คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดลจรัส รัตนโศภิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6569/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความและการแจ้งนัด: จำเลยทราบคำพิพากษาผ่านทนายความ แม้ตัวจำเลยไม่ทราบ
ทนายจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล ต้องถือว่าจำเลยทราบคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ถึงแม้ว่าจำเลยซึ่งเป็นตัวความจะไม่ทราบวันนัดก็ตาม เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 บัญญัติว่า ทนายความซึ่งคู่ความได้แต่งตั้งนั้นมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร
ตามใบแต่งทนายความของจำเลย ระบุว่าให้ทนายจำเลยมีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาได้ด้วย การที่ทนายจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่แจ้งวันนัดให้จำเลยทราบ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างต่อศาลหาได้ไม่ เพราะจำเลยมีทนายความกระทำการแทนตนอยู่แล้วการที่ทนายจำเลยไม่ดูแลและเอาใจใส่คดีของจำเลยเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับทนายจำเลย จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ที่ศาลจะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6539/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนข้อเท็จจริงการเสียชีวิตของผู้ร้องก่อนมีคำสั่งจำหน่ายคดีมรดก ศาลอุทธรณ์ต้องให้ศาลชั้นต้นไต่สวนก่อน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(2) และ (4) มิได้บัญญัติว่าคำขออันใดจะทำได้แต่ฝ่ายเดียวห้ามมิให้ศาลทำคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ โดยมิให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่นมีโอกาสคัดค้านก่อน และถ้าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิได้บัญญัติไว้ว่าศาลต้องออกคำสั่งอนุญาตตามคำขอที่ได้เสนอต่อศาลนั้นโดยไม่ต้องทำการไต่สวนแล้ว ก็ให้ศาลมีอำนาจทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งตามคำขอนั้น เมื่อตามคำร้องของทนายผู้ร้องยังไม่ได้ความแน่ชัดว่าผู้ร้องถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จะต้องมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของทนายผู้ร้องเสียก่อนแล้วส่งมายังศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไปการที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้สั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของทนายผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247 ประกอบ 243

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดี การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ เกินกำหนดเวลา และเหตุพฤติการณ์นอกเหนือความสามารถในการควบคุม
จำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว โดยศาลชั้นต้นส่ง คำบังคับให้จำเลยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2540 โดยวิธีปิดคำบังคับ คำบังคับดังกล่าวมีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลา 15 วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่คำบังคับได้ปิดไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ดังนั้น คำบังคับจึงเริ่มมีผลใช้ได้ในวันที่ 5 มกราคม 2541 หากจำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 กล่าวคือ วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่จะยื่นได้คือวันที่ 20 มกราคม 2541 จำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อเกินกำหนด ระยะเวลาดังกล่าวไปแล้ว ทั้งในคำขอมิได้กล่าวอ้างถึงเหตุที่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ทำให้ไม่อาจยื่นคำขอได้ภายในกำหนด กลับกล่าวอ้างถึงเหตุที่จำเลยไม่ทราบว่าจะมาศาลวันไหน ไม่ทราบว่าจะต้องแต่งตั้งทนายความเข้ามาใหม่ในวันที่ศาลนัดพิจารณา เนื่องจากทนายจำเลยคนเดิมขอถอนตัว เหตุดังกล่าวเป็นเหตุที่อาจแสดงว่าจำเลย มิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเท่านั้น มิใช่เหตุที่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่ง ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเสียโดยไม่จำเป็นต้องไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับการบังคับคดีชั่วคราวเพื่อรอผลคดีโมฆะการจำนอง ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิขอได้
จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมที่จะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินอันเป็นทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด แต่ปรากฏว่าก่อนที่ จะมีการขายทอดตลาดได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดอีกคดีหนึ่ง ให้จำเลยคืนที่ดินดังกล่าวแก่ผู้ร้อง และผู้ร้องยังได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยต่อศาลชั้นต้นขอให้ศาลพิพากษาว่าการจดทะเบียน จำนองที่ดินดังกล่าวเป็นโมฆะซึ่งคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา หากคดีดังกล่าวศาลพิพากษา ให้ผู้ร้องชนะคดี ย่อมทำให้ผู้ร้องยากที่จะบังคับคดีได้ จึงถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280(2) แล้ว การงด การบังคับคดีไว้ชั่วคราวคงทำให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ล่าช้าไปเท่านั้น แต่โจทก์ก็สามารถ บังคับเอาดอกเบี้ยได้อยู่แล้ว แต่ถ้าไม่งดการบังคับคดีไว้อาจ ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายได้ จึงสมควรให้เจ้าพนักงานบังคับคดีระงับการจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง ไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลคำพิพากษา ในคดีที่ผู้ร้องฟ้องโจทก์และจำเลยที่ให้การจดทะเบียนจำนองเป็นโมฆะเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อให้เกิดสิทธิในการได้รับเงินคืนสู่สถานะเดิม แม้จะมีการอ้างเหตุผิดสัญญา
แม้จะฟังว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้มาที่สำนักงานที่ดินในตอนเช้าของวันกำหนดนัดโอน แต่เมื่อโจทก์ให้คนไปตามจำเลยทั้งสามก็มา จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยทั้งสามไม่ไปโอนที่ดินตามนัด และการที่ได้เลื่อนจะนัดโอนที่ดินใน ตอนบ่ายและจำเลยทั้งสามไม่มาตามนัดก็ได้ความว่า ต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่สำนักงานที่ดิน หาไม่พบ แม้จำเลยจะมาตอนบ่าย เจ้าพนักงานที่ดินก็ไม่สามารถจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้อยู่ดี จำเลยทั้งสาม จึงมิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์
เมื่อโจทก์ได้ฟ้องเรียกเงินมัดจำ 50,000 บาท และเงิน 240,000 บาท อันเป็นเงินที่จำเลยทั้งสามได้รับไว้แล้วเป็นค่าที่ดินคืน แม้โจทก์จะเรียกค่าเสียหายอื่นรวมมาด้วย โดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาก็ดี เมื่อปรากฏว่าเป็นเพียงกรณีเลิกสัญญากันและโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินส่วนหนึ่งในจำนวนที่เรียกร้องทั้งหมดจากจำเลยทั้งสาม ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งสามคืนเงินจำนวน 290,000 บาท ให้แก่โจทก์ เพื่อให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมได้จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาสื้อซื้อขายที่ดิน: ศาลพิพากษาคืนเงินมัดจำและราคาที่ดิน พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยทั้งสามไม่ไปโอนที่ดินพิพาทที่สำนักงานที่ดินตามนัดในตอนเช้า แต่เมื่อโจทก์ให้คนไปตาม จำเลยทั้งสามก็ไปสำนักงานที่ดินพร้อม ๆ กัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ไปโอนที่ดินตามนัด เหตุที่โอนที่ดินไม่ได้เนื่องจากหาต้นฉบับน.ส.3ที่สำนักงานที่ดินไม่พบ และแจ้งเหตุขัดข้องให้คู่กรณีทราบแล้ว แม้จำเลยจะมาตอนบ่ายเจ้าพนักงานที่ดินก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่พิพาทได้อยู่ดี จำเลยทั้งสามจึงมิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ ราคาที่ดินที่โจทก์จ่ายไปแล้วบางส่วนและค่าเสียหาย เมื่อปรากฏว่ามีการเลิกสัญญากันแล้ว และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเงินส่วนหนึ่งในจำนวนที่เรียกร้องทั้งหมดจากจำเลยทั้งสาม ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้คืนเงินในส่วนที่มีสิทธิดังกล่าวได้ เพื่อให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะเดิมไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่เป็นพิพากษาเกินคำขอ และจำเลยทั้งสามต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่รับเงินแต่ละจำนวนแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำลายทรัพย์สินเพื่อแสดงอำนาจบาตรใหญ่ ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยแก้ฎีกาและปฏิเสธว่าพยานหลักฐานของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้ คำแก้ฎีกาจึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัย
การที่จำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์กระบะบรรทุกคนนั่งมาประมาณ 20 คน ออกจากวัด ถ. มาจอดรถที่หน้าป้ายเชิญชวนของวัด ร. จำเลยที่ 1 นั่งรถยนต์กระบะอีกคันหนึ่งตามหลังมาแล้วขับรถอ้อมมาจอดฝั่งตรงข้าม จำเลยที่ 1 ยกมือเป็นสัญญาณ คนบนรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 จึงได้ลงจากรถเข้าไปล้มป้ายของวัด ร. และกระทีบจนหลอดไฟแตก แล้วยกป้ายดังกล่าวขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 ขึ้นรถขับกลับไปเข้าวัด ถ. แสดงว่าเจตนาจำเลยทั้งสองแต่แรกต้องการทำลายให้แผ่นป้ายนั้นไร้ประโยชน์ และสาเหตุที่จำเลยทั้งสองร่วมกับพวกทำลายแผ่นป้ายดังกล่าวก็เนื่องมาจากความไม่พอใจวัด ร. ที่โฆษณาชักชวนให้ชาวบ้านไปเที่ยวงานที่วัด ร. การที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันเอาไปซึ่งแผ่นป้ายดังกล่าวกระทำต่อเนื่องกับการทำลายแผ่นป้ายนั้นในวาระเดียวกันเกี่ยวพันกันโดยไม่ขาดตอน จึงไม่ใช่เป็นการกระทำโดยมุ่งจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริง ที่จะเอาแผ่นป้ายดังกล่าวไปเป็นของจำเลยทั้งสอง หากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ หรือทำไปด้วยความคึกคะนองของพวกจำเลย จึงมิใช่เกิดจากเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำลายป้ายโฆษณาของวัดคู่แข่งด้วยความไม่พอใจ ไม่ถือเป็นการลักทรัพย์ แต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่
การที่จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์กระบะบรรทุกคนนั่งมาประมาณ 20 คนออกจากวัดถ้ำสิงโตทองมาจอดรอที่หน้าป้ายเชิญชวนของวัดรางม่วงแล้วจำเลยที่ 1นั่งรถยนต์กระบะอีกคันหนึ่งตามหลังมาโดยขับรถอ้อมมาจอดฝั่งตรงข้าม เมื่อจำเลยที่ 1 ยกมือเป็นสัญญาณ คนบนรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 ก็ลงจากรถเข้าไปล้มป้ายของวัดรางม่วงและกระทืบจนหลอดไฟแตกแล้วยกป้ายขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 2 ขับรถเข้าไปวัดถ้ำสิงโตทองนั้น แสดงว่าเจตนาจำเลยทั้งสองแต่แรกต้องการทำลายให้แผ่นป้ายนั้นไร้ประโยชน์อันสืบเนื่องมาจากความไม่พอใจวัดรางม่วงที่โฆษณาชักชวนให้ชาวบ้านไปเที่ยวงานที่วัดรางม่วงเนื่องจากไฟฟ้าวัดถ้ำสิงโตทองดับถึง 2 ครั้ง การเอาไปซึ่งแผ่นป้ายดังกล่าวกระทำต่อเนื่องกับการทำลายแผ่นป้ายนั้นในวาระเดียวเกี่ยวพันกันโดยไม่ขาดตอนจึงมิใช่เป็นการกระทำโดยมุ่งจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริงจำเลยทั้งสองมิได้มีเจตนาจะเอาแผ่นป้ายดังกล่าวเป็นของตน หากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่หรือทำไปด้วยความคึกคะนองของพวกจำเลย มิใช่เกิดจากเจตนาทุจริตไม่ผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดก: การพิสูจน์ความสัมพันธ์โดยชอบด้วยกฎหมายและการรับรองบุตร
บทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1541 หมายถึงชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีจะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรา 1539 ซึ่งเป็นกรณีที่สันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีตามมาตรา 1536 และ 1537 หรือมาตรา 1538 โจทก์เป็นบุตรของร.และอ.ซึ่งมีตัวตนแน่นอนส.และสค. ไม่ใช่บิดามารดาผู้ให้กำเนิดโจทก์โดยแท้จริง การที่ ส.ไปแจ้งการเกิดลงในสูติบัตรของโจทก์ว่า บิดาโจทก์เป็นคนไทย มารดาเป็นคนกัมพูชาเมื่อมีบุตรขึ้นมาก็แจ้งเกิดไม่ได้ ส. จึงรับสมอ้างไปแจ้งเกิดแทน โดยระบุว่าเป็นบิดาดังนี้ เป็นคนละเรื่องกับกรณีการแจ้งเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1541 เมื่อโจทก์ไม่ใช่บุตรที่แท้จริงของ ส. จึงไม่ใช่บุตรนอกกฎหมายตามความเป็นจริงที่บิดาได้รับรองแล้ว ทั้งไม่ใช่ ผู้สืบสันดานและไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 และ 1629(1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของส. ผู้ตาย และไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4514/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน: การใช้กำลังและการปรับบทอาญา
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 83 การ "จับ" นั้น เพียงแต่ทำให้ผู้ถูกจับรู้สึกตัวว่าขาดอิสระภาพไม่สามารถไปไหน ได้สะดวกต้องอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานก็พอไม่จำต้องใช้กำลัง ไม่จำต้องแจ้งข้อหาทันที หรือแจ้งสิทธิของ ผู้ถูกจับหรือต้องทำบันทึกการจับกุมก่อน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง, 295, 296 ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องมาตรา 295 และมาตรา 296 จำเลยฎีกาฝ่ายเดียว โดยโจทก์มิได้ฎีกาขอเพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 295 และมาตรา 296 ได้ ถือเป็นการปรับบทให้ถูกต้อง โดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 212
of 20