พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9873/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลแยกต่างหาก สัญญาต่างหาก ความรับผิดชอบเฉพาะคู่สัญญา
ตามคำฟ้องโจทก์ระบุว่าบริษัทจำเลยที่ 1 และบริษัทจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน และตามหนังสือรับรองเอกสารท้ายฟ้องก็ระบุไว้ชัดเจนว่าต่างเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน แม้ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 และที่ 2 ส่วนใหญ่จะเป็นญาติพี่น้องกันมีนามสกุลเดียวกันและแม้จะเป็นบริษัทในเครือเดียวกันก็ตาม แต่ตามกฎหมายแล้ว ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างเป็นนิติบุคคลแยกกัน หาใช่เป็นบริษัทเดียวกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9872/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเพิ่มเติมและการหักเป็นรายจ่าย การจ่ายเงินเพื่ออำนวยความสะดวกเจ้าหน้าที่ศาลพิจารณาว่าไม่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้
ภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์ต้องชำระเพิ่มเติมในปีภาษี 2533 และ 2534 เกิดขึ้นจากเจ้าพนักงานประเมินเมื่อปี 2538 เห็นว่าโจทก์ชำระภาษีการค้าไม่ถูกต้องและจะต้องชำระภาษีการค้าเพิ่มเติม ภาระภาษีการค้ากรณีนี้ยังไม่สามารถกำหนดจ่ายได้จริงและแน่นอนจนกว่าหนี้ค่าภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นที่ยุติโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินหรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น รายจ่ายค่าภาษีการค้าที่พิพาทในคดีนี้จึงมิใช่รายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 และ 2534
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ ส. นำไปจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการขอคืน เงินค่าภาษีอากรนั้น ไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดให้โจทก์ต้องจ่ายเงินจำนวนนั้น การจ่ายเงินในลักษณะเช่นนี้อาจจะเป็นการจ่ายในลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หาเฉพาะตัว เป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าเพื่อหากำไรอันเป็นรายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์ และการจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรเช่นนี้เป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่ต่อการให้สินบนเจ้าพนักงานด้วย ดังนั้น แม้ ส. จะรับเงินจำนวนดังกล่าว แต่ ส. ก็มิได้รับเงินไว้เองต้องนำไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากร แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ ส. อ้างว่าได้รับเงินไว้ โจทก์ไม่สามารถนำมาพิสูจน์ได้ เมื่อโจทก์ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน รายจ่ายดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18)
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ ส. นำไปจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการขอคืน เงินค่าภาษีอากรนั้น ไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดให้โจทก์ต้องจ่ายเงินจำนวนนั้น การจ่ายเงินในลักษณะเช่นนี้อาจจะเป็นการจ่ายในลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หาเฉพาะตัว เป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าเพื่อหากำไรอันเป็นรายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์ และการจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรเช่นนี้เป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่ต่อการให้สินบนเจ้าพนักงานด้วย ดังนั้น แม้ ส. จะรับเงินจำนวนดังกล่าว แต่ ส. ก็มิได้รับเงินไว้เองต้องนำไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากร แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ ส. อ้างว่าได้รับเงินไว้ โจทก์ไม่สามารถนำมาพิสูจน์ได้ เมื่อโจทก์ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน รายจ่ายดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9763/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีโดยชอบตามกฎหมาย และการขยายเวลาอุทธรณ์
บ้านที่เจ้าพนักงานสรรพากรได้ส่งหนังสือแจ้งการประเมินให้แก่โจทก์ทั้งสอง เป็นบ้านของโจทก์ทั้งสองและโจทก์ทั้งสองก็มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในบ้านหลังนี้ ทั้งยังปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมาดูแลโต๊ะสนุกเกอร์ที่บ้านเลยที่ดังกล่าวเป็นประจำ การที่เจ้าพนักงานประเมินส่งหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์ทั้งสอง ณ บ้านเลขที่ดังกล่าวซึ่งเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ทั้งสองทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และมี พ. อายุ 29 ปี ซึ่งอยู่ในบ้านเลยที่ดังกล่าวรับไว้แทน โดยระบุความเกี่ยวพันว่าเป็นลูกจ้าง จึงเป็นการส่งโดยชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง แม้จะฟังว่าพ. ทำหนังสือแจ้งการประเมินสูญหายไปดังที่โจทก์ทั้งสองนำสืบ โจทก์ทั้งสองก็หาอาจนำมาเป็นข้ออ้างเพื่อขอขยายกำหนดเวลาอุทธรณ์ได้ไม่ คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการอุทธณณ์เป็นคำสั่งที่ชอบ ไม่มีเหตุที่โจทก์ทั้งสองจะฟ้องให้เพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9107/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเป็นจำเลยร่วมไม่ใช่คำคู่ความ ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226
คำร้องขอของโจทก์ที่ให้เรียกธนาคาร ท. บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเพื่อเป็นจำเลยร่วมไม่มีลักษณะเป็นคำฟ้องหรือคำคู่ความ ไม่เหมือนกรณีที่บุคคลภายนอกร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีไม่ว่าโดยความสมัครใจ หรือถูกหมายเรียกของศาลให้เข้ามา เนื่องจากคำร้องสอดของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อศาลเป็นการตั้งประเด็นโต้แย้งกับคู่ความในคดีจึงมีลักษณะเป็นคำฟ้องและเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) และ (5) เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ให้เรียกธนาคาร ท. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม จึงไม่ใช่คำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8995/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสินสมรสโดยไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้ แม้มีการสมรสซ้อน แต่กฎหมายเดิมยังใช้บังคับ
บ. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์เมื่อ 6 ธ.ค. 2501 ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสซ้อนกับจำเลยอีกเมื่อ 16 มี.ค. 2505 ป.พ.พ. บรรพ 5 (เดิม) มาตรา 1488 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้น บัญญัติว่า บุคคลใดจะอ้างว่าการสมรสเป็นโมฆะหรือโมฆียะไม่ได้ นอกจากศาลพิพากษาว่าเป็นเช่นนั้น เมื่อในขณะที่ บ. ซื้อที่พิพาทยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องร้องให้การสมรสระหว่าง บ. กับจำเลยเป็นโมฆะ จึงต้องถือว่าการสมรสระหว่าง บ. กับจำเลยยังชอบอยู่ ดังนั้นที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสของทั้ง บ. โจทก์ และจำเลย
แม้ บ. จะมีอำนาจจัดการสินสมรสต่อไปตามกฎหมาย แต่การที่ บ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หา อันมิได้เป็นไปตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสังคมโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง อันเป็นบทบัญญัติกฎหมายในขณะที่มีการจดทะเบียนให้ขึ้นใช้บังคับ
แม้ บ. จะมีอำนาจจัดการสินสมรสต่อไปตามกฎหมาย แต่การที่ บ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หา อันมิได้เป็นไปตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสังคมโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง อันเป็นบทบัญญัติกฎหมายในขณะที่มีการจดทะเบียนให้ขึ้นใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8898/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกประกวดราคาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการไม่มีละเมิดจากหน่วยงานราชการ
ประกาศแจ้งความประกวดราคาจ้างเหมาเป็นเพียงประกาศเชิญชวนให้ผู้สนใจที่จะรับจ้างขนขยะมูลฝอยจากท่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาไปทำลายโดยวิธีฝังดิน ยื่นคำเสนอขอทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยวิธียื่นซองประกวดราคา ซึ่งต่อมาโจทก์เป็นผู้เข้าประกวดราคาและเสนอราคาต่ำสุดอันเป็นการทำคำเสนอต่อจำเลยที่ 1 แล้ว เท่ากับโจทก์ยอมรับที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของจำเลยที่ 1 ทุกประการ การที่จำเลยที่ 1 โดยประธานคณะกรรมการเปิดซองประกวดราคามีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบในภายหลังว่าตกลงรับราคาที่โจทก์เสนอถือได้ว่าเป็นการทำคำสนองรับคำเสนอของโจทก์ แต่ในประกาศแจ้งความประกวดราคาจ้างเหมา ข้อ 16 ระบุว่าเมื่อจำเลยที่ 1 แจ้งให้ผู้ประกวดราคาได้ทราบเป็นหนังสือผู้ประกวดราคาได้นั้นต้องไปทำสัญญาตามแบบของจำเลยที่ 1 ภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ทำสัญญาตามแบบของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกิดเป็นสัญญาผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ประกาศยกเลิกการประกวดราคาจ้างเหมาครั้งนี้ ไม่ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ชนะการประกวดราคาจะทำผิดเงื่อนไขตามประกาศแจ้งความประกวดราคาหรือไม่ก็ตามก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้จากจำเลยที่ 1
ตามประกาศแจ้งความประกวดราคาจ้างเหมา ข้อ 18 ได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่า จำเลยที่ 1 ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะยกเลิกการประกวดราคารายนี้เสียก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของทางราชการและผู้ยื่นซองประกวดราคาไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทดแทนหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้ ดังนั้น แม้ว่าโจทก์จะเป็นผู้ที่ยื่นซองประกวดราคาและเสนอราคาต่ำสุด ทั้งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของผู้ยื่นซองประกวดราคาตามที่ได้ประกาศแจ้งความไว้แล้วก็ตามจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะยกเลิกการประกวดราคาครั้งนี้ได้เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
แม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งยกเลิกการประกวดราคาหลังจากการเปิดซองประกวดราคานานถึง 5 ปี แต่โจทก์ก็ไม่สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยคนหนึ่งคนใดมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ข้อเท็จจริงได้ความว่า โครงการขนขยะมูลฝอยริมแม่น้ำเจ้าพระยามีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่กลบฝังขยะ ตลอดจนบริเวณท่าเทียบเรือที่ใช้เป็นที่ขนลำเลียงขยะมูลฝอยลงเรือเป็นอย่างมาก การพิจารณาถึงผลกระทบดังกล่าวจึงต้องกระทำอย่างละเอียดรอบคอบ จำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องและตลอดมา ซึ่งโจทก์ก็ได้ร่วมรับรู้อย่างใกล้ชิด ทั้งยังให้ความยินยอมขยายกำหนดเวลายื่นราคาที่โจทก์เสนอไว้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน โจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าการแจ้งยกเลิกการประกวดราคาล่าช้าของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยจงใจกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ แม้โจทก์จะได้ระบุไว้ในหนังสือยินยอมขยายกำหนดเวลายื่นราคาว่าหากไม่ตกลงทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ภายในกำหนดแล้ว โจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีผลทางกฎหมายว่าการที่จำเลยที่ 1 ไม่ทำสัญญาจ้างเหมากับโจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ ไม่ได้ความว่าปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน
ตามประกาศแจ้งความประกวดราคาจ้างเหมา ข้อ 18 ได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่า จำเลยที่ 1 ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะยกเลิกการประกวดราคารายนี้เสียก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของทางราชการและผู้ยื่นซองประกวดราคาไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทดแทนหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้ ดังนั้น แม้ว่าโจทก์จะเป็นผู้ที่ยื่นซองประกวดราคาและเสนอราคาต่ำสุด ทั้งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของผู้ยื่นซองประกวดราคาตามที่ได้ประกาศแจ้งความไว้แล้วก็ตามจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะยกเลิกการประกวดราคาครั้งนี้ได้เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
แม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งยกเลิกการประกวดราคาหลังจากการเปิดซองประกวดราคานานถึง 5 ปี แต่โจทก์ก็ไม่สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยคนหนึ่งคนใดมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ข้อเท็จจริงได้ความว่า โครงการขนขยะมูลฝอยริมแม่น้ำเจ้าพระยามีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่กลบฝังขยะ ตลอดจนบริเวณท่าเทียบเรือที่ใช้เป็นที่ขนลำเลียงขยะมูลฝอยลงเรือเป็นอย่างมาก การพิจารณาถึงผลกระทบดังกล่าวจึงต้องกระทำอย่างละเอียดรอบคอบ จำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องและตลอดมา ซึ่งโจทก์ก็ได้ร่วมรับรู้อย่างใกล้ชิด ทั้งยังให้ความยินยอมขยายกำหนดเวลายื่นราคาที่โจทก์เสนอไว้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน โจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าการแจ้งยกเลิกการประกวดราคาล่าช้าของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยจงใจกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ แม้โจทก์จะได้ระบุไว้ในหนังสือยินยอมขยายกำหนดเวลายื่นราคาว่าหากไม่ตกลงทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ภายในกำหนดแล้ว โจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีผลทางกฎหมายว่าการที่จำเลยที่ 1 ไม่ทำสัญญาจ้างเหมากับโจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ ไม่ได้ความว่าปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8879/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีโดยผู้รับมอบอำนาจของนิติบุคคล ถือเป็นการได้รับแจ้งการประเมินตามกฎหมาย
คำว่า "บุคคล" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ย่อมหมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลด้วย ดังนั้น เมื่อผู้รับมอบอำนาจของโจทก์รับหนังสือแจ้งการประเมินจากเจ้าพนักงานสรรพากรแล้ว ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินให้ไปเสียภาษีในวันดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8879/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการประเมินภาษี การรับหนังสือโดยผู้รับมอบอำนาจ และกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์
คำว่า "บุคคล" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา และสิทธิในการเรียกร้องเงินค่าที่ดินคืน
โจทก์พร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาโดยการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่เหลือภายในกำหนดเวลาตามสัญญาได้ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา โจทก์มีหนังสือทวงถามเรียกเงินที่ชำระค่าที่ดินคืนและเรียกค่าเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาเลิกสัญญาโดยปริยายแล้ว คู่สัญญาย่อมกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม และโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 เมื่อโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยบางส่วนและจำเลยได้โอนที่ดินให้แก่โจทก์บางแปลง โจทก์และจำเลยจึงทำบันทึกข้อตกลงกันใหม่ขยายเวลาโอนที่ดินส่วนที่เหลือโดยให้ถือว่าเงินมัดจำในสัญญาเดิมยังคงไว้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยถือว่าการโอนที่ดินที่ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วสามารถแยกต่างหากจากที่ดินส่วนที่เหลือได้และถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาในที่ดินส่วนที่โอนแล้ว ดังนี้ โจทก์จะเรียกเงินค่าที่ดินที่ชำระให้แก่จำเลยไปแล้วคืนทั้งหมดหาได้ไม่ คงมีสิทธิเรียกเงินค่าที่ดินในส่วนที่ชำระเกินราคาที่ดินที่รับโอนไปแล้วคืนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8599/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัด และคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ที่ถูกห้ามตามกฎหมาย
คำร้องของโจทก์ที่โต้แย้งคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคสอง และมาตรา 201 วรรคหนึ่ง (เดิม) มิได้กล่าวอ้างว่า ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบ หรือฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายใด คงอ้างแต่เพียงว่า กรณีมีเหตุสุดวิสัยที่โจทก์ไม่สามารถมาศาลได้ โจทก์ไม่มีเจตนาที่จะละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งของศาล ขอให้ไต่สวนและกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ต่อไป เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์มิได้จงใจขาดนัดพิจารณา จึงถือได้ว่าคำร้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำขอให้พิจารณาคดีนี้ใหม่ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์เสียได้ โดยไม่ต้องทำการไต่สวน