พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมทางเข้าออก และขอบเขตการบังคับใช้คำพิพากษาในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ขณะที่จำเลยแบ่งขายที่ดินของตนให้แก่โจทก์กับพวก จำเลยสัญญาว่าจะแบ่งที่ดินของจำเลยทำเป็นทางเข้าออกของที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะอันถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนการซื้อขายที่ดินของจำเลย จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายอันเกิดจากกรณีที่ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินของจำเลยล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1349ศาลจึงไม่มีอำนาจในการกำหนดสถานที่และวิธีการทำทางโดยต้องคำนึงถึงที่ดินจำเลยให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางเข้าออกและรื้อถอนบ้านเรือนที่ปลูกขวางทางเข้าออก ถือได้ว่าในส่วนคำขอให้รื้อถอนบ้านเรือนเป็นคดีฟ้องขอให้ขับไล่แม้บ้านที่ปลูกขวางทางเข้าออกเป็นบ้านของบุตรสาวจำเลย ก็ถือว่าเป็นวงศ์ญาติของจำเลย เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี และศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านดังกล่าวออกไป คำพิพากษาดังกล่าวย่อมใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนที่ดินนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบมาตรา 145
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางเข้าออกและรื้อถอนบ้านเรือนที่ปลูกขวางทางเข้าออก ถือได้ว่าในส่วนคำขอให้รื้อถอนบ้านเรือนเป็นคดีฟ้องขอให้ขับไล่แม้บ้านที่ปลูกขวางทางเข้าออกเป็นบ้านของบุตรสาวจำเลย ก็ถือว่าเป็นวงศ์ญาติของจำเลย เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี และศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านดังกล่าวออกไป คำพิพากษาดังกล่าวย่อมใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนที่ดินนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบมาตรา 145
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน-อาคาร: จำเลยผิดสัญญาเมื่อไม่ก่อสร้างตามกำหนด แม้มีเหตุขยายเวลาต้องไม่ใช่ความผิดจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทระบุว่า จำเลยจะก่อสร้างอาคารที่ตกลงจะซื้อขายให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา 24 เดือน นับจากวันทำสัญญา แต่เมื่อระยะเวลาสิ้นสุดลงจำเลยยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างอาคาร ทั้งที่โจทก์ชำระค่างวดแก่จำเลยตลอดมาทั้ง 24 งวด ย่อมฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว
ส่วนที่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า ผู้จะซื้อตกลงว่ากำหนดระยะเวลา 24 เดือนดังกล่าวสามารถขยายออกไปเท่ากับระยะเวลาที่ต้องล่าช้า?อันเนื่องมาจากระเบียบข้อบังคับของทางราชการ ความล่าช้าในการขอรับใบอนุญาตหรือการอนุมัติที่จำเป็นใด ๆ จากทางราชการ? รวมทั้งการปฏิบัติผิดสัญญาของผู้รับเหมาหรือสถานการณ์เหตุการณ์อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้จะขายตามข้อสัญญานั้น หมายความว่า เหตุจำเป็นที่จะสามารถขยายระยะเวลาออกไปได้เท่ากับเหตุที่ล่าช้านั้น และต้องไม่ใช่เป็นเพราะความผิดของจำเลยเอง
ส่วนที่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า ผู้จะซื้อตกลงว่ากำหนดระยะเวลา 24 เดือนดังกล่าวสามารถขยายออกไปเท่ากับระยะเวลาที่ต้องล่าช้า?อันเนื่องมาจากระเบียบข้อบังคับของทางราชการ ความล่าช้าในการขอรับใบอนุญาตหรือการอนุมัติที่จำเป็นใด ๆ จากทางราชการ? รวมทั้งการปฏิบัติผิดสัญญาของผู้รับเหมาหรือสถานการณ์เหตุการณ์อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้จะขายตามข้อสัญญานั้น หมายความว่า เหตุจำเป็นที่จะสามารถขยายระยะเวลาออกไปได้เท่ากับเหตุที่ล่าช้านั้น และต้องไม่ใช่เป็นเพราะความผิดของจำเลยเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคาร เนื่องจากไม่ก่อสร้างตามกำหนด แม้จะอ้างเหตุขยายเวลา แต่เป็นความผิดจำเลยเอง โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทระบุว่า จำเลยจะก่อสร้างอาคารที่ตกลงจะซื้อจะขายให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา 24 เดือน นับจากวันทำสัญญา แต่เมื่อระยะเวลาสิ้นสุดลงจำเลยยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างอาคาร ทั้งที่โจทก์ชำระค่างวดแก่จำเลยตลอดมาทั้ง 24 งวด ย่อมฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วส่วนที่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า ผู้จะซื้อตกลงว่ากำหนดระยะเวลา24 เดือน ดังกล่าว สามารถขยายออกไปเท่ากับระยะเวลาที่ต้องล่าช้าอันเนื่องมาจากระเบียบข้อบังคับของทางราชการ ความล่าช้าในการขอรับใบอนุญาต หรือการอนุมัติที่จำเป็นใด ๆ จากทางราชการรวมทั้งการปฏิบัติผิดสัญญาของผู้รับเหมาหรือสถานการณ์เหตุการณ์อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้จะขาย ตามข้อสัญญานั้นหมายความว่าเหตุจำเป็นที่จะสามารถขยายระยะเวลาออกไปได้เท่ากับเหตุที่ล่าช้านั้นต้องไม่ใช่เป็นเพราะความผิดของจำเลยเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3766/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้มีการอ้างเจตนาสมรส ศาลพิจารณาพฤติการณ์และอายุผู้เสียหาย
การที่จำเลยพรากผู้เยาว์ไปครั้งแรกแล้ววันรุ่งขึ้นมารดาผู้เยาว์พาผู้เยาว์กลับมา จำเลยหาได้ดำเนินการขอขมาหรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามประเพณีเพื่อจะอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้เยาว์ หลังจากนั้นอีกประมาณ 5 วันจำเลยยังขืนพรากผู้เยาว์เร่ร่อนไปพักอาศัยบ้านผู้อื่นหลายแห่งหลายจังหวัดเป็นเวลานานประมาณ 1 เดือน โดยไม่ส่งข่าวให้บิดามารดาผู้เยาว์ทราบเลย ทั้ง ๆ ที่บิดามารดาผู้เยาว์ได้กำชับมิให้จำเลยยุ่งเกี่ยวกับผู้เยาว์อีก หลังจากนั้นจำเลยจึงพาผู้เยาว์กลับมาที่บ้านจำเลย แต่จำเลยก็หาได้แจ้งบิดามารดาผู้เยาว์ทราบว่าจำเลยกับผู้เยาว์กลับมาอยู่ที่บ้านจำเลย และมีความประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภริยา อีกทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้พาผู้เยาว์ไปพบหรือแจ้งให้บิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ของจำเลยทราบเลยว่าผู้เยาว์เป็นภริยาของตน ตามพฤติการณ์ดังกล่าวประกอบกับผู้เยาว์มีอายุเพียง 16 ปีเศษ กำลังศึกษาเล่าเรียน จำเลยยังขืนพรากผู้เยาว์ไปในที่ต่าง ๆ เพื่อมิให้บิดามารดาผู้เยาว์ขัดขวางการกระทำของจำเลย ย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะพาผู้เยาว์ไปอยู่กินฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุข แต่เป็นเรื่องที่จำเลยพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากลายมือชื่อปลอมในใบถอนเงิน หากไม่ใช้ความระมัดระวังตามวิชาชีพ
++ เรื่อง ฝากทรัพย์ ตัวแทน ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยที่ 4สาขาบางนา มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชี จำเลยที่ 2 เป็นสมุห์บัญชีจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการ โจทก์เป็นลูกค้าจำเลยที่ 4 สาขาบางนาโดยเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์บัญชีเลขที่ 058-2-04775-9 ต่อมาวันที่ 20เมษายน 2538 มีการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ดังกล่าว 2 ครั้งรวมเป็นเงิน 350,000 บาท
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยที่ 1 และที่ 4 ข้อแรกว่าลายมือชื่อในใบถอนเงินเอกสารหมาย จ.20 และ จ.21 เป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ และจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เมื่อพิเคราะห์ใบถอนเงินเอกสารหมาย จ.20 และ จ.21 แล้ว ปรากฏว่าลงวันที่ 20 เมษายน 2538 แต่ตามเอกสารหมาย จ.20 ตีตราประทับของจำเลยที่ 4 สาขาบางนาว่า วันที่ 20 มีนาคม 2538 ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง และเลขที่บัญชีออมทรัพย์ของโจทก์ก็ไม่ถูกต้องโดยระบุบัญชีเลขที่058-2-0477-9 ที่ถูกต้องบัญชีเลขที่ 058-2-04775-9 ในช่องผู้จ่ายและอนุมัติไม่มีลายมือชื่อผู้จ่ายเงินและผู้อนุมัติ ในช่องลายมือชื่อเจ้าของบัญชีและช่องลายมือชื่อผู้รับเงินแต่ละช่องมีการลงลายมือชื่อถึงสองลายมือ เมื่อนำลายมือชื่อดังกล่าวเปรียบเทียบกับตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 ตามเอกสารหมาย จ.1 เห็นได้ว่า ลายมือแรกไม่มีลักษณะรูปแบบใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกันแต่ประการใด ส่วนลายมือชื่อที่สองดูผิวเผินเห็นว่ามีคำว่า "สุ" ซึ่งเป็นชื่อคำแรกของโจทก์ แต่เมื่อตรวจพิเคราะห์แล้วจะเห็นได้ชัดว่าลีลาในการเขียนและคุณสมบัติรูปร่างตัวอักษรแตกต่างกันอย่างชัดเจน ส่วนใบถอนเงินตามเอกสารหมาย จ.21 ในช่องลายมือชื่อเจ้าของบัญชีมีถึง 4 ลายมือชื่อ เป็นหมึกสีดำกับสีน้ำเงิน ลายมือชื่อในช่องลายมือชื่อผู้รับเงินมีลายมือชื่อเดียวเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งลายมือชื่อทั้งห้าลายมือชื่อในช่องเจ้าของบัญชีและผู้รับเงินแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดและไม่คล้ายคลึงกันแต่ประการใดเลย ซึ่งศาลสามารถตรวจพิเคราะห์และมีความเห็นได้เองโดยไม่จำต้องอาศัยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ประการใดและไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญประกอบการพิจารณาตามที่จำเลยที่ 1และที่ 4 ฎีกาแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าลายมือชื่อเจ้าของบัญชีและผู้รับเงินแตกต่างกับตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 เช่นนี้แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ขอตรวจดูบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มาถอนเงินตามใบถอนเงินทั้งสองฉบับ ซึ่งมีข้อพิรุธ ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของลายมือชื่อผู้ถอนเงินและผู้รับเงิน จำเลยที่ 1 จะต้องใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยความละเอียดรอบคอบเพิ่มขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย หากจำเลยที่ 1 ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอแล้วย่อมจะทราบว่าไม่คล้ายคลึงกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 4 ในธุรกิจธนาคารหาได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในธุรกิจธนาคารไม่ เป็นการกระทำผิดหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคสาม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝากทรัพย์กับโจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 4 ตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนและกระทำการแทนจำเลยที่ 4 ในกิจการนี้ จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ จึงไม่ต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของจำเลยที่ 1 อีกต่อไป คงเหลือปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ข้อสุดท้ายที่ฎีกาว่า โจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อร่วมด้วย เพราะโจทก์ต้องเก็บรักษาสมุดคู่ฝากไว้เป็นอย่างดีมิใช่นำไปเก็บไว้ในช่องเก็บของหน้ารถยนต์ของโจทก์และโจทก์ทราบว่าสมุดคู่ฝากหายหลังจากเกิดเหตุหลายเดือน อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เห็นว่า การที่โจทก์นำสมุดคู่ฝากไว้ในกระเป๋าหนังใส่ไว้ในช่องเก็บของหน้ารถยนต์ของโจทก์และเพิ่งทราบว่าสมุดคู่ฝากหายไปแล้วหลายเดือน ไม่ใช่กรณีผิดปกติวิสัย แต่เป็นกรณีที่อาจเกิดขึ้นได้ และพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 4 นำสืบยังฟังไม่ได้ว่า ที่สมุดคู่ฝากหายไปนั้นเกิดจากความจงใจของโจทก์ เหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เพราะมีผู้ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ในใบถอนเงินและนำไปถอนเงินจากจำเลยที่ 4ซึ่งจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 1 ตัวแทนของจำเลยที่ 4 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในธุรกิจ ธนาคารได้จ่ายเงินให้แก่ผู้ปลอมไปดังที่วินิจฉัยข้างต้น โดยโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย เหตุที่สมุดคู่ฝากของโจทก์หายไปไม่ใช่ผลโดยตรงที่ทำให้เกิดเหตุคดีนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดต่อโจทก์นั้นชอบแล้ว สรุปแล้วฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 4 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ด้วยค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้เป็นพับนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 2,000 บาท แทนโจทก์.(ธีรศักดิ์ เตียวัฒนานนท์ - มงคล คุปต์กาญจนากุล - สุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยที่ 4สาขาบางนา มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชี จำเลยที่ 2 เป็นสมุห์บัญชีจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการ โจทก์เป็นลูกค้าจำเลยที่ 4 สาขาบางนาโดยเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์บัญชีเลขที่ 058-2-04775-9 ต่อมาวันที่ 20เมษายน 2538 มีการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ดังกล่าว 2 ครั้งรวมเป็นเงิน 350,000 บาท
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยที่ 1 และที่ 4 ข้อแรกว่าลายมือชื่อในใบถอนเงินเอกสารหมาย จ.20 และ จ.21 เป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ และจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เมื่อพิเคราะห์ใบถอนเงินเอกสารหมาย จ.20 และ จ.21 แล้ว ปรากฏว่าลงวันที่ 20 เมษายน 2538 แต่ตามเอกสารหมาย จ.20 ตีตราประทับของจำเลยที่ 4 สาขาบางนาว่า วันที่ 20 มีนาคม 2538 ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง และเลขที่บัญชีออมทรัพย์ของโจทก์ก็ไม่ถูกต้องโดยระบุบัญชีเลขที่058-2-0477-9 ที่ถูกต้องบัญชีเลขที่ 058-2-04775-9 ในช่องผู้จ่ายและอนุมัติไม่มีลายมือชื่อผู้จ่ายเงินและผู้อนุมัติ ในช่องลายมือชื่อเจ้าของบัญชีและช่องลายมือชื่อผู้รับเงินแต่ละช่องมีการลงลายมือชื่อถึงสองลายมือ เมื่อนำลายมือชื่อดังกล่าวเปรียบเทียบกับตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 ตามเอกสารหมาย จ.1 เห็นได้ว่า ลายมือแรกไม่มีลักษณะรูปแบบใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกันแต่ประการใด ส่วนลายมือชื่อที่สองดูผิวเผินเห็นว่ามีคำว่า "สุ" ซึ่งเป็นชื่อคำแรกของโจทก์ แต่เมื่อตรวจพิเคราะห์แล้วจะเห็นได้ชัดว่าลีลาในการเขียนและคุณสมบัติรูปร่างตัวอักษรแตกต่างกันอย่างชัดเจน ส่วนใบถอนเงินตามเอกสารหมาย จ.21 ในช่องลายมือชื่อเจ้าของบัญชีมีถึง 4 ลายมือชื่อ เป็นหมึกสีดำกับสีน้ำเงิน ลายมือชื่อในช่องลายมือชื่อผู้รับเงินมีลายมือชื่อเดียวเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งลายมือชื่อทั้งห้าลายมือชื่อในช่องเจ้าของบัญชีและผู้รับเงินแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดและไม่คล้ายคลึงกันแต่ประการใดเลย ซึ่งศาลสามารถตรวจพิเคราะห์และมีความเห็นได้เองโดยไม่จำต้องอาศัยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ประการใดและไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญประกอบการพิจารณาตามที่จำเลยที่ 1และที่ 4 ฎีกาแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าลายมือชื่อเจ้าของบัญชีและผู้รับเงินแตกต่างกับตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 เช่นนี้แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ขอตรวจดูบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มาถอนเงินตามใบถอนเงินทั้งสองฉบับ ซึ่งมีข้อพิรุธ ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของลายมือชื่อผู้ถอนเงินและผู้รับเงิน จำเลยที่ 1 จะต้องใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยความละเอียดรอบคอบเพิ่มขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย หากจำเลยที่ 1 ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอแล้วย่อมจะทราบว่าไม่คล้ายคลึงกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 4 ในธุรกิจธนาคารหาได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในธุรกิจธนาคารไม่ เป็นการกระทำผิดหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคสาม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝากทรัพย์กับโจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 4 ตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนและกระทำการแทนจำเลยที่ 4 ในกิจการนี้ จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ จึงไม่ต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของจำเลยที่ 1 อีกต่อไป คงเหลือปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ข้อสุดท้ายที่ฎีกาว่า โจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อร่วมด้วย เพราะโจทก์ต้องเก็บรักษาสมุดคู่ฝากไว้เป็นอย่างดีมิใช่นำไปเก็บไว้ในช่องเก็บของหน้ารถยนต์ของโจทก์และโจทก์ทราบว่าสมุดคู่ฝากหายหลังจากเกิดเหตุหลายเดือน อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เห็นว่า การที่โจทก์นำสมุดคู่ฝากไว้ในกระเป๋าหนังใส่ไว้ในช่องเก็บของหน้ารถยนต์ของโจทก์และเพิ่งทราบว่าสมุดคู่ฝากหายไปแล้วหลายเดือน ไม่ใช่กรณีผิดปกติวิสัย แต่เป็นกรณีที่อาจเกิดขึ้นได้ และพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 4 นำสืบยังฟังไม่ได้ว่า ที่สมุดคู่ฝากหายไปนั้นเกิดจากความจงใจของโจทก์ เหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เพราะมีผู้ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ในใบถอนเงินและนำไปถอนเงินจากจำเลยที่ 4ซึ่งจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 1 ตัวแทนของจำเลยที่ 4 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในธุรกิจ ธนาคารได้จ่ายเงินให้แก่ผู้ปลอมไปดังที่วินิจฉัยข้างต้น โดยโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย เหตุที่สมุดคู่ฝากของโจทก์หายไปไม่ใช่ผลโดยตรงที่ทำให้เกิดเหตุคดีนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดต่อโจทก์นั้นชอบแล้ว สรุปแล้วฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 4 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ด้วยค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้เป็นพับนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 2,000 บาท แทนโจทก์.(ธีรศักดิ์ เตียวัฒนานนท์ - มงคล คุปต์กาญจนากุล - สุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิง, อายุเยาวชน, โอนคดี, วิธีการเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน, ลดโทษ
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มีการเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในเขตท้องที่ดังกล่าวแล้ว จำเลยซึ่งเป็นเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้น แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว การที่ศาลชั้นต้นไม่โอนคดีไปพิจารณาในแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แสดงว่าศาลชั้นต้นเห็นแล้วว่าไม่สมควรโอนคดีไปการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นจึงชอบ และศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ แต่หากศาลฎีกาเห็นสมควรก็มีอำนาจที่จะนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้ได้ตามมาตรา 136 ประกอบมาตรา 59 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงโดยไม่ยินยอม และอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว
เมื่อพฤติการณ์ตามที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอฟังว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมผู้เสียหาย และโดยผู้เสียหายนั้นไม่ยินยอมแต่การที่จำเลยทั้งสามได้กระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี และไม่ใช่ภริยาของตน ไม่ว่าผู้เสียหายจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่ง เหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาขึ้นมาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดบุรีรัมย์) ได้มีการเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในเขตท้องที่ดังกล่าวแล้วขณะกระทำผิดจำเลยที่ 1 อายุ 14 ปีเศษ จำเลยที่ 2 อายุ 17 ปีเศษ คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเยาวชนร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 3ซึ่งไม่ใช่เด็กหรือเยาวชนต่อศาลชั้นต้นและระหว่างการพิจารณาได้มีการเปิดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะโอนคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวแสดงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรโอนคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยทั้งสามไปพร้อมกัน จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และไม่อาจโอนคดีของจำเลยที่ 1 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้เพราะศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยที่ 1เนื่องจากมิได้ฎีกาจากศาลอุทธรณ์ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 แต่หากศาลฎีกาเห็นสมควร ศาลฎีกามีอำนาจที่จะนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ ทั้งนี้โดยอาศัยมาตรา 136ประกอบมาตรา 59 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดบุรีรัมย์) ได้มีการเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในเขตท้องที่ดังกล่าวแล้วขณะกระทำผิดจำเลยที่ 1 อายุ 14 ปีเศษ จำเลยที่ 2 อายุ 17 ปีเศษ คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเยาวชนร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 3ซึ่งไม่ใช่เด็กหรือเยาวชนต่อศาลชั้นต้นและระหว่างการพิจารณาได้มีการเปิดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะโอนคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวแสดงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรโอนคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยทั้งสามไปพร้อมกัน จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และไม่อาจโอนคดีของจำเลยที่ 1 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้เพราะศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยที่ 1เนื่องจากมิได้ฎีกาจากศาลอุทธรณ์ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 แต่หากศาลฎีกาเห็นสมควร ศาลฎีกามีอำนาจที่จะนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ ทั้งนี้โดยอาศัยมาตรา 136ประกอบมาตรา 59 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3284/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดพ.ร.บ.ป่าไม้ การรับฟังพยานหลักฐาน และการรอการลงโทษ
ในคดีอาญา กฎหมายห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานเท่านั้น ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำซัดทอดของผู้ต้องหาหรือผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันแต่อย่างใดเพียงแต่ต้องรับฟังด้วยความระมัดระวังว่าคำซัดทอดนั้นมิได้เกิดจากเจตนาเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้ประโยชน์จากการซัดทอดนั้น ด้วย ในชั้นสอบสวน ไม่มีการกล่าวหาหรือแจ้งข้อกล่าวหาแก่ อ. ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างว่า อ. ทราบดีว่าที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติถือได้ว่า อ. เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย เกิดจากความเข้าใจของจำเลยมิได้เกิดจากการสอบสวน อ. จึงมิใช่ผู้ต้องหาหรือผู้ร่วมกระทำผิดในคดีนี้ คำเบิกความของ อ. ไม่ถือเป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหาหรือผู้ร่วมกระทำผิด
ขณะเกิดเหตุ ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นที่ดินที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของหรือได้สิทธิใด ๆ ตามกฎหมาย จึงมีสภาพเป็นป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 4(1) การที่จำเลยได้ว่าจ้าง ส. นำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถดันดินในที่ดินที่เกิดเหตุ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยกับ ส. ร่วมกันก่นสร้างแผ้วถาง อันเป็นการทำลายป่าและยึดถือครอบครองป่าและยึดถือครอบครองป่าเพื่อตนเองและผู้อื่น จำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ได้มีการเพิกถอนเขตป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินที่เกิดเหตุแล้วหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
ขณะเกิดเหตุ ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นที่ดินที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของหรือได้สิทธิใด ๆ ตามกฎหมาย จึงมีสภาพเป็นป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 4(1) การที่จำเลยได้ว่าจ้าง ส. นำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถดันดินในที่ดินที่เกิดเหตุ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยกับ ส. ร่วมกันก่นสร้างแผ้วถาง อันเป็นการทำลายป่าและยึดถือครอบครองป่าและยึดถือครอบครองป่าเพื่อตนเองและผู้อื่น จำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ได้มีการเพิกถอนเขตป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินที่เกิดเหตุแล้วหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งปรับผู้ประกันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกัน การนับระยะเวลาอุทธรณ์ และการลดค่าปรับ
ผู้ประกันผิดสัญญาประกัน ไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตั้งแต่วันที่ 31กรกฎาคม 2541 และศาลชั้นต้นได้สั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันไปแล้ว แต่ในวันนัดพร้อมผู้ประกันแถลงขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยเนื่องจากจำเลยหลบหนี ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ประกันติดตามจำเลยอีก 1 เดือน ย่อมมีความหมายว่าในช่วงเวลาที่ศาลอนุญาตให้ผู้ประกันติดตามจำเลย ศาลจะยังไม่บังคับผู้ประกันให้ชำระค่าปรับตามสัญญาประกัน และเป็นที่เข้าใจว่าหากผู้ประกันสามารถติดตามจำเลยมาส่งศาลได้ศาลชั้นต้นย่อมสั่งลดค่าปรับให้แก่ผู้ประกัน แม้ในวันนัดพร้อมนัดต่อมา ผู้ประกันยังไม่สามารถติดตามจำเลยได้ และขอเลื่อนการส่งตัวอีกครั้งหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและสั่งว่าถือว่าผู้ประกันผิดสัญญาประกัน ให้บังคับตามสัญญาประกันโดยให้ชำระค่าปรับภายใน 1 เดือน แต่ในวันนัดพร้อมวันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นนัดสุดท้ายนั้นผู้ประกันก็มาศาลแถลงขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยอีก ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งว่าไม่อนุญาตให้เลื่อนการส่งตัวจำเลย ให้ผู้ประกันชำระค่าปรับภายใน 30 วัน และให้จำหน่ายคดีชั่วคราว เห็นได้ว่า คำสั่งศาลชั้นต้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2541 มีความหมายว่าให้ผู้ประกันชำระค่าปรับตามสัญญาประกันจำนวน 1,000,000 บาท ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่ง การที่ผู้ประกันอุทธรณ์ว่าหลังจากศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2541แล้วผู้ประกันได้ประสานงานกับเจ้าพนักงานตำรวจให้จับกุมจำเลยในทันทีที่จำเลยเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย ขอให้แก้ไขคำสั่งศาลชั้นต้นลดค่าปรับลงด้วยถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2541ที่ได้สั่งบังคับตามสัญญาประกัน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 119 ทั้งการขอลดค่าปรับไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ขอลดค่าปรับจะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นก่อน เมื่อผู้ประกันได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม2541 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ประกันจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งบังคับตามสัญญาประกันตัว: กำหนดเวลาอุทธรณ์นับจากคำสั่งล่าสุดที่บังคับใช้จริง
แม้ผู้ประกันจะผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตั้งแต่วันที่ 31กรกฎาคม 2541 และศาลชั้นต้นได้สั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันไปแล้วแต่ในวันนัดพร้อมต่อมาผู้ประกันแถลงขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยและศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งอนุญาต ย่อมมีความหมายว่าในช่วงเวลาดังกล่าวศาลจะยังไม่บังคับผู้ประกันให้ชำระค่าปรับตามสัญญาประกันและเป็นที่เข้าใจว่าหากผู้ประกันสามารถติดต่อตามจำเลยมาส่งศาลได้ ศาลชั้นต้นย่อมสั่งลดค่าปรับให้แก่ผู้ประกัน ต่อมาเมื่อถึงวันนัดพร้อมอีกครั้งในวันที่ 2 ธันวาคม 2541 ผู้ประกันก็ยังไม่สามารถติดตามจำเลยได้และขอเลื่อนการส่งตัวอีกครั้งหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและสั่งว่าถือว่าผู้ประกันผิดสัญญาประกัน ให้บังคับตามสัญญาประกันโดยให้ชำระค่าปรับภายใน 1 เดือน แต่ในวันนัดพร้อมวันที่ 30 ธันวาคม 2541อันเป็นนัดสุดท้าย ผู้ประกันก็ยังมิได้ชำระค่าปรับแต่มาแถลงต่อศาลขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยอีกซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตและให้ผู้ประกันชำระค่าปรับภายใน 30 วัน คำสั่งดังกล่าวมีความหมายว่าให้ผู้ประกันชำระค่าปรับตามสัญญาประกันภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่ง ดังนั้น การอุทธรณ์ของผู้ประกันถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2541 ที่ได้สั่งบังคับตามสัญญาประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
เมื่อผู้ประกันได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์2542 เนื่องจากวันที่ 30 และ 31 มกราคม 2542 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดทำการงานตามปกติ อุทธรณ์ของผู้ประกันจึงมิได้ยื่นเกินกำหนด1 เดือน นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง
เมื่อผู้ประกันได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์2542 เนื่องจากวันที่ 30 และ 31 มกราคม 2542 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดทำการงานตามปกติ อุทธรณ์ของผู้ประกันจึงมิได้ยื่นเกินกำหนด1 เดือน นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง