก์เป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งจัดสร้างห้องเรียนคอมพิวเตอร์ให้จำเลย 1 ห้อง เมื่อครบ 4 ปีแล้ว โจทก์จะมอบคอมพิวเตอร์ วัสดุอุปกรณ์ห้องเรียน และหลักสูตรการเรียนการสอนให้จำเลยทั้งหมด เมื่อผลของสัญญามิได้กระทบต่อสิทธิหรือประโยชน์ของคนโดยทั่วไป จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนรูปแบบหนึ่งซึ่งใช้บังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 149 และ 369 ไม่ใช่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีหรือเป็นสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายเงินผ่อน จึงเป็นธรรมและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะตามมาตรา 150
การตีความสัญญาต้องเป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องจัดหานักเรียนเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ให้ได้ภาคการศึกษาละ 700 คน และกำหนดให้จำเลยจะต้องเก็บค่าเล่าเรียนจากเด็กนักเรียนคนละ 700 บาทต่อหนึ่งภาคการศึกษา โดยจำเลยจะต้องนำเงินค่าเล่าเรียนส่งแก่โจทก์ในภาคการศึกษาที่ 1 และที่ 2 ตามที่กำหนด ย่อมหมายถึงว่าจำเลยจะต้องเก็บเงินจากนักเรียนเหล่านั้นให้ได้ หากจำเลยเก็บไม่ได้จำเลยก็ต้องรับผิดในเงินส่วนนั้น ซึ่งตามความประสงค์ของคู่สัญญาย่อมจะเข้าใจตรงกันเช่นนั้น โจทก์มิได้มาลงทุนจัดสร้างห้องคอมพิวเตอร์เองและว่าจ้างให้จำเลยเป็นผู้หานักเรียนมาเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และว่าจ้างจำเลยให้เป็นตัวแทนเก็บค่าเล่าเรียนของนักเรียนแก่โจทก์แต่อย่างใด มิฉะนั้นโจทก์คงจะไม่ตอบแทนจำเลยเมื่อเก็บเงินครบ 4 ปีแล้ว โดยยกกรรมสิทธิ์เครื่องคอมพิวเตอร์วัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้แก่จำเลย ทั้งจำเลยก็ได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนในการศึกษาภาคที่ 1 ดังนั้น เมื่อภาคการศึกษาที่ 2 จำเลยหาเงินมาชำระแก่โจทก์ไม่ครบจึงต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญา
จำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ 3 ภาคการศึกษา โจทก์จึงยึดเครื่องคอมพิวเตอร์คืนไป เท่ากับโจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาต่อกัน คู่กรณีย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนที่จำเลยค้างชำระในภาคการศึกษาที่ 2 ปี 2537ที่ขาดอยู่และในภาคการศึกษาที่ 1 ปี 2538 รวมเป็นเงิน 583,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่ากับเรียกค่าเสียหายส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม การที่ศาลกำหนดค่าเสียหายเป็นเงิน 250,000 บาทจึงเหมาะสมแล้ว
การตีความสัญญาต้องเป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องจัดหานักเรียนเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ให้ได้ภาคการศึกษาละ 700 คน และกำหนดให้จำเลยจะต้องเก็บค่าเล่าเรียนจากเด็กนักเรียนคนละ 700 บาทต่อหนึ่งภาคการศึกษา โดยจำเลยจะต้องนำเงินค่าเล่าเรียนส่งแก่โจทก์ในภาคการศึกษาที่ 1 และที่ 2 ตามที่กำหนด ย่อมหมายถึงว่าจำเลยจะต้องเก็บเงินจากนักเรียนเหล่านั้นให้ได้ หากจำเลยเก็บไม่ได้จำเลยก็ต้องรับผิดในเงินส่วนนั้น ซึ่งตามความประสงค์ของคู่สัญญาย่อมจะเข้าใจตรงกันเช่นนั้น โจทก์มิได้มาลงทุนจัดสร้างห้องคอมพิวเตอร์เองและว่าจ้างให้จำเลยเป็นผู้หานักเรียนมาเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และว่าจ้างจำเลยให้เป็นตัวแทนเก็บค่าเล่าเรียนของนักเรียนแก่โจทก์แต่อย่างใด มิฉะนั้นโจทก์คงจะไม่ตอบแทนจำเลยเมื่อเก็บเงินครบ 4 ปีแล้ว โดยยกกรรมสิทธิ์เครื่องคอมพิวเตอร์วัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้แก่จำเลย ทั้งจำเลยก็ได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนในการศึกษาภาคที่ 1 ดังนั้น เมื่อภาคการศึกษาที่ 2 จำเลยหาเงินมาชำระแก่โจทก์ไม่ครบจึงต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญา
จำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ 3 ภาคการศึกษา โจทก์จึงยึดเครื่องคอมพิวเตอร์คืนไป เท่ากับโจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญาต่อกัน คู่กรณีย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนที่จำเลยค้างชำระในภาคการศึกษาที่ 2 ปี 2537ที่ขาดอยู่และในภาคการศึกษาที่ 1 ปี 2538 รวมเป็นเงิน 583,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่ากับเรียกค่าเสียหายส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม การที่ศาลกำหนดค่าเสียหายเป็นเงิน 250,000 บาทจึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องพิจารณาเป็นรายจำเลย การวินิจฉัยอุทธรณ์ต้องครบถ้วน
การพิจารณาว่าคดีใดอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อเรียกร้องของโจทก์และจำเลยเป็นรายบุคคลไป โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 94,912 บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 47,881.44 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้องคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงิน 94,912 บาท ตามฟ้องคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ก่อนว่าจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ และต้องรับผิดในจำนวนเงิน 94,912 บาท หรือไม่จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบนั้นได้ตามมาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงจำกัดจำนวนทุนทรัพย์: ศาลต้องวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยร่วมก่อน
การพิจารณาว่าคดีใดอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อเรียกร้องของโจทก์และจำเลยเป็นรายบุคคลไป
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 94,912 บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 47,881.44 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้องคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงิน 94,912 บาท ตามฟ้องคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2ก่อน ว่าจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ และต้องรับผิดในจำนวนเงิน94,912 บาท หรือไม่จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบนั้นได้ตามมาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 94,912 บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 47,881.44 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้องคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงิน 94,912 บาท ตามฟ้องคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2ก่อน ว่าจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ และต้องรับผิดในจำนวนเงิน94,912 บาท หรือไม่จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบนั้นได้ตามมาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีแพ่งที่จำเลยร่วมกัน โดยการพิจารณาการอุทธรณ์ต้องแยกรายบุคคล และศาลต้องวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยร่วมก่อน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 94,912 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 47,881.44 บาท พร้อมดอกเบี้ย ส่วนจำเลยที่ 2ให้ยกฟ้อง คดีเฉพาะจำเลยที่ 1 มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงิน 94,912 บาท นั้นไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะการพิจารณาว่าคดีใดอุทธรณ์ได้หรือไม่ต้องพิจารณาจากข้อเรียกร้องของโจทก์และจำเลยเป็นรายบุคคลไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ก่อนว่าจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่และต้องรับผิดในจำนวนเงิน 94,912 บาท หรือไม่จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมเพิกถอนกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6569/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายทราบวันนัดแล้วไม่แจ้งจำเลย ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษา
ทนายจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล ต้องถือว่าจำเลยทราบคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ถึงแม้ว่าจำเลยซึ่งเป็นตัวความจะไม่ทราบวันนัดก็ตาม เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 บัญญัติว่า ทนายความซึ่งคู่ความได้แต่งตั้งนั้นมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร
ตามใบแต่งทนายความของจำเลย ระบุว่าให้ทนายจำเลยมีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาได้ด้วย การที่ทนายจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่แจ้งวันนัดให้จำเลยทราบ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างต่อศาลหาได้ไม่ เพราะจำเลยมีทนายความกระทำการแทนตนอยู่แล้วการที่ทนายจำเลยไม่ดูแลและเอาใจใส่คดีของจำเลยเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับทนายจำเลย จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่ศาลจะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้
ตามใบแต่งทนายความของจำเลย ระบุว่าให้ทนายจำเลยมีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาได้ด้วย การที่ทนายจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่แจ้งวันนัดให้จำเลยทราบ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างต่อศาลหาได้ไม่ เพราะจำเลยมีทนายความกระทำการแทนตนอยู่แล้วการที่ทนายจำเลยไม่ดูแลและเอาใจใส่คดีของจำเลยเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับทนายจำเลย จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่ศาลจะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้