คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7497/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานและค่าจ้างในเวลาพัก: สิทธิลูกจ้างเมื่อนายจ้างไม่จัดเวลาพักตามกฎหมาย
โจทก์ที่ 1 และที่ 5 อุทธรณ์ว่า คำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ที่ 1 และที่ 5 ย้ายไปทำงานในหน้าที่ใหม่ทำให้โจทก์ที่ 1 และที่ 5 ต้องรับภาระในการทำงานหนักขึ้นและขาดประโยชน์อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานจึงขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 นั้นศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าเมื่อโจทก์ที่ 1 และที่ 5ย้ายมาทำงานในหน้าที่ใหม่แล้ว ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1และที่ 5 ได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานน้อยลงจากเดิมและลักษณะงานที่โจทก์ที่ 1 และที่ 5 ต้องทำในหน้าที่ใหม่ไม่หนักขึ้นกว่าเดิม อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 และที่ 5 ดังกล่าวเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่นายจ้างมิได้จัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักวันละ1 ชั่วโมง แม้จะไม่ชอบด้วยประกาศของกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515ข้อ 6 แต่ก็เป็นเรื่องที่ลูกจ้างจะฟ้องขอให้บังคับนายจ้างปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวหรือจ่ายค่าจ้างในเวลาพัก เมื่อการสั่งโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างไม่ขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างลูกจ้างจะฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของนายจ้างและให้ลูกจ้างกลับไปทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิมไม่ได้ เมื่อจำเลยให้โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 5ทำงานโดยมิได้จัดให้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่16 กุมภาพันธ์ 2537 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2537 และวันที่16 กุมภาพันธ์ 2537 ตามลำดับ และจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างในเวลาพักให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 วันละ 1 ชั่วโมงตราบใดที่จำเลยยังให้โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ทำงานโดยมิได้จัดให้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมง ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 อยู่ตลอดไปโจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ย่ามมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์จ่ายค่าจ้างดังกล่าวจนกว่าจำเลยจะจัดให้มีเวลาพัก1 ชั่วโมงแต่สำหรับโจทก์ที่ 3 ได้ออกจากงานไปแล้วจึงมีสิทธิที่จะได้ค่าจ้างดังกล่าวจนถึงวันสุดท้ายก่อนออกจากงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214-2218/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เวลาพักในสถานประกอบการ: การยินยอมให้กลับบ้านก่อนเลิกงานถือเป็นเวลาพักได้ หากรวมเวลาพักแล้วครบ 1 ชั่วโมง
ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับลูกจ้างตามเอกสารหมาย ล.1 ตกลงให้เลิกงานเวลา 17.50 นาฬิกา ฉะนั้นเวลา 17.30-17.50 นาฬิกาจึงเป็นเวลาทำงานอยู่ จำเลยให้ลูกจ้างไม่ต้องมาทำงานในเวลาดังกล่าวและยินยอมให้กลับบ้านไปก่อนตั้งแต่เวลา 17.30 นาฬิกา ถือได้ว่าช่วงเวลา 17.30-17.50 นาฬิกา จำนวน 20 นาที เป็นเวลาที่จำเลยจัดให้พักแล้ว เมื่อรวมกับเวลาพักตั้งแต่เวลา 12.00-12.40 นาฬิกาอีก 40 นาที เป็นหนึ่งชั่วโมง จึงชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 และข้อ 6 ซึ่งกำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักในระหว่างการทำงานไม่น้อยกว่าวันละ1 ชั่วโมงแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เวลาพักทำงาน: แม้พักไม่ต่อเนื่อง แต่รวมแล้วเกิน 1 ชม. ไม่ถือว่าลูกจ้างถูกเอารัดเอาเปรียบ
จำเลยจัดเวลาพักให้แก่ลูกจ้างเป็น 3 ช่วง คือ 10-10.10 นาฬิกา12.15-13 นาฬิกา และ 15-15.10 นาฬิกา แม้เวลาพักช่วง 10-10.10นาฬิกา และ 15-15.10 นาฬิกา จะเป็นการพักน้อยกว่าครั้งละ 20 นาทีไม่ชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 6 วรรคสอง แต่เวลาที่กำหนดไว้ทั้งสองช่วงดังกล่าว จำเลยกำหนดให้ลูกจ้างได้หยุดพักและอยู่ในระหว่างเวลาทำงาน จึงต้องนับเป็นเวลาพักด้วย เมื่อรวมแล้วเป็นเวลาพักวันละ 1 ชั่วโมง 5 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6 วรรคแรก กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์มีเวลาพักเพียงวันละ 45 นาที ทั้งการที่จำเลยกำหนดเวลาพักไม่ถูกต้องก็หาได้มีบทบัญญัติใดกำหนดให้โจทก์เรียกค่าจ้างเพราะเหตุดังกล่าวได้ กรณีมิใช่การกำหนดเวลาพักน้อยกว่าวันละ 1ชั่วโมง อันจะถือว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติในแต่ละวัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เวลาพักงาน: แม้เวลาพักแต่ละช่วงไม่ครบ 20 นาที แต่หากรวมแล้วไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ไม่ถือว่าลูกจ้างถูกบังคับทำงานเกินเวลา
ศาลแรงงานกลางได้พิพากษายกฟ้องของโจทก์ที่ 14 แล้วจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งหมด อุทธรณ์ของจำเลยสำหรับโจทก์ที่ 14 จึงมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยจัดเวลาพักให้แก่ลูกจ้างเป็น 3 ช่วง คือ10-11.10 นาฬิกา 12.15-16 นาฬิกา และ 15-15.10 นาฬิกาแม้เวลาพักช่วง 10-10.10 นาฬิกา และ 15-15.10 นาฬิกาจะเป็นการพักน้อยกว่าครั้งละ 20 นาที ไม่ชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6 วรรคสองแต่เวลาทั้งสองช่วงดังกล่าวจำเลยกำหนดไว้ให้ลูกจ้างได้หยุดพักและอยู่ในระหว่างเวลาทำงาน จึงต้องนับเป็นเวลาพักด้วย เมื่อรวมกับเวลาพักช่วง 12.15-13 นาฬิกา แล้วจำเลยกำหนดเวลาพักให้โจทก์แต่ละคนวันละ 1 ชั่วโมง 5 นาทีไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 6 วรรคหนึ่ง ส่วนการที่จำเลยกำหนดเวลาพักไม่ถูกต้อง ก็หาได้มีบทบัญญัติใดกำหนดให้โจทก์เรียกค่าจ้างเพราะเหตุดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2351/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง การทำงานล่วงเวลา และสิทธิลูกจ้างชั่วคราวภายใต้ข้อตกลงสภาพการจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของจำเลยมิได้ระบุห้ามก่อการวิวาทหรือชกต่อยกันนอกโรงงานหรือบริษัทฯ แต่ สาเหตุที่โจทก์ชกต่อยพนักงานระดับหัวหน้างานในแผนกเดียว กับโจทก์ก็เนื่องมาจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ของหัวหน้างาน แม้จะเป็นการกระทำนอกโรงงานหรือบริษัทของจำเลย ก็ย่อมเป็นเหตุให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีในหมู่ พนักงานด้วยกันของจำเลย และอาจเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อการดำเนินงานของจำเลยตลอดจนอำนาจบังคับบัญชาของหัวหน้างานต่อไปในภายหน้า การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โจทก์ชกต่อยหัวหน้างานนอกเวลาทำงานและนอกบริเวณโรงงานหรือบริษัทของจำเลย กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้ กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้ลุล่วงไปโดย ถูกต้องและสุจริตตาม ความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583แต่เป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงตาม บทมาตราดังกล่าว ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6กำหนดว่า "ในวันทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละหนึ่งชั่วโมง หลังจากลูกจ้างได้ ทำงานในวันนั้นมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมง ฯลฯ" เมื่อนายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างได้ มีเวลาพัก 1 ชั่วโมง ย่อมเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ทำให้ลูกจ้างต้อง ทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติไปจำนวนวันละ 1 ชั่วโมงเต็ม ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องเป็นค่าจ้างส่วนที่ทำงานเกินไปนี้จากนายจ้าง โดยเฉลี่ยจากค่าจ้างของแต่ละวันที่ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง สิทธิที่จะได้รับค่าครองชีพเป็นสิทธิที่กำหนดขึ้นตาม บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างมีสิทธิกำหนดหรือตกลง ให้เป็นไปตาม เจตนารมณ์ของนายจ้างได้ เมื่อนายจ้างได้ บันทึกข้อตกลงไว้ว่า ลูกจ้างประจำเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพก็ต้อง เป็นไปตามนั้นแม้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่ง ทำงานติดต่อกันมาเกินกว่า 120 วัน และมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ ก็ย่อมหมายถึง สิทธิที่ลูกจ้างประจำมีอยู่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยในระหว่างกำหนดเวลาที่โจทก์เรียกร้องค่าครองชีพ จำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2351/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การจ่ายค่าจ้างล่วงเวลา และสิทธิลูกจ้างชั่วคราว
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของจำเลยมิได้ระบุห้ามก่อการวิวาทหรือชกต่อยกันนอกโรงงานหรือบริษัทฯแต่สาเหตุที่โจทก์ชกต่อยพนักงานระดับหัวหน้างานในแผนกเดียวกับโจทก์ก็เนื่องมาจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ของหัวหน้างาน แม้จะเป็นการกระทำนอกโรงงานหรือบริษัทของจำเลย ก็ย่อมเป็นเหตุให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีในหมู่พนักงานด้วยกันของจำเลย และอาจเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อการดำเนินงานของจำเลยตลอดจนอำนาจบังคับบัญชาของหัวหน้างานต่อไปในภายหน้า การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหาย จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม.
โจทก์ชกต่อยหัวหน้างานนอกเวลาทำงานและนอกบริเวณโรงงานหรือบริษัทของจำเลย กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ความหมาย แห่ง ป.พ.พ.มาตรา 583 แต่เป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงตามบทมาตราดังกล่าว.
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6กำหนดว่า "ในวันทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละหนึ่งชั่วโมง หลังจากลูกจ้างได้ทำงานในวันนั้นมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมง ฯลฯ" เมื่อนายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างได้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมง ย่อมเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ทำให้ลูกจ้างต้องทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติไปจำนวนวันละ 1 ชั่วโมงเต็มลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องเป็นค่าจ้างส่วนที่ทำงานเกินไปนี้จากนายจ้าง โดยเฉลี่ย จากค่าจ้างของแต่ละวันที่ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง.
สิทธิที่จะได้รับค่าครองชีพเป็นสิทธิที่กำหนดขึ้นตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างมีสิทธิกำหนดหรือตกลงให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของนายจ้างได้เมื่อนายจ้างได้บันทึกข้อตกลงไว้ว่า ลูกจ้างประจำเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพ ก็ต้องเป็นไปตามนั้น แม้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานติดต่อกันมาเกินกว่า 120 วัน และมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ ก็ย่อมหมายถึงสิทธิที่ลูกจ้างประจำมีอยู่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยในระหว่างกำหนดเวลาที่โจทก์เรียกร้องค่าครองชีพ จำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เวลาพักงาน: นายจ้างต้องจัดเวลาพักระหว่างวันทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง การทำงานช่วงพักเป็นเวลาทำงานปกติ ไม่ใช่เวลาล่วงเวลา
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6และข้อ 2 นายจ้างจะต้องให้ลูกจ้างมีเวลาพักในระหว่างการทำงานไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง โดยจะให้มีเวลาพักเป็นหลายครั้งก็ได้แต่เมื่อรวมเวลาพักแล้วจะต้องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และเวลาพักจะต้องเป็นระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการทำงานด้วย การที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานระหว่างเวลา 8.00 นาฬิกาถึง 16.00 นาฬิกาและระหว่างเวลา 16.00 นาฬิกา ถึง 24.00 นาฬิกา โดยให้มีเวลาพักเพียงกะละ ครึ่งชั่วโมง จึงเป็นการกำหนดเวลาพักที่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว กรณีดังกล่าวแม้ลูกจ้างทำงานในช่วงเวลาพักก็เป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติ หาใช่นอกเวลาทำงานปกติอันจะทำให้ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาไม่ ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้แต่เพียงค่าจ้างโดยคำนวณเฉลี่ยจากค่าจ้างของแต่ละเดือนเท่านั้น
of 2