พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์เพื่อแบ่งทรัพย์สินของผู้มีสิทธิร่วมกัน มิใช่การบังคับคดีตามปกติ ผู้ไม่มีส่วนได้เสียยื่นขอปล่อยทรัพย์ไม่ได้
การที่โจทก์ทั้งสามขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินที่ได้มาแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยตามส่วนมิใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากแต่เป็นการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้มีสิทธิร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 วรรคสอง ผู้ร้องทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง vs ลักทรัพย์: การกระทำทุจริตหลอกลวงให้เชื่อว่าจะซื้อของ แต่ไม่มีเจตนาจ่ายเงิน ถือเป็นฉ้อโกง
จำเลยทั้งสามกับ ย. ทำทีขอซื้อผ้าจากโจทก์ร่วม โดยหลอกให้โจทก์ร่วมขนผ้าขึ้นรถแล้วบอกว่าจะชำระค่าผ้าก่อน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือให้ตามไปเก็บจาก ย. เมื่อบุตรสาวของโจทก์ร่วมร้องไห้ภริยาของโจทก์ร่วมเข้าไปดูแลบุตรสาวภายในร้าน จำเลยทั้งสามกับ ย. ก็พากันนำรถบรรทุกผ้าออกไปจากร้านทันที จำเลยทั้งสามกับย. มีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าจะซื้อผ้ามาแต่ต้นด้วยการวางแผนการเป็นขั้นตอนและไม่มีเจตนาจะใช้ราคาผ้าเลย จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,83 มิใช่ลักทรัพย์ดังที่โจทก์ฟ้อง แต่ข้อแตกต่างดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยทั้งสามมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษฐานฉ้อโกงตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตามมาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาลิสซิ่งไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์, ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จำเลยฎีกาเกี่ยวกับค่าเสียหายเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ส่วนฎีกาในข้อกฎหมายที่ว่า หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ไม่ครบตามประมวลรัษฎากรฯ จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง แม้จะมีข้อตกลงให้ผู้เช่ามีสิทธิซื้อทรัพย์สินที่เช่าเมื่อสัญญาเช่าแบบลิสซิ่งสิ้นสุดลงแล้ว ก็เป็นเพียงคำมั่นจะขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้เช่า ถ้าผู้เช่าไม่ใช้สิทธิก็ต้องคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้ให้เช่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่ได้ตกเป็นของผู้เช่าทันทีจึงแตกต่างจากสัญญาเช่าซื้อในสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ซึ่งหากผู้เช่าชำระค่าเช่าซื้อครบตามสัญญา กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมตกเป็นของผู้เช่าซื้อทันที สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งจึงเป็นสัญญาเช่าสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรฯ มิได้กำหนดไว้ว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์
สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง แม้จะมีข้อตกลงให้ผู้เช่ามีสิทธิซื้อทรัพย์สินที่เช่าเมื่อสัญญาเช่าแบบลิสซิ่งสิ้นสุดลงแล้ว ก็เป็นเพียงคำมั่นจะขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้เช่า ถ้าผู้เช่าไม่ใช้สิทธิก็ต้องคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้ให้เช่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่ได้ตกเป็นของผู้เช่าทันทีจึงแตกต่างจากสัญญาเช่าซื้อในสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ซึ่งหากผู้เช่าชำระค่าเช่าซื้อครบตามสัญญา กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมตกเป็นของผู้เช่าซื้อทันที สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งจึงเป็นสัญญาเช่าสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรฯ มิได้กำหนดไว้ว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินเรียกคืนทางผ่านเดิมเมื่อทางผ่านใหม่สร้างความเสียหายและเป็นเพียงอัธยาศัย
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของจำเลยและที่ดินของบุคคลอื่นปิดล้อมอยู่ ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางออกสู่ทางสาธารณะร่วมกับจำเลยตั้งแต่ปี 2521 จนกระทั่งปี 2536 จำเลยก็ยินยอมให้เปลี่ยนไปใช้เส้นทางใหม่ตามที่โจทก์ขอ แต่พอถึงปี 2541 จำเลยนำท่อนเหล็กไปปิดกั้นทางดังกล่าวมิให้โจทก์เข้าออกสู่ทางสาธารณะแต่ก็ยังยินยอมให้โจทก์ใช้เส้นทางเดิมอยู่ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสาม ได้กำหนดวิธีทำทางผ่านที่ต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้จะผ่าน และให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้น จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินจึงมีสิทธิเรียกให้โจทก์ย้ายทางใหม่กลับไปใช้เส้นทางเดิมได้ เพราะการที่จำเลยยอมให้โจทก์ทำทางใหม่ซึ่งเป็นทางพิพาทใช้เป็นทางสัญจรไปมานั้นเป็นอัธยาศัยที่จำเลยมีต่อโจทก์ มิได้ทำให้โจทก์ได้รับความสะดวกสบายลดลงทั้งเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่จำเลยเนื่องจากมีบุคคลภายนอกเข้ามาในที่ดินและอาจเป็นช่องทางให้คนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ของจำเลยได้ ส่วนการที่โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทางใหม่ ถมดิน รื้อและปลูกสร้างเล้าหมูให้จำเลยใหม่ รวมทั้งขุดถอนกอไผ่นั้นก็ยังไม่ถือว่าเป็นค่าทดแทนที่โจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านใช้ให้แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสี่ แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้ายาเสพติดโดยแบ่งหน้าที่ร่วมกัน และความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่าย
จำเลยที่ 1 อยู่จังหวัดเชียงใหม่ไปหาจำเลยที่ 2 ที่จังหวัดเชียงรายเพื่อติดต่อขอซื้อเมทแอมเฟตามีน โดยให้จำเลยที่ 2 ไปซื้อที่อำเภอท่าขี้เหล็กประเทศสหภาพพม่า และนัดจำเลยที่ 1 มารับที่ตึกแถว จำเลยที่ 3 นำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรตามที่จำเลยที่ 1 ต้องการ โดยให้จำเลยที่ 2 ติดต่อซื้อ จึงเป็นการนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรโดยการแบ่งหน้าที่กันทำต้องตามคำนิยามของคำว่า "นำเข้า" ในมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แล้ว ซึ่งการนำหรือสั่งเข้ามาผู้กระทำผิดมิได้มีเฉพาะตัวจำเลยที่ 3 ผู้ที่นำเข้าเท่านั้น เพราะความผิดฐานนี้ไม่ได้อาศัยสภาพจิตใจหรือคุณสมบัติเฉพาะตัวของบุคคล หรือแนวเขตแดนเป็นสาระสำคัญจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานร่วมกันนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาเสพติดให้โทษเพื่อจำหน่ายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานนำเข้ายาเสพติดฯ ความร่วมมือแบ่งหน้าที่ และการใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นมาหาจำเลยที่ 2 ที่จังหวัดเชียงรายเพื่อติดต่อขอซื้อเมทแอมเฟตามีน โดยให้จำเลยที่ 2 ไปซื้อเมทแอมเฟตามีนที่อำเภอท่าขี้เหล็กประเทศสหภาพพม่า หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 นัดจำเลยที่ 1 มารับของที่ตึกแถวเกิดเหตุ จำเลยที่ 3 ก็นำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรตามที่จำเลยที่ 1ต้องการ โดยผ่านทางจำเลยที่ 2 ผู้ติดต่อซื้อ จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 3 นำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรโดยการแบ่งหน้าที่กันทำ ต้องตามคำนิยามคำว่า "นำเข้า"ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ แล้ว ซึ่งการนำหรือสั่งเข้ามานี้ผู้กระทำผิดมิได้มีเฉพาะตัวจำเลยที่ 3 เพราะความผิดฐานนี้มิได้อาศัยสภาพจิตใจหรือคุณสมบัติเฉพาะตัวของบุคคล หรือแนวเขตแดนเป็นสำคัญ มิฉะนั้นแล้ว ผู้ที่ร่วมกันไปซื้อเมทแอมเฟตามีนจากต่างประเทศ แล้วให้ผู้อื่นถือเข้ามาในประเทศโดยผู้ร่วมกระทำผิดนั้นมารอรับเมทแอมเฟตามีนในประเทศจะไม่มีความผิดไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค้างชำระที่ศาล: การเรียกร้องสิทธิภายใน 5 ปี และข้อยกเว้นจากพฤติการณ์พิเศษ
เงินค้างจ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323 หมายถึงบรรดาเงินทั้งหมดที่ค้างจ่ายอยู่ที่ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาภายใน 5 ปี จึงจะตกเป็นของแผ่นดิน ปรากฏว่าวันที่ 2 ธันวาคม 2534 จำเลยนำเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาพร้อมดอกเบี้ยมาวางศาลเพื่อชำระแก่โจทก์ วันที่ 3 พฤษภาคม 2539 โจทก์ยื่นคำแถลงให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับ แต่เจ้าหน้าที่ศาลหาสำนวนไม่พบ จนกระทั่งวันที่ 19 มิถุนายน 2540 จึงแจ้งโจทก์ว่าพบสำนวนแล้ว ดังนั้น ระยะเวลา 1 ปีเศษ ที่เจ้าหน้าที่ศาลหาสำนวนไม่พบจึงเป็นพฤติการณ์พิเศษอันมิใช่ความผิดของโจทก์ที่เพิกเฉยไม่เรียกเอาภายใน 5 ปี แต่อย่างใดเพราะเมื่อโจทก์ทราบว่าพบสำนวนแล้วก็ยื่นคำแถลงขอรับเงินที่จำเลยวางศาลเพื่อชำระหนี้ในวันรุ่งขึ้นทันที ต้องถือว่าโจทก์ผู้มีสิทธิได้เรียกเอาคืนภายใน 5 ปีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค้างชำระตามคำพิพากษา การเรียกรับเงินภายใน 5 ปี และผลกระทบจากความล่าช้าของเจ้าหน้าที่ศาล
เงินค้างจ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323 หมายถึงบรรดาเงินทั้งหมดที่ค้างจ่ายอยู่ที่ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาภายใน 5 ปี จึงจะตกเป็นของแผ่นดิน จำเลยนำเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาพร้อมดอกเบี้ยมาวางศาลเพื่อชำระแก่โจทก์เมื่อวันที่ 2ธันวาคม 2534 โจทก์ยื่นคำแถลงให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับวันที่ 3 พฤษภาคม 2539 แต่เจ้าหน้าที่ศาลหาสำนวนไม่พบ จนกระทั่งวันที่ 19 มิถุนายน 2540 จึงแจ้งโจทก์ว่าพบสำนวนแล้ว ดังนั้น ระยะเวลา 1 ปีเศษ ที่เจ้าหน้าที่ศาลหาสำนวนไม่พบจึงเป็นพฤติการณ์พิเศษอันมิใช่ความผิดของโจทก์ที่เพิกเฉยไม่เรียกเอาภายใน 5 ปี เพราะเมื่อโจทก์ทราบว่าพบสำนวนแล้วก็ยื่นคำแถลงขอรับเงินที่จำเลยวางศาลเพื่อชำระหนี้ในวันรุ่งขึ้นทันทีต้องถือว่าโจทก์ผู้มีสิทธิได้เรียกเอาคืนภายใน 5 ปีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน: เจตนา, การวางแผน, และการกระทำโดยพลการ
การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน หมายความว่า ก่อนทำการฆ่าผู้กระทำผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด ไม่ใช่กระทำไปโดยปัจจุบันทันด่วนเพราะเมาสุราหรือบันดาลโทสะ การไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นเหตุเกี่ยวกับเจตนาส่วนตัวของผู้กระทำผิด ผู้ร่วมกระทำผิดที่มิได้ไตร่ตรองไว้ก่อนไม่มีความผิดด้วยเพราะกฎหมายมุ่งถึงการไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งเป็นสภาพจิตใจของแต่ละคน การจะเป็นตัวการร่วมกันฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจึงต้องมีลักษณะเป็นการวางแผนการคบคิดกันมาแต่ต้นที่จะไปฆ่าผู้อื่น หรือด้วยการใช้จ้างวาน หรือไปดักฆ่าผู้อื่นโดยมีพฤติการณ์ร่วมกันมาแต่ต้น แต่การที่จำเลยที่ 1 ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตายมาก่อน และเป็นญาติพี่น้องกับผู้ตาย ทั้งก่อนเกิดเหตุได้มีการดื่มสุรากันโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมวางแผนกับจำเลยที่ 2มาก่อน การที่จำเลยที่ 1 ร่วมไปฆ่าผู้ตายจึงเป็นการตัดสินใจในทันทีทันใดลักษณะตกกระไดพลอยโจนมากกว่า ดังนี้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 เท่านั้นไม่เป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7141/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในคดีแพ่ง
พ. มิได้เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงให้ดำเนินคดีแทนโจทก์ แต่ พ. ได้แต่งทนายความให้ดำเนินคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นเรื่องโจทก์ดำเนินคดีผิดพลาดในเรื่องผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ โดยความบกพร่องของโจทก์เอง โจทก์จะมาฎีกาโต้แย้งว่าการกระทำผิดกระบวนพิจารณาของตนเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แก้ไขข้อผิดพลาดของตนเอง ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ได้