พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมางาน: การขยายเวลา และผลกระทบต่อการคิดค่าปรับ
++ เรื่อง จ้างทำของ ค้ำประกัน ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++ จำเลยทั้งสามฎีกา
++ ข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2536 โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค(ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี ตกลงค่าจ้างเป็นราคาเหมารวมภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีอากรอื่น ๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวง จำนวน 63,900,000 บาท มีการแบ่งเนื้องานที่ว่าจ้างออกเป็น 10 งวด และกำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดรวม 10 งวด ตามราคาเนื้องานในแต่ละงวด และแต่ละงวดได้กำหนดเวลาทำงานให้แล้วเสร็จเป็นจำนวนวันต่อเนื่องกันไปโดยมีระยะเวลาห่างกัน30 วันในแต่ละงวด โดยงวดที่ 1 กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันและในงวดที่ 10 งวดสุดท้ายกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน แต่ทุกงวดจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันทำสัญญาเหมือนกัน
++ ในสัญญาข้อ 6 เรื่องกำหนดเวลาแล้วเสร็จ และสิทธิของผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญา ได้มีการกำหนดให้ผู้รับจ้างจะต้องทำงานให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3 ธันวาคม2537 มิฉะนั้นผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
++ และสัญญาข้อ 16 เรื่องค่าปรับกำหนดว่า หากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ 63,900 บาท นับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริง ตามสัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค(ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี เอกสารหมาย จ.3
++ มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างดังกล่าวในจำนวนเงิน 3,195,000 บาท โดยมีข้อสัญญาว่า หากโจทก์ได้ขยายระยะเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 หรือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดแผกไปจากเงื่อนไขใด ๆ ในสัญญา ให้ถือว่าจำเลยที่ 3 ได้ยินยอมด้วย ตามหนังสือค้ำประกันเอกสารหมาย จ.6
++ ต่อมาวันที่ 18 พฤศจิกายน 2537 ก่อนครบอายุสัญญาจำเลยที่ 1 มีหนังสือขอขยายอายุสัญญา วันที่ 14 กรกฎาคม 2538 โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.3โดยตกลงแก้ไขงวดงานและการจ่ายเงินในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10และมีข้อสัญญาเพิ่มเติมข้อ 3 ว่า โจทก์ตกลงขยายระยะเวลาให้จำเลยที่ 1เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวเป็นเวลา 50 วัน นับจากวันลงนามในสัญญาแก้ไขฉบับนี้ หากพ้นกำหนดนี้โจทก์จะใช้สิทธิในการปรับตามเงื่อนไขสัญญาเดิม และในข้อ 4 กำหนดว่า โจทก์ตกลงไม่ปรับจำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาเดิม จนถึงวันลงนามในสัญญาแก้ไขฉบับนี้ เฉพาะเนื้องานส่วนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนเนื้องานที่ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาเดิมทุกประการตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำการประปาหนองแค (ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี สัญญาเลขที่ 238/2536ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2536 (ฉบับที่ 1) เอกสารหมาย จ.18 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำตามสัญญาทุกงวดแล้วเสร็จและส่งมอบแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ได้ขยายให้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมเอกสารหมาย จ.18 และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว
++ ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานในงวดที่9 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2538 งวดที่ 3 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538และงานในงวดที่ 5 และที่ 6 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2538 ซึ่งเมื่อนับจากวันที่ 3 ธันวาคม 2537 อันเป็นวันกำหนดเวลาแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเดิมแล้วล่วงเลยไป 162 วัน และในการจ่ายเงินค่าจ้างในงวดที่ 9 งวดที่3 งวดที่ 5 และงวดที่ 6 โจทก์ได้บันทึกข้อความขอสงวนสิทธิในการปรับจำเลยที่ 1 เพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้าด้วย ต่อมาโจทก์จึงเรียกร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าปรับเป็นเงินวันละ 63,900 บาท จำนวน162 วัน เป็นเงิน 10,351,800 บาท และเรียกให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดด้วยในฐานะผู้ค้ำประกัน
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่า สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.18 ถือเป็นการขยายระยะเวลาการก่อสร้างตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ทั้งสัญญา หรือขยายระยะเวลาเฉพาะงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว
++ เห็นว่า แม้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 ข้อ 4 จะระบุว่า ผู้ว่าจ้างตกลงไม่ปรับผู้รับจ้างในช่วงระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาเดิม จนถึงวันลงนามในสัญญาแก้ไขฯ ฉบับนี้ เฉพาะเนื้องานส่วนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนเนื้องานที่ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาเดิมทุกประการ อันแสดงให้เห็นเจตนาได้ว่าสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ ถือว่ากำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงวดสามารถแยกออกจากกันได้ จึงได้มีข้อความเป็นทำนองว่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลาสำหรับงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ได้เท่านั้น
++ แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 เป็นเพียงส่วนประกอบของสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3
++ ดังนั้น การตีความในข้อความของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม จึงต้องตีความให้สอดคล้องและไม่ให้ขัดกับสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3
++ เมื่อพิจารณาสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3ข้อ 1 ซึ่งเป็นข้อตกลงว่าจ้าง ได้กำหนดว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับจ้างทำการปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค จังหวัดสระบุรีตามข้อกำหนดและเงื่อนไขแห่งสัญญานี้ รวมทั้งเอกสารแนบท้ายสัญญา และในสัญญาข้อ 4 ซึ่งเป็นข้อตกลงเรื่องค่าจ้างและการจ่ายเงิน ได้กำหนดว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายและผู้รับจ้างตกลงรับเงินค่าจ้าง จำนวนเงิน 63,900,000 บาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวนเงิน 4,180,373.83 บาท ตลอดจนภาษีอากรอื่น ๆและค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วยแล้ว โดยถือเอาราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์ และกำหนดจ่ายเงินเป็นงวด ๆ ดังนี้ สัญญาข้อ 6 เรื่องกำหนดเวลาแล้วเสร็จและสิทธิของผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญาได้ระบุไว้ว่า ผู้รับจ้างต้องเริ่มทำงานที่รับจ้างภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2536 และจะต้องทำงานให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3ธันวาคม 2537 ถ้าผู้รับจ้างมิได้ลงมือทำงานภายในกำหนดเวลาหรือไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา หรือจะแล้วเสร็จล่าช้าเกินกว่ากำหนดเวลา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ และสัญญาข้อ 16 เรื่องค่าปรับ ระบุว่าหากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ 63,900 บาท นับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริง
++ จากข้อตกลงว่าจ้างและข้อตกลงเรื่องค่าจ้าง แสดงให้เห็นว่าสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.3เป็นสัญญาจ้างทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ โดยผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างเพื่อผลสำเร็จของงานนั้นเป็นเงิน 63,900,000 บาท ข้อกำหนดให้ผู้รับจ้างต้องเริ่มทำงานในวันที่ 8 ธันวาคม 2536 อันเป็นวันทำสัญญา และต้องทำงานให้เสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537 แม้ในรายละเอียดของงวดงานทั้ง 10 งวดตามสัญญา จะได้กำหนดจำนวนวันที่จะต้องทำให้แล้วเสร็จในแต่ละงวดไว้แตกต่างกัน แต่กำหนดเวลาเริ่มต้นทำงานของงานแต่ละงวดจะนับตั้งแต่วันทำสัญญาเหมือนกันหมด โดยมิได้กำหนดให้เริ่มทำงานในงวดที่ 1 ก่อนและกำหนดให้ส่งมอบงานในงวดที่ 10 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537เรียงกันไป ทั้งเมื่อพิจารณาถึงจำนวนค่าปรับ 63,900 บาทต่อวันแล้ว ปรากฎว่าตามสัญญาได้ใช้จำนวนค่าจ้างของงานทั้งหมดมาเป็นฐานคำนวณค่าปรับในอัตราร้อยละ .1 ของค่าจ้างทั้งหมดจำนวนเดียว ย่อมมีความหมายว่าผู้รับจ้างจะเริ่มทำงานในงวดใดก่อนก็ได้ และจะทำงานงวดใดให้เสร็จเป็นงวดสุดท้ายก็ได้ แต่งานทุกงวดต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537 หากงานงวดใดงวดหนึ่งเสร็จล่าช้าเกินไปกว่าวันที่ 3 ธันวาคม 2537 ต้องถือว่างานทั้งหมดล่าช้า ต้องเสียค่าปรับวันละ 63,900 บาท
++ แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ว่า เป็นสัญญาจ้างทำของในลักษณะจ้างเหมาโดยถือเอาความสำเร็จของงานทั้งหมดเป็นสำคัญ การแบ่งงวดงานออกเป็น 10งวด ก็เพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินค่าจ้างซึ่งจะแบ่งจ่ายแก่ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆเท่านั้น ดังนั้น กำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานทั้งหมด ก็คือกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ 6 ที่กำหนดให้ทำงานเสร็จภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537เมื่อตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 ได้มีการแก้ไขเนื้องานเฉพาะงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 โดยมีการตกลงเพิ่มเติมจากสัญญาจ้างเดิมในข้อ 3 ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมว่า ผู้ว่าจ้างตกลงขยายระยะเวลาให้ผู้รับจ้างเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวเป็นเวลา 50 วัน นับแต่วันลงนามในสัญญาแก้ไขฯ ฉบับนี้ หากพ้นกำหนดนี้ผู้ว่าจ้างจะใช้สิทธิในการปรับตามเงื่อนไขสัญญาเดิม ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมความในข้อ 6 ของสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.3 โดยการขยายระยะเวลาทำงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ออกไปทั้งสัญญา
++ แม้ตามความในข้อ 4ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 จะมีข้อความในทำนองที่ว่า การขยายระยะเวลาตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมนี้ เป็นการขยายระยะเวลาให้สำหรับงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ที่มีการแก้ไขเนื้องานเท่านั้น ส่วนงานในงวดอื่น ๆ หากมีการส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดเวลาในสัญญาจ้างเดิม ต้องถูกปรับตามอัตราค่าปรับตามสัญญาจ้างเดิมโดยมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมส่วนของอัตราค่าปรับให้สอดคล้องกับจำนวนค่าจ้างที่ต้องจ่ายตามสัญญาจ้างเดิมในแต่ละงวด ทั้งมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดอื่นในสัญญาจ้างเดิมอีก ความในข้อ 4 ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 จึงไม่สอดคล้องและขัดกับสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ไม่มีผลบังคับ
++ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบงานทุกงวดภายในกำหนดเวลาที่ได้มีการขยายให้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 แล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดเวลาตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสามชำระค่าปรับตามสัญญาได้ ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++ จำเลยทั้งสามฎีกา
++ ข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2536 โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค(ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี ตกลงค่าจ้างเป็นราคาเหมารวมภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีอากรอื่น ๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวง จำนวน 63,900,000 บาท มีการแบ่งเนื้องานที่ว่าจ้างออกเป็น 10 งวด และกำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดรวม 10 งวด ตามราคาเนื้องานในแต่ละงวด และแต่ละงวดได้กำหนดเวลาทำงานให้แล้วเสร็จเป็นจำนวนวันต่อเนื่องกันไปโดยมีระยะเวลาห่างกัน30 วันในแต่ละงวด โดยงวดที่ 1 กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันและในงวดที่ 10 งวดสุดท้ายกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน แต่ทุกงวดจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันทำสัญญาเหมือนกัน
++ ในสัญญาข้อ 6 เรื่องกำหนดเวลาแล้วเสร็จ และสิทธิของผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญา ได้มีการกำหนดให้ผู้รับจ้างจะต้องทำงานให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3 ธันวาคม2537 มิฉะนั้นผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
++ และสัญญาข้อ 16 เรื่องค่าปรับกำหนดว่า หากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ 63,900 บาท นับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริง ตามสัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค(ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี เอกสารหมาย จ.3
++ มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างดังกล่าวในจำนวนเงิน 3,195,000 บาท โดยมีข้อสัญญาว่า หากโจทก์ได้ขยายระยะเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 หรือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดแผกไปจากเงื่อนไขใด ๆ ในสัญญา ให้ถือว่าจำเลยที่ 3 ได้ยินยอมด้วย ตามหนังสือค้ำประกันเอกสารหมาย จ.6
++ ต่อมาวันที่ 18 พฤศจิกายน 2537 ก่อนครบอายุสัญญาจำเลยที่ 1 มีหนังสือขอขยายอายุสัญญา วันที่ 14 กรกฎาคม 2538 โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.3โดยตกลงแก้ไขงวดงานและการจ่ายเงินในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10และมีข้อสัญญาเพิ่มเติมข้อ 3 ว่า โจทก์ตกลงขยายระยะเวลาให้จำเลยที่ 1เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวเป็นเวลา 50 วัน นับจากวันลงนามในสัญญาแก้ไขฉบับนี้ หากพ้นกำหนดนี้โจทก์จะใช้สิทธิในการปรับตามเงื่อนไขสัญญาเดิม และในข้อ 4 กำหนดว่า โจทก์ตกลงไม่ปรับจำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาเดิม จนถึงวันลงนามในสัญญาแก้ไขฉบับนี้ เฉพาะเนื้องานส่วนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนเนื้องานที่ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาเดิมทุกประการตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำการประปาหนองแค (ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี สัญญาเลขที่ 238/2536ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2536 (ฉบับที่ 1) เอกสารหมาย จ.18 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำตามสัญญาทุกงวดแล้วเสร็จและส่งมอบแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ได้ขยายให้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมเอกสารหมาย จ.18 และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว
++ ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานในงวดที่9 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2538 งวดที่ 3 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538และงานในงวดที่ 5 และที่ 6 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2538 ซึ่งเมื่อนับจากวันที่ 3 ธันวาคม 2537 อันเป็นวันกำหนดเวลาแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเดิมแล้วล่วงเลยไป 162 วัน และในการจ่ายเงินค่าจ้างในงวดที่ 9 งวดที่3 งวดที่ 5 และงวดที่ 6 โจทก์ได้บันทึกข้อความขอสงวนสิทธิในการปรับจำเลยที่ 1 เพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้าด้วย ต่อมาโจทก์จึงเรียกร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าปรับเป็นเงินวันละ 63,900 บาท จำนวน162 วัน เป็นเงิน 10,351,800 บาท และเรียกให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดด้วยในฐานะผู้ค้ำประกัน
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่า สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.18 ถือเป็นการขยายระยะเวลาการก่อสร้างตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ทั้งสัญญา หรือขยายระยะเวลาเฉพาะงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว
++ เห็นว่า แม้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 ข้อ 4 จะระบุว่า ผู้ว่าจ้างตกลงไม่ปรับผู้รับจ้างในช่วงระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาเดิม จนถึงวันลงนามในสัญญาแก้ไขฯ ฉบับนี้ เฉพาะเนื้องานส่วนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนเนื้องานที่ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาเดิมทุกประการ อันแสดงให้เห็นเจตนาได้ว่าสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ ถือว่ากำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงวดสามารถแยกออกจากกันได้ จึงได้มีข้อความเป็นทำนองว่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลาสำหรับงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ได้เท่านั้น
++ แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 เป็นเพียงส่วนประกอบของสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3
++ ดังนั้น การตีความในข้อความของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม จึงต้องตีความให้สอดคล้องและไม่ให้ขัดกับสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3
++ เมื่อพิจารณาสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3ข้อ 1 ซึ่งเป็นข้อตกลงว่าจ้าง ได้กำหนดว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับจ้างทำการปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค จังหวัดสระบุรีตามข้อกำหนดและเงื่อนไขแห่งสัญญานี้ รวมทั้งเอกสารแนบท้ายสัญญา และในสัญญาข้อ 4 ซึ่งเป็นข้อตกลงเรื่องค่าจ้างและการจ่ายเงิน ได้กำหนดว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายและผู้รับจ้างตกลงรับเงินค่าจ้าง จำนวนเงิน 63,900,000 บาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวนเงิน 4,180,373.83 บาท ตลอดจนภาษีอากรอื่น ๆและค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วยแล้ว โดยถือเอาราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์ และกำหนดจ่ายเงินเป็นงวด ๆ ดังนี้ สัญญาข้อ 6 เรื่องกำหนดเวลาแล้วเสร็จและสิทธิของผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญาได้ระบุไว้ว่า ผู้รับจ้างต้องเริ่มทำงานที่รับจ้างภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2536 และจะต้องทำงานให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3ธันวาคม 2537 ถ้าผู้รับจ้างมิได้ลงมือทำงานภายในกำหนดเวลาหรือไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา หรือจะแล้วเสร็จล่าช้าเกินกว่ากำหนดเวลา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ และสัญญาข้อ 16 เรื่องค่าปรับ ระบุว่าหากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ 63,900 บาท นับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริง
++ จากข้อตกลงว่าจ้างและข้อตกลงเรื่องค่าจ้าง แสดงให้เห็นว่าสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.3เป็นสัญญาจ้างทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ โดยผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างเพื่อผลสำเร็จของงานนั้นเป็นเงิน 63,900,000 บาท ข้อกำหนดให้ผู้รับจ้างต้องเริ่มทำงานในวันที่ 8 ธันวาคม 2536 อันเป็นวันทำสัญญา และต้องทำงานให้เสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537 แม้ในรายละเอียดของงวดงานทั้ง 10 งวดตามสัญญา จะได้กำหนดจำนวนวันที่จะต้องทำให้แล้วเสร็จในแต่ละงวดไว้แตกต่างกัน แต่กำหนดเวลาเริ่มต้นทำงานของงานแต่ละงวดจะนับตั้งแต่วันทำสัญญาเหมือนกันหมด โดยมิได้กำหนดให้เริ่มทำงานในงวดที่ 1 ก่อนและกำหนดให้ส่งมอบงานในงวดที่ 10 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537เรียงกันไป ทั้งเมื่อพิจารณาถึงจำนวนค่าปรับ 63,900 บาทต่อวันแล้ว ปรากฎว่าตามสัญญาได้ใช้จำนวนค่าจ้างของงานทั้งหมดมาเป็นฐานคำนวณค่าปรับในอัตราร้อยละ .1 ของค่าจ้างทั้งหมดจำนวนเดียว ย่อมมีความหมายว่าผู้รับจ้างจะเริ่มทำงานในงวดใดก่อนก็ได้ และจะทำงานงวดใดให้เสร็จเป็นงวดสุดท้ายก็ได้ แต่งานทุกงวดต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537 หากงานงวดใดงวดหนึ่งเสร็จล่าช้าเกินไปกว่าวันที่ 3 ธันวาคม 2537 ต้องถือว่างานทั้งหมดล่าช้า ต้องเสียค่าปรับวันละ 63,900 บาท
++ แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ว่า เป็นสัญญาจ้างทำของในลักษณะจ้างเหมาโดยถือเอาความสำเร็จของงานทั้งหมดเป็นสำคัญ การแบ่งงวดงานออกเป็น 10งวด ก็เพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินค่าจ้างซึ่งจะแบ่งจ่ายแก่ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆเท่านั้น ดังนั้น กำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานทั้งหมด ก็คือกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ 6 ที่กำหนดให้ทำงานเสร็จภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537เมื่อตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 ได้มีการแก้ไขเนื้องานเฉพาะงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 โดยมีการตกลงเพิ่มเติมจากสัญญาจ้างเดิมในข้อ 3 ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมว่า ผู้ว่าจ้างตกลงขยายระยะเวลาให้ผู้รับจ้างเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวเป็นเวลา 50 วัน นับแต่วันลงนามในสัญญาแก้ไขฯ ฉบับนี้ หากพ้นกำหนดนี้ผู้ว่าจ้างจะใช้สิทธิในการปรับตามเงื่อนไขสัญญาเดิม ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมความในข้อ 6 ของสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.3 โดยการขยายระยะเวลาทำงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ออกไปทั้งสัญญา
++ แม้ตามความในข้อ 4ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 จะมีข้อความในทำนองที่ว่า การขยายระยะเวลาตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมนี้ เป็นการขยายระยะเวลาให้สำหรับงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ที่มีการแก้ไขเนื้องานเท่านั้น ส่วนงานในงวดอื่น ๆ หากมีการส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดเวลาในสัญญาจ้างเดิม ต้องถูกปรับตามอัตราค่าปรับตามสัญญาจ้างเดิมโดยมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมส่วนของอัตราค่าปรับให้สอดคล้องกับจำนวนค่าจ้างที่ต้องจ่ายตามสัญญาจ้างเดิมในแต่ละงวด ทั้งมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดอื่นในสัญญาจ้างเดิมอีก ความในข้อ 4 ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 จึงไม่สอดคล้องและขัดกับสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ไม่มีผลบังคับ
++ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบงานทุกงวดภายในกำหนดเวลาที่ได้มีการขยายให้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 แล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดเวลาตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสามชำระค่าปรับตามสัญญาได้ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้งได้ ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นทายาทของ ป. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งยึดถือโฉนดและครอบครองที่ดินพิพาทแบ่งที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสี่ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นมรดกตกแก่จำเลยทั้งสี่และ ป. โดย ป.มีส่วนได้รับไม่ถึงตามฟ้อง ถือว่าโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของร่วมกัน ประเด็นพิพาทมีเพียงว่าโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิในที่ดินพิพาทมากน้อยเพียงใด การที่จำเลยที่ 4 ต่อสู้ว่าฟ้องขาดอายุความมรดกเท่ากับต่อสู้ว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเลยและฟ้องแย้งว่าตนได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่ตนครอบครองโดยการครอบครองปรปักษ์ นอกจากโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสี่แล้วยังโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ด้วย ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 4 จึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: การซื้อยาจากผู้อื่นเพื่อส่งมอบต่อ ถือเป็นการจำหน่ายตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 บัญญัตินิยามคำว่า "จำหน่าย" หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ จำเลยนำเงินที่คนงานมอบให้ไปซื้อเมทแอมเฟตามีนเพื่อนำไปมอบให้คนงานของจำเลยการที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในขณะขับรถจักรยานยนต์กลับซึ่งเป็นการยึดถือไว้ในระยะเวลาที่นานพอสมควร ถือได้ว่าจำเลยครอบครองเมทแอมเฟตามีนไว้ในความดูแลของจำเลย มิได้เป็นการครอบครองแทนคนงานของจำเลยเพียงชั่วคราวทั้งจำเลยมีเจตนาจะนำไปมอบให้คนงานผู้ฝากซื้อ จึงเป็นการซื้อและมีไว้ในครอบครองเพื่อนำไปจ่าย แจก อันเป็นการจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของทายาทและผู้จัดการมรดกต่อหนี้ภาษีอากร โดยจำกัดความรับผิดตามทรัพย์มรดก
ผู้ร้องรับผิดเสียภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัดรวมถึง ห. ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) และ 1087 เมื่อ ห. ถึงแก่ความตาย ความรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรจึงตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599 และ 1600 และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้จึงต้องถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการซึ่งผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ตามมาตรา 1736 การที่จำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างแทน ห. ในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของห. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นการกระทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่กองมรดกค้างชำระอยู่
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. ทำบันทึกยินยอมชำระหนี้อีกฉบับหนึ่งหลังจากฉบับแรก 9 เดือน ขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างไปอีกคราวหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับที่สองทั้งในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของห. เนื่องจากจำเลยทำบันทึกดังกล่าวขึ้นเพื่อขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างตามที่ได้มีการทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับแรก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1737
แม้จำเลยจะทำบันทึกยินยอมชำระหนี้โดยไม่โต้แย้งทั้งสิ้น แต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของ ห. เจ้ามรดกนั้น ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามมาตรา 1601 นอกจากนี้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 1724 ด้วย ปัญหานี้เป็น ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ ยกขึ้นว่ากล่าวและวินิจฉัยมาในชั้นศาลภาษีอากร ศาลฎีกามีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. ทำบันทึกยินยอมชำระหนี้อีกฉบับหนึ่งหลังจากฉบับแรก 9 เดือน ขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างไปอีกคราวหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับที่สองทั้งในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของห. เนื่องจากจำเลยทำบันทึกดังกล่าวขึ้นเพื่อขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างตามที่ได้มีการทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับแรก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1737
แม้จำเลยจะทำบันทึกยินยอมชำระหนี้โดยไม่โต้แย้งทั้งสิ้น แต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของ ห. เจ้ามรดกนั้น ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามมาตรา 1601 นอกจากนี้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 1724 ด้วย ปัญหานี้เป็น ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ ยกขึ้นว่ากล่าวและวินิจฉัยมาในชั้นศาลภาษีอากร ศาลฎีกามีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของทายาทและผู้จัดการมรดกต่อหนี้ภาษีอากร โดยจำกัดตามทรัพย์มรดก
ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัด รวมถึง ห.ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และ 1087 เมื่อ ห. ถึงแก่ความตาย ความรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรจึงตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599 และ 1600 และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้จึงต้องถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการ ซึ่งผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ตามมาตรา 1736 การที่จำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างแทน ห. ในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นการกระทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่กองมรดกค้างชำระอยู่
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. ทำบันทึกยินยอมชำระหนี้อีกฉบับหนึ่งหลังจากฉบับแรก 9 เดือนขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างไปอีกคราวหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับที่สองทั้งในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. เนื่องจากจำเลยทำบันทึกดังกล่าวขึ้นเพื่อขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างตามที่ได้มีการทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับแรก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดก ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1737
แม้จำเลยจะทำบันทึกยินยอมชำระหนี้โดยไม่โต้แย้งทั้งสิ้น แต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของ ห. เจ้ามรดกนั้น ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามมาตรา 1601 นอกจากนี้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 1724 ด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวและวินิจฉัยมาในชั้นศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และ 246
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. ทำบันทึกยินยอมชำระหนี้อีกฉบับหนึ่งหลังจากฉบับแรก 9 เดือนขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างไปอีกคราวหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับที่สองทั้งในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. เนื่องจากจำเลยทำบันทึกดังกล่าวขึ้นเพื่อขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างตามที่ได้มีการทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับแรก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดก ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1737
แม้จำเลยจะทำบันทึกยินยอมชำระหนี้โดยไม่โต้แย้งทั้งสิ้น แต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของ ห. เจ้ามรดกนั้น ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามมาตรา 1601 นอกจากนี้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 1724 ด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวและวินิจฉัยมาในชั้นศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และ 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจมอบอำนาจ: การขอคืนของกลางต้องดำเนินการอย่างไร
ผู้ร้องทำหนังสือมอบอำนาจระบุให้ ส.มีอำนาจทำหนังสือคำร้องคำขอหรือแบบรายการของหน่วยราชการใด ๆ เพื่อขอรับและรับทรัพย์สินของบริษัทจากบุคคล นิติบุคคล หน่วยราชการ พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นการขอรับมาเพื่อเก็บรักษาไว้ชั่วคราวระหว่างดำเนินคดีหรือเป็นการขอรับคืนเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ ส.มีอำนาจดำเนินคดีในศาล หรือยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอรถยนต์กระบะของกลางคืน ทั้งหากกรณีคดีถึงที่สุดโดยศาลมิได้สั่งริบของกลาง หรือโจทก์มิได้ขอให้ริบของกลาง การขอของกลางหรือทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีคืน ก็หาจำต้องขอคืนต่อศาลไม่ การระบุให้มีอำนาจขอรับทรัพย์สินคืนเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว จึงมิใช่การมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องขอรถยนต์กระบะของกลางคืนจากศาล ส.ย่อมไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอรถยนต์กระบะของกลางคืนจากศาลแทนผู้ร้อง และไม่มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้ ค.ยื่นคำร้องดังกล่าว ค.จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจมอบอำนาจในการขอคืนของกลาง: อำนาจตามหนังสือมอบอำนาจต้องชัดเจนและครอบคลุมถึงการยื่นคำร้องต่อศาล
ผู้ร้องทำหนังสือมอบอำนาจระบุให้ ส. มีอำนาจทำหนังสือคำร้องคำขอหรือแบบรายการของหน่วยราชการใด ๆ เพื่อขอรับและรับทรัพย์สินของบริษัทจากบุคคล นิติบุคคล หน่วยราชการ พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นการขอรับมาเพื่อเก็บรักษาไว้ชั่วคราวระหว่างดำเนินคดีหรือเป็นการขอรับคืนเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้นไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ ส. มีอำนาจดำเนินคดีในศาลหรือยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอรถยนต์กระบะของกลางคืน ทั้งหากกรณีคดีถึงที่สุดโดยศาลมิได้สั่งริบของกลาง หรือโจทก์มิได้ขอให้ริบของกลาง การขอของกลางหรือทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีคืน ก็หาจำต้องขอคืนต่อศาลไม่ การระบุให้มีอำนาจขอรับทรัพย์สินคืนเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว จึงมิใช่การมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องขอรถยนต์กระบะของกลางคืนจากศาล ส.ย่อมไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอรถยนต์กระบะของกลางคืนจากศาลแทนผู้ร้องและไม่มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้ ค. ยื่นคำร้องดังกล่าว ค. จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: การพิจารณาความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด
การร้องขอให้ริบรถยนต์กระบะของกลางโดยอ้างว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้เป็นพาหนะนำเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาไว้ในครอบครองและพายาเสพติดดังกล่าวไปเพื่อให้ได้รับผลในการกระทำความผิด ให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของพนักงานอัยการเป็นการยื่นคำร้องโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 30, 31 ซึ่งความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ไม่ได้รวมถึงการมียาเสพติดไว้ในครอบครองด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช่คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินของกลางดังกล่าวให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามมาตรา 30 และ 31 แห่งพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช่คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินของกลางดังกล่าวให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามมาตรา 30 และ 31 แห่งพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: ข้อจำกัดตาม พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด เมื่อไม่ใช่ความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 3 ให้คำนิยามไว้ว่า หมายความว่าการผลิตนำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดและให้หมายความรวมถึง การสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย ไม่ได้รวมถึงการมียาเสพติดไว้ในครอบครอง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ใช่คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินของกลางให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามมาตรา 30 และ 31 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ทรัพย์สินพร้อมสิทธิเก็บกิน ไม่ถือเป็นการเนรคุณ แม้ถูกรบกวนสิทธิเก็บกิน สามารถใช้สิทธิทางศาลได้
โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หา โดยโจทก์ยังคงมีสิทธิเก็บกินในที่ดินที่ยกให้ ถือว่าเป็นการให้ทรัพย์สินแก่จำเลยโดยมีค่าภารติดพันโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้ถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้และหากถูกจำเลยรบกวนสิทธิเก็บกิน โจทก์ย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลบังคับจำเลยไม่ให้ขัดขวางการใช้สิทธิเก็บเงินของโจทก์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องถอนคืนการให้