คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีรศักดิ์ เตียวัฒนานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8883/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ชัดเจน และการริบของกลางต้องเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดที่ฟ้อง
โจทก์มีจ่าสิบตำรวจ ส. เบิกความเป็นพยานเพียงปากเดียว โดยไม่เห็นเหตุการณ์การล่อซื้อ คงมีเพียงคำรับสารภาพของจำเลยเท่านั้น การจะพิพากษาลงโทษจำเลย ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคหนึ่ง พยานหลักฐานของโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน
ธนบัตรของกลางจำนวน 380 บาท พบรวมอยู่กับธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อ จำเลยรับในชั้นจับกุมว่าได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ธนบัตรของกลางดังกล่าวจึงได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนครั้งก่อน หาใช่ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนครั้งที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่อาจริบธนบัตรของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8115/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงค่ารายปี และการคืนเงินส่วนเกิน
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 9 ระบุให้ทรัพย์สินของโรงเรียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินจะต้องเป็นโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและต้องใช้เฉพาะในการศึกษาเท่านั้น แม้โจทก์เป็นองค์กรแห่งศาสนาคริสต์ มีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการสอนศาสนา การศึกษา การช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาหรือทางสังคมให้ได้รับการศึกษาและโรงเรียนของโจทก์มีการบริหารโดยบาทหลวงหรือนักบวช สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นคราว ๆ ไป แต่โรงเรียนของโจทก์ก็ยังคงได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และมีการเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนตามอัตราที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฯ ตลอดมา นอกจากนี้ยังมีการเก็บค่าธรรมเนียมอื่น ๆ อีกหลายอย่างเช่นเดียวกับโรงเรียนเอกชนทั่ว ๆ ไป ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ดังกล่าวล้วนเป็นรายได้ที่สำคัญของโรงเรียนซึ่งบางปีมีเงินเหลือส่งให้โจทก์ หากโรงเรียนของโจทก์มิได้กระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลแล้ว ก็ไม่น่าจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จากนักเรียน หรือหากจะเก็บก็ควรให้เป็นเรื่องของความสมัครใจบริจาค อันจะแสดงให้เห็นว่าทางโจทก์มิได้หวังเป็นผลกำไรส่วนบุคคล แต่ต้องการส่งเสริมการศึกษาสาธารณะช่วยเหลือนักเรียนที่ยากจนให้ได้เรียนหนังสือได้ โดยมิต้องเสียค่าธรรมเนียมการเรียนหรือเสียเพียงเล็กน้อยตามฐานะเพื่อเป็นสาธารณกุศล ดังนั้น การที่โรงเรียนของโจทก์ยังคงเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนจากนักเรียนในจำนวนที่แน่นอนตามที่กำหนดไว้ ทั้งยังเก็บค่าธรรมเนียมอื่น ๆ อีกหลายอย่างย่อมเป็นข้อชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโรงเรียนของโจทก์เป็นโรงเรียนเอกชนที่กระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล โรงเรียนและที่ดินดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและใช้เฉพาะในการศึกษาอันไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 9 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8115/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โรงเรียนเอกชนเก็บค่าธรรมเนียมและรับเงินอุดหนุน ถือเป็นกิจการแสวงหากำไร ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ทรัพย์สินที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินนั้นได้แก่ทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 โรงเรียนของโจทก์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนจากนักเรียนตามอัตราที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.โรงเรีอนเอกชน พ.ศ. 2525 และค่าธรรมเนียมอื่นได้แก่ ค่าอุปกรณ์ ค่าอาหาร ค่าซักฟอก ค่าบำรุงสมาชิกยุวกาชาด เนตรนารี หนังสือ สมุด ค่าประกันอุบัติเหตุ และค่าเรียนคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในอัตราร้อยละ 40 ของจำนวนนักเรียน เงินที่ได้รับมาทั้งหมดนำไปใช้ในกิจการของโรงเรียนของโจทก์ จ้างครูมาสอน พัฒนาขยายโรงเรียน หากปีใดไม่ต้องซ่อมแซมหรือสร้างอาคารและมีเงินเหลือก็จะส่งให้โจทก์ ย่อมเป็นข้อชี้แสดงว่าโรงเรียนของโจทก์เป็นโรงเรียนเอกชนที่กระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล โรงเรือนและที่ดินจึงไม่ใช่ทรัพย์ของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการศึกษาอันไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 9 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8022-8024/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า และภาษีธุรกิจเฉพาะจากการให้กู้ยืมเงิน โดยแยกบริษัทในเครือและบริษัทนอกเครือ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ และข้อกำหนดคดีภาษีอากรฯ มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17 และ 29 แห่งพ.ร.บ. ดังกล่าว ซึ่งตามราราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. เรื่องค่าขึ้นศาลมิได้บัญญัติว่าคดีหนึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใดจำต้องพิจารณาคำฟ้องซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) บัญญัติไว้เป็นเกณฑ์ ดังนี้ การเรียกค่าขึ้นศาลจึงต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกันได้ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานจำเลยตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2534 และรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2535 หนังสือแจ้งภาษีการค้าสำหรับเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2534 และหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2535 แม้ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า และภาษีธุรกิจเฉพาะ ต่างจัดเป็นภาษีอากรประเมินแต่เป็นภาษีคนละประเภท ทั้งเป็นการเรียกเก็บภาษีอากรคนละรอบระยะเวลาบัญชี การประเมินภาษีอากรเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินที่จะต้องประเมินเรียกเก็บภาษีอากรแต่ละประเภทในแต่ละรอบบัญชีให้ถูกต้อง จึงอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และรายจ่ายแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี และการฟ้องคดีของโจทก์ก็เพื่อให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานรวม 4 ฉบับ 2 รอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ข้อหาหนึ่ง ปี 2535 ข้อหาหนึ่ง ภาษีการค้าปี 2534 ข้อหาหนึ่ง และภาษีธุรกิจเฉพาะปี 2535 อีกข้อหาหนึ่ง คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 4 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้และเมื่อจำเลยอุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการค้า และภาษีธุรกิจเฉพาะตามที่โจทก์ฟ้องในจำนวนทุนทรัพย์ 19,334,492.94 บาท จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 4 ข้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับที่โจทก์ฟ้อง ทั้งโจทก์และจำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสี่ข้อหา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7880/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาลักทรัพย์: การคืนทรัพย์สินที่ขโมยมาไม่ใช่การแสดงเจตนาตั้งแต่แรก
หลังจากจำเลยทั้งสองร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 แล้ว จำเลยทั้งสองหลบหนีไป โดยจำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 4 ไปด้วย หลังเกิดเหตุ 2 วัน พบรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 4 จอดอยู่ที่ป้อมตำรวจ หากจำเลยทั้งสองมีเจตนาจะเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 4 ไปโดยทุจริตก็สามารถทำได้ แต่จำเลยที่ 2 กลับไปจอดไว้ที่ป้อมตำรวจ แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาเพียงใช้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 4 เป็นยานพาหนะหลบหนีเท่านั้น หาได้มีเจตนาเอาไปโดยทุจริตไม่ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7734/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษคดียาเสพติดเมทแอมเฟตามีน จำเป็นต้องระบุปริมาณสารบริสุทธิ์เพื่อใช้บทลงโทษที่ถูกต้อง
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) บัญญัติว่า ผู้ใดมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งเมทแอมเฟตามีน โดยไม่ได้รับอนุญาตและปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปีหรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 66 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) บัญญัติว่า ถ้าเมทแอมเฟตามีนตามวรรคหนึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินยี่สิบกรัมขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2,220 เม็ด ของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใดจึงไม่อาจฟังว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัม อันเป็นโทษแก่จำเลยได้จึงลงโทษจำเลยได้ตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7326/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายและครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย การริบของกลางที่เป็นยานพาหนะและเครื่องมือใช้ในการกระทำผิด
จำเลยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นพาหนะนำเมทแอมเฟตามีนไปจำหน่ายแก่สายลับ รถจักรยานยนต์ดังกล่าวจึงเป็นยานพาหนะซึ่งใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษโดยตรง ต้องริบตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 ส่วนกระดาษตะกั่ว ถุงพลาสติก และกรรไกรของกลางค้นได้ในบ้านของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าเป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยใช้ในการกระทำความผิดจำหน่ายและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงไม่อาจริบได้ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7232/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเสพและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นความผิดหลายกรรม การพิพากษาโทษ
ข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีลักษณะของการกระทำที่แตกต่างและต่างขั้นตอนกัน แยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ ทั้งเป็นการกระทำความผิดกฎหมายคนละมาตรากัน แม้จำเลยถูกจับกุมในคราวเดียว ในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ต่อมาตรวจพบสารเสพติดในร่างกายของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6734/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงที่ดิน แม้คดีขาดอายุความ ศาลสั่งให้โอนได้ตามสัญญา
โจทก์กับ ข. ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยโจทก์ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ส่วน ข. ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครอง แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์เกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครอบครองอยู่จนกว่าจะมีการจดทะเบียนโอน โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่ดินพิพาทตามความหมายใน ป.พ.พ. มาตรา 241 แม้คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ก็ตาม แต่ตามมาตรา 1754 วรรคสาม ยังบัญญัติให้อยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 ก็กำหนดให้ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่ดินไว้จนกว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ข. ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ทั้งยังมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ด้วย เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความมรดกที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ทั้งในชั้นอุทธรณ์โจทก์ได้อุทธรณ์เรื่องอายุความดังกล่าวและอ้างว่ามีสิทธิยึดหน่วงตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 ด้วย ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ได้วินิจฉัยเรื่องอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ประกอบมาตรา 193/27 และมาตรา 241 อันเป็นเรื่องอายุความมรดกตามที่คู่ความว่ากล่าวกันมาโดยชอบ จึงมิใช่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาเกินคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย: เหตุผลความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และลักษณะของสัญญาบริการ
หลังจากที่โจทก์ทราบว่าสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าได้รับความเสียหายจากพายุฝนแล้ว แม้โจทก์จะทราบถึงจำนวนสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้าแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่อาจทราบจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงได้จนกว่าจะได้มี การสำรวจค่าเสียหายก่อน ในวันที่โจทก์ได้ยื่นประมาณการกำไรสุทธินั้น โจทก์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า สินค้าของโจทก์ได้รับความเสียหายเท่าใด และไม่ทราบว่าโจทก์จะมีรายได้ที่จะได้รับจากค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยจะชดใช้ให้ แก่โจทก์เพียงใด อีกทั้งไม่ทราบว่าบริษัทประกันภัยจะไม่รับเอาสินค้าที่ได้รับความเสียหายไป จึงทำให้โจทก์มีกำไรจากการขายซากทรัพย์เพิ่มขึ้นอีก การที่โจทก์ยื่นประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 ขาดเกินไปกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ที่ได้รับจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ จึงมีเหตุอันสมควร
ตามสัญญาให้บริการด้านการตลาดที่บริษัทต่างประเทศตกลงให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่อง การบริหารการเงินและด้านการตลาดให้แก่โจทก์ เป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 และการรับจ้างทำของดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่ามีการให้ใช้สิทธิในกรรมวิธี สูตร หรือ สิทธิในการประกอบกิจการอันเป็นความลับแต่อย่างใด แม้การจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาจะกำหนดให้คิดคำนวณในอัตราร้อยละของยอดขายสินค้า ที่บริษัทต่างประเทศเป็นผู้ให้สิทธิแก่โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่าย แต่บริษัทต่างประเทศก็มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์เป็นตัวแทนขายสินค้าที่มีชื่อตราสินค้าหรือผูกขาดยี่ห้อสินค้าต่าง ๆ แต่ผู้เดียว กรณีที่โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัทต่างประเทศจึงไม่ใช่ค่าให้ใช้สิทธิแห่งเครื่องหมายการค้า หรือค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นลักษณะทำนองเดียวกับค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือค่าแห่งลิขสิทธิ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (3) และสัญญาดังกล่าวก็ไม่ได้มีการตกลงที่จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์พิเศษ ซึ่งจะต้องไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนอันเป็นวิทยาการเพื่อให้โจทก์นำไปใช้ จึงมิใช่การให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทาง อุตสาหกรรม การพาณิชย์ หรือวิทยาศาสตร์ อันจะเป็นค่าสิทธิตามที่ระบุไว้ในข้อ 12 วรรคสอง แห่งอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศเดนมาร์ก เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และทุน เงินค่าบริการดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนตามสัญญารับจ้างทำของ อันเป็นเงินได้ในลักษณะเป็นกำไรทางธุรกิจที่บริษัทต่างประเทศซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และ ไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยได้รับจากโจทก์ซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทยตามสัญญาข้อ 7 แห่งอนุสัญญาดังกล่าวประกอบ พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 มาตรา 3 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่ง ป. รัษฎากร
of 33