พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7141/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นและการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหลังผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่า 1 ปี ทบเข้ากับเงินต้นแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้านั้น มีผลบังคับใช้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง และไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง แม้จะครบกำหนดชำระหนี้และลูกหนี้ผิดนัดแล้วโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามวิธีการดังกล่าวได้
โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบังคับจำนองให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้แก่จำเลยไม่ได้ จึงประกาศให้จำเลยทราบทางหนังสือพิมพ์ เป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองให้ชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728
โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบังคับจำนองให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้แก่จำเลยไม่ได้ จึงประกาศให้จำเลยทราบทางหนังสือพิมพ์ เป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองให้ชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาข้อเท็จจริงและการปฏิบัติตามขั้นตอนการยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
คดีต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเจ้าของสำนวนอนุญาตให้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ข้อความที่ตัดสินไม่ควรสู่ศาลสูงสุดจะวินิจฉัยไม่อนุญาตให้ฎีกา ยกคำร้องของจำเลย และไม่รับฎีกา
จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง โดยขอให้ ส. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา ศาลชั้นต้นเห็นว่า ตามเนื้อหาเป็นเรื่องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงลายมือชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้ฎีกา จึงให้ส่งไปให้ ส. พิจารณาสั่ง ต่อมาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ต่อศาลชั้นต้นระบุขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกา เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ฎีกาและสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกาจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งเนื้อหาคือยื่นคำร้องเป็นกรณีนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาแล้ว การยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลย จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลฎีกาที่จะรับฎีกาของจำเลยได้ จำเลยจึงฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีการับฎีกาของจำเลยไม่ได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกา จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา หาได้วินิจฉัยว่าจำเลยนี้มิได้ยื่นฎีกาใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาดังจำเลยฎีกาไม่ ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นการคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง โดยขอให้ ส. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา ศาลชั้นต้นเห็นว่า ตามเนื้อหาเป็นเรื่องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงลายมือชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้ฎีกา จึงให้ส่งไปให้ ส. พิจารณาสั่ง ต่อมาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ต่อศาลชั้นต้นระบุขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกา เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ฎีกาและสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกาจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งเนื้อหาคือยื่นคำร้องเป็นกรณีนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาแล้ว การยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลย จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลฎีกาที่จะรับฎีกาของจำเลยได้ จำเลยจึงฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีการับฎีกาของจำเลยไม่ได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกา จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา หาได้วินิจฉัยว่าจำเลยนี้มิได้ยื่นฎีกาใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาดังจำเลยฎีกาไม่ ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นการคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ล่าช้าและการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเจ้าของสำนวนอนุญาตให้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ข้อความที่ตัดสินไม่ควรสู่ศาลสูงสุดจะวินิจฉัย ไม่อนุญาตให้ฎีกา ยกคำร้องของจำเลย และไม่รับฎีกา จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง โดยขอให้ ส. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาศาลชั้นต้นให้ส่งไปให้ ส. พิจารณาสั่ง ต่อมาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ต่อศาลชั้นต้นระบุขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกา เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ฎีกาและสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกาจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งเนื้อหาคือยื่นคำร้องเป็นกรณีนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้อง กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลฎีการับฎีกาของจำเลยได้ จำเลยจึงฎีกาขอให้ศาลฎีการับฎีกาของจำเลยไม่ได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกา จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าจำเลยนี้มิได้ยื่นฎีกาใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาดังจำเลยฎีกา ฎีกาของจำเลยไม่เป็นการคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกา จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าจำเลยนี้มิได้ยื่นฎีกาใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาดังจำเลยฎีกา ฎีกาของจำเลยไม่เป็นการคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5603/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการร้องทุกข์ของผู้รับเช็คลดชั้น กรณีไม่ใช่ผู้ทรงเช็ค
จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทแป้งจากห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลโจทก์ร่วมซึ่งมี ป.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยรับสินค้าไปเรียบร้อยแล้ว ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์ร่วม ป.ได้นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่ธนาคาร และธนาคารเป็นผู้เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาท ดังนั้น โจทก์ร่วมมิใช่ผู้ทรงเช็คพิพาท จึงมิใช่ผู้เสียหายไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ การที่โจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน จึงไม่เป็นการร้องทุกข์โดยชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 124 พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตามมาตรา121 วรรคสอง และมาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5603/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เสียหายในความผิดเช็ค: ต้องเป็นผู้ทรงเช็คหรือผู้เสียหายโดยตรง จึงมีสิทธิร้องทุกข์ดำเนินคดี
จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทแป้งจากห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลโจทก์ร่วมซึ่งมี ป. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยรับสินค้าไปเรียบร้อยแล้วได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมป. ได้นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่ธนาคารและธนาคารเป็นผู้เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาท ดังนั้น โจทก์ร่วมมิใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทจึงมิใช่ผู้เสียหายไม่มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ การที่โจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน จึงไม่เป็นการร้องทุกข์โดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 124 พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 121 วรรคสอง และมาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ อาญาแผ่นดิน แม้ไม่มีผู้เสียหายร้องทุกข์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง แต่การพิพากษาลงโทษฐานจัดหางานไม่ถูกต้อง
ความผิดต่อพระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน แม้ไม่มีผู้เสียหายร้องทุกข์ เจ้าพนักงานตำรวจก็มีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองได้อยู่แล้ว ดังนั้น พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการแสดงอำนาจเหนือทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี: กรอบเวลาการยื่นคำร้องและการสันนิษฐานสถานภาพ
ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา (3) ไม่ใช่เอกสารที่ศาลกำหนดให้ส่งแก่คู่ความหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในคดีตามมาตรา 67 และ 70 แต่เป็นประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ปิดประกาศให้ผู้ที่มีอำนาจพิเศษเหนือทรัพย์ที่ถูกบังคับคดียื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษของตน อันเป็นมาตรการส่วนหนึ่งในการบังคับคดีให้ดำเนินไปโดยรวดเร็วและถูกต้องและเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่ความใช้สิทธิของตนเหนือทรัพย์สินที่กำลังถูกบังคับคดีอยู่ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย จึงต้องบังคับโดยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อมิให้การบังคับคดีต้องล่าช้าอันอาจเป็นผลเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้เพราะฉะนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)ที่กำหนดให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นจึงเริ่มนับแต่วันที่มีการปิดประกาศโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลาสิบห้าวันไปเสียก่อนตามมาตรา 79 วรรคสอง
ปัญหาว่า ระยะเวลาการยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษไม่บังคับตายตัวอาจยื่นภายหลังพ้นแปดวันแล้วก็ได้นั้น แม้เป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจการยื่นคำร้อง ซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในปัญหาดังกล่าวในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)มิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึง สถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้
แม้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นสินสมรส ระหว่างจำเลยและผู้ร้องให้แก่โจทก์ โดยผู้ร้องไม่ทราบและ มิได้ให้ความยินยอมก็ตาม แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินพิพาท บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย และไม่อาจร้องให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้
ปัญหาว่า ระยะเวลาการยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษไม่บังคับตายตัวอาจยื่นภายหลังพ้นแปดวันแล้วก็ได้นั้น แม้เป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจการยื่นคำร้อง ซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในปัญหาดังกล่าวในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)มิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึง สถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้
แม้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นสินสมรส ระหว่างจำเลยและผู้ร้องให้แก่โจทก์ โดยผู้ร้องไม่ทราบและ มิได้ให้ความยินยอมก็ตาม แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินพิพาท บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย และไม่อาจร้องให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและอำนาจพิเศษ: การนับระยะเวลาการยื่นคำร้องและการสันนิษฐานสถานภาพบริวาร
ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่กำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3) นั้น ไม่ใช่เอกสารที่จะต้องส่งให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 67 และไม่ใช่บรรดาคำฟ้อง หมายเรียก และหมายอื่น ๆ คำสั่งคำบังคับของศาลตามมาตรา 70 ที่จะต้องส่งให้แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฉะนั้น กำหนดที่ให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วันนับแต่วันปิดประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเริ่มนับแต่วันที่มีการปิดประกาศโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลา 15 วัน ไปเสียก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3) มิได้บัญญัติบังคับไว้เด็ดขาดว่าถ้าผู้ร้องไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลาดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด ดังนั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้ ดังนั้น แม้ว่าบ้านและที่ดินจะเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยก็ตามแต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยบ้านและที่ดินยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นสามีของจำเลยเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย ไม่อาจร้องขอให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการแสดงอำนาจเหนือทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี: ระยะเวลาการยื่นคำร้องและการสันนิษฐานสถานภาพ
ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296จัตวา (3) ไม่ใช่เอกสารที่ศาลกำหนดให้ส่งแก่คู่ความหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในคดีตามมาตรา 67 และ 70 แต่เป็นประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ปิดประกาศให้ผู้ที่มีอำนาจพิเศษเหนือทรัพย์ที่ถูกบังคับคดียื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษของตน อันเป็นมาตรการส่วนหนึ่งในการบังคับคดีให้ดำเนินไปโดยรวดเร็วและถูกต้อง และเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่ความเลยใช้สิทธิของตนเหนือทรัพย์สินที่กำลังถูกบังคับคดีอยู่ ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายจึงต้องบังคับโดยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อมิให้การบังคับคดีต้องล่าช้าอันอาจเป็นผลเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ เพราะฉะนั้นตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3)ที่กำหนดให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นจึงเริ่มนับแต่วันที่มีการปิดประกาศโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลาสิบห้าวันไปเสียก่อนตามมาตรา 79 วรรคสอง
ปัญหาว่าระยะเวลาการยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษไม่บังคับตายตัวอาจยื่นภายหลังพ้นแปดวันแล้วก็ได้นั้น แม้เป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจการยื่นคำร้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในปัญหาดังกล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) มิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้
แม้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและผู้ร้องให้แก่โจทก์ โดยผู้ร้องไม่ทราบและมิได้ให้ความยินยอมก็ตามแต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินพิพาท บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย และไม่อาจร้องให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้
ปัญหาว่าระยะเวลาการยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษไม่บังคับตายตัวอาจยื่นภายหลังพ้นแปดวันแล้วก็ได้นั้น แม้เป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจการยื่นคำร้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในปัญหาดังกล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) มิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้
แม้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและผู้ร้องให้แก่โจทก์ โดยผู้ร้องไม่ทราบและมิได้ให้ความยินยอมก็ตามแต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินพิพาท บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย และไม่อาจร้องให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4999/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความสัมพันธ์ตัวการตัวแทน แม้มิได้กล่าวอ้างในฟ้อง ก็สามารถนำสืบได้หากเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง
แม้โจทก์จะฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันซื้อคอนกรีตผสมเสร็จจากโจทก์ แต่การสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้อเพื่อใช้ในการสร้างบ้านเรือนแถวให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 นำรายจ่ายค่าวัสดุนี้ไปหักจากบัญชีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จของโจทก์โดยตรง แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะเป็นผู้สั่งซื้อจากโจทก์ แต่ตามพฤติการณ์แล้วจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อจำเลยที่ 1 นั่นเอง จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะมิได้กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับการเป็นตัวแทน โจทก์ก็นำสืบในเรื่องนี้ได้เพราะเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงในรายละเอียดเนื่องจากในการติดต่อทำสัญญาซื้อขายกันอาจทำโดยตนเองหรือมีตัวแทนไปติดต่อทำสัญญาซื้อขายแทนก็ได้ และศาลวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น