พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุน: ดอกเบี้ยเริ่มนับแต่วันฟ้อง ไม่ใช่ วันทำละเมิด
จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ละเมิด เมื่อกรมธรรม์เพียงแต่กำหนดวงเงินความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดโดยมิได้ระบุให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิด ประกอบกับหนี้หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และโจทก์ไม่ได้ทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ตกเป็นผู้ผิดนัดมาก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับประกันภัยค้ำจุนไม่ต้องรับผิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด หากกรมธรรม์ไม่ได้ระบุให้ร่วมรับผิด
จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิด เมื่อกรมธรรม์เพียงแต่กำหนดวงเงินความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดโดยมิได้ระบุให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิด ประกอบกับหนี้หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และโจทก์ไม่ได้ทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน สิทธิการรับชดเชยเมื่อเลิกจ้าง และดอกเบี้ยจากหนี้ค่าจ้าง
การที่ จ. ลงนามในสัญญาจ้างแรงงานในฐานะรองกรรมการผู้จัดการของบริษัทลูกหนี้ แม้จะไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัท แต่เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้ได้ยอมรับเอาผลงานที่เจ้าหนี้ทำให้และลูกหนี้ได้จ่ายค่าจ้างนับแต่เจ้าหนี้เริ่มทำงานตลอดมาจนเลิกจ้าง เป็นเวลา 1 ปี 3 เดือน โดยไม่ได้โต้แย้งถือว่าลูกหนี้ตัวการได้ให้สัตยาบันยอมรับโดยปริยายว่าเจ้าหนี้เป็นลูกจ้างของลูกหนี้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ลูกหนี้จะต้องผูกพันและรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงาน
สัญญาจ้างไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนทั้งลูกหนี้เลิกจ้างเจ้าหนี้ก่อนครบกำหนดสัญญา ซึ่งในการบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้ เมื่อการบอกเลิกสัญญาจ้างไม่ระบุเหตุผลในการบอกเลิกการจ้าง ถือได้ว่าลูกหนี้ไม่ติดใจหยิบยกสาเหตุใด ๆ มาเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้าง เมื่อเจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ ลูกหนี้จะยกเหตุว่าเจ้าหนี้ได้ละทิ้งงานโดยไม่มีการลาเป็นลายลักษณ์อักษรและเจ้าหนี้ได้ร่วมกับบุคคลอื่นกระทำการฉ้อฉลกับกระทำการโดยทุจริตอันเป็นเหตุให้ลูกหนี้เสียหาย มาเป็นข้ออ้างที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายไม่ได้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (1)
สัญญาจ้างไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนทั้งลูกหนี้เลิกจ้างเจ้าหนี้ก่อนครบกำหนดสัญญา ซึ่งในการบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้ เมื่อการบอกเลิกสัญญาจ้างไม่ระบุเหตุผลในการบอกเลิกการจ้าง ถือได้ว่าลูกหนี้ไม่ติดใจหยิบยกสาเหตุใด ๆ มาเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้าง เมื่อเจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ ลูกหนี้จะยกเหตุว่าเจ้าหนี้ได้ละทิ้งงานโดยไม่มีการลาเป็นลายลักษณ์อักษรและเจ้าหนี้ได้ร่วมกับบุคคลอื่นกระทำการฉ้อฉลกับกระทำการโดยทุจริตอันเป็นเหตุให้ลูกหนี้เสียหาย มาเป็นข้ออ้างที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายไม่ได้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากการทำสัญญาร่วมชำระหนี้ และการไม่เป็นสัญญาแปลงหนี้
สัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ตกลงว่า การที่จำเลยที่ 1 ยอมเข้าร่วมชำระหนี้กับผู้เช่าใช้บริการโทรศัพท์ คู่สายโทรศัพท์ไม่ทำให้คู่สัญญาเดิมหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาเดิม และไม่ตัดสิทธิโจทก์จะระงับการให้บริการตามระเบียบขององค์การโทรศัพท์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิม เมื่อไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิมจึงไม่ใช่สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ สัญญาเดิมไม่ระงับ และการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์จึงไม่ใช่การรับสภาพหนี้ แต่เป็นสัญญาประเภทหนึ่งระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ซึ่งคู่สัญญาทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้และเมื่อหนี้ตามสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แต่ดอกเบี้ยที่โจทก์ขอนับแต่วันผิดนัดตามสัญญาร่วมชำระหนี้ถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ยค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การภายหลังชี้สองสถานต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 เมื่อประเด็นยุติแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองและเจ้าของรถยนต์ตู้คันที่จำเลยขับรถยนต์กระบะชนได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การและฟ้องแย้งยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองและเจ้าของรถยนต์ตู้ ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานโดยมิได้กำหนดข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาท ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองและเจ้าของรถยนต์ตู้หรือไม่เป็นอันยุติตามนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 การที่จำเลยยื่นคำร้องในเวลาต่อมาว่า เพิ่งทราบว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์ตู้ จึงขอแก้ไขคำให้การใหม่ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ แต่คำร้องก็มิได้ปฏิเสธในข้อที่ว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ตู้ การขอแก้ไขคำให้การภายหลังวันชี้สองสถานในประเด็นที่จำเลยยอมรับและยุติไปแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ศาลจึงไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การและไม่อนุญาตให้จำเลยยืนบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถานต้องห้ามตามกฎหมาย หากจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงแล้ว
คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ครอบครองและเป็นเจ้าของรถยนต์คันที่เฉี่ยวชนกับรถยนต์ของจำเลยหรือไม่ ซึ่งจำเลยได้ยอมรับข้อเท็จจริงในคำให้การและฟ้องแย้งแล้ว และเมื่อศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถานโดยมิได้กำหนดข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาท ทนายจำเลยซึ่งไปศาลในวันชี้สองสถานก็มิได้โต้แย้งคัดค้านแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงจึงยุติตามนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 แม้จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถานเพราะเพิ่งทราบว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของรถคู่กรณี แต่คำร้องขอแก้ไขก็มิได้ปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่ว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ตู้นั่ง 4 ตอน ดังนั้น การขอแก้ไขในประเด็นที่จำเลยยอมรับและยุติไปแล้วไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังจากวันชี้สองสถาน จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้แก้ไขคำให้การชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคำสั่งศาลอุทธรณ์ระหว่างพิจารณาคดี เนื่องจากเป็นการแก้ไขคำฟ้องก่อนมีคำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์จดรายงานกระบวนพิจารณาให้ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากโจทก์ก่อนอ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน โจทก์จึงยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์ลดจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ โดยศาลชั้นต้น ยังไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์ ดังนี้ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จะฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบมาตรา 246 และ 247 แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: สิทธิเจ้าหนี้, การโอนสิทธิเรียกร้อง, และการแจ้งเจ้าหนี้เมื่อสิทธิเดิมสิ้นสุด
แม้ระหว่างพิจารณาคดีล้มละลายของศาลชั้นต้นโจทก์โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยทั้งสองไปยังบริษัท บ. ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้หมดไปในระหว่างพิจารณาแล้วก็ตาม แต่ในขณะยื่นฟ้องโจทก์เป็นผู้มีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 9 ซึ่งเป็นการฟ้องเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะนำทรัพย์สินของลูกหนี้มาจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เหล่านั้น หาใช่เป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจงไม่ และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองไว้ชั่วคราวแล้ว หากศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่สิทธิของโจทก์สิ้นไปในระหว่างพิจารณาก็จะต้องดำเนินการโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันเพื่อให้เจ้าหนี้ทั้งหลายทราบล่วงหน้าก่อนไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้เจ้าหนี้ดังกล่าวยื่นคำร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์เดิมได้เช่นเดียวกับเหตุตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 154 แต่เมื่อปรากฏว่าต่อมาในระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้นได้มีการยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท บ. เนื่องจากมีเหตุขัดข้องในการโอน โดยบริษัท บ. ได้โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวคืนแก่โจทก์แล้ว เช่นนี้โจทก์จึงยังคงมีสถานะเป็นเจ้าหนี้มีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์เนื่องจากไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษา ศาลฎีกาอนุญาตตามเหตุผลพิเศษ
สำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะใช้ในการเรียงอุทธรณ์เพราะผู้เรียงอุทธรณ์จะต้องตรวจดูข้อความในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อหาข้อโต้แย้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัย มิฉะนั้นอาจไม่เป็นคำฟ้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย ดังนั้น การที่โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ศาลชอบที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องบรรยายคำฟ้องให้เข้าหลักเกณฑ์ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ และลูกหนี้ร่วมกันต้องรับผิดชอบหนี้
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันจะฟ้องให้จำเลยล้มละลายจะต้องบรรยายคำฟ้องให้เข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 คดีนี้โจทก์ได้บรรยายคำฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา 3 คดี เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท จำเลยไม่ชำระหนี้ดังกล่าว จำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวและหนี้ดังกล่าวนั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน คำฟ้องของโจทก์จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ กำหนดไว้แล้ว ส่วนจำเลยจะเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวอยางไร จำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เป็นข้อที่ต้องไปว่ากล่าวในชั้นพิจารณา
มูลหนี้ตามคำพิพากษาที่พิพากษาให้จำเลยกับพวกหลายคนร่วมกันรับผิดชำระหนี้ จำเลยแต่ละคนซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวต้องร่วมกันรับผิดจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง และขณะเดียวกันเจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ก็ได้ เมื่อจำเลยอยู่ในฐานะลูกหนี้มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการชำระหนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
มูลหนี้ตามคำพิพากษาที่พิพากษาให้จำเลยกับพวกหลายคนร่วมกันรับผิดชำระหนี้ จำเลยแต่ละคนซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวต้องร่วมกันรับผิดจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง และขณะเดียวกันเจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ก็ได้ เมื่อจำเลยอยู่ในฐานะลูกหนี้มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการชำระหนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย