คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีรศักดิ์ เตียวัฒนานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความกับการเลิกคดีอาญาตาม พ.ร.บ. เช็ค
ระหว่างพิจารณาคดีนี้ โจทก์ได้นำมูลหนี้ตามเช็คพิพาทไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งให้ชดใช้เงิน แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความศาลมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามเช็คพิพาทในคดีนี้ระงับสิ้นไป และโจทก์ได้สิทธิใหม่ตามที่ปรากฏในสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ กรณีถือได้ว่าหนี้ที่ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39
เมื่อถือว่าคดีอาญาเลิกกันโดยผลของกฎหมายแล้ว คู่ความจะตกลงกันไม่ให้คดีอาญาเลิกกันไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการประนีประนอมยอมความต่อคดีอาญาเช็ค การระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา
ระหว่างพิจารณาคดีนี้ โจทก์ได้นำมูลหนี้ตามเช็คพิพาทไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งให้ชดใช้เงิน แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความศาลมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 852 เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามเช็คพิพาทในคดีนี้ระงับสิ้นไป และโจทก์ได้สิทธิใหม่ตามที่ปรากฏในสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ กรณีถือได้ว่าหนี้ที่ผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 4 ได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39
เมื่อถือว่าคดีอาญาเลิกกันโดยผลของกฎหมายแล้ว คู่ความจะตกลงกันไม่ให้คดีอาญาเลิกกันไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420-423/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดิน กรณีผู้ขายฝากไม่สุจริตและเจ้าหนี้เสียหาย
โจทก์ทั้งแปดได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 1 ชำระราคาที่ดินแก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนในวันทำสัญญา และได้ติดตามทวงถามให้จำเลยที่ 1 ทำการแบ่งโฉนดโอนให้แก่จำเลยที่ 1 ตลอดมา แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย ส่วนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ก็ได้ผ่อนชำระที่ดินพิพาทที่จะซื้อแก่จำเลยที่ 1 ตลอดมา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ย้ายไปเสียจากภูมิลำเนาไม่มีใครทราบว่าไปอยู่ ณ ที่ใด และไม่แจ้งให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ทราบ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 จึงไม่ได้ผ่อนชำระ ราคาที่ดินแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไป กรณีจะถือว่าสัญญาสิ้นสุดโดยปริยายเพราะโจทก์ทั้งแปดไม่นำพาปฏิบัติตามสัญญา อันมีผลเป็นการยกเลิกสัญญากันโดยปริยายไม่ได้ ฉะนั้นด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ตามสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งแปดและจำเลยที่ 1 จึงทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทขายให้แก่โจทก์ทั้งแปด ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญา
จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ทั้งรู้อยู่ว่าที่ดินดังกล่าวได้ทำเป็นที่ดินจัดสรรและมีผู้มาซื้อแล้ว ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทจนหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้ที่ดินพิพาทไป โดยรู้ข้อความจริงอันเป็นการให้โจทก์ทั้งแปดผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ทั้งแปดผู้เป็นเจ้าหนี้จึงฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้
โจทก์ทั้งแปดเพิ่งได้ทราบว่าจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อเดือนสิงหาคม 2537 ฉะนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2537 โจทก์ที่ 4 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2537 และโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2537 จึงหาพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เวลาที่โจทก์ทั้งแปดได้รู้ถึงเรื่อง การขายฝากซึ่งเป็นต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนไม่ คดีโจทก์ทั้งแปดไม่ขาดอายุความหนึ่งปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จ-ออกโฉนดที่ดินใหม่: พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอพิสูจน์การกระทำร่วมกัน
ในวันเกิดเหตุ ป. นำใบมอบอำนาจของ อ. มาแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโฉนดที่ดินของ อ. หายไป โดยมีจ่าสิบตำรวจ ส. เป็นผู้ลงบันทึกประจำวันไว้และต่อมาจำเลยได้ร่วมกับ ร. ไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินขอให้ออกโฉนดที่ดินของ อ. ฉบับใหม่ โดยแสดงหลักฐานหนังสือที่ อ. มอบอำนาจให้ ร. มาขอออกโฉนดที่ดินใหม่ และสำเนารายงานประจำวันที่ ป. ไปแจ้งความว่าโฉนดที่ดินของ อ. สูญหาย โดยจำเลยให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานที่ดินรับรองว่า อ. มอบอำนาจให้ ป. ไปแจ้งความโฉนดที่ดินของ อ. สูญหายนั้นเป็นความจริง แม้ข้อความที่ ป. นำไปแจ้งความนั้นเป็นเท็จ แต่ในวันที่ ป. ไปแจ้งความจำเลยมิได้ไปกับ ป. ด้วย และโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ร่วมกับ ป. ในการไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนพยานหลักฐานโจทก์จึงไม่น้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยได้ร่วมกับ ป. แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวน และแจ้งให้จดข้อความอันเป็นเท็จลงในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีอันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้องอาญาหมิ่นประมาท: ศาลจำกัดการพิจารณาเฉพาะข้อความที่บรรยายในคำฟ้องเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยกับพวกนำข้อความที่ว่า โจทก์สมคบกับประธานสภาจังหวัด ช. ประวิงหรือหลีกเลี่ยง ละเว้นไม่พิจารณาคำขอเปิดประชุมสภาจังหวัดสมัยวิสามัญประจำปีของจำเลยกับพวกซึ่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและประเพณีปฏิบัติราชการไปยื่นฟ้อง และจำเลยกับพวกจัดการโฆษณาเผยแพร่ข้อความตามคำฟ้องในหนังสือพิมพ์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 326, 328, 83 แต่ทางพิจารณาปรากฏว่า ข้อความที่พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์นอกจากจะเป็นข้อความตามคำฟ้องของจำเลยกับพวกแล้ว ยังมีข้อความเพิ่มเติมเป็นเบื้องหลังการที่โจทก์ไม่สั่งเปิดประชุมสภาจังหวัดเพราะเกี่ยวข้องกับการทุจริตและการย้ายข้าราชการโดยไม่เป็นธรรมอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ขึ้นใหม่อีกส่วนหนึ่ง ข้อความหมิ่นประมาทถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อโจทก์มิได้บรรยายไว้ให้ปรากฏในคำฟ้องถือได้ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจารณาลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการลงโทษจำเลยในคดีหมิ่นประมาท: ศาลจำกัดเฉพาะข้อความที่ระบุในคำฟ้องเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 กับพวกนำข้อความที่ว่าโจทก์สมคบกับประธานสภาจังหวัดชัยภูมิประวิงหรือหลีกเลี่ยง ละเว้น ไม่พิจารณาคำขอเปิดประชุมสภาจังหวัดชัยภูมิสมัยวิสามัญครั้งที่ 1 ประจำปี 2538 ของจำเลยกับพวกซึ่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดชัยภูมิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและประเพณีปฏิบัติราชการไปยื่นฟ้อง และจำเลยกับพวกจัดการโฆษณาเผยแพร่ข้อความตามคำฟ้องในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328,83 แต่เมื่อทางพิจารณาปรากฏว่า ข้อความที่พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐนอกจากจะเป็นข้อความตามคำฟ้องของจำเลยที่ 1 กับพวกแล้ว ยังมีข้อความเพิ่มเติมเป็นเบื้องหลังการที่โจทก์ไม่สั่งเปิดประชุมสภาจังหวัดเพราะเกี่ยวข้องกับการทุจริตและการย้ายข้าราชการโดยไม่เป็นธรรม อันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ขึ้นใหม่อีกส่วนหนึ่งข้อความหมิ่นประมาทถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานหมิ่นประมาทเมื่อโจทก์มิได้บรรยายไว้ให้ปรากฏในคำฟ้องถือได้ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจารณาลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9758/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจัดหางานต่างประเทศสำคัญกว่าสถานที่: การกระทำที่ปราศจากเจตนาไม่ถือเป็นความผิด
การจะเป็นผู้กระทำผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้กระทำผิดจะต้องมีเจตนาจัดหางานตามมาตรา 4วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
บ้านที่จำเลยพักอาศัยเป็นบ้านธรรมดา ไม่ได้จัดตั้งเป็นสำนักงานเมื่อผู้เสียหายไปติดต่อที่บ้านจำเลยเพื่อให้จำเลยส่งไปทำงานในต่างประเทศ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ที่บ้านเพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นสถานที่สำหรับจัดหางาน และก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยไม่เคยส่งคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นใดที่เคยส่งคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การที่จำเลยยืนยันกับผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งสี่ไปทำงานในต่างประเทศได้ แล้วจำเลยพาผู้เสียหายไปขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและให้ผู้เสียหายพักที่บ้านจำเลยในระหว่างที่ยังไม่ได้เดินทางไป ก็เพียงเพื่อหลอกลวงให้ผู้เสียหายให้หลงเชื่อยิ่งขึ้นว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งสี่เพื่อไปทำงานในต่างประเทศได้ แล้วผู้เสียหายยินยอมจ่ายเงินให้จำเลยตามที่เรียกร้องเท่านั้นพฤติการณ์ของจำเลยดังที่กล่าวมายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจัดหางานให้ผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9758/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจัดหางานสำคัญกว่าสถานที่: ปฏิเสธความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
การจะเป็นผู้กระทำผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้กระทำผิดจะต้องมีเจตนาจัดหางานตามมาตรา 4 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528
บ้านที่จำเลยพักอาศัยเป็นบ้านธรรมดา ไม่ได้จัดตั้งเป็นสำนักงาน เมื่อผู้เสียหายไปติดต่อที่บ้านจำเลยเพื่อให้จำเลยส่งไปทำงานในต่างประเทศ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ที่บ้านเพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นสถานที่สำหรับจัดหางาน และก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยไม่เคยส่งคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นใดที่เคยส่งคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การที่จำเลยยืนยันกับผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งสี่ไปทำงานในต่างประเทศได้ แล้วจำเลยพาผู้เสียหายไปขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและให้ผู้เสียหายพักที่บ้านจำเลยในระหว่างที่ยังไม่ได้เดินทางไป ก็เพียงเพื่อหลอกลวงให้ผู้เสียหายให้หลงเชื่อยิ่งขึ้นว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งสี่เพื่อไปทำงานในต่างประเทศได้ แล้วผู้เสียหายยินยอมจ่ายเงินให้จำเลยตามที่เรียกร้องเท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยดังที่กล่าวมายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจัดหางานให้ผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9335/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเช่าสังหาริมทรัพย์และค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่า การกำหนดอายุความที่แตกต่างกัน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาเช่าโดยเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินเท่ากับค่าเช่าที่จำเลยค้างชำระอยู่ก่อนเลิกสัญญาจำนวน 24 เดือน แม้โจทก์จะฟ้องเรียกเงินจำนวนนี้โดยเรียกว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย แต่ต้องถือว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเช่าที่จำเลยค้างชำระอยู่ก่อนเลิกสัญญาจำนวน 24 เดือน เพราะมิฉะนั้นแล้วจะเป็นการยอมให้โจทก์หลีกเลี่ยงการที่จะฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระมาเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย เมื่อถือว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระและโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์สิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมมีกำหนดอายุความสองปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(6) จำเลยค้างชำระค่าเช่า 24 เดือน เดือนสุดท้ายที่ค้างชำระคือวันที่ 1 พฤษภาคม 2538แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2540 จึงพ้นกำหนดเวลาสองปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9335/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่า สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 2 ปีสำหรับธุรกิจให้เช่า
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาเช่า โดยเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จำนวน 24 เดือน ซึ่งเป็นจำนวนเงินเท่ากับค่าเช่าที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระอยู่ก่อนเลิกสัญญาจำนวน 24 เดือน พอดี แม้โจทก์จะฟ้องเรียกเงินจำนวนนี้โดยเรียกว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย แต่ต้องถือว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเช่าที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระเพราะมิฉะนั้นแล้วจะเป็นการยอมให้โจทก์หลีกเลี่ยงการที่จะฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระมาเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย เมื่อถือว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ และปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะฟ้องเรียกร้องเอาค่าเช่าที่ค้างชำระย่อมมีกำหนดอายุความสองปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6) เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าเช่า 24 เดือน เดือนสุดท้ายที่ค้างชำระคือวันที่ 1 พฤษภาคม 2538 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2540 จึงพ้นกำหนดเวลาสองปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
of 33