พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7891/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนเลนกะทันหันของรถยนต์บรรทุกเป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ล้ม ศาลฎีกาพิพากษาว่าเป็นการประมาท
จำเลยได้บังคับรถยนต์ที่จำเลยขับเลี้ยวไปทางซ้ายเพื่อเปลี่ยนช่องเดินรถเข้าไปในช่องเดินรถที่ 1 ที่ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์มาอย่างรีบเร่ง ซึ่งหากจำเลยทอดเวลาไว้ระยะหนึ่งโดยให้สัญญาณไฟเลี้ยวทางด้านซ้ายเพื่อแสดงเจตนาให้รถคันอื่นในบริเวณใกล้เคียงได้ทราบ ผู้เสียหายอาจเร่งความเร็วรถจักรยานยนต์ของตนแซงพ้นรถยนต์ของจำเลยหรือชะลอความเร็วของรถจักรยานยนต์เพื่อเปิดทางให้จำเลยเปลี่ยนช่องเดินรถโดยสะดวก เมื่อจำเลยได้เลี้ยวรถมาทางซ้ายเพื่อเปลี่ยนช่องเดินรถอย่างกะทันหัน จึงเป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งผู้ประกอบอาชีพขับรถยนต์บรรทุกเช่นจำเลยจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์
พื้นผิวถนนในช่องเดินรถของผู้เสียหายตรงบริเวณที่เกิดเหตุไม่ปรากฏว่ามีหลุม บ่อ หรือขรุขระ อันจะทำให้การขับขี่และบังคับรถจักรยานยนต์ทำได้ลำบากหรือทำให้เสียการทรงตัว และไม่ปรากฏร่องรอยการเฉี่ยวชนที่ตัวรถยนต์ของจำเลย กรณีจึงเชื่อได้ว่าเพราะเหตุที่จำเลยหักเลี้ยวรถเพื่อจะเปลี่ยนช่องเดินรถโดยกะทันหันขวางเส้นทางเดินรถของผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายต้องหักรถหลบตามสัญชาติญาณทำให้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายล้มลงและผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส แม้รถยนต์ของจำเลยจะมิได้กระแทกหรือเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย เพราะผู้เสียหายหักรถหลบได้ทัน แต่ก็ต้องถือว่าการที่รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายล้มลงและผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย
พื้นผิวถนนในช่องเดินรถของผู้เสียหายตรงบริเวณที่เกิดเหตุไม่ปรากฏว่ามีหลุม บ่อ หรือขรุขระ อันจะทำให้การขับขี่และบังคับรถจักรยานยนต์ทำได้ลำบากหรือทำให้เสียการทรงตัว และไม่ปรากฏร่องรอยการเฉี่ยวชนที่ตัวรถยนต์ของจำเลย กรณีจึงเชื่อได้ว่าเพราะเหตุที่จำเลยหักเลี้ยวรถเพื่อจะเปลี่ยนช่องเดินรถโดยกะทันหันขวางเส้นทางเดินรถของผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายต้องหักรถหลบตามสัญชาติญาณทำให้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายล้มลงและผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส แม้รถยนต์ของจำเลยจะมิได้กระแทกหรือเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย เพราะผู้เสียหายหักรถหลบได้ทัน แต่ก็ต้องถือว่าการที่รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายล้มลงและผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7501/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดเช็ค: การนับระยะเวลาเริ่มเมื่อใด และผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
ผู้เสียหายได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินในวันที่เช็คถึงกำหนดการใช้เงิน แต่มิได้รับเงินตามเช็คเนื่องจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้จะเป็นการปฏิเสธด้วยวาจา กรณีก็ต้องถือว่าธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คแล้ว เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็ดี พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ก็ดี หาได้บัญญัติว่าการปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คนั้นต้องทำเป็นหนังสือไม่
ผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยผัดผ่อนชำระเงินไปจนถึงวันที่ 10 ตุลาคม2540 ยิ่งเป็นข้อชี้แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดเกิดขึ้นและรู้ตัวว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่เช็คถึงกำหนดการใช้เงิน แต่ปรากฏว่าผู้เสียหายเพิ่งไปร้องทุกข์ในวันที่ 5 มกราคม 2541 จึงเกินกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวว่าจำเลยกระทำความผิด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
ผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยผัดผ่อนชำระเงินไปจนถึงวันที่ 10 ตุลาคม2540 ยิ่งเป็นข้อชี้แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดเกิดขึ้นและรู้ตัวว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่เช็คถึงกำหนดการใช้เงิน แต่ปรากฏว่าผู้เสียหายเพิ่งไปร้องทุกข์ในวันที่ 5 มกราคม 2541 จึงเกินกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวว่าจำเลยกระทำความผิด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7443/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำให้การนอกสถานที่: เหตุสุดวิสัย, คำสั่งศาลที่คลาดเคลื่อน, และการขยายเวลา
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง จำเลยจะต้องยื่นเอกสารและคำคู่ความต่าง ๆ โดยตรงต่อศาลภาษีอากรกลาง การที่จำเลยจะยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสซึ่งตนมีภูมิลำเนาอยู่ จึงต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 10
จำเลยยื่นคำให้การพร้อมคำแถลงโดยมิได้ทำเป็นคำร้องต่อศาลจังหวัดนราธิวาสซึ่งตนมีภูมิลำเนาโดยอ้างเพียงว่าจะครบกำหนดยื่นคำให้การ ไม่สามารถยื่นคำให้การได้ทันที่ศาลภาษีอากรกลาง ขอให้ศาลจังหวัดนราธิวาสรับคำให้การและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อนำส่งโดยทางโทรสารให้ด้วย และไม่ได้ระบุว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยอย่างใดจึงเดินทางไปยื่นคำให้การที่ศาลภาษีอากรกลางเองไม่ได้ กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่ง ป.วิ.พ. จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำให้การที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้ แต่การที่จำเลยได้เคยขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยยื่นคำแถลงต่อศาลจังหวัดนราธิวาส และศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาสั่งคำแถลงดังกล่าวให้ทั้งที่กรณีไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอย่างใด จึงไม่ชอบ การที่ศาลภาษีอากรกลางยอมรับและมีคำสั่งให้ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้จำเลยเข้าใจว่าสามารถยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสได้เช่นกัน การที่จำเลยยื่นคำให้การโดยมิชอบต่อศาลจังหวัดนราธิวาสจึงสืบเนื่องมาจากการที่ศาลภาษีภากรกลางมีคำสั่งที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม แต่เนื่องจากได้ล่วงเลยระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยแล้ว กรณีจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ที่สมควรขยายระยะเวลาให้จำเลยดำเนินการยื่นคำให้การต่อศาลภาษีอากรกลางได้ต่อไป
จำเลยยื่นคำให้การพร้อมคำแถลงโดยมิได้ทำเป็นคำร้องต่อศาลจังหวัดนราธิวาสซึ่งตนมีภูมิลำเนาโดยอ้างเพียงว่าจะครบกำหนดยื่นคำให้การ ไม่สามารถยื่นคำให้การได้ทันที่ศาลภาษีอากรกลาง ขอให้ศาลจังหวัดนราธิวาสรับคำให้การและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อนำส่งโดยทางโทรสารให้ด้วย และไม่ได้ระบุว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยอย่างใดจึงเดินทางไปยื่นคำให้การที่ศาลภาษีอากรกลางเองไม่ได้ กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่ง ป.วิ.พ. จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำให้การที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้ แต่การที่จำเลยได้เคยขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยยื่นคำแถลงต่อศาลจังหวัดนราธิวาส และศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาสั่งคำแถลงดังกล่าวให้ทั้งที่กรณีไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอย่างใด จึงไม่ชอบ การที่ศาลภาษีอากรกลางยอมรับและมีคำสั่งให้ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้จำเลยเข้าใจว่าสามารถยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสได้เช่นกัน การที่จำเลยยื่นคำให้การโดยมิชอบต่อศาลจังหวัดนราธิวาสจึงสืบเนื่องมาจากการที่ศาลภาษีภากรกลางมีคำสั่งที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม แต่เนื่องจากได้ล่วงเลยระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยแล้ว กรณีจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ที่สมควรขยายระยะเวลาให้จำเลยดำเนินการยื่นคำให้การต่อศาลภาษีอากรกลางได้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7443/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำให้การนอกสถานที่: เหตุสุดวิสัย-คำสั่งศาลที่ขัดแย้ง-ผลกระทบต่อการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง จำเลยจะต้องยื่นเอกสารและคำคู่ความต่าง ๆ โดยตรงต่อศาลภาษีอากรกลาง การที่จำเลยจะยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสซึ่งตนมีภูมิลำเนาอยู่ จึงต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯมาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 10 การที่จำเลยยื่นคำให้การภายในกำหนดพร้อมคำแถลงโดยมิได้ทำเป็นคำร้องต่อศาลจังหวัดนราธิวาสโดยอ้างเพียงว่าจะครบกำหนดยื่นคำให้การ ไม่สามารถยื่นคำให้การได้ทันที่ศาลภาษีอากรกลาง ขอให้ศาลจังหวัดนราธิวาสรับคำให้การและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อนำส่งโดยทางโทรสารให้ด้วย และไม่ได้ระบุว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยอย่างใดจึงเดินทางไปยื่นคำให้การเองไม่ได้ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 10 จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำให้การที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้
แต่การที่จำเลยได้เคยขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การผ่านศาลจังหวัดนราธิวาสมาก่อนแล้วครั้งหนึ่งและศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาสั่งคำแถลงดังกล่าวให้ทั้งที่กรณีไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอย่างใดนั้นจึงไม่ชอบ การที่ศาลภาษีอากรกลางยอมรับและมีคำสั่งให้ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้จำเลยเข้าใจว่าสามารถยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสได้เช่นกัน การที่จำเลยยื่นคำให้การโดยมิชอบจึงสืบเนื่องมาจากการที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม แต่เนื่องจากได้ล่วงเลยระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยแล้ว กรณีเป็นเหตุสุดวิสัยที่สมควรขยายระยะเวลาให้จำเลยดำเนินการยื่นคำให้การต่อศาลภาษีอากรกลางต่อไป
แต่การที่จำเลยได้เคยขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การผ่านศาลจังหวัดนราธิวาสมาก่อนแล้วครั้งหนึ่งและศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาสั่งคำแถลงดังกล่าวให้ทั้งที่กรณีไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอย่างใดนั้นจึงไม่ชอบ การที่ศาลภาษีอากรกลางยอมรับและมีคำสั่งให้ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้จำเลยเข้าใจว่าสามารถยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสได้เช่นกัน การที่จำเลยยื่นคำให้การโดยมิชอบจึงสืบเนื่องมาจากการที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม แต่เนื่องจากได้ล่วงเลยระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยแล้ว กรณีเป็นเหตุสุดวิสัยที่สมควรขยายระยะเวลาให้จำเลยดำเนินการยื่นคำให้การต่อศาลภาษีอากรกลางต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7237/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น แม้ถูกทำร้ายก่อน แต่การตอบโต้ด้วยอาวุธเกินกว่าเหตุ ไม่ถือเป็นการป้องกันตามกฎหมาย
ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ถูกวัยรุ่นคนหนึ่งทำร้าย หลังจากเหตุการณ์สงบแล้วเล็กน้อย จำเลยทั้งสองจึงเข้าไป ร่วมกันใช้อาวุธมีดฟันและแทงผู้ตายฝ่ายเดียว การกระทำของจำเลยทั้งสองในลักษณะดังกล่าวหาใช่เป็นการกระทำโดย ป้องกันตาม ป.อ. มาตรา 68 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7017/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การพรากเด็กเพื่ออนาจารและการกระทำชำเรา ศาลฎีกาแก้ไขโทษตามบทที่มีโทษหนักสุด
ความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม จำเลยมีเจตนากระทำต่อบิดาผู้เสียหาย เป็นความผิดกรรมหนึ่ง ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบสามปีตามมาตรา 277 วรรคสอง และความผิดฐานพาเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารมาตรา 283 ทวิ วรรคสองจำเลยมีเจตนาเดียวกันคือพาผู้เสียหายไปข่มขืนกระทำชำเรา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 277 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยเป็นความผิดต่างกรรมกันจึงเป็นการไม่ชอบกรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7017/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท และการพิจารณาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
การสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 นั้น เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องเมื่อโจทก์ประสงค์จะสืบพยานเพียงใดก็เป็นสิทธิของโจทก์ ส่วนการรับฟังพยานหลักฐานเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อโจทก์ติดใจสืบพยานเพียงเท่านั้นและศาลเห็นว่าพยานโจทก์ที่สืบมาเป็นที่พอใจศาลและฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง กรณีหาจำเป็นต้องสืบพยานเพิ่มเติมตามที่จำเลยฎีกาไม่
ความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม จำเลยมีเจตนากระทำความผิดต่อบิดาผู้เสียหาย เป็นความผิดกรรมหนึ่ง ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีตามมาตรา 277 วรรคสองและความผิดฐานพาเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารตามมาตรา 283 ทวิ วรรคสอง จำเลยมีเจตนาเดียวกันคือพาผู้เสียหายไปข่มขืนกระทำชำเรา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
ความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม จำเลยมีเจตนากระทำความผิดต่อบิดาผู้เสียหาย เป็นความผิดกรรมหนึ่ง ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีตามมาตรา 277 วรรคสองและความผิดฐานพาเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารตามมาตรา 283 ทวิ วรรคสอง จำเลยมีเจตนาเดียวกันคือพาผู้เสียหายไปข่มขืนกระทำชำเรา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6729/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีอาญา: คำมั่นต่อศาล vs. การสนองรับคำเสนอ
การที่จำเลยแถลงต่อศาลในคดีอาญา ขอให้สัญญาแก่ผู้เสียหายว่าจะนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้เสียหายภายใน 3 เดือนโดยขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไป และผู้เสียหายก็แถลงรับต่อศาลว่า หากจำเลยสามารถปฏิบัติได้ตามที่ให้สัญญา ผู้เสียหายก็จะถอนคำร้องทุกข์และไม่เรียกร้องหนี้จำนวนใดอีก ดังนี้คำแถลงของผู้เสียหายเป็นเพียงการให้คำมั่นต่อศาลมิได้สนองรับคำเสนอของจำเลยแต่อย่างใดและเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลจะนำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการเลื่อนคดีออกไปตามที่จำเลยแถลง คำแถลงของจำเลยและผู้เสียหายในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมาย แม้ต่อมาผู้เสียหายจะได้นำเอาข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาไปอ้างในการยื่นฟ้องคดีแพ่งและได้ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องคดีแพ่งไปโดยอ้างเหตุผลว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยในมูลหนี้เดิมซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับหนี้ตามเช็คในคดีนี้เพื่อแสดงว่าสิทธิเรียกร้องทางแพ่งของผู้เสียหายยังไม่ขาดอายุความก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เห็นว่าผู้เสียหายไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยย่อมฟังได้แต่เพียงว่าผู้เสียหายไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีแพ่งเท่านั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงยังหาได้ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6493/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด ยาเสพติด - การพิสูจน์แหล่งที่มาของเงิน - พยานหลักฐานไม่เพียงพอ
เมื่อกรณีเข้าข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 29วรรคสอง ว่าเงินสดและเงินฝากในธนาคารเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านมีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริต เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงเป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านที่จะต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงให้ศาลเห็นว่าทรัพย์สินดังกล่าว ผู้คัดค้านมีอยู่หรือได้มาจากการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริตเป็นทรัพย์สินที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6402/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การขอคืนภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่า และการงดเบี้ยปรับ
โจทก์ปลูกสร้างอาคารสรรพสินค้าด้วยสัมภาระของโจทก์บนที่ดินที่โจทก์ทำสัญญาเช่าจากกรมการศาสนา โดยโจทก์ตกลงยอมยกกรรมสิทธิ์สิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างบนที่ดินดังกล่าวให้ตกเป็นของกรมการศาสนาทันที ดังนั้น การที่กรมการศาสนาได้กรรมสิทธิ์ในบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างก็เนื่องมาจากข้อตกลงในสัญญาเช่า โดยผู้เช่าแสดงเจตนาไว้ชัดแจ้งถึงการยกกรรมสิทธิ์ให้ทันทีเพื่อให้สิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างเป็นทรัพย์สินส่วนควบติดกับที่เช่าตลอดไป จึงเป็นการแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่า ซึ่งหากโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์แล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจจะตกลงให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่เจ้าของที่ดินในทันทีได้ ฉะนั้น อาคารสรรพสินค้าและบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่า จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนาโดยนิติกรรม หาใช่โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมไม่กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ได้จำหน่าย จ่าย โอนอาคารสรรพสินค้าและบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่า อันเป็นการ "ขาย"ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 91/1(4) ที่ได้ให้คำนิยามว่า "ขาย"หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอน ไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่
กรณีของโจทก์เป็นการขายอาคารสรรพสินค้าและบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่าจากกรมการศาสนาและเป็นการขายภายในกำหนด 3 ปี นับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ดังนั้น ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่เช่าจากกรมการศาสนาเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงไม่สามารถนำภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารสรรพสินค้าบนที่ดินที่เช่าจากกรมการศาสนามาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
กรณีของโจทก์เป็นการขายอาคารสรรพสินค้าและบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่าจากกรมการศาสนาและเป็นการขายภายในกำหนด 3 ปี นับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ดังนั้น ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่เช่าจากกรมการศาสนาเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงไม่สามารถนำภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารสรรพสินค้าบนที่ดินที่เช่าจากกรมการศาสนามาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้