พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาป่วยของลูกจ้าง: แม้ไม่ถึงขั้นไม่สามารถทำงานได้ ก็มีสิทธิลาป่วยได้ตามกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 12 มิได้มีบทบัญญัติว่า ลูกจ้างจะต้องมีอาการป่วยจนไม่สามารถทำงานได้จึงมีสิทธิลาป่วยได้ การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างป่วยจริงแล้วยื่นใบลาป่วย จึงมิใช่เป็นการลาป่วยเท็จ และเมื่อเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะลาได้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 12จำเลยจึงจ่ายค่าจ้างในวันลาดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงขัดกับคำรับของคู่ความในคดีแรงงาน เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย
เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นการหยิบยกเอาข้อเท็จจริงแต่เพียงบางส่วนขึ้นเป็นเหตุอ้างว่าศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคำรับของคู่ความดังนี้เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง แม้ว่าการทำงานล่วงเวลากับการทำงานเกินเวลาทำงานปกติจะมีความหมายที่แตกต่างกัน แต่ต่างก็เนื่องมาจากการที่ ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้างนอกเวลาทำงานปกตินั่นเอง และแตกต่างกันเพียงแต่ค่าตอบแทนว่า หากเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาก็จะมี อัตราเท่าครึ่งในวันธรรมดาหรือสามเท่าในวันหยุดแล้วแต่กรณี แต่ถ้าการที่ลูกจ้างทำงานเกินเวลาทำงานปกติโดยนายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาตามกฎหมาย นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าทำงาน ที่ลูกจ้างทำงานเกินเวลาทำงานปกติให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้าง ตามเวลาที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกตินั้น เมื่อคดีปรากฏข้อเท็จจริง ว่าโจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติแล้ว ศาลแรงงานย่อมพิพากษาให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าทำงานที่โจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างรวมค่าล่วงเวลาขัดกฎหมาย หากไม่ระบุอัตราค่าจ้างปกติ ทำให้ลูกจ้างเสียเปรียบ
ค่าล่วงเวลาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติ และประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวยังได้กำหนดให้ลูกจ้างประเภทไหนทำงานในระยะเวลาเท่าใดใน 1 สัปดาห์ หากทำเกินจากกำหนดระยะเวลา จะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราที่กฎหมายกำหนดตามข้อ 3,11,29,34 และ 42 ซึ่งกำหนดโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างในเวลาทำงานปกติ การที่จะรวมค่าจ้างและค่าทำงานล่วงเวลาย่อมเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างเพราะไม่ทราบว่าอัตราค่าจ้างปกติที่จะนำไปคำนวณค่าล่วงเวลานั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่หรือต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่ เนื่องจากค่าจ้างขั้นต่ำย่อมจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ เมื่อสัญญาว่าจ้างทำงานมิได้กำหนดอัตราค่าจ้างปกติทำให้ไม่อาจคำนวณค่าล่วงเวลาได้ ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่า จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลาจริง ข้อสัญญาดังกล่าวข้างต้นมีผลเป็นการให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานนอกเวลาทำงานปกติโดยไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ย่อมขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การพิจารณาเหตุผลเลิกจ้างตามคำสั่งเลิกจ้างและพฤติการณ์ก่อนเกิดเหตุ
ตามคำสั่งเลิกจ้าง นายจ้างระบุในคำสั่งเลิกจ้างว่า ลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอย่างร้ายแรงและกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างเท่านั้น เท่ากับนายจ้างประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างทั้งสองประการดังกล่าวเป็นเหตุเลิกจ้าง ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย ดังนี้เมื่อนายจ้างถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ จะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ การที่นายจ้างยกเหตุว่าลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายขึ้นต่อสู้ ศาลย่อมไม่รับวินิจฉัย นายจ้างมิได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามกำหนดเวลาซึ่งถือว่าเป็นการผิดสัญญาและไม่ชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 29 ย่อมทำให้ลูกจ้างผิดหวังเกิดความรู้สึกไม่พอใจนายจ้าง และมายืนออกันอยู่ที่หน้าโรงงาน เมื่อเห็นนายจ้างขับรถผ่านมาลูกจ้างได้กล่าวถ้อยคำว่า "อีหัวล้าน" ต่อนายจ้างซึ่งกระทำดังกล่าวเป็นการแสดงความไม่พอใจต่อนายจ้างอันมีผลสืบเนื่องมาจากการที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้ นอกจากถ้อยคำดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างก็มิได้กล่าววาจาหรือแสดงกริยาอย่างอื่นใดประกอบอีก เพียงถ้อยคำซึ่งกล่าวด้วยอารมณ์ผิดหวังดังเช่นกรณีนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง และถ้อยคำดังกล่าวเป็นเพียงถ้อยคำที่ไม่สุภาพไม่ถึงกับเป็นการดูหมิ่นนายจ้างซึ่งหน้า จึงมิใช่เป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5091/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าทำงานวันหยุด & การปรับค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง: สิทธิลูกจ้างเมื่อมีการเลิกจ้าง
สิทธิเรียกร้องค่าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์และค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีของลูกจ้างต้องอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) มีกำหนดอายุความ 2 ปีนับแต่วันถึงกำหนดจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 29 ซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่ใช่จะมีขึ้นเมื่อมีการเลิกจ้าง การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างนำค่าครองชีพมารวมจ่ายเป็นค่าจ้างอัตราใหม่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2524 เป็นต้นมา ไม่ได้ทำให้ลูกจ้างซึ่งเข้าทำงานก่อนวันดังกล่าวและยอมรับการกระทำเช่นนั้นของจำเลยต้องเสียสิทธิที่มีอยู่เดิม ส่วนลูกจ้างที่เข้าทำงานหลังวันดังกล่าวก็จะได้รับค่าจ้างในอัตราที่รวมค่าครองชีพเข้าด้วยแล้ว การนำค่าครองชีพมารวมเป็นค่าจ้างดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลา/วันหยุดพักผ่อน: ไม่ผูกติดกับการเลิกจ้าง, ค่าพักผ่อนผูกติดกับการเลิกจ้าง
เงินค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณี เป็นเงินที่ นายจ้าง ต้องจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติและเพื่อตอบแทนการทำงานในวันหยุดตามประเพณี ดังนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุดตามประเพณี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องก็ต่อเมื่อจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์.
สิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นตกอยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 แสดงว่าสิทธิเรียกร้องนี้ย่อมเกิดมีขึ้นต่อเมื่อนายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างแล้ว ดังนี้เมื่อจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากจำเลยได้.
สิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นตกอยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 แสดงว่าสิทธิเรียกร้องนี้ย่อมเกิดมีขึ้นต่อเมื่อนายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างแล้ว ดังนี้เมื่อจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการสิ้นสุดความเป็นลูกจ้าง: การพักงานก่อนเลิกจ้างถือเป็นการเลิกจ้าง
โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จนถูกจำเลยตั้งกรรมการสอบสวน และจำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์ตามข้อบังคับตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2530 เพื่อรอฟังผลการสอบสวน ต่อมาวันที่20 มกราคม 2531 จำเลยออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลตั้งแต่วันแรกที่พักงานความเป็นลูกจ้างและนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจึงสิ้นสุดลงตั้งแต่วันนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างในช่วงนับแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2530 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2531
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างและการรับสภาพหนี้: ศาลฎีกาวินิจฉัยอายุความเริ่มนับจากวันสิ้นเดือน และการเบิกความต่อศาลไม่ถือเป็นการรับสภาพหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือนหมายความว่าหากไม่จ่ายค่าจ้างของเดือนใด นับแต่วันสิ้นเดือนนั้นโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 อายุความเรียกร้องค่าจ้างมีกำหนด 2 ปี ตามมาตรา 165(9) โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2531 ค่าจ้างค้างจ่ายเดือนสุดท้ายที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ย้อนหลังไป 2 ปี คือค่าจ้างเดือนมีนาคม 2529 ค่าจ้างนอกจากนั้นขาดอายุความ พ. กรรมการบริษัทจำเลยเบิกความต่อศาลแรงงานกลางว่า จำเลยค้างค่าจ้างโจทก์ตั้งแต่ปลายปี 2527 เป็นเพียงการเบิกความในฐานะพยานจำเลย จึงไม่ใช่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172